ตามติด 1 วันชีวิตการทำงาน "นักพัฒนาซอฟต์แวร์" กับทีมพัฒนาระบบควิซบนเว็บเด็กดี!

สวัสดีจ้าชาว Dek-D.com กลับมาพบกันอีกครั้งใน A day in life สกู๊ปพิเศษที่ตามติดชีวิตการทำงานของอาชีพในฝัน สำหรับสัปดาห์ที่ผ่านมานั้นมีกระแสเรียกร้องจากทางบ้านมาอย่างล้นหลามเหลือเกิน ว่าอยากให้พี่ส้มพาไปเกาะติดการทำงานของอาชีพ "Software Developer" หรือนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ซึ่งแน่นอนว่าถ้าน้องขอมา เราก็จัดให้!

เกาะติดการทำงานของอาชีพ

งานนี้ต้องขอบอกเลยว่าถือเป็นโอกาสดีจริงๆ เพราะเว็บไซต์ Dek-D.com ของเรา ภายใต้การบริหารของบริษัทเด็กดี อินเตอร์แอคทีฟ จำกัด มีทีมงานด้านซอฟต์แวร์ฝีมือเจ๋งๆ อยู่!! โดยที่เว็บไซต์ Dek-D.com เราจะแบ่งนักพัฒนาซอฟต์แวร์ออกเป็นทีมๆ ตามเนื้อหาที่ดูแล วันนี้เราจะมาพบกับพี่ๆ ทีม Community Developer พวกเขายินดีให้น้องๆ ได้มาติดตามชีวิตการทำงาน 1 วันแบบจัดเต็มกันเลย!

  • วัชรพันธ์ พลชัย (พี่อาร์ม)
  • ปริญญาตรี : คณะวิทยาศาสตร์ สาขา
    วิทยาการคอมพิวเตอร์ประยุกต์ / ปริญญาโท : คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาวิชาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
  • ปัจจุบัน : Senior Web Developer
  • สรัล วีรกุล (พี่เมฆ)
  • ปริญญาตรี : คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
    สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร
    ลาดกระบัง
  • ปัจจุบัน : UX Developer
  • เกวลิน นพรัตนาวงศ์ (พี่เบล)
  • ปริญญาตรี : คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
    และการสื่อสาร สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
    ธุรกิจ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ปัจจุบัน : Junior Web Developer
  • วรวรรณ สุทาตาร์ (พี่แอน)
  • ปริญญาตรี : วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม
    วิชาเอกคอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสาร
    มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ปัจจุบัน : iOS/Web Developer
  • ปวีณา ลือขจร (พี่ดาว)
  • ปริญญาตรี : คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ
    และการสื่อสาร สาขาวิชาเทคโนโลยี
    สารสนเทศธุรกิจ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • ปัจจุบัน : Junior Web Developer

ก่อนอื่นเพื่อเป็นการปูพื้นฐานความเข้าใจในอาชีพ Software Developer หรือ นักพัฒนาซอฟต์แวร์  น้องบางคนยังคงสับสนว่าเป็นอาชีพเดียวกันกับโปรแกรมเมอร์หรือเปล่า? ซึ่งสามารถอธิบายให้เข้าใจแบบสั้นๆ ได้ว่า โปรแกรมเมอร์คือคนเขียนโปรแกรม ที่แบ่งออกไปตามสไตล์งานที่ทำ เช่น ถ้าเขียนโปรแกรมบนเว็บไซต์ ก็เรียกว่า เว็บโปรแกรมเมอร์ ถ้าเขียนโปรแกรมจากภาษาจาวา ก็เรียกว่า จาวาโปรแกรมเมอร์ เป็นต้น แต่หน้าที่หลักๆ คือการเขียนโปรแกรมค่ะ


     ส่วนการทำงานของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ก็สามารถทำได้หลากหลายตามรูปแบบของโปรแกรมต่างๆ ซึ่งแบ่งออกตามรูปแบบคร่าวๆ ได้ 3 ประเภท ดังนี้ค่ะ

  • นักพัฒนาซอฟต์แวร์บนคอมพิวเตอร์ คือนักพัฒนาโปรแกรมที่เราใช้บนคอมพิวเตอร์ เช่น Word หรือ Excel

  • นักพัฒนาซอฟต์แวร์บนมือถือ หรือที่เราคุ้นชินกับคำว่า "แอป" ที่อยู่ในมือถือของเรา เช่น LINE หรือ แอปนิยาย Dek-D

  • นักพัฒนาซอฟต์แวร์บนเว็บไซต์ ที่เราใช้งานผ่านการท่องโลกอินเทอร์เน็ตตามเว็บไซต์ต่างๆ แท้จริงแล้วเบื้องหลังเว็บไซต์เหล่านั้นมีซอฟต์แวร์คอยช่วยทำงานอยู่เบื้องหลังนั่นเอง

เกาะติดการทำงานของอาชีพ

คนที่เป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์จะต้องมีความรู้รอบด้านในเรื่องของส่วนของชุดคำสั่ง หรือที่มักเรียกกันติดปากว่า "โค้ด" ในการทำให้ซอฟต์แวร์ทำงาน รวมถึงประมวลผลและติดต่อกับฐานข้อมูล ทั้งคอมพิวเตอร์ เว็บไซต์ แอปพลิเคชั่น เขียนโปรแกรมได้ ออกแบบก็ยังได้! เพราะต้องสามารถวางแผนการพัฒนาและวางระบบของซอฟต์แวร์ได้นั่นเองค่ะ จะเห็นได้จากชื่อตำแหน่งของพี่ๆ แต่ละคนนั้น แทบไม่ซ้ำกันเลย เพราะทีม Software Developer คือการนำคนที่มีความรู้ความสามารถหลายๆ ด้าน มาร่วมกันออกแบบพัฒนาซอฟต์แวร์นั่นเอง และสำหรับวันนี้ จะพาน้องๆ ไปทำความรู้จักกับ "นักพัฒนาซอฟต์แวร์ในด้านเว็บไซต์"

เกาะติดการทำงานของอาชีพ

เริ่มแรกที่เห็นพี่ทั้ง 5 คนนี้ หลายคนอาจคิดว่าจุดเริ่มต้นของการก้าวเข้ามาเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ได้นั้น ต้องเป็นเพราะพวกเขาชอบหมกตัวอยู่กับคอมพิวเตอร์ทั้งวันเพื่อศึกษาระบบโปรแกรมอยู่เสมอ แต่ในความเป็นจริงแล้ว ใครที่คิดแบบนี้คิดถูกเพียงครึ่งเดียวเท่านั้นค่ะ เพราะพี่ๆ เขาหมกตัวอยู่กับคอมพิวเตอร์ทั้งวันจริงๆ แต่เพื่อเล่นเกมแร็กนาร็อกออนไลน์ต่างหาก! 5555 นั่นแน่ ดูแล้วก็ไม่ต่างกับน้องๆ ทางบ้านสักเท่าไหร่ใช่มั้ยเอ่ย ซึ่งจุดนี้นี่แหละที่ทำให้พี่อาร์ม พี่เมฆ พี่แอน พี่เบล และพี่ดาว รู้สึกมีความสุขกับการอยู่กับเทคโนโลยีใหม่ๆ

เกาะติดการทำงานของอาชีพ

สำหรับชีวิตมหา'ลัยของแต่ละคนนั้น ก็เรียนกันมาทั้งสายคอมพิวเตอร์โดยตรง หลังเรียนจบ ทั้งห้าคนรู้สึกว่า "อยากทำในสิ่งที่ชอบ เพื่อจะอยู่กับมันได้โดยไม่เบื่อ" จึงตัดสินใจมาสมัครงานที่บริษัทเด็กดี อินเตอร์แอคทีฟ จำกัด ซึ่งแต่ละคนก็เจอคำถามสัมภาษณ์งานวัดเชาวน์ไหวพริบกันไปพอประมาณ เช่น "มองอนาคตตัวเองไว้ ยังไงบ้าง?" "คุณมีจุดเด่นอะไรให้เรารับเข้าทำงาน?" ซึ่งพี่ๆ ก็สามารถผ่านมันมาได้ฉลุย เก่งเนาะ

เกาะติดการทำงานของอาชีพ เกาะติดการทำงานของอาชีพ

ในส่วนชีวิตการทำงานนั้น พี่ๆ ได้รวมตัวกันเป็นทีม Community Developer ซึ่งผลงานหลักที่พี่ๆ เขาสร้างสรรค์ขึ้นมานั้น บอกเลยว่าน้องๆ ต้องคุ้นเคยแน่นอน! ได้แก่

- เป็นผู้สร้างชุมชนออนไลน์ขึ้นในเว็บไซต์อย่างเช่น เว็บบอร์ด ที่ให้ชาว Dek-D.com ทุกคนได้เข้ามาร่วมพูดคุย
- เป็นผู้สร้าง Quiz ให้น้องๆ ได้เล่นควิซสนุกๆ กัน ทั้งเกมทายใจ เกมทดสอบ เกมทางเลือก และล่าสุดกับโซเชียลควิซ ใครยังไม่เคยลอง มาทางนี้เลย www.dek-d.com/quiz/

     ซึ่งทั้งเว็บบอร์ดและควิซดังกล่าวก็คือ เป็น “ซอฟต์แวร์” ประเภทหนึ่งนั่นเองค่ะ โดยพวกเขาต้องวางแผนและออกแบบระบบต่างๆ แม้ว่าหน้าตาที่เราเห็นจะออกมาดูใช้งานง่ายเพียงปลายนิ้วสัมผัส แต่เบื้องหลังย่อมมีความซับซ้อนและปัญหาต่างๆ ให้คอยแก้ไขอยู่เสมอ ว่าแต่จะท้าทายแค่ไหน ก็ต้องลองมาดูว่าใน 1 วันของอาชีพนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ต้องทำหน้าที่อะไรกันบ้าง?

1 วัน อาชีพนักพัฒนาซอฟต์แวร์

เกาะติดการทำงานของอาชีพ

9.00 - 9.30

ในเวลา 9 โมงเช้าของทุกวัน พี่ๆ จะเริ่มหน้าที่แรกคือการประชุมรายวันที่เรียกว่า Daily Sync เพื่อพูดคุยกันว่าเมื่อวานใครทำอะไรไปบ้าง? พบปัญหาอะไรมา? แล้วแก้ไขมันยังไง? มีงานอะไรที่จะต้องทำต่อไป? เพื่อให้ทราบความคืบหน้าของทุกคนในทีมและแลกเปลี่ยนแนวทางการแก้ไขปัญหาต่างๆ เพื่อนำสิ่งเหล่านี้ไปวางแผนการทำงานต่อไป โดยระบบการทำงานจะแบ่งออกเป็นเดือนละ 2 Sprint (ช่วงเวลาในการทำงาน โดย 1 Sprint มีเวลา 2 สัปดาห์) ทุกคนจะหารือกันว่าแต่ละ Sprint ใครมีหน้าที่ต้องรับผิดชอบหน้าที่อะไรบ้าง ซึ่งทุกครั้งที่จบ Sprint จะมีการประชุมรีวิวหนึ่งครั้งเพื่อสะท้อนให้เห็นผลของการทำงานโดยรวมนั่นเอง

เกาะติดการทำงานของอาชีพ

9.30 - 12.00

หลังจากเช็กความคืบหน้าของงานกันไปแล้ว ทุกคนก็ต้องเข้าสู่ขั้นตอนการระดมสมองเพื่อวางแผนการทำงาน โดยโจทย์ล่าสุดของทีม Community Developer คือฟีเจอร์ใหม่ของเว็บไซต์ Dek-D.com ในปี 2017 ที่ปรับดีไซน์หน้าเว็บเป็นโฉมใหม่สไตล์มินิมอลให้ดูทันสมัยและสบายตามากขึ้น โดยพี่อาร์มผู้เป็นหัวหน้าทีม จะต้องทำการบ้านด้วยการศึกษาว่าจะต้องปรับระบบส่วนไหนให้สามารถใช้งานได้ง่ายขึ้น  หลังจากนั้นก็ดูว่างานแต่ละส่วนใหญ่แค่ไหน เหมาะสมกับใคร แล้วจึงมอบหมายงานให้ลูกทีมค่ะ โดยพี่ๆ แต่ละคนมีหน้าที่ดังนี้

เกาะติดการทำงานของอาชีพ

พี่แอน รับหน้าที่ Front-end หรือส่วนหน้าบ้านที่ผู้ใช้ทุกคนสามารถเห็นและเข้ามาใช้งานได้ เช่น เนื้อหา ลิงก์ รูปภาพ หน้าเว็บ ส่วนต่างๆ ฯลฯ

เกาะติดการทำงานของอาชีพ

พี่เบล จะรับผิดชอบส่วน Back-end หรือส่วนหลังบ้าน ที่ต้องติดต่อกับฐานข้อมูลและการประมวลผลผ่านจากการคลิกปุ่มหรือกรอกข้อมูลต่างๆ เข้าไป

เกาะติดการทำงานของอาชีพ
เกาะติดการทำงานของอาชีพ

พี่ดาว เป็นคนพัฒนาระบบควิซแบบใหม่ ที่รับประกันเลยว่าถ้าใครเข้ามาเล่นแล้วจะต้องสนุกแน่นอน (ใครอยากได้เกมแบบไหน บอกพี่ดาวได้นะ อิอิ)

เกาะติดการทำงานของอาชีพ

พี่เมฆ ศึกษาพฤติกรรมการใช้งานของสมาชิกในเว็บ ยกตัวอย่างการสร้างควิซทายใจ ผู้ใช้ติดขัดตรงไหน ผู้ใช้อยากได้อะไรใหม่ๆ และอะไรที่ผู้ใช้ชอบใช้งาน จากนั้นก็จะนำไปพัฒนาเพื่อให้มีประสบการณ์การใช้งานที่ดีและถูกใจผู้ใช้งานมากขึ้น เช่น คนส่วนมากจะชอบพิมพ์ชื่อเกมทายใจก่อน จึงต้องนำช่องกรอกชื่อเกมไว้บนสุด และเมื่อสร้างเกมเสร็จแล้ว คนชอบนำไปแชร์บนเฟซบุ๊ก จึงสร้างปุ่มแชร์ไว้ให้กดได้อย่างสะดวก

ซึ่งระบบการทำงานทุกคนจะถูกบันทึกไว้ใน Trello ที่เป็นโปรแกรมกระดานงานออนไลน์ที่สามารถแปะข้อความและรายละเอียดเอาไว้ได้ แบ่งเป็นงานที่รอทำ งานที่กำลังทำอยู่ และงานที่เสร็จแล้ว เพื่อแสดงผลว่าใครกำลังรับผิดชอบงานชิ้นไหน และมีความคืบหน้าอย่างไรบ้าง เรียกได้ว่าชีวิตใกล้ชิดเทคโนโลยีทุกย่างก้าวจริงๆ นะเนี่ย

เกาะติดการทำงานของอาชีพ

13.00 - 16.00

พักเที่ยงเสร็จเรียบร้อย หนังท้องกำลังตึงก็ถึงเวลาทำงานต่อกันแล้วล่ะค่ะ ซึ่งพี่ทั้งห้าคนต้องนำผลงานการพัฒนาระบบเว็บบอร์ดปี 2017 ที่ร่วมกันพัฒนาขึ้นมานำเสนอในห้องประชุม ในส่วนนี้พี่ๆ ต้องทำงานร่วมกับอีกทีม คือ Content Developer ที่ดูแลด้านระบบบทความในเว็บไซต์  เพราะมีบางอย่างที่สามารถใช้ระบบร่วมกันได้ เช่น เว็บบอร์ด ที่มีระบบ โครงสร้างและระบบแสดงความเห็นที่ใช้ร่วมกันกับในคอลัมน์ต่างๆ ที่ทีม Content Developer รับผิดชอบอยู่ พวกพี่ๆ เขาเลยต้องมาประชุมร่วมกันว่าต้องปรับปรุงหรือเพิ่มเติมจุดไหนบ้าง

จากการที่นั่งฟังพวกเขาประชุมกันมา พูดได้เต็มปากว่างานนี้ละเอียดยิบค่ะ! ต้องเช็กว่าข้อมูลลิงก์กันได้อย่างถูกต้องมั้ย มีข้อผิดพลาดตรงไหนรึเปล่า ทุกคนยินดีรับฟังทุกคำสนับสนุน และโต้แย้ง เพื่อให้งานออกมาดีที่สุด และเมื่อการประชุมสิ้นสุดลง ทีม Community Developer ก็ได้นำข้อสรุปมาปรับแก้ตัวงานกัน โอ้โห! พลังเหลือสุดๆ

เกาะติดการทำงานของอาชีพ

16.00 - 18.00

หลังจากจัดการหน้าที่ของตัวเองเรียบร้อยแล้ว ก็เข้าสู่ช่วงสร้างเสริมความรู้ในการ Workshop ที่ทีมงานทุกๆ คนจะมีการหมุนเวียนมาแชร์ไอเดียหรือนวัตกรรมใหม่ๆ ที่น่าสนใจกันอยู่เสมอ ถ้าจะพูดกันตามตรงก็ต้องเรียกว่า คนที่ทำงานด้านนี้จะเก่งอยู่เพียงคนเดียวไม่ได้จริงๆ ค่ะ เพราะถ้าเราได้รู้อะไรเจ๋งๆ มา ก็ควรจะแบ่งปันให้กับเพื่อนด้วย เพื่อจะได้ช่วยกันพัฒนาซอฟต์แวร์เจ๋งๆ กันต่อไปนั่นเอง โดยหัวข้อในวันนี้เป็นเรื่อง Linux Basic มีเนื้อหาเกี่ยวกับระบบปฏิบัติการแบบยูนิกซ์ ที่เปิดโอกาสให้บุคคลอื่นนำเอาระบบไปพัฒนาต่อไป ซึ่งประสบความสำเร็จมากในวงการซอฟต์แวร์ งานนี้ไม่ต้องบอกก็รู้ว่า พี่ๆ ทั้งห้าคนตั้งใจฟังบรรยายและทดลองปฏิบัติตามอย่างจริงจังอีกเช่นกัน

เกาะติดการทำงานของอาชีพ

การทำงานที่ต้องใช้ความคิดตลอดทั้งวันแบบนี้ เชื่อว่าหลายคนคงสงสัยว่าพี่ๆ ทีม Community Developer ไม่รู้สึกเครียดกันบ้างเหรอ? พี่ส้มเลยถือโอกาสถามแทนทุกคนเลย ซึ่งคำตอบที่ได้รับกลับมา เป็นประโยคที่ไม่แสดงถึงความเหนื่อยล้า แต่สร้างกำลังใจให้กับคนฟัง...

"อาชีพนี้มีเสน่ห์อยู่ตรงที่ เราได้ทำสิ่งที่ท้าทายทุกวัน เพราะเราต้องตามให้ทันโลก เทคโนโลยีเปลี่ยน เราก็ต้องตาม เพราะฉะนั้นก็จะมีอะไรให้เขียนใหม่ๆ ตลอด
เราจึงสนุกและไม่เครียด"

เกาะติดการทำงานของอาชีพ

อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว น้องๆ คงเข้าใจถึงนิยามของอาชีพ Software Developer ที่เป็นผู้นักพัฒนาซอฟต์แวร์แล้วนะคะ ซึ่งหมายความว่า ใครที่ตัดสินใจเลือกอาชีพนี้ จะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจเรื่องซอฟต์แวร์และภาษาคอมพิวเตอร์อย่างรอบด้าน สามารถออกแบบและสร้างระบบ ตลอดจนปรับปรุงแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับโปรแกรมต่างๆ ได้ ว่าแต่น้องๆ พอจะมองเห็นกันชัดเจนมากขึ้นหรือยังว่า ระหว่างโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แอปพลิเคชั่น หรือเว็บไซต์ อะไรตรงใจเรามากกว่ากัน?

เกาะติดการทำงานของอาชีพ

ถ้าใครรู้สึกว่า "ในอนาคตฉันต้องเป็น Software Developer ให้ได้!" แล้วล่ะก็ พี่ทั้ง 5 คนก็ได้ฝากถึงคุณสมบัติของอาชีพนี้มาให้ เพื่อให้ฝึกน้องๆ ได้ฝึกฝนตัวเองให้ พร้อมก่อนเริ่มงานจริงด้วยล่ะค่ะ

  • คิดอย่างมีเหตุผลและขั้นตอน : สามารถคิดเป็นระบบ วางแผนเป็นลำดับขั้นตอนได้

  • ทำงานเป็นทีมได้ : รับผิดชอบหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด และยินดีรับฟัง ช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน

  • เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ : เทคโนโลยีใหม่ๆ ต้องอัปเดตอยู่ตลอดเวลา

เกาะติดการทำงานของอาชีพ

ส่วนถ้าใครกำลังพัฒนาตัวเองให้พร้อมเป็นนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่มีคุณภาพ พี่ทั้ง 5 คน ก็แนะนำเพิ่มเติมไว้ด้วยว่า น้องๆ ต้องศึกษาเพิ่มเติมเยอะๆ พยายามตามเทคโนโลยีให้ทัน เรียนรู้ข้อดีข้อเสียของภาษาคอมพิวเตอร์ต่างๆ ซึ่งถ้าใครได้เรียนต่อทางด้านซอฟต์แวร์ในระดับมหาวิทยาลัยล่ะก็ น้องๆ จะได้ฝึกเรียนภาษา C เบื้องต้นกันอยู่แล้ว ให้ตั้งใจเรียนและฝึกการคิดอย่างมีระบบขั้นตอน เพื่อเป็นพื้นฐานของการเขียนภาษาอื่นๆ ต่อไป เพราะมันจะมีประโยชน์ในการทำงานเป็น Software Developer มากเลยล่ะค่ะ

เกาะติดการทำงานของอาชีพ

กับพี่น็อต Head R&D Department

พี่ส้ม
พี่ส้ม - Columnist คนทำคอนเทนต์ออนไลน์ ที่เชื่อว่าใครก็เป็นเด็กดีได้ในสไตล์ของตัวเอง

แสดงความคิดเห็น

ถูกเลือกโดยทีมงาน

ยอดถูกใจสูงสุด

12 ความคิดเห็น

กำลังโหลด
Ns'Blackstone Member 22 ธ.ค. 59 04:13 น. 2

มีรุ่นพี่ที่คณะด้วยยยย นี่เรียนคนละสาขาค่ะ แต่ว่าได้เรียนภาษา C เหมือนกัน ติด F มารอบนึงค่ะ ตอนนี้ไปเรียนใหม่แล้วต้องแก้เกรดให้ได้ค่ะ ถ้าเป็นไปได้ก็อยากจะได้สายโค้ดเหมือนกันค่ะ ดูมีสายงานไปได้มากกว่า

เยี่ยมเยี่ยมเยี่ยมเยี่ยมเยี่ยมเยี่ยมเยี่ยมเยี่ยมเยี่ยม

0
กำลังโหลด
โมสคุง 22 ธ.ค. 59 05:52 น. 3
ตอนนี้กำลังจะเตรียมเขียนเว็บเลยครับ(python นะ) แต่หาเพื่อนเขียนด้วยไม่ได้เลย555 อยากเป็น dev เหมือนกัน
0
กำลังโหลด
คนดีที่โลกรอ 18 ก.พ. 60 20:52 น. 4-1

เป็นตำแหน่งที่เคยเป็นโปรแกรมเมอร์มาก่อน แล้วเลื่อนขึ้นมาวิเคราะห์ระบบ และคุยงานกับลูกค้าครับ

0
กำลังโหลด
กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด

ความคิดเห็นนี้ถูกลบเนื่องจาก

ถูกลบโดยทีมงาน เนื่องจากงดตั้งกระทู้วิจัย โครงงาน หรือใช้พื้นที่เว็บบอร์ดเพื่อการส่งการบ้าน เนื่องจากเป็นการรบกวนผู้ใช้บอร์ดท่านอื่นๆ ขออภัยในความไม่สะดวก

กำลังโหลด
กำลังโหลด
frontend 7 ก.ย. 60 13:31 น. 9

แต่ถ้าเจอบัคแบบหาต้นตอยังไงก้หาไม่เจอ ก้ทำเอาปวดหัวเหมือนกันนะ 55555

ยิ่งหาไม่เจอ ก้เริ่มเครียดละ บอกเลย

0
กำลังโหลด
Methawee-K Member 6 ต.ค. 60 10:37 น. 10-1
แล้วแต่สายที่เลือก และแล้วแต่องค์กรนะคะ โดยทั่วไปสตาร์ทไม่ต่ำกว่า 15,000 บาทตามวุฒิปริญญาตรีค่ะ
0
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด
กำลังโหลด