Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

[รีวิว] ทุน Stipendium Hungaricum การเรียนปริญญาเทอมแรกในกรุงบูดาเปสต์ ประเทศฮังการี

ตั้งกระทู้ใหม่
สวัสดีเพื่อน ๆ ทุกคน หลังจากที่ห่างหายกันไปนาน เนื่องจากพึ่งจะส่งโปรเจคสุดท้ายของเทอมไปเมื่อไม่กี่วันที่แล้่ว ตั้งแต่วันที่ผมโพสต์เรื่องวิธีการขอทุน Stipendium มาจนถึงวันนี้ ผมก็มาอยู่ที่กรุงบูดาเปสต์ได้ 114 วันแล้ว นับตั้งแต่เครื่องลงที่สนามบินบูดาเปสต์

(ภาพ โลโก้มหาวิทยาลัย ELTE)

สำหรับคนที่ยังไม่เคยอ่านบทความแรกเรื่องการขอทุนของผม ผมชื่อวิท เป็นนักศึกษาทุน Stipendium Hungaricum คณะวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเอิตเวิช โลรานด์ (ELTE) ที่บูดาเปสต์ครับ

(กระทู้เก่า: https://www.dek-d.com/board/view/3986779/ สำหรับเพื่อน ๆ ที่สนใจขอทุนปริญญาตรี หรือ ปริญญาโทนะครับ เป็นแนวทางว่าทำยังไงถึงจะสอบได้ทุนนี้ รีบ ๆ กันนะครับ เพราะว่าทุนจะปิด 15 มกราคมนี้ และต้องมีผลสอบ IELTS หรือ TOEFL ด้วย)

ช่วงนี้เป็นช่วงที่นักเรียนม.6 หรือ คนที่อยากเปลี่ยนสาขาที่ตัวเองเรียนจากทั่วโลก เริ่มสมัครทุนนี้กัน ผมก็คิดว่า น่าจะเป็นช่วงเวลาที่ดี ที่จะมาบอกเล่าประสบการณ์ว่า มหาลัยผมเทอมแรกเรียนอะไรกันบ้าง ชีวิตที่นี่เป็นยังไง และ หลักสูตรที่ผมเรียนนั้น มีอะไรบ้าง วันนี้เราจะมาดูกันครับ

เทอมแรกที่ผมเรียนนี้ ยังไม่ใช่การเรียนในปริญญาตรีจริง ๆ เพราะว่าผมเลือกเรียนเทอม Preliminary Semester หรือภาษาไทยก็คือ "เทอมเสริม" นั่นเอง เนื่องจากผมเปลี่ยนสายที่เรียนมาจากเศรษฐศาสตร์ (เมื่อก่อนเคยเรียนเศรษฐศาสตร์ที่ มช.) และไม่ได้มีพื้นฐานแน่นทางด้านคอมพิวเตอร์ ก็เลยอยากปูพื้นฐานก่อน สำหรับคนที่อยากใช้เวลาในการเรียนพื้นฐานที่ตัวเองไม่ถนัด หรือว่าอยากจะใช้เวลาในการเรียนภาษาฮังการี ก็สามารถทำได้ เพราะว่าตั้งแต่ปีนี้ (2020-2021) ประเทศฮังการีต้องให้นักเรียนทุกคนเรียนภาษาฮังการีและต้องสอบให้ผ่าน ไม่ฉะนั้นจะหักเงินค่าทุนออก เดือนนึงจาก 8000 เป็น 7000 บาท


(ภาพรัฐสภาฮังการี แลนด์มาร์ก iconic ของกรุงบูดาเปสต์)


(ภาพ เทอม Preliminary Semester ของ ELTE-IK)

เทอมแรก Preliminary Semester ที่ผมเรียนนั้น เรียนอยู่ทั้งหมด 7 วิชา ผมจะมารีวิวว่า แต่ละวิชาเป็นยังไง:
1. Hungarian language and culture ภาษาฮังการี
วิชานี้เรียน 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หน่วยกิต 4 หน่วยกิต เป็นวิชาที่สำคัญที่สุด เพราะถ้าตก โดนหักตังก์ ผมชอบวิชานี้ที่สุด เพราะว่าไม่ต้องเข้าเรียน ผมมีผลสอบฮังการี B2 แล้ว อาจารย์ก็เลยอนุโลมให้ เยี่ยมไปเลย 55 แต่วิชานี้เท่าที่ถามมา เค้าบอกกันว่ายากมาก (ภาษานี้ยากมาก)


(ภาพ แผนที่เมืองและเทศมณฑลในประเทศฮังการี)

2. Topics in Mathematics หัวข้อคณิตศาสตร์
วิชานี้เรียน 8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เรียนเรื่อง Basic algebra, Logarithm, Graphs, Inequality, Trigonometry เป็นเรื่องที่เป็นพื้นฐานสำหรับการเรียน Discrete Math ในเทอมต่อ ๆ ไป

3. Introduction to Computational Thinking การคิดแบบคอมพิวเตอร์เบื้องต้น
วิชานี้เรียน 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เรียนการเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์เบื้องต้น Microbit การเขียนอัลกอริทึมเบื้องต้น และอื่น ๆ ไม่ได้เขียนโปรแกรมจริง ๆ เน้นให้คิดเรื่อง Loop และการเขียนโลจิกโปรแกรมแบบเป็นขั้นตอนเท่านั้น

(ภาพ การเขียนโปรแกรมหุ่นยนต์แบบง่าย ๆ ให้หุ่นยนต์สามารถค้นหาทางออกจากเขาวงกตให้ได้)

4. Scratch Programming การเขียนโปรแกรม Scratch
วิชานี้เรียน 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ วิชานี้เรียนการทำเกมและอนิเมชั่นแบบง่าย ๆ ด้วย Scratch หลาย ๆ คนน่าจะเคยเห็นนิดหน่อยตอน ม.ปลาย เป็นแมวส้ม ๆ ที่เคลื่อนที่ได้

5. Computers in practice การฝึกใช้คอมพิวเตอร์
วิชานี้เรียนสัปดาห์ละ 2  ชม กับอาจารย์อินเดีย วิชานี้เรียนการใช้ Command Prompt และระบบปฏิบัติการ Linux ในคอมพิวเตอร์ อาจารย์พูดโคตรเร็ว Rap is now

6. Intermediate English ภาษาอังกฤษระดับกลาง
(6;6) วิชานี้เรียนภาษาอังกฤษ เรียนสัปดาห์ละ 6 ชม. เหมาะสำหรับคนที่ต้องการปรับ Grammar ภาษาอังกฤษของตัวเอง

7. Learning methodology แนะแนว
(1;3) วิชานี้เรียน 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ เป็นวิชาที่ให้มาพูดกันเฉย ๆ ไม่มีอะไรมาก


(ภาพ ภาพถ่าย-ปัสลาจมาโญช (Lágymányosi Campus) ซึ่งเป็นที่ตัั้งของคณะวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ และ คณะสังคมศาสตร์ ของ ELTE อยู่ฝั่งบูดา (ตะวันตก) ของกรุงบูดาเปสต์ มีภูเขาบูดาอยู่ด้านหลัง และ แม่น้ำดานูบอยู่ด้านหน้า)

ส่วนเทอมจริง ๆ ที่ผมจะเริ่มเรียนนั้น จะมีอยู่หกเทอม รวมหน่วยกิต 180 หน่วยกิต โดยระหว่างที่เรียนนี้จะต้องมีการไปฝึกงานในบริษัทซอฟต์แวร์อยู่ 3 เดือน ในบริษััทซอฟต์แวร์ที่ไหนก็ได้บนโลก และเทอมสุดท้ายจะต้องมีการสอบใหญ่โดยเอาความรู้ที่เรียนมาทั้งหมด 6 เทอม มาทดสอบโดยโปรเฟสเซอร์ 3 คน ถามคำถามและตอบ จากนั้นตอนเทอมสุดท้ายจะต้องทำวิทยานิพนธ์ (Thesis) และดีเฟนวิทยานิพนธ์วิทยาการคอมพิวเตอร์ของตัวเองให้ผ่านถึงจะจบการศึกษาได้


(ภาพ รูปแผนการเรียนทั้ง 3 ปี; 6 เทอม)

เทอมแรกที่ผมเรียน (เทอม 2 ที่ฮังการี) มีวิชาแกนอยู่ 6 วิชา:
1. วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน เรียน Discrete math
2. ระบบคอมพิวเตอร์ เรียนการใช้ระบบคอมในการเขียนโปรแกรม
3. การเขียนโปรแกรม เรียนการเขียนโปรแกรม ใช้ภาษา C++
4. การเขียนโปรแกรมเชิงคำสั่ง เรียนการเขียนโปรแกรม Imperative programming ภาษา C
5. การเขียนโปรแกรมเชิงฟังก์ชัน เรียนการเขียนโปรแกรมที่ใช้ Functional programming ภาษา Clean
6. พื้นฐานการทำธุรกิจ


(ภาพ หลักสูตรเทอม 2)

(ภาพ หลักสูตรเทอม 3)

(ภาพ หลักสูตรเทอม 4)

(ภาพ หลักสูตรเทอม 5)

(ภาพ หลักสูตรเทอม 6)

(ภาพ หลักสูตรเทอม 7 และวิชารองซึ่งต้องเรียนเกือบทุกวิชาในนั้น)

สรุปที่จะเรียนทั้งหมดก็คือ ภาษาโปรแกรมประมาณ 9 ภาษา: Python, C, C++, Clean, Java, JavaScript, SQL, HTML, CSS และอาจจะมีภาษาอื่นอีก และเรียนอัลกอริทึมและโครงสร้างข้อมูล ทฤษฎีคอมพิวเตอร์จำนวนมาก การเขียนโปรแกรม หัวข้อต่าง ๆ ในวิทยาการคอมพิวเตอร์ อย่างแมชชีนเลิร์นนิ่ง เอไอ และ การเข้ารหัสลับ รวมไปถึงเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ต่าง ๆ ในหลักสูตรแทบจะไม่มีวิชาเสริมจะคณะอื่น ๆ เลย ยกเว้น วิชาธุรกิจ และ วิชาภาษาฮังการีที่ต้องสอบให้ผ่านในสองเทอมแรก (ปีแรก) บวกกับทำธีซีสตอนจบ และ ทำ Internship 3 เดือน

หลังจากเทอมPreliminary Semester นี้ ก็เป็นเทอม 1 ของมหาวิทยาลัย เทอมหนึ่งของผมเริ่มเรียน 8 กุมภาพันธ์ และ ไปจบตอน 3 กรกฎาคม 2021 จะเริ่มเรียนวิชาที่ยากกว่าเดิม ข้อแม้ของทุนก็คือจะต้องสอบผ่าน (เกรด D เป็นอย่างต่ำ) อย่างน้อย 36 หน่วยกิตต่อสองเทอม ซึ่งปกติแล้วสองเทอมจะเรียนประมาณเกือบ 60 หน่วยกิต ดังนั้นต้องสอบผ่านให้ได้ประมาณ 60 เปอร์เซ็นต์ในแต่ละเทอม

ชีวิตตั้งแต่มาที่ฮังการี ไม่เหมือนเทอมปรกติ อย่างที่รู้กันว่าโรคโควิดระบาดในยุโรปและอเมริกาหนักมาก ทำให้ทุกที่ปิดหมดหลังสองทุ่มเป็นต้นไป ไม่ให้รวมกันมากกว่า 10 คน ร้านอาหารเข้าไปนั่งกินไม่ได้ สถานบันเทิง ผับ บาร์ ปิดทุกที่ และ มหาลัยทุกที่่ต้องเรียนออนไลน์ (ไม่แน่ใจว่าการเรียนออนไลน์นี้จะต่อไปจนถึงเมื่อไหร่ หวังว่าเทอมหน้าจะกลับไปเป็นเหมือนเดิม) สาเหตุนี้ทำให้ไม่ค่อยเจอเพื่อนใหม่สักเท่าไหร่ ชีวิตในที่ที่มีโควิดไม่ค่อยสะดวกสบายสักเท่าไหร่ แต่ว่าก็ไม่ได้แย่ขนาดนั้น


(ภาพ วิวรถไฟ ตอนนั่งรถไฟไปเที่ยวหาบ้านโฮสต์ที่ภาคใต้)

ช่วงนี้เป็นช่วงที่เกรดออกพอดี เกรดของที่นี่ออกผ่านเว็บ NEPTUN ซึ่งเป็นเว็บทะเบียนของม.ELTE ส่วนเวลาส่งงานหรือโหลดเอกสารต่าง ๆ ปกติจะโหลดจากเว็บ CANVAS ซึ่งเป็นเว็บไซต์สำหรับการส่งงานและดูคะแนนเก็บ แต่อาจารย์บางคนสอนผ่าน Github ก็มี

เกรดของฮังการีเหมือนการคิดเกรดของไทยคือ A B C D F ตามรูปนี้

**Tip** สำหรับคนที่จะมาเช่าหอที่นี่ อย่าเช่าตรงที่เป็นจุด Metro เด็ดขาด และ ห้ามอยู่ติดถนนใหญ่
//เดี๋ยวมาเขียนต่อ
 

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น

Bitte 26 พ.ค. 64 เวลา 01:37 น. 1

motivation letter ที่ใช้ยื่นทุนกับของ ELTE เองเป็นฉบับเดียวกันมั้ยคะหรือคนละฉบับ

0