วิศวกรรมศาสตร์

 

       ยินดีต้อนรับน้องๆ เข้าสู่คอลัมน์"แนะกันให้ติดชัวร์ '50"  ของกลุ่ม"วิศวกรรมศาสตร์"ทุกมหาวิทยาลัยและสถาบันนะขอรับ  ในคอลัมน์นี้จะทำหน้าที่คอยเป็นศูนย์กลางระหว่างน้องๆ ที่สนใจคณะในกลุ่มนี้ได้มาพบปะและพูดคุยกัน  นอกจากนั้นยังเป็นพื้นที่ให้น้องๆ ได้พูดคุยและซักถามข้อสงสัยกับรุ่นพี่ในกลุ่มคณะนี้  และรุ่นพี่ของคณะนี้ยังจะได้มาพบปะ พูดคุย แนะนำ (หรือขู่)แก่น้องๆ ที่สนใจจะไปเป็นนิสิต/นักศึกษาใหม่ของคณะอีกด้วย

       น้องคนไหนที่สนใจจะพูดคุยหรือสักถามเพื่อนๆ พี่ๆ ก็สามารถโพสกันเข้ามาได้เลยนะขอรับ  ส่วนพี่คนไหนอยากคุยหรือแนะนำอะไรแก่น้องๆ ก็เต็มที่ได้เลยเช่นกัน  พูดคุยกันอย่างสุภาพและสร้างสรรค์นะขอรับ  และก็ขอความร่วมมือไม่ใส่โค้ดต่างๆ (เกินความจำ)เป็นนะขอรับ  เพื่อจะเป็นรูปแบบเดียวกันและความสบายตาในการอ่านนะขอรับ

ปล.ขอความกรุณาทุกคนที่โพส  ถ้าคัดลอกข้อความมาจากที่อื่นช่วยไปล้างฟอร์แมทต่างๆ โดยการไปวางข้อความที่คัดลอกมาในโปรแกรม Notepad ก่อน  แล้วจึงคัดลอกมาจากในโปรแกรม Notepad อีกที  และอย่าลืมให้ Credit เจ้าของข้อมูลด้วยนะขอรับ

 

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

772 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
เกียร์? 29 มี.ค. 50 17:57 น. 144
พี่ๆคับ ผมอยากรุว่าโลหการและวัสดุเนี่ยเกี่ยวกับอะไรอะครับ
ต่างจากวิดวะวัสดุอย่างเดียวรึเปล่า หรือว่ามันรวมเกี่ยวกับพวกเหล็กอะไรเงี้ยด้วยอะครับ

ช่วยตอบหน่อยนะครับ เห็นมันแยกสาขามาจากวิดวะรวมที่จุฬาฯอ่ะครับ
0
กำลังโหลด
ลูกพระพิรุณ 29 มี.ค. 50 18:25 น. 145
วิศวะ ภาคพิเศษ ที่เกษตร มี7ภาคให้เลือกครับ
1.วิศวกรรมเคมี
2.วิศวกรรมเครื่องกล
3.วิศวกรรมอุตสาหการ
4.วิศวกรรมไฟฟ้า
5.วิศวกรรมไฟฟ้าเครื่องกลการผลิต
6.วิศวกรรมวัสดุ
7.วิศวกรรมสำรวจและสารสนเทศน์ภูมิศาสตร์(เปิดเฉพาะ ภาคพิเศษ)
0
กำลังโหลด
joker 29 มี.ค. 50 18:59 น. 146
คือ ผม ตอนนี้ขึ้น ม.5 นะครับ อยากรู้ว่า

ที่ไหนเปิดรับตรงบ้างอ่ะครับ (หมายถึงสอบรับตรงภาคปกติอ่ะครับ)

และถ้าเปิดเราจะหาดูข้อมูลจากเวปอะไรบ้างอ่ะครับ

รบกวนด้วยนะครับ พี่ๆ ช่วยลิ้งให้ทีนะครับ

ปล.ผมเรียนวัดเขมา ม.5 ครับ รู้ว่าตะเองไม่เก่งแต่ อยากลองดูงับ
0
กำลังโหลด
Tua-Emo19 Member 29 มี.ค. 50 20:49 น. 147

ตอบ คห132

ก็พอมีบ้างคับ

ตอบ คห142

อันเดียวกันคับ เปิดทุกที่ แยกจากไฟฟ้า ปี 3 ปี 4 คับ

ตอบ คห146

มีรับสอบตรง ที่ มหิดล คับ บางมดก็มี โควต้า สอบสัมพาด คับ สอบถามได้จากอาจารย์ แนะแนว เรยคับ

0
กำลังโหลด
จริงดิ 29 มี.ค. 50 21:19 น. 148
ถึง.....ความคิดเห็นที่14
เราเป็นหนึ่งในเด็กวิดวะ ปิโตร ศิลปากร เหมือนกัน
ถ้าคิดว่าการจะเข้ามาเรียนที่นี้เป็นการขุดหลุมฝังตัวเอง
ก็ไม่ต้องมาหรอกค่ะ เพราะเราก็ไม่ต้อนรับเหมือนกัน
เราว่าคุณเก่งน่ะ แต่เราคิดว่าคุณคงจะประสบความสำเร็จได้ดี
คุณก็ไม่ควรจะดูถูกในสิ่งที่คนอื่นเป็น แล้วไม่ได้เรียนขุดเจาะ
น้ำมันแล้วมันเป็นไง เรียนที่นี้เราก็มีความสุขดี
สุดท้าย.....................ขอให้มีความสุขในมหาวิทยาลัยนะ
แก้นิสัยหน่อย เพราต่อไปอาจจะไม่มีหลุมแม้แต่จะฝังตัวเอง
0
กำลังโหลด
อยากเรียนจัง... 29 มี.ค. 50 21:23 น. 149
อยากรุ้ว่า...คนที่เปง ญ เรียนวิดวะโยธาแล้วไม่รุ่งจิงๆๆเหรอค่ะ จบออกมาแล้วหางานทำยากส์มากมายเลยเหรอคะ พี่ๆๆๆ ช่วยตอบให่หายข้องใจหน่อยคะ ขอบคุงคะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
TU67 30 มี.ค. 50 10:32 น. 151
พี่คับ คือ ผมจะเข้าวิดวะ วัดคุมลาดกระบังคับ
เหนมันมีวิดวะ ควบคุมด้วยอะ
แล้วมันต่างกันยังไง แล้วอันไหนมันดีกว่าอะครับ?
งานที่ทำเป็นไงบ้าง? งานมีเยอะไหมคับ?

วิดวะวัดคุมคะแนนมันดูไม่มากเลยอ่า 3600-6100 เอง
แต่พี่ผมมันแนะนำให้เรียน

ผมไม่อยากเข้าจุฬาครับ (เหตุผลส่วนตัว) จิงๆจุฬาดีมากๆ

พวกพี่ๆ คิดว่า ผมจะเข้าดีไหม หรือว่ามีที่อื่นที่เหมาะกว่านี้?

ps. คะแนนผมน่าจะได้มากกว่าคะแนน*สูง*สุด1000กว่าๆ
0
กำลังโหลด
นาโนะ 30 มี.ค. 50 12:14 น. 152
เรื่องสถาบัน ก้อค่อยข้างมีส่วนเหมือนกัน ไม่ว่าจะคณะไรอ่ะ ถ้าเปนพวกวิศวะ ที่มีขื่อก้อจะเปน จุฬา เกษตร เเละก้อ 3 พระจอมอ่ะ เเต่ตอนนี้เเทบทุกมหาลัยมีคณะวิศวะเกือบหมด เอกชนก้อด้วย อัตราเเข่งขันเลลสูงอ่ะ
*** ตอนเข้าไปเรียนก็ต้องเเข่งกัน ตอนเรียนก้อต้องเเข่งกัน จบมาเเล้วก็ยังต้องเเข่งกันอีก เฮ้อออ... **** เเต่เราก้อจะเข้าวิศวะ อิอิ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
ttt 30 มี.ค. 50 18:42 น. 155
"ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิศวกรรมทรัพยากรณี/สำรวจ/โลหการวัสดุ เป็นอย่างไร มาดูกาน......"

สวัสดีครับน้องๆมอปลายทุกๆคน คงมีน้องๆหลายคนที่อยากเรียนวิศวะ ซึ่งมีอยู่หลายภาควิชา และมีภาคที่น้องๆ (อาจจะ)ยังไม่ค่อยรู้จัก และมีให้เลือกใน Admission กลางด้วย ดังนั้นพี่จึงได้นำรายละเอียดของภาควิชาบางภาคที่แยกรหัสให้น้องๆสามารถเลือกเข้าเรียนมหาลัยตอนแอดมิสชันกลางได้ (ของที่จุฬาลงกรณ์นะคับ คือ 1.ภาคทรัพยกรธรณี 2. ภาคสำรวจ 3.ภาคโลหะการ) มาให้น้องๆ ได้ลองอ่าน และศึกษากันดูไว้เป็นทางเลือก (ที่เลือกได้) สำหรับการ Admission นะครับ ขอให้น้องๆโชคดีกับการเลือกคณะนะคับ (ข้อมูลทั้งหมดอ้างอิงจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) โชค AAA คับ

1). ภาควิชาวิศวกรรมทรัพยากรณ์ธรณี (ปี’49 สูงสุด 6708 ต่ำสุด5447)

ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมที่มีการใช้เหมืองหิน เช่น อุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ อุตสาหกรรมหินก่อนสร้างนั้น ต้องมีวิศวกรเหมืองแร่ ควบคุมเหมืองหินอยู่ ซึ่งในปัจจุบันมีเหมืองหินอยู่มากมาย แต่มีนิสิตจบมาเพียงปีละไม่กี่คน ดังนั้นวิศวกรสาขานี้ จึงยังเป็นที่ต้องการอีกมาก จนทำให้ทบวงต้องเปิดอีกรหัสหนึ่งให้โดยเฉพาะทีเดียว นอกจากนี้อุตสาหกรรมที่ เกี่ยวข้องกับการนำทรัพยากรธรณี (ทรัพยากรแร่และหิน ทรัพยากรน้ำใต้ดิน) ก็มีบทบาทที่สำคัญในสังคมยุคปัจจุบัน รวมถึงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่ (recycling) ที่มีส่วนสำคัญมากต่อการพัฒนาสังคนเนื่องจาก การลดลงและหมดไปของทรัพยากร (primary resources)

ปีนี้ภาคนี้จะเปลี่ยนหลักสูตรค่อนข้างมาก โครงสร้างเปลี่ยน เพิ่มวิชาและเพิ่มสาขาที่เรียนเป็น 3 วิชา คือ สาขาวิชาวิศวกรรมเหมืองแร่ (Mining Engineering) สาขาวิชาวิศวกรรมทรัพยากรธรณี (Resource Engineering) และสาขาวิศวกรรมอุทกธรณี (Hydrogeological Engineering) โดยทั้ง 3 สาขาวิชาจะเน้นด้านการใช้ทรัพยากรธรณี (ทรัพยากรแร่และหิน, ทรัพยากรน้ำบาดาล) มาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และก่อให้เกิดผลกระทบสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุด รวมทั้งการนำทรัพยากรกลับมาใช้ใหม่

ลักษณะวิชาที่เรียน และลักษณะงานของแต่ละสาขา

1. สาขาวิชาทรัพยากรธรณี

จะเรียนเกี่ยวกับการนำทรัพยากรต่างๆ ที่ใช้แล้วนำกลับมาสู่กระบวนการแยกแร่ แล้วนำไปใช้เป็นวัตถุดิบสำหรับการผลิตต่อไป หรือการนำวัสดุที่ใช้แล้ว มารีไซเคิลนั่นเอง วิชาที่เรียนนั้นจะเรียนวิชาที่เกี่ยวกับเทคนิคและอุปกรณ์ที่ใช้ในการแยกแร่ออกจากผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช้แล้ว การวางขั้นตอนการแยกแร่ และการออกแบบโรงงาน การศึกษาพฤติกรรมและคุณสมบัติของวัสดุต่างๆ

งานของวิศวกรสาขานี้ส่วนใหญ่แล้ว จะเกี่ยวข้องกับกระบวนการคัดแยกแร่ และการนำแร่ที่ได้มาทำการผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป ทำให้สถานที่ทำงานหลักก็คือ โรงงาน, โรงถลุงแร่ที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับรีไซเคิล แต่ในบางบริษัทที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจรีไซเคิลก็มีความต้องการวิศวกรสาขานี้เช่นกัน เพื่อนำไปแปรรูปของเสียที่เกิดขึ้นจากการผลิตให้นำกลับมาใช้ใหม่ได้ นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยรีไซเคิลที่ได้รับวิศวกรสาขานี้ด้วย

2. สาขาวิชาวิศวกรรมเหมืองแร่

จะเรียนเกี่ยวกับขั้นตอนการสำรวจหาแหล่งแร่ การประเมินปริมาณแต่ในแหล่งที่ทำการผลิต การวางแผนการทำเหมืองในรูปแบบต่างๆ การควบคุมการทำเหมืองแร่ การใช้อุปกรณ์และเทคนิคต่างๆ ในการแยกแร่

วิชาที่เรียนจะมีตั้งแต่วิชาพื้นฐานสำหรับวิศวกรเหมืองแร่ เช่น การสำรวจโดยใช้แผนที่ การศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติของหินและแร่ วิชาที่เกี่ยวข้องกับการทำเหมือง เช่น การออกแบบเหมือง การประเมินและการจัดการเหมืองการป้องกันมลภาวะจากการทำเหมือง เป็นต้น

วิศวกรเหมืองแร่นั้น งานหลักโดยทั่วไปก็คือการวางแผนและควบคุมการขุดเจาะและการทำการผลิตแหล่งแร่ ทำให้สายงานในอาชีพนี้ต้องออกไปทำงานที่ในเหมืองหรือเป็นงานในภาคสนามนั่นเอง จะมีงานในออฟฟิสบ้าง เช่น งานวิเคราะห์ ประเมินแหล่งแร่ และงนออกแบบและวางแผนการทำเหมือง ซึ่งอาจจะต้องออกภาคสนามบ้างเป็นครั้งคราว

สายงานด้านนี้ในเมืองไทยมีอยู่พอสมควร เมื่อเทียบกับจำนวนคนที่เรียนจบ สาขานี้ในแต่ละปีก็ถือว่ายังมีงานที่สามารถรองรับผู้ที่เรียนจบสาขานี้ งานในสายนี้ที่เห็นได้ชัด เช่น บริษัทบ้านปู ที่ทำเหมืองถ่านหินปูน โรงโม่หิน แร่ดีบุก แต่สังกะสี แต่เฟลด์สปาร์ (ใช้ในอุตสาหกรรมเซรามิค) ทำให้มีความต้องการวิศวกรเหมืองแร่ที่จะสามารถทำงานในต่างประเทศได้อีกด้วย นอกจากนี้ยังมีกรมกระทรวงและหน่วยงานราชการที่รับวิศวกรสาขานี้เข้าทำงานด้วย เช่น กรมเชื้อเพลิง กระทรวงพลังงาน กระทรวงทรัพยากรธรณี เป็นต้น

การศึกษาต่อ

ในระดับปริญญาโท ทางภาคกำลังละทำการปรับเปลี่ยนหลักสูตร เป็นหลักสูตรวิศวกรรมทรัพยากรธรณี (Resources Engineering) สำหรับเรื่องทุนทางภาคมีทุนให้ทุกปี ซึ่งเป็นทุนผู้ช่วยสอนและทุนสอนและทุนจากภาควิชาโดยตรง ซึ่งเป็นทุนไม่ผูกมัด เนื่องจากหลักสูตรได้ปรับเป็นด้านการพัฒนาทรัพยากรธรณีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดังนั้นวิศวกรที่จบสาขานี้ในระดับปริญญาโท สามารถเข้าทำงานในหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องกับการใช้ทรัพยากรดังกล่าว

วิศวกร สาขาวิศวกรรมทรัพยากรธรณี สามารถขอรับบอนุญาต เป็นผู้ประกอบวิชาชีพควบคุม ระดับภาคีวิศวกร ซึ่งสามารถทำงานได้ตามข้อบังคับของสภาวิศวกรว่าด้วยมาตราฐานการประกอบวิชาชีพวิศวกรควบคุม สาขาวิศวกรรมเหมืองแร่ พ.ศ.2546 ใน 3 ลักษณะ คือ งานควบคุมการสร้างและการผลิต งานพิจารณาและตรวจสอบ และงานอำนวยการใช้ ถ้าตามประเภทงานแบ่งได้ 4 ประเภท คือ การทำเหมืองแร่ งานวิศวกรรมที่มีการใช้ระเบิด การแยกวัสดุต่างๆออกจากของที่ใช้แล้วโดยกรรมวิธีแต่งแร่ และ การแต่งแร่ โดยสามารถทำในหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแล และส่งเสริมอุตสหกรรมการพัฒนาทรัพยากรธรณี ได้แก่ กรมอุตสหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสหกรรม กรมเชื้อเพลิงพลังงาน กระทรวงพลังงาน เป็นต้น

นอกจากนี้ ยังสามารถทำงานในหน่วยงานรัฐวิสหกิจและบริษัทที่ผลิตวัตถุดิบที่ได้จากทรัพยากรต่างๆรวมถึงอุตสหกรรมพื้นฐานที่เกี่ยวข้อง อาทิเช่น

กลุ่มแร่เชื่อเพลิง เช่น ถ่านหิน ซึ่งหน่วยงานที่สำคัญ เช่น เหมืองถ่านหินแม่เมาะของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
กลุ่มแร่อุตสาหกรรมก่อสร้าง เช่น เหมืองหินปูน ของบริษัทผลิตปูนซีเมนต์ในประเทศ เหมืองยิปซั่ม เหมืองหิน สำหรับหินก่อสร้าง หินอ่อน และหินประดับ
กลุ่มแร่อุตสาหกรรมเซรามิก แก้ว กระจก เช่น เหมืองดินขาว เหมืองแร่เฟลด์สปาร์ ทรายแก้ว
กลุ่มแร่อุตสาหกรรมอัญมญีและเครื่องประดับ เช่น เหมืองแร่ทองคำ เหมืองพลอย
กลุ่มอุตสาหกรรมปุ๋ยและเคมีภัณฑ์ เช่น เหมืองแร่โปแตช เป็นต้น
นอกจากนี้ วิศกรสาขาวิศวกรรมทรัพยากรธรณี ยังสามารถทำงานได้ ในอุตสหกรรมเกี่ยวข้องกับการหมุนเวียนทรัพยากรกลับมาใช้ หรือรีไซเคิล ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเป็นอุตสาหกรรมที่จำเป็นและมีความสำคัญในอนาคต เช่น หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาในการรีไซเคิล บริษัทกำจัดกากอุตสหกรรม บริษัทคัดแยกและหมุนเวียนโลหะจากเศษทิ้งต่างๆ เช่น เศษทิ้งจากอุตสหกรรม เครื่องประดับ อุตสกรรมอิเล็คทรอนิก เป็นต้น โดยใช้เทคโนโลยีในการแต่งแร่ เข้าประยุกต์ใช้ในอุตสหกรรมดังกล่าว





2). ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ (ปี’49 สูงสุด 6867 ต่ำสุด 3810)

ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ.2498 ซึ่งได้ผลิตวิศวกรสำรวจออกไปแล้วกว่า 400 คน และยังเป็นภาควิชาเดียวในประเทศไทยที่ผลิตบัณฑิตและมหาบัณฑิตทางด้าน Geomatic Engineering ใน

Geomatic Engineering เป็นวิศวกรรมขั้นสูงที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีทางด้านอวกาศและเทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรสำรวจเมื่อสำเร็จการศึกษาออกไปจะทำงานที่เกี่ยวข้องกับการ

- ใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลสัญญาณดาวเทียมเพื่อบอกตำแหน่งของวัตถุที่อยู่นิ่งหรือเคลื่อนที่ เช่น รถยนต์หรือฐานเจาะน้ำมัน

- ใช้คอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์ภาพดาวเทียมดิจิตอลเพื่อค้นหาวัตถุที่สนใจ

- ประมวลภาพถ่ายที่ได้จากกล้องถ่ายภาคพื้นดินเพื่อตรวจสอบการบิดเบี้ยวของโครงสร้างยานพาหนะ

- ควบคุมให้ช่างเทคนิคใช้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์รังวัดอิเลคทรอนิคส์สมัยใหม่ให้ทำงานอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ

- คำนวณและตรวจสอบงานรังวัดความถูกต้องสูงมาก เช่น การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก การทรุดตัวของอาคาร

สภาพของสังคมสมัยใหม่ทำให้ Geomatic Engineering เป็นที่ต้องการอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นในระบบขนส่งอัจฉริยะ (Intelligent Transportation System) การจัดการระบบสาธารณูปโภค (Facility Management) การสังเกตการณ์โลก (Earth Observation) การติดตามการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม (Environmenttal Monitoring) การจำลองเหตุการณ์ในลักษณะ3 มิติ และ Visualization

Geomatic Engineering เป็นงานวิศวกรรมที่หลากหลาย วิศวกรอาจเลือกทำงานที่เน้นภาคสนาม หรือเน้นงานวิเคราะห์ประมวลผลในสำนักงานเป็นหลักแล้วแต่ความชอบ ในขณะเดียวกันก็เป็นงานท้าทายเนื่องจากวิศวกรต้องมีความรู้ความสามารถหลายด้าน ทั้งในเชิงวิเคราะห์ การใช้คอมพิวเตอร์ การใช้อุปกรณ์ขั้นสูงที่มีความสลับซับซ้อน การจัดการและการบริหารโครงการ รวมทั้งต้องเป็น ผู้ที่สนใจติดตามเทคโนโลยี ที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วตลอดเวลา

ลักษณะวิชาที่เรียน

ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจจะเรียนครอบคลุมเกี่ยวกับการรังวัดทั่วๆไป ตั้งแต่งานรังวัดพื้นระนาบ ไปจนถึงการรังวัดดาวเทียม การศึกษาด้านภาพถ่ายทางอากาศ การทำแผนที่ และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ โดยทั่วไปเป็นการศึกษาในภาคทฤษฎี ควบคู่ไปกับภาคปฎิบัติ การสำรวจรังวัดจะเป็นการปฎิบัติงานเพื่อหาค่าความสูง ระยะทางราบ ทิศทางในภูมิประเทศ การเก็บข้อมูลรายละเอียดของภูมิประเทศ การทำแผนที่และ แผนผังเพื่องานวิศวกรรม การออกแบบเส้นทางและระบบชลประทาน นอกจากนี้ยังได้เรียนใจวิชาพื้นฐานของภาคโยธาเพิ่มเติมอีกด้วย เนื่องจากทั้ง 2 สายงานนี้มีความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงกัน โดยหลักสูตรในระดับปริญญาตรีของภาควิชาวิศวกรรมสำรวจจะเน้นการสำรวจขั้นสูง และยังเน้นความรู้ทางด้านการบริหารอีกด้วย รวมถึงการวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ด้วยระบบคอมพิมเตอร์ เพื่อสนับสนุนในด้านข้อมูล พื้นฐานให้กับงานสาขาอื่นๆ

วิชาที่เรียน

- Hardware ใช้อุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก (CG) เช่น Plotter, Digitizer และอุปกรณ์งานภาคสนาม ได้แก่ เครื่องรับสัญญาณ GPS ทั้งชนิดสำหรับงานรังวัดขั้นสูงและชิพมือถือ กล้องรังวัดอิเล็คทรอนิคชนิด Total Station

- Software ใช้ Software เพื่อประมวลผลและปรับแก้ภาพถ่ายทางอากาศโดยใช้ Software ทางด้าน GIS, GNSS หรือ GPS/Galileo, Digital Photogrammetry, Remote Sensing และ Software ทางด้านการประมวลภาพที่ทันสมัยที่สุดในประเทศ

วิชาชีพวิศวกรรมสำรวจ

งานของวิศวกรรมสำรวจเป็นงานเกี่ยวกับการรังวัดเพื่อที่จะทำแผนที่เพื่อนหาตำแหน่งของสิ่งต่างๆ จะเป็นงานขั้นพื้นฐาน แต่ในปัจจุบันนอกจากงานทางด้านแผนที่แล้วยังมีงานทางด้าน Geograpic Information System (GIS) ซึ่งเกี่ยวกับการนำแผนที่ไปใช้ประโยชน์ทางด้านสารสนเทศ การจัดข้อมูลเกี่ยวกับแผนที่ การนำไปประยุกต์ใช้ในงานด้านต่างๆ

วิศวกรสำรวจเป็นที่ต้องการอย่างกว้างขวางทั้งในภาคธุรกิจรัฐวิสาหกิจและภาคราชการ ตัวอย่างบางส่วนของหน่วยงานที่วิศวกรสำรวจอาจเลือกทำงาน ได้แก่

งานด้านการบริการวิชาการ

นอกเหนือไปจากงานด้านการเรียนการสอน และการวิจัยแล้ว ภาควิชาสำรวจยังมีการให้บริการสังคมในรูปแบบของการให้คำปรึกษาและการให้บริการทางวิชาการ แก่หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนหลายหน่วยงาน ตัวอย่างของงานบริการวิชาการมีดังนี้

- การรับเป็นที่ปรึกษาในการจัดทำแผนแม่บทระบบภูมิสารสนเทศแห่งชาติให้กับ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.)

- การรับจัดทำโครงการศึกษาเพื่อกำหนดแผนกลยุทธ์ในการนำระบบสารสนเทศ ภูมิศาสตร์ มาใช้ในกรุงเทพให้กับสำนักนโยลายและแผน กรุงเทพมหนคร

- การรับจัดทำโครงการพัฒนาระบบต้นแบบสำหรับการเผยแพร่ สารสนเทศสิ่งแวดล้อม พื้นที่จังหวัดชลบุรีให้กับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้ม

งานด้านการฝึกอบรม การจัดสัมมนาถ่ายทอดเทคโนโลยี

ภาควิชาวิศวกรรมสำรวจ ได้มีการจัดการฝึกอบรมระยะสั้นทางด้านการสำรวจรังวัดด้วยดาวเทียมระบบ GPS และการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ทาง GIS ด้วยภาษา Avenue ให้กับผู้ที่สนใจเป็นประจำทุกปี อีกทั้งยังมีการจัดการสัมมนาและ การบรรยายความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศปริภูมิอย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็ได้รับความสนใจจากบุคคลในวิชาชีพสำรวจ และที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างมากสำหรับผู้ที่สนใจสามารถติดตามข่าวการจัดการฝึกอบรมระยะสั้น และการบรรยายความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี สารสนเทศปริภูมได้จากเว็บไซต์ของภาควิชา (www.sv.eng.chula.ac.th)



3). ภาควิชาวิศวกรรมโลหะการ และวัสดุ(ปี’49 สูงสุด 7541 ต่ำสุด6239)

ภาควิชาโลหะการนั้น นอกจากจะสอนเกี่ยวกับเทคโนโลยีด้านโลหะแล้ว หลักสูตรปัจจุบันซึ่งได้แก่ หลักสูตรวิศวกรรมโลหการและวัสดุ (ปริญญาตรี) ยังสอนครอบคลุมถึงวัสดุ อื่นที่ไม่ใช่โลหะ ได้แก่ พอลีเมอร์และเซรามิกอีกด้วย เพื่อสร้างวิศวกรโลหการให้สอดคล้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรม โดยเฉพาะในด้านอุตสาหกรรมการผลิต ซึ่งเป็นพื้นฐานของอุตสาหกรรมทั้งหมด วิศวกรโลหการจะเป็นผู้ที่มีความรู้ในด้านการผลิตโลหะ และวัสดุต่างๆ, การเลือกใช้วัสดุให้เหมาะสมกับสภาพงาน, การปรับปรุงคุณสมบัติของวัสดุเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของวิศวกรสาขาอื่นๆ เช่น เครื่องกลหรือไฟฟ้าหรือคอมพิวเตอร์ และอื่นๆ เช่น เครื่องกลหรือไฟฟ้าหรือคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการป้องกันการเสียหาย และการวิเคราะห์หาสาเหตุ และหนทางแก้ไขความเสียหายที่เกิดขึ้นอันเนื่องจากการ ใช้ชิ้นส่วนต่างๆ

สภาพปัจจุบันของภาควิชา

ห้องวิจัยที่อาจารย์ในภาคดำเนินงานอยู่ได้แก่

- กลุ่มวิจัยการแข็งตัวของน้ำโลหะ ค้นคว้าวิจัยเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ ช่วยในการคำนวณด้านการขึ้นรูปโลหะ ไม่ว่าจะเป็นงานหล่อ หรือการขึ้นรูปด้วยแรง

- กลุ่มวิจัยโลหะมีค่า ได้แก่ พวกเงิน, ทอง, ทองที่ใช้เป็นตัวเรือนเครื่องประดับและอัญมณี

- กลุ่มวิจัยการกัดกร่อนและการเชื่อมโลหะ

- กลุ่มวิจัยกรรมวิธีโลหะผง(Powder Metallurgy)

ลักษณะวิชาที่เรียน

- หลักการพื้นฐานทางวัสดุวิศวกรรม (ฟิสิกส์ประยุกต์, ปรากฎการต่างๆที่เกิดในวัสดุ, การเปลี่ยนแปลงสภาพ Transformation ที่เกิดขึ้นในวัสดุ, ความสัมพันธ์ระหว่างโครงสร้างและคุณสมบัติ และอื่นๆอีกมากมาย)

- เทอร์โมไดนามิกส์ และปรากฎการณ์ขนส่งในวิศวกรรมวัสดุ

- การขึ้นรูปวัสดุ

- การทดสอบ และวิเคราะห์ของวัสดุทางวิศวกรรม

ลักษณะงาน

สามารถทำงานได้หลากหลายมากๆครับสาขานี้ เช่น

- เป็นวิศวกรโรงงาน (วิศวกรฝ่ายผลิต, วิศวกรฝ่ายควบคุมคุณภาพ) ในงานภาคอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมผลิตเหล็ก อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิค รวมทั้งอุตสาหรรมผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ ได้แก่การขึ้นรูปชิ้นส่วนรถยนต์ และโลหการจึงต้องไปด้วยกัน ยานยนต์ออกแบบเครื่องยนต์และรถยนต์ แต่โลหการเป็นคนขึ้นรูปมันขึ้นมาใช้งาน เวลาเลือกวัสดุออกมาผลิต เราสามารถ เลือกวัสดุตามคุณสมบัติของวัสดุที่ลูกค้าต้องการ ออกแบบกระบวนการขึ้นรูปให้เหมาะสม โดยสรุปคือ โลหการเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนออกมา support อุตสาหกรรมยานยนต์

- อุตสาหกรรมจิวเวลรี่ ได้แก่ งานผลิตเครื่องประดับ เช่นการทำสร้อยทอง ต้องเอาทองรีดเป็นเส้นเล็กๆ ขึ้นรูป ถักให้เป็นลาย ช่วงที่ดึงเป็นเส้นเล็กๆ ทำยังไงให้ดึงไม่ให้ขาด ไม่ให้แม่พิมพ์สึกเร็ว ก็เป็นหน้าที่ของเรา หาทางแก้ไข หรือการหล่อแหวนไหลไม่เต็มแบบ รูปร่างไม่สวยจะต้องแก้ไขยังไง เงิน ใช้งานนานๆจะหมอง ก็มีการเติมธาตุอื่นลงไปเพื่อไม่ให้หมองหรือหมองช้าลง

- งานตรวจเช็คสภาพ เช่น ที่ ปตท. การบินไทย การไฟฟ้า ทำงานเป็นคนตรวจเช็ควัสดุว่ามันจะยังใช้งานต่อไปได้มั้ย เช่นการเชื่อมท่อชิ้นส่วนต่างๆเครื่องบินร้าวแล้วใช้ได้ไหม และเสนอหนทางแก้ไข

- งานวิจัย ที่ศูนย์เทคโนโลยีโลหะเหล็กและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)

- งานเกี่ยวกับ เทคนิค เช่นงานสายตรวจสอบ ป้องกันการเสียหาย วิเคราะห์ ความเสียหาย

- งานรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ตลาดโลหะ ต้องมีความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์มาบ้าง

การศึกษาต่อ

ต่างประเทศให้ความสำคัญต่อสาขานี้มากกว่าไทยหลายเท่านัก เพราะวัสดุคือพื้นฐานของอุตสหกรรมทุกประเภท น้องที่สนใจเรียนต่อด้านนี้ สามารถเลือกไปได้ทุกโซนเลย ไม่ว่าจะเป็นญี่ปุ่น อเมริกา หรือยุโรป รับรองว่ามีสาขานี้ให้เรียนแน่ๆ หรือถ้ารักเมืองไทย จะเรียนในไทย ที่ภาคฯของเราก็เปิดทั้งระดับ ป.โทและเอกแล้ว

ทุนการศึกษา

- ทางภาค มีทุนให้ฟรีของภาคเองให้สำหรับเด็กที่เลือกภาคนี้เป็นอันดับที่ 1 เข้ามา และมีเกรดเฉลี่ยเกิน 2.75 มีทุนให้จนกว่าเรียนจบ

- ทุนจากบริษัทต่างๆ อีกมากมายจิงๆ เช่นไทยปาร์กเกอร์, สหวิริยา, ทุนศึกษาต่างประเทศ, ทุนไปญี่ปุ่น มอนบุโช ต้องไปสอบเอง เป็นต้น

หากน้องๆต้องการข้อมุลเพิ่มเติม สามารถเยี่ยมชมได้ที่ www.eng.chula.ac.th/~metal/ คับ โชคดีนะคับน้องๆๆๆ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
เดะวิดวะลาดกระบัง 30 มี.ค. 50 22:05 น. 158
วิศวะ ลาดกระบัง ดีจ้ะ มี13ภาคแน่ะ สังคมดี อยู่แร้วมีความสุข
เครื่องมือเยอะ ได้เรียนปฏิบัติตั้งกะปี1 รุ่นพี่ดีจิงๆ
สรุป ดูโฆษณาเบอร์ดี้เป่า มีรถ ลาดกระบังสร้าง ยิ่งใหญ่ หนึ่งในจัยคุน
0
กำลังโหลด
TRKP 30 มี.ค. 50 22:40 น. 159
แนะนำ มทส.นะน้องๆที่สนใจ ที่นี่น่าเรียนมากๆ
เรามีสาขาแนะนำนะน้องๆ ดังนี้นะคับ
ที่นี่เปิดมาแล้ว 16 ปี มี 5 สำนักวิชาด้วยกัน<เน้นเทคโนโลยี>

ที่ มทส มีวิศวะทั้งหมด 18 สาขา<ถือว่าเยอะที่สุดในประเทศไทย>เช่น
โยธา เครื่องกล ไฟฟ้า เคมี อุตสาหการ การผลิต คอมพิวเตอร์
โทรคมนาคม ขนส่ง(โลจิสติก) เกษตร โลหการ พอลิเมอร์ เซรามิก
เทคโนธรนี<GEO> สิ่งแวดล้อม และสาขาน้องใหม่ แมคคาทรอนิกส์
กับการบินและท่าอากาศยาน

พี่คิดว่า คงจามีสาขาที่น้องๆสนใจนะคับ
ถ้าสนใจดูรายละเอียดได้ที่ www.sut.ac.th <ม.เทคโนโลยีสุรนารีนะคับ>
<ถ้าเราม่ายมีดีพอเราม่ายกล้าโพสหรอกคับ>

จาก "รุ่นพี่วิศวะคนหนึ่ง"
0
กำลังโหลด
S_OiL* 30 มี.ค. 50 23:15 น. 160
อยากเข้าวิศวะ โลหการวัสดุ ที่จุฬาอ่ะค่ะ
ชอบมากเลยอ่ะพี่ อยากเรียน
มันดูมีอะไรให้ค้นหา แล้วมันมีความสุขที่ได้ดูได้ทำ
เพราะหนูเคยไปค่ายที่ ม.เกษตร อ่ะพี่ ภาควัสดุอ่ะ
โอเคเลยอ่ะ ลองได้ทำลองได้เรียนเล็กๆน้อย รู้สึกดี
มันสนุก ก็ดีใจนะ ที่หาตัวเองเจอ
แต่ไม่รุว่าจะเจอตัวเองในคณะนี้ป่าว (ต้องเจอดิ)
ปีหน้าพี่ หนูสอบปีนี้
ก็อยากจะให้พี่ๆเป็นกำลังใจให้หนูด้วยนะ
แล้วหนูก็อยากเป็นกำลังใจให้พี่ๆ
ทุกคนที่สอบปีนี้
ได้ในคณะที่ตรงกับตัวเอง
ที่ตัวเองรัก แล้วชื่นชอบ มีความสุขกะมันนะพี่
จะได้ไม่มาเสียใจทีหลัง

ปล. ไม่เข้าใจเลยอ่ะ บางคนก็ไม่ได้รักที่จะเรียนวิศวะจริงๆอ่ะ
แล้วมาเรียนวิศวะอ่ะ แบบว่าตามเพื่อน
แล้วคะแนนดี-สูง สงสารคนที่เค้าอยากเรียนวิศวะจิงๆ
อยากไปกันที่เค้าเลยนะ เหอๆๆๆๆ

อยากคุยกับพี่ที่เรียนอยู่ วิศวะโลหการ ที่จุฬาอ่ะค่ะ
ฝากเมลได้ก้อดีนะค่ะ
อยากจะปรึษา แล้วก็รู้เรื่องราวที่คณะนี้อย่างลึกซึ้ง
ขอบคุณมากๆค่ะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด