Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

แชร์เทคนิค ท่องศัพท์ยังไงให้จำได้

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
สวัสดีครับน้องๆ ช่วงนี้ก็ใกล้สอบ 9 วิชาสามัญกันแล้ว ปัญหาที่พี่พบว่าน้องๆถามพี่กันมาบ่อยมากก็คือ ท่องศัพท์ยังไงให้จำได้ น้องๆมักจะบอกว่าท่องศัพท์แล้ว แต่ก็ลืม หรือชอบจำคำศัพท์สลับกัน จำผิดความหมาย 
วันนี้พี่จึงมีเทคนิคการท่องศัพท์ที่พี่ใช้มาฝากกันครับ

หลักสำคัญที่พี่จะพูดวันนี้คือ "การเชื่อมโยงความจำ" น้องๆคงจะพบบ่อยๆว่าเวลาเจอศัพท์ใหม่ มักจะจำไม่ได้ นั่นเป็นเพราะเราจำคำๆนั้นเพียงคำเดียว ทำให้มันเป็นเพียงความจำระยะสั้น วิธีที่พี่ใช้คือ เมื่อพี่เจอศัพท์ใหม่ พี่จะพยายามหาความเชื่อมโยงกับความรู้ที่เรามีอยู่แล้วซึ่งเป็นความจำระยะยาว เมื่อเราเชื่อมโยงศัพท์ใหม่นี้กับความจำระยะยาวที่เรามีอยู่แล้ว ก็จะทำให้เราจำศัพท์ใหม่ๆได้ดีขึ้น หรือพูดง่ายๆก็คือจำคำศัพท์เป็นกลุ่มนั่นเอง ทีนี้เราจะจำเป็นกลุ่มแบบไหนได้บ้างล่ะ

1. Synonym
จำศัพท์ที่มีความหมายเหมือนกัน เช่น
เกิดขึ้น (v.) = happen, occur, take place
สรุป (v.) = infer, summarize, conclude
การจำศัพท์ความหมายเดียวกัน จะช่วยในการทำรีดดิ้งได้ เพราะบางครั้งคำถามจะมีการ paraphrase หรือถอดความข้อความจากในบทความมาซึ่งอาจจะใช้ synonym มาแทนบางคำได้

2. Confusing words
ศัพท์ไหนหน้าตาคล้ายๆกันแล้วชอบจำผิด ก็เอามาจำด้วยกันซะเลย เช่น
Require=ต้องการ Inquire=ถาม Acquire=ได้รับ
Concede=ยอบรับ Conceive=เข้าใจ Conceit=คิด
แล้วทีนี้เอาวิธีการจำแบบที่สองไปรวมกับแบบที่1 ให้เราสามารถแยกความหมายได้ เช่น 
พี่จะจำ require คู่กับ request ท่องว่า ต้องการ ก็ต้องร้องขอ
หรือ inquire พี่อาจจะแต่งเรื่องฮาๆให้จำได้ เช่น อินควาย (ในควายต้อง'งง' งงก็ต้องถาม) อย่างนี้เป็นต้น555 ซึ่งพี่จะใช้วิธีนี้กับศัพท์ยากๆแปลกๆอยู่เสมอ เช่น jovial(adj.)=รื่นเริง พี่ก็จะนึกถึงอาจารย์ของพี่ ชื่ออาจารย์โจที่เค้าจะยิ้มรื่นเริงตลอด ซึ่งการจำแบบนี้ก็เป็นการฝากคำว่า jovial ไว้กับความจำระยะยาวของพี่ คือชื่ออาจารย์

3. Word forms
เวลาเราจำคำศัพท์คำนึง ก็จำไปเป็นกลุ่มเลยว่าหน้าตาของ N. Adj. V. เป็นยังไงบ้าง เช่น
Different(Adj.) Difference(N.) Differ(V.)
Vary(V.) Various(Adj.) Variety(N.)
การจำแบบนี้ทำให้เราสามารถเดาคำศัพท์ที่ไม่เคยเจอได้ด้วย เพราะคำศัพท์มันก็เกิดจากรากศัพท์(Root) ดังนั้นคำไหนที่มันมีรากศัพท์คล้ายๆกันก็จะมีความหมายไปในแนวเดียวกัน เช่น
Inquisitive(adj.)=อยากรู้อยากเห็น ก็มีรากศัพท์เหมือนคำว่า inquire เป็นต้น

สุดท้ายแล้วเมื่อเราจำศัพท์เป็นกลุ่มได้อย่างเป็นระบบ ทั้ง 3 กลุ่มการจำนี้ก็จะโผล่ขึ้นมาในหัวทันทีที่เราเจอศัพท์หนึ่งคำให้เราสามารถเลือกใช้ได้อย่างถูกต้อง ทีนี้เราลองหยิบศัพท์ใกล้ตัวมาดูว่าเราสามารถแตกศัพท์จากคำนี้ไปเป็น3กลุ่มนี้ได้รึยัง ถ้ายังให้เวลากับมันซักครั้งแล้วน้องจะสามารถจำมันได้แน่นอน สำหรับน้องๆ ม.4, ม.5 ที่จะเริ่มท่องศัพท์ ลองค่อยๆท่องและดูศัพท์ทีละตัวตาม3กลุ่มนี้ สุดท้ายแล้วน้องจะสามารถจำได้ดีและใช้เวลาท่องน้อยกว่าการอ่านศัพท์เป็นแถวๆซ้ำไปเรื่อยๆแน่นอนครับ

ช่องทางการติดต่อ
Facebook : facebook.com/echo.piwat
Instagram : 3cho_o
Ask.fm : echocho
(มีคำถามอะไร ถามมาใน ask ได้เลยน้า)

แสดงความคิดเห็น

>

4 ความคิดเห็น

koko15047 19 ธ.ค. 59 เวลา 22:01 น. 4

แนะนำให้ทำIndexครับช่วยได้มากเลยเวลาเจอคำเก่าที่หลงลืมไปแล้วก็เปิดIndexดูก็จะทำให้เราทราบว่าคำที่เห็นเคยบึนทึกไปแล้วนะแต่จำไม่ได้จะได้ไม่ต้องบันทึกซ้ำอีกรอบแล้วก็ทวนคำนั้นไปในตัวด้วยครับ

1