ก่อนสมัครต้องรู้! 7 ข้อแตกต่างของรับตรง จุฬาฯ (ปกติ vs พิเศษ)


          สวัสดีค่ะ ขอต้อนรับน้องๆ ชั้น ม.6 เข้าสู่สนามสอบรับตรงอย่างเต็มรูปแบบเลย เพราะตอนนี้มหาวิทยาลัยต่างๆ ได้ออกระเบียบการรับสมัครในแต่ละโครงการออกมาเรื่อยๆ แล้วนะคะ ยิ่งรับตรงใหญ่ๆ ก็มีทั้งกำหนดการรับสมัคร และกำลังเปิดรับสมัครแล้วด้วย ใครสนใจมหาวิทยาลัยไหน ก็รีบไปอ่านรอไว้ได้เลย

          และก็ถือว่าสิ้นสุดการรอคอยสำหรับน้องๆ หลายคน เพราะตอนนี้นอกจากรับตรงแบบพิเศษ ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำลังเปิดรับสมัครอยู่ รับตรงแบบปกติ ก็ออกระเบียบการตามมาติดๆ เลย ซึ่งถือว่าเป็นสองรับตรงที่มีคณะที่เปิดรับและสัดส่วนจำนวนรับที่เยอะมากเลย ใครที่กำลังสงสัยว่าการรับ 2 รูปแบบของจุฬาฯ นี้ (ปกติ vs พิเศษ) แตกต่างกันยังไงบ้าง และถ้าน้องๆ สนใจ ควรเลือกสมัครรูปแบบไหน วันนี้พี่อีฟจะพาไปดูกันค่ะ
 

          1.โครงการที่เปิดรับ
          • รับตรงรูปแบบปกติ จะเป็นการรับโดยใช้ชื่อโครงการเดียวกัน แต่จะเปิดรับ 12 คณะ โดยมี 1 โครงการ ที่เปิดรับพร้อมกัน 4 คณะ ดังนั้น เราจึงเห็นระเบียบการของรับตรงรูปแบบปกติเพียง 9 ฉบับ
          • รับตรงรูปแบบพิเศษ จะเน้นเปิดรับเป็นโครงการของแต่ละคณะหรือแต่ละโครงการเอง เช่น โครงการจุฬาฯ - ชนบท, โครงการผู้มีความสามารถดีเด่นระดับชาติทางกีฬา, โครงการสู่ความเป็นเลิศด้านภาษาและวรรณคดีไทยฯ เป็นต้นค่ะ
          ดังนั้น น้องๆ ที่มีความสามารถพิเศษ หรือมีคุณสมบัติเฉพาะ ก็จะมีโอกาสสมัครรับตรงรูปแบบพิเศษได้ค่ะ
รับตรงรูปแบบปกติ รับตรงรูปแบบพิเศษ
- 9 โครงการ เช่น
   • การรับสมัครคัดเลือกนร.
เข้าศึกษาในหลักสูตร
นิติศาสตรบัณฑิต
           
   • การรับสมัครคัดเลือกนร.
เข้าศึกษาในหลักสูตร
นิเทศศาสตรบัณฑิต

   • การรับสมัครคัดเลือกนร.
เข้าศึกษาในหลักสูตร
เศรษฐศาสตรบัณฑิต

                                                                                      
                 ฯลฯ
- 20 โครงการ เช่น
   • โครงการจุฬาฯ-ชนบท
   • โครงการโอลิมปิกวิชาการเข้าศึกษาในคณะวิศวกรรมศาสตร์
   • โครงการพัฒนาอัจฉริยภาพทาง
วิทยาศาสตร์ฯ

   • โครงการสู่ความเป็นเลิศด้านภาษาและวรรณคดีไทย
   • โครงการผู้มีความสามารถพิเศษ
ระดับชาติทางกีฬา

                

                      ฯลฯ

          2.คณะที่เปิดรับ
          • รับตรงรูปแบบปกติ จะเปิดรับ 12 คณะ ได้แก่ คณะวิศวกรรมศาสตร์, คณะอักษรศาสตร์, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, คณะรัฐศาสตร์, คณะสัตวแพทยศาสตร์, คณะครุศาสตร์, คณะเศรษฐศาสตร์, คณะวิทยาศาสตร์, คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี, คณะนิติศาสตร์, คณะนิเทศศาสตร์ และเปิดรับเพียงบางสาขาวิชาหรือบางหลักสูตรเท่านั้น เช่น สาขาวิชารังสีเทคนิค คณะสหเวชศาสตร์ ฯลฯ
          • รับตรงรูปแบบพิเศษ บอกเลยว่าพิเศษจริงๆ เพราะบางสาขาวิชาในจุฬาฯ จะเปิดรับรอบนี้เพียงรอบเดียวเท่านั้น ! เช่น สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์, สาขาวิชาดนตรีศึกษา สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา สาขาวิชาศิลปศึกษา คณะครุศาสตร์, สาขาวิชาการบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตร ฯลฯ ถ้าพลาดรอบนี้ไปแล้ว ก็ต้องรออีกทีปีหน้าเลยค่ะ
รับตรงรูปแบบปกติ รับตรงรูปแบบพิเศษ
- 12 คณะ เช่น
   • คณะวิศวกรรมศาสตร์
*
   • คณะอักษรศาสตร์*          
   • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
*
   • คณะรัฐศาสตร์*
(*เปิดรับโครงการเดียวกัน)
   • คณะสัตวแพทยศาสตร์
   • สาขาวิชารังสีเทคนิค
คณะสหเวชศาสตร์

                                             
                 ฯลฯ
- 10 คณะ เช่น
   • สาขาวิชาสถาปัตยกรรมไทย
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
   • สาขาวิชาสุขศึกษาและพลศึกษา
คณะครุศาสตร์
   • สาขาวิชาศิลปศึกษา

คณะครุศาสตร์
   • สาขาวิชาดนตรีศึกษา
คณะครุศาสตร์

                      ฯลฯ

          3.จำนวนรับ ถ้าเปรียบเทียบรวมกันทุกโครงการ จะพบว่า รับตรงรูปแบบปกติ เปิดรับเป็นจำนวน มากกว่า รับตรงรูปแบบพิเศษ
รับตรงรูปแบบปกติ รับตรงรูปแบบพิเศษ
3,163 ที่นั่ง
(มากกว่า)
 
1,090 ที่นั่ง


          4.เกณฑ์คัดเลือก
           • รับตรงรูปแบบปกติ จะเน้นการใช้ คะแนน GAT PAT และ คะแนนวิชาสามัญ ในการคัดเลือก (+สัมภาษณ์)
           • รับตรงรูปแบบพิเศษ จะเน้นการใช้ คะแนน GAT PAT และ คะแนนจากวิชาเฉพาะของแต่ละสาขาวิชา หรือ เน้นจากคุณสมบัติ, ผลงาน หรือความสามารถพิเศษ ประกอบการคัดเลือก 
(+สัมภาษณ์)
รับตรงรูปแบบปกติ รับตรงรูปแบบพิเศษ
-คะแนน GAT PAT
-คะแนนวิชาสามัญ
-คะแนนสอบสัมภาษณ์
                                   
-คะแนน GAT PAT
   • คะแนนวิชาเฉพา

   • คุณสมบัติ, ผลงานหรือ
      ความสามารถพิเศษ

-คะแนนสอบสัมภาษณ์
 

          5.วันเปิดรับสมัคร
          • รับตรงรูปแบบปกติ เปิดรับในช่วงเดือนมีนาคม โดยในปีการศึกษา 2560 เปิดรับสมัครในวันที่ 1-15 มี.ค.60
          • รับตรงรูปแบบพิเศษ เปิดรับในช่วงเดือนสิงหาคม โดยในปีการศึกษา 2560 เปิดรับสมัครในวันที่ 16-31 ส.ค.59
          แอบบอกน้องๆ ที่สนใจรับตรงรูปแบบพิเศษว่า อย่าลืมติดตามระเบียบการอยู่เรื่อยๆ นะคะ เพราะมีบางโครงการที่เปิดรับรอบ 2 ด้วย !
รับตรงรูปแบบปกติ รับตรงรูปแบบพิเศษ
1-15 มี.ค. 60
 
16-31 ส.ค. 59

          6.ค่าสมัครสอบ
          • รับตรงรูปแบบปกติ จะมีค่าสมัครสอบอยู่ที่ 200 บาทค่ะ (ยังไม่รวมค่าธรรมเนียมการชำระผ่านธนาคาร) โดยแบ่งเป็นค่าสมัคร 100 บาท และค่าประมวลผล 100 บาท ยกเว้นโครงการที่สามารถเลือกได้ 4 อันดับ จะบวกค่าธรรมเนียมเลือกอันดับต่อไป อันดับละ 50 บาทค่ะ
          • รับตรงรูปแบบพิเศษ ค่าสมัครสอบจะประกอบด้วยค่าสอบวิชาความถนัดของแต่ละสาขา (ราคาแตกต่างกันในแต่ละวิชา 
คลิกที่นี่ ) ค่าสถานที่สอบ 150 บาท ค่าประมวลผล 100 บาท และค่าเลือกอันดับ อันดับแรก 100 บาท อันดับต่อไป 50 บาท (ยังไม่รวมค่าธรรมเนียมการชำระผ่านธนาคาร)
รับตรงรูปแบบปกติ รับตรงรูปแบบพิเศษ
- 200 บาท
   • ค่าสมัคร 100 บาท
   • ค่าประมวลผล 100 บาท
   (เลือกอันดับต่อไป
     อันดับละ 50 บาท)
                                             
   • ค่าสอบวิชาความถนัดของแต่ละสาขา
      200-800 บาท
   • ค่าสถานที่สอบ 150 บาท

   • ค่าประมวลผล 100 บาท
   • ค่าเลือกอันดับ 100 บาท

   (เลือกอันดับต่อไป
     อันดับละ 50 บาท)

 

          7.การเลือกสมัคร ถ้าน้องๆ เลือกสมัครรับตรงรูปแบบพิเศษโครงการใดโครงการหนึ่ง จะไม่สามารถเลือกสมัครรับตรงรูปแบบพิเศษโครงการอื่นได้อีก และถ้าติดรับตรงรูปแบบพิเศษแล้ว ก็จะไม่มีสิทธิ์สมัครรับตรงรูปแบบปกติได้อีกด้วย ส่วนรับตรงรูปแบบปกติที่เปิดรับทีหลัง ก็จะไม่สามารถสมัครได้เกิน 2 โครงการเหมือนกันค่ะ
          น้องๆ ต้องระวังให้ดีนะคะ ถ้าสมัครมากกว่า 1 โครงการเมื่อไหร่ ทางมหาวิทยาลัยจะยึดตามโครงการที่สมัครและจ่ายเงินครั้งหลังสุด ดังนั้น ตัดสินใจให้ดีก่อนเลือกสมัครค่ะ
รับตรงรูปแบบปกติ รับตรงรูปแบบพิเศษ
-สมัครได้ 1 โครงการ เท่านั้น
-สมัครรับตรงรูปแบบพิเศษได้

                                                                                          
-สมัครได้ 1 โครงการ เท่านั้น
-ถ้าติดรับตรงพิเศษ จุฬาฯ แล้ว ไม่สามารถสมัครรับตรงปกติได้
-ผู้สมัครโครงการจุฬาฯ-ชนบท สามารถเลือกสมัครรับตรงรูปแบบปกติได้อีก 1 โครงการ
 

          เป็นยังไงกันบ้างคะ กับข้อแตกต่างของรับตรง (รูปแบบปกติ) และรับตรง (รูปแบบพิเศษ) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จากที่พี่อีฟสังเกตดู จะพบว่ารับตรงรูปแบบพิเศษจะเน้นสาขาวิชา และเน้นความสามารถหรือคุณสมบัติเฉพาะในแต่ละโครงการ แต่รับตรงรูปแบบปกติ จะเป็นรับตรงใหญ่ของหลายๆ คณะ ที่น้องๆ ทุกคนสามารถสมัครได้ ลองตรวจสอบตัวเองดูให้ดีนะคะ ว่าคณะหรือสาขาที่เราสนใจเปิดรับในรอบไหน จะได้ไม่พลาดฝันครั้งนี้ พี่อีฟเป็นกำลังใจให้ค่ะ :D
 
พี่อีฟ

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

4 ความคิดเห็น

lll-MiNt-lll Columnist 24 ส.ค. 59 17:19 น. 1-1
ถ้าสอบติดรับตรงพิเศษไปแล้ว จะสมัครรอบปกติไม่ได้ค่ะ แต่ถ้าสอบรับตรงพิเศษไม่ติด ก็ยังสมัครรับตรงปกติได้จ้า
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
โอชิ 17 ต.ค. 59 15:09 น. 4
พี่ครับผมยังงงอยู่กับการเลือก4อันดับ คือเลือกยังไงครับ/คือเลือกคณะในม.เดียวกันทั้ง4อันดับ/หรือคือการเลือกม.ที่เราจะสอบได้4ม.ครับ แล้วถ้าเลือกไม่ครบทั้ง4อันดับได้หรือไม่ ผมตั้งใจจะเข้าอักษรจุฬา/เอกญี่ปุ่น. *พี่ช่วยแนะนำการเลือกอันดับของผมด้วยครับ* แอบเห็นคนสอบแพทย์เขาเลือกอันดับกัน แล้วเด็กอักษรต้องเลือกยังไงครับ ขอบคุณมากครับ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด