Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เล่าประสบการณ์การประกวดโครงงานนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ครั้งที่ 21 (YSC 2019) และการแข่งขันโครงงานที่งาน Intel ISEF 2019 สหรัฐอเมริกา (Part 1)

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

สวัสดีครับ พี่ชื่อพี่ต้นกล้า มาจากโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ วันนี้พี่จะมาเล่าประสบการณ์การเข้าร่วม การประกวดโครงงานนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ครั้งที่ 21 หรือ Young Scientist Competition(YSC 2019) และได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทย ไปแข่งขันโครงงานต่อที่ งานประกวดผลงานทางวิทยาศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ระดับนานาชาติ Intel ISEF 2019 ที่เมืองฟินิกส์ รัฐแอริโซนา สหรัฐอเมริกา และได้รับรางวัล 4th Place Grand Award in Chemistry จากการแข่งขันนะครับ


พี่จะขอเล่าตั้งแต่ตอนเริ่มทำโครงงานวิทยาศาสตร์ การเข้าร่วมการแข่งขันนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์(YSC) ไปจนถึงงานแข่งขัน Intel ISEF เลยนะครับ
มันเริ่มต้นจาก โรงเรียนของพี่ให้นักเรียนทำโครงงานวิทยาศาสตร์ตอนม.5 แต่ให้เริ่มคิดหัวข้อโครงงานตั้งแต่ม.4 โครงงานละ 3 คน พี่เลยจับกลุ่มกับเพื่อนพี่สองคน โดยตกลงกันว่าจะทำโครงงานสาขาวิชาเคมีเพราะเลือกตามความถนัดของทั้งสามคน และแน่นอน ส่วนที่สำคัญมากในการทำโครงงานคือการเลือกหัวข้อโครงงาน ขั้นตอนที่เลือกหัวข้อโครงงานของพวกพี่นั้นยากมาก ได้รับคำแนะนำจากรุ่นพี่ เราเสนอกันหลายหัวข้อมากๆ และในการคัดเลือกก็คือต้องหาเปเปอร์ เอกสารการวิจัยมาซัพพอร์ทงานของเรา
ซึ่งสุดท้ายก็เลือกได้หัวข้อโครงงานเกี่ยวกับการทำ Test Kit
ในขั้นตอนการทำโครงงานที่โรงเรียนคือพี่อ่านเปเปอร์แล้วอ่านอีก มีเอกสารให้อ่านเยอะมากๆ(ซึ่งทุกอันเป็นภาษาอังกฤษด้วยสิcrying) กว่าจะได้แต่ละขั้น แต่ละกระบวนการ ยากมาก เวลาทดลอง หรือทดสอบผล พวกพี่ทำในห้องปฏิบัติการของโรงเรียน ซึ่งหลายต่อหลายครั้งก็พบว่าผลการทดลองไม่เป็นไปตามทฤษฎี ด้วยปัจจัยต่างๆนานา ซึ่งมันก็เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นได้ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ เราก็ทำอะไรไม่ได้นอกจากหาวิธีไปเรื่อยๆแล่ะdevil พี่ก็ขอให้ทุกคนอย่าท้อเวลาพบว่าผลการทดลองไม่ถูกต้อง หรือไม่จริง มันเป็นธรรมชาติของโครงงานวิทยาศาสตร์นะ
หลังจากนั้นพี่ก็ได้สมัครโครงการนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ครั้งที่ 21(YSC2019) โดยการแข่งขันนี้แบ่งเป็น 3 รอบ ได้แก่
1. รอบข้อเสนอโครงงาน
2. รอบระดับภาค
3. รอบระดับประเทศ

รอบข้อเสนอโครงงาน

สำหรับรอบข้อเสนอโครงงาน ก็คือให้เราส่งหัวข้อโครงงาน abstract และเค้าโครงโครงงาน และรับการคัดเลือก ซึ่งรอบนี้ที่สำคัญที่สุดคือการเขียนเค้าโครงโครงงานให้รู้เรื่อง เข้าใจง่าย ต้องมีกระบวนการทดลองที่ชัดเจน ที่มาและความสำคัญจะต้องมีการอ้างอิงจากการค้นพบ ข่าว หรืองานวิจัยทุกคำพูด จะกล่าวลอยๆไม่ได้ รวมถึงกระบวนการทดลองต้องมีเปเปอร์หรือกระบวนการทดลองที่มีการอ้างอิงชัดเจน ตรงตามหลักวิทยาศาสตร์ และ*สำคัญ*พยายามอย่าให้ดูยากเกินระดับที่เด็กม.ปลายจะทำได้นะ555 รอบนี้สำคัญคือ “ขายไอเดียให้ได้”
รอบระดับภาค
เมื่อหัวข้อของเราได้รับคัดเลือก หลังจากนั้นอีก 3-4 เดือน จะต้องมาอัพเดท progress หรือรายงานความก้าวหน้า พร้อมส่งรูปเล่มโครงงาน (ได้เงิน 3000 บาทcheeky) รรพี่อยู่ภาคกลางทำให้พี่มาแข่งต่อที่ศูนย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต แข่งรอบนี้ต้องใช้โปสเตอร์ให้ออกแบบไปด้วย(ไม่จำกัดขนาดหรือรูปแบบ แต่ถ้าทำตามที่ทาง YSC แนะนำจะดีกว่า) การพรีเซนต์จะพรีประมาณ 10-15 นาทีรวมตอบคำถาม มีจำนวนกรรมการขึ้นกับสาขาวิชาเลย บางสาขาอาจจะมี 5-6 คนแบ่งๆกันมา ปีพี่สาขาเคมี(ที่พี่ลง)มีประมาณ 4 คน มาพร้อมกันรวดเดียว 55555 พี่ว่าการแข่งครั้งนี้ *เน้น* กระบวนการในการทำงานของโครงงานเรา การจดบันทึก กระบวนการในการวิจัยของเราต้องเคลียร์ ถูกต้องทางทฤษฎี
ก่อนถึงรอบนี้ โครงงานของพี่มีจุดที่ต้องปรับปรุงเยอะมากเลยล่ะ ก็ได้หาทางแก้ไขด้วยวิธีการต่างๆหลายวิธีเลยล่ะ ทั้งเสิร์ชหาข้อมูล ปรึกษากับคุณครู ซึ่งทุกอย่างที่เราได้ทำก็รายงานให้เขาฟังว่าเรามีจุดที่ต้องปรับปรุงตรงไหนบ้าง แล้วสามารถแก้ไขได้อย่างไร พี่ว่าจุดนี้สำคัญนะ เพราะตั้งแต่แรกที่เราวางแผนใน proposal มันอาจจะไม่ได้ถูกต้องไปทั้งหมด ระหว่างทางก็ต้องมีล้มลุกคลุกคลานกันเป็นธรรมดา ซึ่งคณะกรรมการก็อยากรู้วิธีในการคิดแก้ไขปัญหาของเรา
ภาพการแข่งระดับภาค

รอบระดับประเทศ
พอเข้ารอบไปสู่รอบระดับประเทศ(ได้เงินอีก 9000 บาทcheeky) แข่งที่ศูนย์การค้าแฟชั่นไอส์แลนด์ ชั้น 3 รอบนี้โครงงานต้องเสร็จละ ต้องเตรียมโปสเตอร์ไปตามขนาดที่เขาระบุไว้เท่านั้น การพรีเซนต์ในรอบนี้มี 3 วัน

ภาพรอบระดับประเทศ

บอกไว้ก่อนว่าก่อนจะถึงรอบนี้ โครงงานก็เปลี่ยนไปอีกแล้ว เปลี่ยนบ่อยมาก เจอจุดที่ต้องแก้ไขเยอะ(อีกแล้ว)555555 ต้องปรับตรงนู้น แก้ตรงนี้ ไม่จบไม่สิน และพี่พบว่าโปสเตอร์ที่พี่ออกแบบไม่เคลียร์ในหลายจุด กรรมการอาจจะไม่เข้าใจได้ พวกพี่จึงคุยกับครูที่ปรึกษาและทำไฟล์ powerpoint ไปนำเสนอเพื่อความกระจ่างยิ่งขึ้น
วันแรก ติดตั้งโปสเตอร์เสร็จ เราจะมีเวลาไปพบปะกับบูธอื่นๆได้แล้วอาจจะเกิดการเปรียบเทียบเล็กน้อย คือบูธพี่อะเป็นบูธสาขาเคมี แล้วมีแค่โปสเตอร์กับคอมพิวเตอร์เครื่องเดียวcrying ในขณะที่โครงงานอื่นๆมีพร็อปนู่นนี่นั่นเต็มไปหมด ซึ่งก็จะรู้สึกกดดันเล็กน้อย 
วันนี้ มีกรรมการมาตรวจ มีประมาณ 4 คน เขาให้เราพรีเซนต์ตามปกติและยิงคำถาม คำถามไฮไลท์ที่เราควรตอบให้คือ “เราจะพัฒนาโครงงานต่ออย่างไร” อันนี้สำคัญมาก หลังจากนั้นคือ เขาบอกว่าเห็นของจริง คือโครงงานพี่มีแต่ผลการทดลองอยู่บนโปสเตอร์ใช่ไหมล่ะ แล้วเขาอยากเห็นของจริง ทำไงดี เย็นวันนั้นกลับโรงเรียนไป พี่และเพื่อนๆก็กลับไปเข้าห้องแล็บ เตรียม Test Kit ของตัวเองใส่กล่อง หอบไปงานวันรุ่งขึ้นทันทีcrying
วันที่ 2 ตอนเช้า กรรมการชุดเดิมเดินมาดูโครงงานเรา เรา(ที่พึ่งลงทุนเตรียม Test Kit เมื่อวานจนดึกcool) ก็ภูมิใจนำเสนอ Test Kit เรามาก รอบนี้จริงๆเขาจะมาดูนิดหน่อย ชิลล์มาก มีเวลาเดินเที่ยวแฟชั่นไอส์แลนด์55555555 แต่วันนี้ต้องระมัดระวังนิดนึงเพราะจะมี “กรรมการอีกชุดนึง” แอบแบ่งกันเดินมาดูทีละคนๆ (จำกรรมการชุดนี้ไว้ดีๆ) กรรมการเหล่านี้เขาจะถามไม่ลึกมาก แต่จะถามถึงการประยุกต์ใช้องค์ความรู้ของเราในชีวิตจริง “impact ต่อโลก” รวมไปถึงการพัฒนาต่อยอด(อีกแล้ว) ก็ ณ จุดๆนี้การทำ propaganda สำคัญมากนะน้อง555 ขายให้ได้ เอาให้กรรมการเคลียร์ ชัดๆไปเลย และบอกว่าเราสมควรกับรางวัลยังไง55555
วันที่ 3 คือโคตรชิลล์555555 ไม่มีกรรมการมาเลยแม้แต่คนเดียว ชิลล์ขนาดไหน ชิลล์ขนาดที่ทำให้ช่วงเช้าพี่มีเวลาพูดคุยกับเพื่อนๆรอบๆบูธ ตั้งวงเมาท์กันเลยล่ะ5555 ก็รอไปเลยจนถึงช่วงเย็น เก็บบูธรอ
พอถึงช่วงประกาศผล ก็อธิษฐานเอาเนอะ555 เราทำเต็มที่แล้ว แต่มันคือช่วงเวลาที่นานมากๆ เพราะในงานนี้ นอกจากแข่งขัน YSC แล้ว ยังมีแข่ง NSC, YECC อีก (ซึ่งสองเวทีนี้รางวัลเยอะมากกกก หลายสิบรางวัล) ต้องรอเขาประกาศให้หมดก่อนจะมาถึงตา YSC ซึ่ง YSC มี 7 โครงงานที่ได้ไป ISEF (แล้วแต่ปีนะ)
ซึ่งพี่ก็ได้รับคัดเลือกได้ไปแข่งขัน เป็นสิ่งที่ดีใจมากๆเลยล่ะ (ได้เงินอีก 30000 บาทcheeky)


ภาพปลากรอบ ถ่ายกับเพื่อนๆและครูที่ปรึกษา

หลังจากนั้นเราก็ต้องไปเข้าค่ายเตรียมความพร้อมสำหรับการไป ISEF กินเวลาถึง 2 เดือนเต็มๆ(กลางมีนา-กลางพฤษภา) เลยล่ะ ในช่วงนี้ รวมถึงประสบการณ์ได้ไป Intel ISEF เดี๋ยวพี่จะมาเล่าต่อพาร์ทหน้าละกันเนอะ
อ่านกระทู้ตอนที่ 2 ได้ที่ https://www.dek-d.com/board/view/3938595/

แต่ตอนนี้การประกวดโครงงานนักวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์ครั้งที่ 22 (YSC 2020) ประกาศรับสมัครแล้ว สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
FB: https://www.facebook.com/YSCThailandFanpage แล้วมาสมัครกันเยอะๆน้า

แสดงความคิดเห็น

>

4 ความคิดเห็น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

มีข้อความหยาบคาย ใช้ภาษาไม่เหมาะสม

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกโหวตลบโดยเพื่อนสมาชิกชาวเด็กดี เพราะมีเนื้อหาไม่เหมาะสม

tonklable 12 มิ.ย. 64 เวลา 21:24 น. 4-1

ขอโทษที่ตอบช้านะครับ ถ้าพูดถึง YSC กรรมการจะตอบคำถามถึงเนื้อหาโครงงานเราตรงๆ ที่มาและความสำคัญ+การเอาไปใช้ได้จริง และสำคัญคือเขาต้องการวัดว่าเราเองเข้าใจโครงงานของเรามากแค่ไหน มีอ้างอิงที่น่าเชื่อถือพอหรือเปล่า เพื่อที่จะคัดเลือกไปพัฒนาต่อในเวที Intel ISEF ครับ ส่วนเวที Intel ISEF กรรมการพูดภาษาอังกฤษในระดับที่ฟังไม่ยากเลยครับ (แต่ในเวทีนี้เป็นเวทีที่อนุญาตให้มีล่ามมาช่วยสื่อสารได้ด้วย ถ้ากลุ่มไหนต้องการสามารถขอได้เลย) อีกทั้งกรรมการจะเข้าใจโครงงานเราดีอยู่แล้วเพราะอ่านมาก่อน ส่วนใหญ่จะถามเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ อิมแพคที่มีต่อโลก แพชชั่นที่มีต่อโครงงานเรา รวมไปถึงข้อสงสัยเล็กๆน้อยๆหลังจากที่เขาอ่านโครงงานเราแล้วอยากรู้อะไรน่ะครับ

0