คณะวิทยาศาสตร์ สาขาธรณีวิทยา
ตอนที่ 3/3 : ชีวิตนอกรั้วมหาวิทยาลัย (นักธรณีวิทยา)

       สวัสดีค่ะน้องๆ ชาว Dek-D.com .... ยังคงเจาะลึก "คณะวิทยาศาสตร์ สาขาธรณีวิทยา" กันอยู่เช่นเคย สำหรับวันนี้ พี่เป้ ไม่ได้มาคนเดียว แต่มาพร้อมกับรุ่นพี่คนนึงที่เรียนจบจากด้านนี้ และตอนนี้กำลังทำงานเป็นนักธรณีวิทยาอยู่ !!!!!! โห ฟังดูเท่สุดๆ ใช่มั้ยล่ะ แต่น้องๆ รู้มั้ยว่า จริงๆ แล้วนักธรณีวิทยามีหน้าที่อะไรบ้าง ????


สวัสดีค่ะ ก่อนอื่นขอให้แนะนำตัวเองแก่น้องๆ ที่กำลังอ่านหน่อยค่ะ 
      พี่ชื่อณัฐพงษ์ ธนพันธานุรักษ์ครับ ชื่อเล่นเบียร์ จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะวิทยาศาสตร์ สาขาธรณีศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รุ่น 1 หลังจากเรียนจบก็เข้าทำงานเป็นนักธรณีวิทยา ที่บริษัท ปตท สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด มหาชน จนถึงปัจจุบันครับ


ย้อนความไปตอนนู้น ทำไมถึงเลือกเรียนด้านธรณีวิทยาคะ
      ตอนแรกเลย โดยส่วนตัวแทบจะไม่ได้รู้จักว่าธรณีวิทยาหรือธรณีศาสตร์คืออะไรเลยครับ ต้องยอมรับว่าในสมัยพี่ยังละอ่อน (ไม่นานมากหรอกจ้ะ TT) ระบบแนะแนวยังไม่ค่อยเข้าถึงศาสตร์นี้เท่าที่ควร แต่พี่ได้มารู้จักเพื่อนคนญี่ปุ่น ซึ่งเขาเองก็เรียนธรณีวิทยาและทำวิจัยเรื่องแผ่นดินไหวและภูเขาไฟ ได้มีโอกาสคุยกัน เลยรู้สึกปิ๊งทันที หมายถึงเรื่องภูเขาไฟนะครับ ไม่ใช่ปิ๊งคน ^^ ครับ

      จากนั้นก็มาหาข้อมูลว่าธรณีวิทยา เราก็พบว่า โอ้โห มันน่าสนใจมากๆ มันไม่ใช่มาเรียนเรื่องขุดดินตามความเชื่อโบราณ ของพี่ซะแล้ว ธรณีวิทยามีหลายสาขาให้เรียนรู้ครับ วิชาธรณีวิทยาสามารถตอบปัญหาต่างๆ มากมายที่เกี่ยวข้องกับวิวัฒนาการของโลก ดาวเคราะห์ และจักรวาล ธรณีพิบัติภัยภูเขาไฟ แผ่นดินไหว รอยเลื่อน สึนามิ อุทกภัย น้ำท่วม น้ำหลาก การกัดเซาะ ดินถล่ม หลุมยุบ ภูเขา แม่น้ำ ทะเล มหาสมุทรทะเลทราย ไดโนเสาร์ ซากดึกดำบรรพ์หรือบรรพชีวินหรือฟอสซิล บั้งไฟพญานาค ไม้กลายเป็นหิน ถ่านหิน น้ำมัน ปิโตรเลียมเชื้อเพลิง แหล่งแร่ เหล็กไหล อุลกมณี โลกศาสตร์  ซึ่งถ้าจะดูจริงๆ แล้ว เรียนรู้อะไรได้เยอะครับ  พี่เลยตัดสินใจเลือกเรียนธรณีวิทยาครับ ก็เลือกที่มหิดล เพราะอยากไปอยู่กาญจนบุรีครับ


แล้วตอนนี้ งานนักธรณีวิทยาที่ทำอยู่ มีขอบเขตหน้าที่ที่ต้องทำอะไรบ้างเหรอคะ
      นักธรณีวิทยาประจำแท่นขุดเจาะ (Wellsite Geologist) คือตำแหน่งที่ทำอยู่ตอนนี้ครับ โดยเราก็จะต้องทำงานเป็นทีมครับ จะขออธิบายง่ายๆ นะครับ

ทีมงานสำรวจปิโตรเลียมก็จะมี 3 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
- นักธรณีวิทยาปิโตรเลียม (Petroleum Geologist)
- นักธรณีฟิสิกส์ปิโตรเลียม (Petroleum Geophysicist
- วิศวกรปิโตรเลียม (Petroleum Engineer)


      ซึ่งตำแหน่งที่พี่รับผิดชอบอยู่ จะอยู่ในกลุ่มของนักธรณีวิทยาปิโตรเลียม นักธรณีวิทยาจึงต้องศึกษาเกี่ยวกับลักษณะที่ตั้งทางธรณีวิทยาและประวัติของการกำเนิดและการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลก ต้องสามารถแจกแจงและตรวจสอบชนิดของหินได้ ศึกษาข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม ภาพถ่ายทางอากาศ สำรวจและจัดทำแผนที่ธรณีวิทยา แผนที่โครงสร้างและแหล่งปิโตรเลียม วิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บได้จากการศึกษาค่าความไหวสะเทือน (Seismic)ครับ ถ้าชี้เฉพาะมาที่ตำแหน่ง นักธรณีวิทยาประจำแท่นขุดเจาะก็จะมีหน้าที่ศึกษาบรรยายตัวอย่างหินที่ได้จากหลุมเจาะ การตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลที่ได้จากการเจาะ รวมไปจนถึงการรายงาน operation ต่างๆ ที่เกิดขึ้นให้นักธรณีวิทยาที่อยู่ในเมืองทราบและตัดสินใจครับ


โอ้โห ฟังดูยากไม่ใช่เล่นเลย ส่วนตัวคิดว่าเสน่ห์หรือสิ่งท้าทายของการเป็นนักธรณีวิทยาอยู่ที่ตรงไหนคะ
      ธรณีวิทยาเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ การทำงานและการศึกษาต้องใช้จินตนาการ โดยอ้างอิงจากหลักฐานที่เราพบมาประมวลเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตแล้วส่งผลให้เกิดหลักฐานนั้นๆ ในปัจจุบัน เป็นสิ่งที่ท้าทายมากครับ ไม่มีใครเคยเกิดทันตอนทวีปแอฟริกากับอเมริกาแยกกัน แต่เราก็อาศัยหลักฐานต่างๆ จนเราสามารถอธิบายได้ว่า ความเป็นมาอย่างไร ถึงแม้ว่าตอนนี้เทคโนโลยีจะก้าวไปไกลแค่ไหน แต่เราเองก็ยังไม่มีเครื่องมือในการทำนายภัยธรรมชาติต่างๆ ได้อย่างร้อยเปอร์เซ็นต์ เราทำงานกับสิ่งที่เรามองไม่เห็นโดยตรงเช่น น้ำมัน ก๊าซ แร่ รวมไปถึงทรัพยากรต่างๆ ที่อยู่ใต้ดิน สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความท้าทายของนักธรณีวิทยาครับ

 


แล้วอย่างนี้ ต้องออกไปทำงานข้างนอกใช่มั้ยคะ
      การทำงานของพี่เรียกว่า offshore rotation ครับ ซึ่งจะทำงานที่แท่นกลางทะเล 3 อาทิตย์ และได้จะได้เวลาพัก 3 อาทิตย์ครับ


 

ต้องออกไปทำงานกลางทะเลแบบนี้ หลายคนอาจจะมองว่าอันตราย จริงๆ แล้วเป็นยังไงบ้างคะ
      งานทุกๆ งานรวมถึงงานทางธรณีวิทยาก็ล้วนแต่มีความอันตรายที่แตกต่างกันออกไปครับ แต่ถ้าเรามีการศึกษาลักษณะของงานนั้นๆ เป็นอย่างดี ทำความเข้าใจถึงกฎระเบียบต่างๆ อันตรายที่เกิดก็มีโอกาสน้อยครับ

      พี่ยกตัวอย่างเช่นสมัยเรียนปีสาม ต้องออกพื้นที่ไปทำแผนที่ธรณีวิทยา ต้องขึ้นเขาลงห้วย นอนกลางดิน กินกลางทราย เฮ้ย ไม่โหดขนาดนั้น ^^ ก็อย่างถ้าเราเข้าป่า อาจจะเจอสัตว์มีพิษ เช่น กระต่าย เอ้ย! แมว เอ้ย! งู เอ้ย!...ถูกแล้ว!!! 55 ก็จะมีการบรรยายเรื่องสัตว์ร้ายๆ ประเภทต่างๆ โดยสัตวแพทย์ พี่หมอก็จะบอกถึงลักษณะนิสัยของน้องงูแต่ละชนิด ข้อควรระวัง รวมไปจนถึงการปฐมพยาบาลครับ ถ้าพูดถึงงานเหมืองแร่ที่เป็นข่าวในจีน ก็ดูจะอันตราย เพราะมีการพังถล่มลงมาหลายๆครั้ง ซึ่งในปัจจุบันระบบความปลอดภัยและชีวอนามัยได้พัฒนามามากขึ้นแล้วครับ กรณีดังกล่าวก็น้อยลงครับ สรุปสั้นๆ กฏมีไว้ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยของตัวเราเองครับ


แล้วนอกจากเป็นนักธรณีวิทยาแล้ว จบคณะนี้ทำงานอะไรได้บ้างคะ
     ไปทำงานในแผนงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม งานด้านการขุดเจาะสำรวจและวิจัยน้ำมันกับทางบริษัทเอกชน หรือจะเป็นการออกไปทำงานเกี่ยวข้องกับเหมือนแร่ยังต่างประเทศก็ได้ครับ


สุดท้ายแล้ว อยากให้ฝากถึงน้องๆ ที่สนใจด้านนี้หน่อยค่ะ
      การเกิดอุบัติภัยทางธรรมชาติในรอบปีที่ผ่านมา ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่ประเทศเฮติ ชิลี ภูเขาไฟระเบิดที่ประเทศไอซ์แลนด์ หรือย้อนกลับไปอีกก็คือการเกิดคลื่นยักษ์สึนามิโถมเข้าซัดชายฝั่งอันดามันประเทศไทย สร้างความเสียหายมากมายให้กับประเทศไทยและประเทศใกล้เคียง  ความแปรปรวนของธรรมชาติดังกล่าวนี้ ดูเหมือนว่าจะทำให้อาชีพนักธรณีวิทยากลายไปเป็นที่รู้จักมากยิ่งขึ้นในสายตาของชาวโลก ในฐานะนักวิเคราะห์ คาดการณ์ เฝ้าระวังการเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติได้

      สำหรับประเทศไทยไทยในช่วงที่ผ่านมา อาชีพนักธรณีวิทยาดูจะไม่ได้รับความสนใจเท่าที่ควรจากเยาวชน เมื่อต้องเทียบกับอาชีพอื่นๆ อย่าง แพทย์ สถาปนิก วิศวกร ทั้งๆ ที่ประเทศไทยเองดูจะยังเป็นที่ขาดแคลนและเป็นที่ต้องการของตลาดเป็นอย่างมาก ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะสังคมยังไม่มีความเข้าใจว่า หากเรียนด้านธรณีวิทยาจริง เมื่อจบมาแล้วจะทำงานด้านไหน ประกอบกับคนไทยส่วนมากยังยึดติดอยู่กับค่านิยมเดิมๆ ที่ว่า เมื่อมีลูกเรียนเก่งต้องมุ่งไปที่หมอหรือวิศวกรเท่านั้น จึงอยากฝากน้องๆ ที่สนใจในเรื่องราวเหล่านี้ เราเข้ามาเรียนธรณีวิทยากันเถอะครับ เพื่อตัวเราและโลกของเราครับ

 

 

       โอ้โห ปิดท้ายได้ยอดเยี่ยมมากจริงๆ ค่ะ อ่านแล้วรู้สึกว่าธรณีวิทยาน่าสนใจมากและนักธรณีวิทยาก็ เป็นอาชีพที่สำคัญมากจริงๆ ค่ะ ดังนั้นน้องๆ คนไหนที่อยากจะมีส่วนช่วยเหลือโลกและเพื่อนมนุษย์ สาขานี้ตอบโจทย์ได้ดีมากๆ เลยล่ะค่ะ .... 

พี่เป้
พี่เป้ - Columnist มนุษย์บ้างานและบ้านวด ผู้ตกหลุมรักปลาแซลมอน การนอน และและออฟฟิศ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

35 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
El-[D]erLus Member 1 พ.ค. 54 01:38 น. 14
อยากถามพี่จังเลยครับ ว่า ถ้าเรียนที่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  คณะวิทยาศาสตร์ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์พื้นพิภพ  จะมีโอกาสได้ทำงานแบบนี้ไหมครับ

0
กำลังโหลด
ผมอยากเก่งเหมือนไอสไตน์ 555 1 พ.ค. 54 13:14 น. 15
ผมเรียนวิทยาฟิสิกส์มอชอครับ รุ่นพี่ส่วนใหญ่มักจะเรียนไมเนอร์ธรณี อืมมม ชักน่าสนใจแล้วสิ ^^ ตอนนี้ผมกะลังขึ้นปี2ครับ กะลังคิดอยู่ว่าจะเรียนเพียว หรือไมเนอร์อะไรดี ^___^
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด