Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

พาไปดู concert classic แบบเข้าใจง่าย เข้าถึงได้

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

        สวัสดีค่ะ ชาวเด็กดีทุก ๆ คน  วันนี้เราจะมารีวิวคอนเสิร์ตเล็กๆใจกลางกรุงที่ผ่านมาเมื่อเดือนกันยายน นั่นก็คือ “An Enchanted Classical Vocal Concert No. 2” เป็น Art Songs & Opera Arias ขับร้องโดย Heavenly Voice Singers จากวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โดยเราเลือกชมเพราะว่าเรารู้จักและติดตามนักร้องเป็นการส่วนตัวอยู่แล้ว นักร้องเป็นนักศึกษาปริญญาตรีที่กำลังศึกษาอยู่ที่มหาลัยมหิดล คณะดุริยางคศิลป์ แต่ละท่านล้วนเป็นนักศึกษามากรางวัลทั้งนั้น ถือได้ว่าเป็นอันดับต้นๆของประเทศเลยนะคะ และสถานที่ที่เราไปดูนั้นไม่ไกลจากตัวเมืองกรุงเทพเลย สามารถขับรถไปเองได้ หรือต่อรถจาก mrt สีลมได้เลยค่ะ ภาพรวมเป็นงานเล็กๆระยะเวลาการเล่นไม่นานมาก ประมาณเกือบ ๆ 2 ชั่วโมง ทำให้เหมาะกับการไปผ่อนคลายวันเสาร์อาทิตย์ โดยเราเตรียมตัวไปดูร้องเพลงคลาสสิค เราก็เสิร์ชหาข้อมูลคร่าวๆของคอนเสิร์ตที่เราไปชม เพื่อให้อรรถรสที่ดีมากยิ่งขึ้น โดยข้อมูลพื้นฐานการเตรียมตัวและความรู้สึกหลังดูนี้ เราจะมาเล่าให้ฟังข้างล่างนี้เลย

       การแสดงเป็นการแสดงประเภท การขับร้องเดี่ยว Solo ร้องคู่ Duet ร้องกลุ่ม Ensemble ประเภทคลาสสิค โดยจะมี piano accom เล่นตามไปด้วย ระยะเวลาการแสดง 2 ชั่วโมง


- ผู้ขับร้องเป็นนักเรียนปริญญาตรี ได้แก่ Duangamorn Fu, Pariyachart Sittidamrongkarn, Lim sim mei, Pijarin Wiriyasakdakul ในสาขาวิชาการขับร้อง classic โดยมี pianist accom คือ Siri Sranoi อาจารย์จากดุริยางคศิลป์ ทักษะของผู้แสดง ทุกคนดูมีความตั้งใจ และมีประสบการณ์การร้องเพลง ฟังแล้วรู้ถึงว่าผ่านการซ้อมมาเยอะ สามารถสัมผัสได้ถึงสิ่งที่จะสื่อ ฟังแล้วมีอารมณ์ร่วมคล้อยตาม  ภาพรวมแล้วไม่ใช่คอนเสิร์ตที่น่าเบื่อ



                                           ขออนุญาตปิดหน้าเพื่อความเป็นส่วนตัวของผู้ชมท่านอื่นค่ะ


 

- สถานที่ที่ตั้งและความเหมาะสม งานนี้จัดขึ้นที่ Neilson hays library ตั้งอยู่บนถนนสุรวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นห้องสมุดขนาดไม่ใหญ่มาก ห้องเป็นขนาดกลาง ทำมาจากไม้ ทำให้บรรยายกาศงานอบอุ่น อีกทั้งยังเอื้อต่อกับการร้องเพลงคลาสสิคอีกด้วย เพราะเนื้อไม้ ไม่ดูดเสียงไปจนหมดเหมือนพรมหรือผ้า และไม่สะท้อนกลับมาหมดเหมือนปูนเหมือนการร้องเพลงในห้องน้ำ การร้องเพลงคลาสสิคต้องอาศัยสภาพภายในห้องช่วยด้วย เพื่อที่จะทำให้เสียงออกมาคงแบบจริงไว้ได้มากที่สุด เพราะการร้องแบบคลาสสิคไม่ได้ใช้ไมค์ในการทำให้เกิดเสียงเลย ดังนั้นเสียงไม่ควรจะสะท้อนมากไป และไม่ควรจะดูดจนเสียงหายไปเลย ซึ่งวัสดุที่ทำหน้าที่เรื่องการคงเสียงไว้ตามจริงได้ดีที่สุดก็คือไม้นั่นเอง โดยภายในห้องสามารถจุผู้ชมได้ปรมาณ 50-60 คนเท่านั้น ดังนั้นคอนเสิร์ตนี้ไม่ใช่คอนเสิร์ตใหญ่ ดูคนที่มาชมก็ล้วนเป็นคนที่อยากมากันเองอยู่แล้ว เพราะต้องมีการซื้อบัตร จองที่นั่ง ดังนั้นเรื่องการแต่งการ หรือมารยาทการชมก็เป็นไปตามแบบแผน คือไม่ปรบมือกลางเพลง แต่งตัวสุภาพ ไม่ส่งเสียงดังรบกวนนักร้องหรือนักดนตรี


    โดยรายการแสดงคอนเสิร์ตขับร้อง classic  นี้มีความหลากหลายของการแสดง คือ มีการขับร้องเดี่ยว ขับร้อง duet และมีการผสมผสานระหว่างเพลง Opera Arias และ Art songs ซึ่งเป็นกลอนที่นำมาทำเป็นเพลง มีเนื้อหาจบในตัว ไม่เหมือน Opera Arias ที่เป็นเนื้อหาเพียงส่วนเดียวของเรื่องเต็มโดย โปรแกรมการแสดงมีดังนี้
 

                                  รายการที่ highlight สีเขียวไว้จะเป็น art songs นะคะ

 

    อย่างในรายการการแสดงนี้ก็จะมีเพลง Brüderchen, komm tanz mit mir” (Brother, come dance with me) from opera Hänsel und Gretel E. Humperdinck  ซึ่งเป็นเรื่องที่เรารู้จักดีเป็น Duet Arias มีเนื้อหาคือ พี่สาว gretel ชวนน้องชาย Hänsel เต้น แต่น้องชายเต้นไม่ค่อยเป็น พี่สาวก็เลยจะทำท่าทีเป็นการสอน ในการแสดงนักร้องก็มีการแสดงท่าทางเต้นประกอบไปด้วย คนนึงเต้นอย่างถนัด อีกคนเต้นแบบเงอะงะ ดูแล้วรู้สึกเข้าใจง่าย เข้าถึงได้ และสัมผัสได้ถึงความรู้สึกเด็กเล่นกันสองคนได้อย่างน่ารักและลงตัวมากๆ

   ตัวอย่างเพลง art song จากรายการ ได้แก่ Widmung (Dedication), from Myrthen Lieder (A Wreath of Songs), Op. 25 No. 1  R. Schumann  โดยชูมานน์แต่งเพลงนี้ เพื่ออุทิศให้เป็นของขวัญของคลาร่าภรรยาของเขาในวันแต่งงาน โดยเนื้อหาเต็มไปด้วยความรัก การสารภาพรัก บอกว่าคลาร่าเปนดั่งนางฟ้า และชีวิตของเขา
 

โดยในที่นี่ขอยกตัวอย่างประวัติผู้แต่งมาเล่าเพียง 1 คนนั่นก็คือ Robert Schumann
 

    โรเบิร์ต  ชูมานน์ (Robert Schumann) เกิดเมื่อ 8 มิถุนายน 1810 เมืองซวิคเคา (Zwickau) ประเทศเยอรมันนี มีความสนใจด้านดนตรีตั้งแต่วัยเด็ก  แต่แม่ของเขาต้องการให้เขาเป็นนักกฎหมาย และชักนำให้เขาไปเรียนกฎหมาย สุดท้ายเขาก็ต้องออกจากโรงเรียนกฎหมาย  ต่อจากนั้นเขาได้ไปเรียนดนตรีกับนักเปียโนที่มีชื่อเสียง คือ Friedrich Wieck  ซึ่งก็คือพ่อของคลาร่า วิค ซึ่งในเวลาต่อมาได้แต่งานใช้ชีวิตร่วมกันอย่างมีความสุข มีลูกด้วยกัน 8 คน

       หลังจากที่ชูมานน์เกิดอาการบาดเจ็บที่นิ้วของเขา ไม่สามารถเล่นเปียโนได้ เขาจึงหันมาประกอบอาชีพเป็นนักแต่งเพลงอย่างเต็มตัว บทประพันธ์ดนตรีของเขามีชื่อเสียงมากที่สุดคือเพลงสำหรับเปียโน เขาเป็นนักเขียน และเผยแพร่นิตยสารดนตรีที่ชื่อว่า Neue Zeitschrift  เขียนเกล็ดความรู้ด้านดนตรี  ได้เขียนวิจารณ์เกี่ยวกับบทเพลงในยุคนั้น

       ชูมานน์เป็นคนที่ทำงานหนัก  ทำให้เขาเกิดอาการเจ็บป่วยเป็นโรคประสาท  ปี ค.ศ. 1854 ในขณะที่เขามีอายุ 44 ปี สุขภาพเขาทรุดโทรมอย่างหนัก เขาเมีอาการเจ็บป่วยทั้งทางร่างกายและทางจิตใจ เกิดอาการท้อแท้สิ้นหวัง  การครองชีวิตที่บีบรัดเนื่องจากการมีลูกมากถึง 8 คน เขาเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลคนเสียจริตและได้เสียชีวิตลงในวันที่ 29 กรกฎาคม 1856 ที่กรุงบอนน์ ประเทศเยอรมันนี ในอ้อมแขนของคลาร่า

เกิด : 8 มิถุนายน 1810 เมืองซวิคเคา (Zwickau) ประเทศเยอรมันนี

    ชูมานส์มีผลงานเด่น ๆ คือ Four symphonies, a piano concerto, chamber music and music for solo piano

ปกติที่ไปดูคอนเสิร์ตคลาสสิคจะรู้สึกว่าเข้าถึงยาก แต่คอนเสิร์ตนี้มีจุดเด่นคือนักร้องจะออกมาอธิบายเพลงก่อน ที่จะขับร้อง ว่าเพลงชื่ออะไร มีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร ใครแต่ง โดยอธิบายทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ส่วนตัวรู้สึกว่าใส่ใจผู้ชมและมีคงความ authentic ของดนตรีคลาสสิคไว้ แต่เหมือนใจดีกับผู้ชมที่ยังไม่ได้มีข้อมูลด้านนี้มากนัก และข้อดีนี้เองทำให้คนดูได้รู้เนื้อหาและอารมณ์เพลงคร่าวๆได้ และสามารถนำไปตีความการแสดงต่อได้ โดยการได้ไปดูการแสดงครั้งนี้เป็นประสบการณ์ที่ดีที่ทำให้รู้จักเพลงคลาสสิคมากขึ้น ได้รู้จักแนวเพลงใหม่ ๆ พร้อมกับการตีความเพลงไปพร้อม ๆ กับการชม แต่น่าจะดีกว่านี้ถ้าหากได้เปียโนแกรนด์จริง ๆ รวมกับทักษะของนักร้องและนักเปียโน รู้สึกว่าการแสดงน่าจะเข้าถึงผู้ชมมากกว่านี้ เพราะเปียโนไฟฟ้าเสียงไม่นุ่มลึกและมีมิติเท่าเปียโนแกรนด์ แต่อาจจะเพราะความสะดวกทางด้านสถานที่ ทำให้ไม่สามารถใช้ได้ ทำให้รู้สึกว่าเสียงและความรู้สึกนั้นต่างกันไปหน่อยตลอดการแสดง แต่ภาพรวมถือเป็นการแสดงที่ดี มีคุณภาพ ผ่อนคลายและได้ความรู้ไปในเวลาเดียวกัน

โดยที่หอสมุด จะมีการจัด event ที่น่าสนใจขึ้นเรื่อย ๆ ไม่เป็นเพียงแต่เรื่องดนตรีเท่านั้นนะคะ ถ้าหากใครสนใจไปผ่อนคลาย ลองเข้าไปดูตาราง event ได้ใน https://web.neilsonhayslibrary.com

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

มีเนื้อหาไม่เหมาะสม