เทรนด์อาชีพคนไอที อีกสองสามปีก็ยังไม่ล้าสมัย



        
 
ด้วยความที่พวกเราชาว Dek-D.com  เป็นคนหัวสมัยทันเทคโนโลยีตลอดเวลา   จะเรียน   จะทำงาน    จะเล่นก็ต้องอยู่หน้าคอมพิวเตอร์ 
แล้วแบบนี้จะไม่ให้อัพเดตเทรนด์เทคโนโลยีเหล่านี้ได้อย่างไร พี่เกียรติก็เช่นเดียวกัน ต้องเข้าเว็บไซต์อัพเดตข้อมูลเทคโนโลยีหลากหลายบ้าง และแม้ว่าจะมีข้อมูลดีๆ มากมายบนเว็บไซต์ Dek-D เรา แต่เพื่อการเปิดหูเปิดตาเราก็ต้องไปตามเทรนด์เว็บอื่นบ้าง แล้วก็ไปเจอกับข้อมุลน่าสนใจที่ชาวไอที Dek-D ทั้งหลายไม่น่าพลาด จากเว็บ ARiP ที่เขาได้ทำการสำรวจข้อมูลจากเว็บไซต์หางานและบริษัทด้านทรัพยากรบุคคล ถึงอนาคตสายงานอาชีพไอที เผื่ออนาคตใครอยากจับอาชีพไอทีทำเงิน ก็ต้องรู้แนวโน้มนี้ไว้ ยิ่งยุคนี้คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีครองโลก อาชีพที่เกี่ยวข้องกับ IT หรือ เทคโนโลยีสารสนเทศทั้งหลาย ไม่ตกงานแน่นอน!


System Analyst
    นักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ เป็นผู้ที่ศึกษาถึงปัญหาและความต้องการของบริษัท หรือลูกค้าของงาน มาจัดสรร วางแผนในการจัดการระบบข้อมูลทางเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท และจะรวบรวมข้อมูลมาลอยๆ ก็ไม่ได้ ต้องเข้าใจการเคลื่อนไหวของระบบธุรกิจตนเอง และออกแบบระบบให้ตอบสนองต่อผู้ใช้ทุกระดับ รวมทั้งสามารถอธิบายให้โปรแกรมเมอร์ สามารถสร้างระบบที่ว่าได้จริง ดังนั้น นักวิเคราะห์ระบบก็ต้องพอมีความรู้เกี่ยวกับการสร้างโปรแกรมด้วย จึงไม่แปลกที่นักวิเคราะห์ระบบจะเรียนในสาขาหรือคณะเดียวกับโปรแกรมเมอร์ และไม่แปลกที่บางบริษัทก็ให้นักวิเคราะห์ระบบทำหน้าที่โปรแกรมเมอร์เองเลยด้วย 

    นักวิเคราะห์ระบบควรเป็นคนที่พูดรู้เรื่อง ฮา เพราะต้องพบปะพูดคุยกับคนหลายกลุ่ม เป็นคนกลางประสานงานหลายๆ ฝ่าย เพื่อที่จะวิเคราะห์ระบบที่ดีที่สุดออกมาให้ตอบสนองต่อทุกคนที่เกี่ยวข้องนั่นเอง ต้องมีความรู้กว้างขวางเกี่ยวกับเทคโนโลยี ภาษาคอมพิวเตอร์ การตลาด งานบริหารธรุกิจ และในสายงานที่เกี่ยวข้องกับบริษัทที่ทำ รวมถึงเป็นคนทันโลกทันเหตุการณ์ ทำงานเป็นทีมได้ และแก้ไขปัญหาได้อย่างยืดหยุ่น เปรียบเทียบให้ง่ายๆ นักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์เหมือนสถาปนิก ออกแบบบ้านให้ถูกใจเจ้าของบ้าน และมีโปรแกรมเมอร์มาสร้างบ้าน (ระบบโปรแกรม) ให้ไงล่ะ
การเลือกเรียน สาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และที่เกี่ยวข้อง 


 
           Programmer ทำหน้าที่เขียนคำสั่งด้วยภาษาคอมพิวเตอร์  เพื่อให้เครื่องทำงานตามข้อกำหนดของโปรแกรมที่ออกแบบโดยนักวิเคราะห์ระบบงานคอมพิวเตอร์ (หรือบริษัท/ลูกค้า) งานของโปรแกรมเมอร์ คือ การสร้างระบบเทคโนโลยีต่างๆ ด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ทั้งหลาย เพื่อให้ใช้งานได้อย่างหลากหลายตามธุรกิจนั้นๆ แต่หากทำงานสร้างโปรแกรมเพื่อแสดงผลหน้าเว็บไซต์เป็นหลัก ก็จะเรียกว่า Web Progarmmer นั่นเอง แล้วเว็บโปรแกรมเมอร์ เป็นอาชีพที่ต้องการขนาดไหน ดูได้ที่เว็บ Dek-D.com ของเรา ยังรับสมัครทีมงานตำแหน่งนี้อยู่นะ ใครมีญาติ พี่น้อง หรือคนรู้จักทำหน้าที่นี้ได้ อย่าลืมบอกมาให้เป็นพี่โปรแกรมเมอร์เว็บเรานะ ฮ่าๆ (Dek-D.com เปิดรับสมัครทีมงานรอบปลายปี 2011)ถ้าเปรียบเทียบจากตำแหน่งนักวิเคราะห์ระบบที่แนะนำไปข้างต้นแล้ว โปรแกรมเมอร์ก็จะเสมือนช่างก่อสร้างซึ่งรับแบบบ้านมาจากสถาปนิกนั่นเองจ้า
การเลือกเรียน สาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และที่เกี่ยวข้อง 


         Programmer Analyst ตำแหน่งที่คนสายงานไอทีที่หลายคนบอกว่าเพิ่งมีใหม่ กล่าวคือ เป็นโปรแกรมเมอร์ที่วิเคราะห์ระบบด้วยได้ จะว่าเหมาทั้งสองงานมาไว้ในมือเลยก็ได้ งานนี้ต้องวิเคราะห์ รวบรวมความต้องการของบริษัท และสร้างโปรแกรมหรือระบบข้อมูลทางคอมพิวเตอร์ที่ใช้งานได้ และตอบสนองต่อความต้องการทางธุรกิจได้ด้วยนั่นเอง ตำแหน่งขั้นเทพแบบนี้ พี่เกียรติว่าต้องรอบรู้หลากหลายทั้งธรุกิจ การตลาด การเจรจา ภาษาคอมพิวเตอร์ และมีความสามารถในการทำงานเป็นทีมอย่างสูงทีเดียว
การเลือกเรียน สาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และที่เกี่ยวข้อง 


         Software Engineer ตำแหน่งงานด้านการวิเคราะห์ และออกแบบส่วนซอฟแวร์ที่ใช้งานในระบบคอมพิวเตอร์ โดยการนำเอาเป็นหลักการทางวิศวกรรมศาสตร์มาใช้กับกระบวนการพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ให้ได้คุณภาพและมาตรฐาน และสามารถประหยัดงบประมาณ และ ระยะเวลาได้                Software Engineer จะวิเคราะห์และการออกแบบโครงสร้างระบบซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ที่ซับซ้อนนี้ให้ง่ายต่อการเข้าใจ ถ้ามี  System Analyst  วิเคราะห์ในภาพรวม วางแผนและออกแบบระบบทั้งระบบขึ้นมา  Software Engineer  ก็จะมาวิเคราะห์และออกแบบส่วนซอฟแวร์ที่จะให้ระบบนั้นให้ใช้งานได้จริงนั่นเอง งานตำแหน่งนี้ จึงต้องรอบรู้ไม่แพ้ตำแหน่งวิเคราะห์อื่นๆ แต่ยังต้องเข้าใจระบบธุรกิจ การประสานงาน การรู้ทันเทคโนโลยีและข่าวสาร ไปพร้อมๆ ความรู้ด้านวิศวกรรมซอฟแวร์อีกด้วย
การเลือกเรียน สาขาวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และที่เกี่ยวข้อง



              ส่วนแนวโน้มเทคโนโลยีที่กำลังมาแรงสำหรับสายอาชีพไอที ที่ผู้กำลังจะเป็นชาวอาชีพไอทีทั้งหลายควรรู้ไว้ ไม่มีตกงาน หรือยิ่งเพิ่มคุณสมบัติให้เป็นผู้ถูกเลือกให้เข้าทำงาน ได้แก่
  • Server visualization เป็นเทคโนโลยีการจำลองเซิร์ฟเวอร์เครื่องจริง ให้เป็นเซิร์ฟเวอร์เสมือน (Virtual Server: VM) โดยแต่ละเครื่องที่จำลองจะสามารถลงระบบปฏิบัติการ และแอพพลิเคชันต่างกันได้ ช่วยให้ลดต้นทุนในการซื้อ Server ทั้งยังง่ายต่อการโอนย้ายระบบ กรณีเปลี่ยน Server ประหยัดพลังงาน ลดค่าใช้จ่าย ช่วยให้สามารถใช้ทรัพยากรต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • Web 2.0 Collaboration technologies  เป็นเทคโนโลยีที่ประสานการทำงานร่วมกัน เกิดเป็นแหล่งข้อมูลสาธารณะบนเว็บไซต์ที่ไม่ผูกขาดการพัฒนาโดยเว็บมาสเตอร์ผู้เดียว ผู้ใช้หรือผู้ชมเว็บก็มีสิทธิ์ร่วมแก้ไขเนื้อหาในเว็บไซต์ได้ ตัวอย่างเทคโนโลยีนี้ เช่น การเขียนเนื้อหา เล่าเรื่องผ่าน Blog หรือการร่วมกันเขียนบทความในเชิงสารานุกรมผ่านเว็บไซต์วิกิพีเพีย ซึ่งหากใช้เทคโนโลยีนี้ได้อย่างแท้จริง ก็จะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อทุกคน
  • Rich Internet apps (RIA) เป็นเว็บแอปพลิเคชันที่มีความสามารถของเดสก์ท็อปแอปพลิเคชัน ช่วยในการใช้งานแอฟฟลิเคชันต่างๆ ผ่าน Server หรือใช้งานต่างๆผ่าน Web browser ได้
  • Mobile apps แอฟฟลิเคชันต่างๆ ที่ชาวเราดาวโหลดมาใช้ในโทรศัพท์เคลื่อนที่ Smart Phone และแทปเล็ตต่างๆ นั่นเอง
  • Cross-platform support  คือ  การทำงานของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ภาษาโปรแกรม ระบบปฏิบัติการ หรือ ซอฟต์แวร์ชนิดอื่นๆ ที่สามารถทำงานได้ในหลายระบบคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ทำงานได้ทั้งบนไมโครซอฟท์วินโดวส์ และ Mac OS เป็นต้น
  • Web services คือ ระบบซอฟต์แวร์ที่ออกแบบมา เพื่อสนับสนุนการแลกเปลี่ยนข้อมูลกัน ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ผ่านระบบเครือข่าย โดยที่ภาษาที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ คือ XML สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลด้วยโปรแกรมประยุกต์ที่เขียนโดยภาษาต่างๆ และทำงานบนแพลตฟอร์มต่างๆ กันได้ 
                                                                       
เรื่องราวเหล่านี้ ถือเป็นเรื่องที่คนไอทีควรรู้ ดังนั้นใครอยากจะทำอาชีพที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ค่ะ แม้อาจจะงงๆ กันอยู่บ้าง แต่พี่เกียรติเชื่อว่าไม่ยากเกินไปสำหรับน้องๆ ที่สนใจจ้า




        ชาว Dek-D.com คนไหนคิดว่าเป็นชาวไอทีตัวจริง รู้จักเทคโนโลยีเหล่านี้แล้วหรือยัง ถ้ายังไม่รู้ก็ไม่เป็นไรนะ แค่คิดว่าน่าสนใจก็ควรแก่การศึกษาเรียนรู้ต่อแล้ว รีบติดตามข้อมูลทั้งอาชีพ และเรื่องราวต่างๆ เหล่านี้ แล้ววางแผนอนาคตกันได้เลย  อย่ามัวรีรอนะ บางเรื่อง ช้าๆ ได้พร้าสองเล่มงามก็จริง แต่บางเรื่องถ้าช้ามากไป จาก "พร้า" จะได้ "พลาด" เอานะจ๊ะ





บทความที่เกี่ยวข้อง




แหล่งข้อมูล,ภาพประกอบ:
arip.co.th/news.php?id=414310
http://www.bcoms.net/system_analysis/lesson1.asp
th.wikipedia.org
flickr
พี่เกียรติ
พี่เกียรติ - Community Master ถนัดแฝงตัวตามกระทู้เด็กดี มีความสนใจเป็นล้านเรื่องขึ้นอยู่กับดราม่าขณะนั้น

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

25 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
topcyber 7 พ.ย. 54 17:20 น. 9
อยากให้พี่แก้ไขหน่อยครับ
Software Engineer สาขาเลือกเรียนควรจะเป็น Computer Science ครับ
แต่
System Engineer ถึงจะเหมาะกับที่คนที่เรียน Computer Engineering

แต่ในความเป็นจริงนั้น ได้ทั้งสอง ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลมากกว่า
0
กำลังโหลด
Karine!! et ~KiaT_T~ Community 7 พ.ย. 54 18:09 น. 10
ขอบคุณน้อง คห. 9 จ้า
แก้แล้วจ้ะ ซึ่งที่จริงพี่อยากเขียนประโยคเดียวกันกับทุกตำแหน่งเลยนะ เพราะว่าพี่ไปเก็บข้อมูลจากเว็บหางาน ที่ระบุถึงคุณสมบัติของแต่ละตำแหน่งว่าต้องการคนที่จบอะไร ซึ่งมันไม่เฉพาะเจาะจงเลย แต่เป็นสาขาที่ใกล้เคียงกัน อย่างที่น้องคห.9 บอกนี่แหละ (รวมถึง คห.6 ถามและ 7 ตอบด้วย) ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลนี่แหละค่ะ 
อย่าว่าอย่าโน้นอย่างนี้เลย โปรแกรมเมอร์คนหนึ่งที่พี่รู้จักจบคณะวิทยาศาสตร์...เอกเคมี ด้วยซ้ำ ไม่ได้เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ใดๆ เลยแฮะ
ดังนั้น ใครสนใจอาชีพกลุ่มนี้ ก็ต้องพัฒนาฝีมือเรื่อยๆ จ้า 

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
A Rai Naa >>> Member 9 พ.ย. 54 09:05 น. 13
เอนติดแต่แม่ไม่ให้เรียนเศร้าจิตจัง แต่จบป.ตรีมาแล้วหนึ่งใบ อยากเรียนไอทีอีกหนึ่ง (ใบแรกให้แม่ ใบนี้ให้ตัวเอง เหอๆ) ขอแนวทางสอบเข้า ป.ตรีใบที่สองได้มั้ยคะ ถ้าเปน มธ.เค้าจะเปิดรับมั้ยอ่ะ หรือจะรับเฉพาะเด็กมอปลาย ขอความคิดเหนด้วยนะคะ ^^
0
กำลังโหลด
IT'10 10 พ.ย. 54 20:23 น. 14
คห.13 ค่ะ แม่โจ้มีทางเลือกสำหรับผู้ที่สนใจจะ เรียน ปริญญาตรีที่2 สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ [IT] ค่ะ คณะวิทยาศาสตร์ เรียน 2 ปีหรือป่าว ไม่แน่ใจ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
FillryRolling Member 12 พ.ย. 54 09:02 น. 16
Programmer Analayst ต้องเรียนและเป็นให้ได้ เพราะเป็นอาชีพที่ใ่ฝ่ฝันของผมเลยครับ
ขอบคุณข้อมูลดีๆของพี่มากครับ 
0
กำลังโหลด
ArnA Member 14 พ.ย. 54 16:17 น. 17
 คห.13 มาเรียนที่พระจอมลาดกระบังก็ได้นะคะ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
เคยมีพี่ที่จบแล้วมาเรียนเหมือนกัน แต่ตอนนี้พี่เค้าออกไปแล้ว
แต่ว่าน่าจะต้องเรียนสี่ปีปกติมั้งคะ  ^^
0
กำลังโหลด
Beyonc Member 16 พ.ย. 54 22:28 น. 18
Computer Science ปี 3 แล้วค่ะ แอบยากลำบากเหมือนกันค่ะ แต่ก็สู้สุดๆแล้ว อยากฝึกงานที่เด็กดีจังแต่น้ำท่วมไม่รู้ยังรับอยู่ไหม? ^^.. สู้ๆนะค่ะสำหรับคนที่สนใจด้านนี้ : ]
0
กำลังโหลด
menn 23 พ.ย. 54 14:26 น. 19
ใครอยากเรียนด้านนี้ ที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ตมีนะคับบ
เช่น Software Engineer(SE) แล้วก็ IT
0
กำลังโหลด
DDD 26 พ.ย. 54 19:22 น. 20
ต้องสาขานี้เลยครับ
สาขาสารสนเทศสถิติ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เรียนสามด้านครับ ด้านไอที ด้านสถิติ ด้านการบริหารการจัดการ
น่าเรียนมากเลยครับ ฟันธง +++
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด