Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

Dek65 ปรึกษาเรื่องอนาคต

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

สวัสดีค่ะ เราเป็นเด็ก65 ที่เหลือเวลาไม่มากแล้ว+โควิดอีก เราสับสนมากเพราเรื่องสายการเรียนที่จะเรียนต่อไม่ถูก ขอเริ่มเรื่องเลยนะคะ คือเราชอบเรียนชีวะมากและเกรดชีวะ3+ตลอดตั่งแต่ม.4 เราอยากเรียนต่อเทคนิคการแพทย์มากแต่พอลองลงลึกหาข้อมูลเกี่ยวกับคะแนนในแต่ละรอบมันสูงมากทุกมหาลัยสำหรับเราเราชอบแค่ชีวะ เคมีพอไปได้ ฟิสิกส์กันคณิต นี้เกลียดสุดๆจนพี่เราบอกว่าถ้าไม่มั่นใจก็หาแผนสำรองไว้ให้เลือกสายการเรียนอื่นไว้ด้วยเราเลยตัดสินใจว่าจะเรียนครุศาสตร์ เอกชีววิทยา พอลองหาข้อมูลก็เห็นเขาบอกกันว่าสายวิทย์บรรจุยากอีกฟังแล้วจะร้องไห้ เราไม่อยากเรียนจบไปโดยที่ทำงานได้ในตำแหน่งที่ไม่คุ้มกันกับที่เรียนมาเลย วอนพี่ๆช่วยบอกหน่อยได้มั้ยค่ะว่ามีสายการเรียนไหนที่เหมาะกับคนชอบชีวะ แล้วเรียนจบไปมีงานทำแน่นอน

ขอบคุณที่เข้ามาอ่านและขอบคุณมากๆสำหรับคนที่ตอบนะคะ

แสดงความคิดเห็น

>

5 ความคิดเห็น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

Prist 25 ก.ค. 64 เวลา 16:56 น. 2

สวัสดีครับ อยากจะมาแชร์มุมมองเหมือนกัน


1) ไม่ค่อยอยากให้โฟกัสเรื่องคะแนน อยากให้โฟกัส "งาน" ที่อยากทำในอนาคตมากกว่า

2) ผมคิดว่าอาชีพ "อาจารย์" กำลังเจอการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ครับ โดยเฉพาะอาจารย์ระดับมหาวิทยาลัย (ส่วนอาจารย์ระดับโรงเรียนอันนี้ผมไม่แน่ใจ)

น้องจะใช้เวลาอีกมากกว่า ~5 ปี ในการเรียน... ซึ่งโลกจะเปลี่ยนไประดับนึง โดยเฉพาะการเข้าถึงสื่อการเรียนรู้... ปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยจำนวนหนึ่งที่เปิดคอร์สเรียนออนไลน์แบบ 100% (นักเรียนในอนาคตจะมีโอกาสที่เจอ อ.เก่ง ๆ ในทุกที่ทั่วมุมโลก และถ้าเราไม่เก่งพอที่จะสู้พวกเขาเหล่านั้นได้ อาจจะต้องปรับตัวหน่อย) ระบบการเรียนการสอนในเว็บ (เช่น คอร์สสั้น ๆ ต่าง ๆ) ของต่างประเทศดีกว่าของเราค่อนข้างมากเลยเดียว... ณ ปัจจุบันเราสู้เขาไม่ได้ครับ แต่อนาคตผมไม่รู้

3) เรียนไปแล้ว จบไปมีงานแน่นอน... ทักษะการทำงานที่โลกต้องการเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาครับ... พี่แนะนำ (ถ้าเป็นไปได้) เลือกมหาลัยที่มีคะแนนสูง ๆ ปรับตัวกับสิ่งแวดล้อมในนั้น และพยายามสร้าง connection

1
Prist 25 ก.ค. 64 เวลา 20:54 น. 2-1

เพิ่มเติมจากข้อ (2)

ผมหมายความว่า ถ้าเราตั้งใจจะเป็นอาจารย์ บางทีทักษะทางด้าน IT และจิตวิทยาการนำเสนอ จะถูกโฟกัสมากขึ้น // และด้วยความที่การแข่งขันมันสูงขึ้น เราควรที่จะจริงจังและตั้งมาตรฐานกับมันใหม่ (ไม่ใช่แบบที่เป็นกันทุกวันนี้)

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

เบลล์ 27 ก.ค. 64 เวลา 18:03 น. 4

เท่าที่อ่านทำความเข้าใจน้องซ้ำๆ หลายรอบ พี่ว่าน้องยังไม่รู้จักตัวเองเลย ในเวลาที่เหลือค่อนข้างน้อยขนาดนี้ น้องยังไม่มีเป้าหมายที่ชัดเจน เพราะจะเห็นได้ว่าน้องลังเลระหว่างเทคนิคการแพทย์ กับ ครุศาสตร์ ซึ่งมันเป็นคณะที่ต่างกันมากอยู่นะคะ น้องควรถามตัวเองให้ชัดว่าอยากเรียนคณะเกี่ยวกับอะไรกันแน่ อยากเกี่ยวกับสายแพทย์ ครู สถาปนิก วิศวะ หรืออะไร? พอเลือกหมวดหมู่ใหญ่ๆ ได้แล้วค่อยไปลงรายละเอียดว่าเราอยากเรียนในสาขาอะไร การเลือกคณะจากวิชาที่ชอบมันก็เป็นวิธีนึงที่ง่ายดี แต่ว่าในแต่ละคณะมันก็ไม่ได้เรียนแค่วิชาๆ เดียวนะคะ นอกจากชีวะที่น้องชอบ ถ้าน้องเข้าเรียนคณะสายวิทย์ น้องก็คงต้องเจอกับวิชาคณิตฟิสิกส์แน่นอนค่ะ ถ้าน้องไม่ชอบจริงๆ ก็ไปหาให้ลึกว่าสาขานั้นๆ เราต้องเรียนคณิตกับฟิสิกส์มั้ย อย่างครุศาสตร์ เอกชีววิทยา ก็ดูจะเป็นตัวเลือกที่ลงตัวแต่น้องก็บอกว่าสายวิทย์บรรจุยาก กลัวจบมาไม่มีงานทำ? ถ้าน้องคิดแบบนี้พี่ว่าทุกคณะก็หางานทำยากหมดแหล่ะค่ะ อย่าเพิ่งตัดสินตั้งแต่ยังไม่ลงมือทำ คนที่ชอบชีวะเรียนจบแล้วมีงานทำแน่นอน พี่ว่ามันไม่มีหรอกค่ะ ตัวเลือกที่เฉพาะเจาะจงขนาดนี้


ในเวลาที่เหลือน้อยนิดขนาดนี้ พยายามหาตัวเองให้เจอแล้วไปอ่านหนังสือเตรียมสอบด้วยนะคะ อย่ามัวแต่สับสนจนไม่รู้ลำดับความสำคัญว่าตัวเองควรทำอะไรในตอนนี้ เป็นกำลังใจให้นะคะ

1
เบลล์ 27 ก.ค. 64 เวลา 18:08 น. 4-1

ปล. พี่เรียนคณะสถาปัตย์นะคะ พี่จบสายศิลป์ พี่ไม่เก่ง คณิต ฟิสิกส์ อังกฤษ เลยค่ะ แต่ตอนสอบเข้ามหาลัยดันต้องใช้คะแนนวิชาสามัญ คณิต ฟิสิกส์ อังกฤษ ซึ่งพี่เรียนมาแค่พื้นๆ ตอนสอบคะแนนก็แย่อยู่เหมือนกันแต่ก็ถึงเกณฑ์ตามที่มหาลัยกำหนดเลยยื่นเข้าไป แล้วพี่ก็สอบติดตามที่หวังด้วยค่ะ ตอนสอบเข้าพี่ไม่ได้คิดว่าเรียนจบแล้วจะมีงานมั้ย พี่โฟกัสแค่ว่าพี่จะสอบติดมหาลัยนี้ตามที่หวังมั้ย ส่วนเรื่องการทำงาน มันเป็นสิ่งที่พี่จะมาโฟกัสระหว่างเรียนมากกว่าค่ะ จัดลำดับความสำคัญให้ถูกแล้วจะได้ไม่ใช้ชีวิตอย่างสับสนแบบนี้

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

เว็บไซต์ Dek-D.com ขอสงวนสิทธิ์ในการงด โพสต์ข้อความซื้อ/ขาย/แลกเปลี่ยน/โฆษณา สินค้าทุกชนิดในเว็บบอร์ด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้งานท่านอื่น