"วิศวกรรมกระบวนการและอุตสาหการ" วิศวะแนวใหม่ เรียนจบไม่ตกงาน ตอบโจทย์อุตสาหกรรมในยุคดิจิทัล

วิศวะแนวใหม่ เรียนจบไม่ตกงานชัวร์ ตอบโจทย์อุตสาหกรรมในยุคดิจิทัล
Process and Industrial Engineering ทางเลือกใหม่คน Gen Z กับแนวคิด Work Smart

 

ท่ามกลางสังคมในปัจจุบัน คงไม่มีใครปฏิเสธว่าเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทและเป็นส่วนหนึ่งของไลฟ์สไตล์ในชีวิตประจำวันของทุกเพศทุกวัยทั่วโลก นับตั้งแต่เราตื่นจนกระทั่งเข้านอน ทั้งในเรื่องส่วนตัว การทำงาน ไม่ว่าจะเป็นสมาร์ทโฮม สมาร์ททีวี คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค สมาร์ทโฟน สมาร์ทวอช  หรือการติดต่อสื่อสาร เช่น สื่อสังคมออนไลน์ (social network) เฟสบุ๊ค อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ ไลน์ แอพพลิเคชันส์ และสังคมไร้เงินสด เป็นต้น อีกทั้งยังมีการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ รวมถึง อินเทอร์เน็ต ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือหุ่นยนต์ (Robot) มาใช้ในภาคธุรกิจและภาคอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น อาทิ อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร อุตสาหกรรมปิโตรเคมี วงการแพทย์ และที่เห็นได้อย่างชัดเจนคืออุตสาหกรรมรถยนต์ที่หันมาผลิตรถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้าแทนการใช้น้ำมัน จากที่เราจะเห็นว่ามีสิ่งของ แนวคิด นวัตกรรมใหม่ ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา และสิ่งเหล่านี้ล้วนเกิดจากพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมทั้งนั้น อาชีพวิศวกรจึงนับว่ามีความสำคัญต่อโลกและสังคม ดังนั้น วิศวกรรมศาสตร์เองจึงต้องพร้อมที่จะสร้าง ‘วิศวกรสายพันธุ์ใหม่” ซึ่งจะเป็นฟันเฟืองสำคัญในการขับเคลื่อนและเพื่อผลักดันให้โลกให้ก้าวไปข้างหน้าสู่อนาคตอย่างแท้จริง

เพื่อก้าวให้ทันยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีและนวัตกรรมมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (MUT) ม. เอกชนอันดับหนึ่งของไทย จากการจัดอันดับของ  SCImago Institutions Rankings (SIR) 2021 ที่มีจุดยืนอันแน่วแน่ของการเป็นมหาวิทยาลัยด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม จึงเปิดสอนวิศวกรรมศาสตร์หลักสูตรใหม่ “วิศวกรรมกระบวนการและอุตสาหการ (Process and Industrial Engineering)” เป็นแห่งแรกของไทย มุ่งปั้นวิศวกรสายพันธุ์ใหม่ด้านวิศกรรมกระบวนการ (Process Engineering) สำหรับนักเรียนนักศึกษาวัย Gen Z ที่มีแนวคิดการทำงานแบบ Work Smart เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ประกอบการและนักลงทุน ซึ่งปัจจุบันวิศวกรกระบวนการนั้นมีความสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมในยุคดิจิทัลอย่างมากตั้งแต่การออกแบบและการดำเนินงาน ไปจนถึงการวิจัยและการพัฒนาธุรกิจใหม่ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ

 

 

ผศ. ดร.นริศรา อินทรจันทร์ รองอธิการบดี และอาจารย์ภาควิชาวิศวกรรมกระบวนการและอุตสาหการ ฝ่ายสถาบันวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม กล่าวว่า “ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว การพัฒนาในด้านธุรกิจ อุตสาหกรรม แม้แต่ด้านการศึกษาจึงมีความจำเป็นต้องพัฒนาควบคู่กันไป เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายการปฏิรูปประเทศของรัฐภายใต้วิสัยทัศน์ ‘ไทยแลนด์ 4.0’ เพื่อให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงและผลักดันให้เกิดการขยายตัวทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงภาคอุตสาหกรรมและภาคการผลิต ภายใต้การปฏิรูปตามแนวนโยบาย ‘อุตสาหกรรม 4.0’ ที่มุ่งเน้นขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมและนำเทคโนโลยีมาใช้ในกระบวนการผลิต การประหยัดพลังงานและลดปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมถึงแก้ไขปัญหาด้านกำลังคนที่กำลังก้าวไปสู่สังคมของคนสูงวัยมากขึ้น ดังนั้น ม. เทคโนโลยีมหานคร จึงพัฒนาหลักสูตร “วิศวกรรมกระบวนการและอุต-สาหการ’ ขึ้นมาโดยนำองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับระบบ Automation, AI, IoT และเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการผลิตเพื่อการพัฒนาเทคโนโลยีสื่อสารกับเครื่องจักรและระบบการผลิต สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาอุตสาหกรรมเพื่อให้ทันยุคสมัยที่เปลี่ยนไปและตอบสนองทุกความต้องการเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของ Demand และ Supply ของตลาดแรงงานและตลาดอุตสาหกรรมของโลกอนาคตได้”

วิศวกรรมกระบวนและอุตสาหการคืออะไร แตกต่างจากวิศวะสาขาอื่นอย่างไร และตอบโจทย์แนวคิดการทำงานแบบ Work Smart ในยุคดิจิทัลอย่างไร?

วิศวกรรมกระบวนการและอุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เป็นหลักสูตรที่พัฒนามาจากวิศวกรรมเคมีและอุตสาหการ โดยนำเอาองค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมในสาขาต่างๆ อาทิเช่น วิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมควบคุมอุตสาหกรรมและเครื่องมือวัด และวิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์และออโตเมชัน มาบูรณาการความรู้เข้าด้วยกันเพื่อให้นักศึกษาหรือผู้เรียนได้เข้าใจในหลักการและกลไกการทำงานของเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ใช้ในการผลิต รวมถึงองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตต่าง ๆ หรือวิธีที่จะทำให้เกิดการผลิตสินค้าให้เร็วขึ้น หรือแม้กระทั่งการออกแบบกระบวนการที่ใช้ในการผลิต เป็นการนำจุดเด่นของทั้งสองสาขาวิชามาหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว นอกจากนี้ยังมีการนำสาขาวิชาทางด้านเศรษฐศาสตร์ ความปลอดภัย การบริการ การบริหารจัดการ การควบคุมคุณภาพ และโลจิสติกส์ รวมถึงเรื่อง soft skills ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญสำหรับผู้ประกอบการมารวมไว้ในหลักสูตร ตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมในยุคอุตสาหกรรม 4.0 เพื่อก้าวที่มั่นคงสู่ความเป็นโรงงานอัจฉริยะ (Smart Factory)

เหมาะกับใคร? ต้องจบสายไหนมาจึงจะเรียนได้

หลักสูตรวิศวกรรมกระบวนการและอุตสาหการ ที่ MUT จะเปิดสอนหลักสูตรแรกในปีการศึกษา 2565 นี้ นักเรียนที่จะเข้าเรียนในคณะนี้เรียนจบสายไหนมาก็เรียนได้ แต่ควรมีความชอบในวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ฟิสิกส์ ซึ่งเป็นพื้นฐานของสาขานี้ ที่ให้ความสำคัญกับความชอบมากกว่าความถนัด เพราะถึงแม้จะไม่มีความถนัดแต่มีความชอบ ทางคณาจารย์ก็มีวิธีที่สอนให้นักเรียนเข้าใจได้ง่ายขึ้น แต่หากไม่มีความชอบในวิชาเหล่านี้ ก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จในการเรียนได้ โดยเฉพาะนักเรียนที่เรียนมาทางสายอาชีวศึกษา ที่มุ่งหวังว่าอยากเรียนจบแล้วมีงานทำและตั้งใจที่จะทำงานในอุตสาหกรรมโรงงานนั้น ยิ่งตอบโจทย์และสามารถทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมได้ทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นด้าน อุตสาหกรรมอาหาร-เครื่องดื่ม เครื่องสำอาง ชิ้นส่วนรถยนต์ ยาง แก้ว กระดาษ โลหะ ปูนซีเมนต์ ฯลฯ

 

ทำไมต้องเรียนวิศวกรรมกระบวนการและอุตสาหการที่ MUT และทำไมนักศึกษาวิศวะของที่นี่จึงเป็นที่ต้องการของตลาด?

วิศวกรรมกระบวนการและอุตสาหการ เป็นหลักสูตรที่ควบรวมทั้งด้านกระบวนการและอุตสาหการมาไว้ด้วยกัน ทำให้นักศึกษามีความรู้รอบด้านในเรื่องของ Digital Transformation ที่นำเทคโนโลยีและกลยุทธ์ทางดิจิทัลเข้ามาใช้ในการวางรากฐาน เป้าหมาย การดำเนินธุรกิจ ตลอดจนขั้นตอนการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและช่วยให้ตามทันโลกเศรษฐกิจ รวมถึงทุกศาสตร์ที่สำคัญในเรื่องกระบวนการผลิตและการบริหารจัดการ นักศึกษาที่เรียนในสาขาวิชานี้จะได้รับการถ่ายทอดองค์ความรู้และได้ลงมือปฏิบัติจริงในโรงงานการผลิตที่ทางมหาวิทยาลัยจะจำลองขึ้น  ทำให้นักศึกษามีทักษะพร้อมในทุก ๆ ด้านที่ตอบรับความต้องการของตลาดแรงงานได้ทันทีหลังสำเร็จการศึกษา อีกทั้งหลักสูตรนี้ได้รับการรับรองด้านวิชาการจากสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และใบรับรองประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมเคมีจากสภาวิศวกรด้วย นอกจากนี้ หากนักศึกษาคนใดต้องการที่จะได้ใบรับรองประกอบวิชาชีพวิศวกรรมอุตสาหการด้วย ก็สามารถเรียนต่อวิชาหลักของหลักสูตรวิศวกรรมอุตสาหการที่เพิ่มมากขึ้นได้ ซึ่งนักศึกษาที่เรียนจบทั้งวิศวกรรมกระบวนการและอุตสาหการนี้ จะเป็นบัณฑิตมีศักยภาพที่เต็มเปี่ยมในการเลือกอาชีพ ไม่ว่าจะเป็นวิศวกรกระบวนการ วิศวกรอุตสาหการ วิศวกรเคมี วิศวกรโครงการ วิศวกรโรงงาน วิศวกรควบคุมุณภาพ วิศวกรความปลอดภัย วิศวกรขาย วิศวกรออกแบบ ผู้จัดการฝ่ายวางแผนการผลิต นักวิชาการหรือนักวิจัย ผู้จัดการจัดการโรงงาน เป็นต้น หรือแม้กระทั่งเป็นผู้ประกอบการสร้างธุรกิจของตัวเองได้เช่นกัน

 

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร (MUT) ได้พัฒนาหลักสูตรวิศวกรรมกระบวนการและอุตสาหการ (Process and Industrial Engineering) ขึ้นเพื่อเปลี่ยนมุมมองของนักเรียนที่มีต่อวิศวกรรมเคมีในอดีตว่าเป็นสาขาที่ยากทำให้เด็กไม่อยากเรียน มาประยุกต์ให้การเรียนนั้นง่ายขึ้นและสนุกขึ้น MUT จึงหวังและเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า หลักสูตรนี้จะตอบโจทย์คนรุ่นใหม่อย่าง Gen Z และจะได้รับความสนใจในการเรียนด้านนี้มากขึ้น ด้วยกลุ่มคน Gen Z นั้นเติบโตมาพร้อมกับเทคโนโลยีและการอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่เต็มไปด้วยเทคโนโลยี เป็นคนที่ความสามารถในการเรียนรู้ได้อย่างรวดเร็ว ชอบแสวงหาความรู้และพัฒนาตัวองอยู่ตลอดเวลา มีความมั่นใจในตัวเองสูง แต่ขณะเดียวกันก็เปิดกว้างทางความคิด และมีแนวคิดในการทำงานแบบ work smart และมีความสามารถแบบ Multitasking ซึ่งคนกลุ่มนี้เป็นบุคลากรสำคัญในการพัฒนาและช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไปในอนาคตให้เติบโตได้อย่างยั่งยืน

 

ข่าวประชาสัมพันธ์
ข่าวประชาสัมพันธ์ - Columnist ข่าวประชาสัมพันธ์ภายในเว็บไซต์ Dek-D.com

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

0 ความคิดเห็น