Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

รอบ 2 โควต้าพื้นที่ ออกแบบหัตถอุตสาหกรรม มธ.ศูนย์ลำปาง

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
สาขาวิชาออกแบบหัตถอุตสาหกรรม คณะศิลปกรรมศาสตร์ มธ.ศูนย์ลำปาง รับสมัครเข้าศึกษา รอบที่ 2 โควต้าพื้นที่ สำหรับน้องๆ ที่กำลังศึกษาหรือสำเร็จการศึกษาจาก 17 จังหวัดภาคเหนือ
สมัครได้ตั้งแต่วันที่ 12 กุมภาพันธ์ - 31 มีนาคม 2565 ทางเว็บไซต์งานรับเข้า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ www.tuadmissions.in.th
สอบวิชาเฉพาะวันเสาร์ที่ 26 มีนาคม 2565
1)  วาดเส้นเพื่อการออกแบบ
2) ความถนัดทางออกแบบหัตถอุตสาหกรรม
เกณฑ์การคัดเลือกจากคะแนนสอบวิชาเฉพาะคณะศิลปกรรมศาสตร์ อย่าลืมสมัครสอบวิชาเฉพาะเพื่อนำผลคะแนนมายื่นด้วย ️
--------------------------------------------
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ 02 - 6966249 หรือ 097-247-9601
.
รอบ 2 โควต้าพื้นที่ เหมาะกับใคร
-เหมาะกับผู้ที่มาจากโรงเรียนที่ตั้งอยู่ในเขต 17 จังหวัดภาคเหนือ
ดังนั้น ผู้แข่งขันในการสอบ จึงมีแค่ผู้มาจาก 17 จังหวัดภาคเหนือ
-เหมาะกับผู้ที่มั่นใจในฝีมือของตนเอง โดยไม่ต้องพะวงกับคะแนนอย่างอื่นว่าจะมีหรือไม่ หรือเกรดจะเป็นอย่างไร เช่น GPAX , GAT , PAT
ดูกันที่ความสามารถของตนเองเนื้อๆ กันเลย พกความมั่นใจเข้ามาสอบเลย
.
* และนอกจากนั้นยังมีช่องทางหนึ่ง คือ โครงการช้างเผือก อีกด้วย

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น

ICDTU 7 ก.พ. 65 เวลา 13:20 น. 2

ศัพท์แสง ที่ฯหัตถฯ เรียน (๔)

..

Concrete (Concrete Art)

.

ความเป็นรูปธรรมของสิ่งนามธรรม หรือ นามธรรมทรงรูป คือ รูปทรงหรือรูปร่างนามธรรม ที่มีความเป็นรูปธรรมและมีตัวตน ที่อยู่ได้และมีคุณค่าด้วยตัวมันเอง ตามหลักปรัชญาศิลป์ของลัทธิมูลฐานนิยม (elementarism)

ทัศนะนี้ มงเดรียง (Mondrian)* กล่าวว่า ศิลปะนามธรรมนั้นจะแสดงรูปทรงที่บริสุทธิ์ด้วยเส้นและสี ที่เป็นแก่นแท้ของทัศนมูลฐาน (visual elements) มีความเป็นรูปธรรมที่ชัดเจนในตัวมันเอง ซึ่งคำว่า concrete พัฒนาต่อมาจากแนวคิด ทรงรูปใหม่ (neo-plasticism) ของมงเดรียง นั่นเอง โดย ดุสเบิรฺก (Theo Van Doesburg) แนวคิดดุสเบิรฺกพัฒนาเป็นทฤษฎีใหม่ต่อจากแนวคิดทรงรูปใหม่ เรียกว่า มูลฐานนิยม (Elementarism คนละคำกับ elementalism)

ดุสเบิรฺก ใช้คำ concrete เพราะศิลปะนามธรรมในทางทัศนศิลป์นั้น ย่อมต้องปรากฏเป็นรูปธรรมหรือมีความทรงรูปอยู่เสมอ (ด้วยเพราะมันสร้างมาจากแก่นทัศนมูลฐานและไม่ลอกรูปทรงธรรมชาติใดใด) จึงเรียกว่า ศิลปะนามธรรมว่า ศิลปะทรงรูป (concrete art) เมื่อเป็นผลงานของมูลฐานนิยม ที่ดุสเบิรฺกพัฒนาต่อจาก Neo-plasticism และศิลปะทรงรูป มีคุณค่าทางศิลปะสูงยิ่ง (แม้ว่าต่อจากนั้น ศิลปะอนุตรนิยม จะบอกว่า ที่สุดแห่งศิลปะนามธรรมยิ่งกว่า)

.

การขยายผลคลี่คลายและการประยุกต์ใช้นั้น ปรากฏว่า concrete art ถูกนำไปสร้างผลงานทางสถาปัตยกรรมและงานออกแบบตกแต่งภายในจำนวนมาก โดย ดุสเบิรฺก (ยิ่งกว่าผลงานจากแนวคิดศิลปะทรงรูปใหม่ของ มงเดรียง) โดยใช้ฐานคิดจาก มูลฐานนิยม (Elementarism) ของดุสเบิรฺกนั่นเอง

.

*[ทั้ง มงเดรียงและดุสเบิรฺก อยู่ในกลุ่มที่เรียกตนเองว่า เดอสแตล (De stijl) ซึ่งก็คือ The Style ในภาษาอังกฤษ กลุ่มเดอสแตล คือ กลุ่มศิลปิน สถาปนิก นักออกแบบที่มีแนวคิดเกี่ยวกับศิลปะทรงรูปใหม่ รวมตัวกัน นำโดยสถาปนิกและจิตรกรชาวดัตช์ เธโอ ฟาน ดุสเบิรฺก (Theo Van Doesburg) จิตรกรชาวดัตช์ ปิเอต์ มงเดรียงหรือ ปีต มงดริยาน (Piet Mondrian) และบาร์ต อันโธนี ฟาน เดอร์ เลกค์ (Bart Anthony Van der Leck) จิตรกรชาวเบลเยียม จอร์จส์ ฟานตองเกอร์ลู (Georges Vantongerloo) สถาปนิกฮังกาเรียน ฝวิลมุช ฮุสซาร์ (Vilmos Huszár) สถาปนิกและนักออกแบบเครื่องเรือน แกร์ริต ริตเวลด์ (Gerrit Rietveld)

.

โดยมีหลักสุนทรียภาพว่างานศิลปะต้องไม่เป็นการลอกแบบธรรมชาติ เกิดขึ้นโดยสาระทางนามธรรมของรูปร่างรูปทรงเรขาคณิต (geometric abstraction) ไม่ถ่ายทอดเรื่องราวใดใดจากธรรมชาติ มีองค์ประกอบสาระสำคัญเกี่ยวกับเส้นและสี และมีสุนทรียภาพคุณค่าในแบบอย่างสากล (เมื่อเข้าถึงคุณค่าของเส้นและสี) ไม่มีการถ่ายทอดความคิด จินตภาพหรือความรู้สึกส่วนตัว

.

ทั้งดุสเบิรฺก มงเดรียง ฟานตองแกร์ลูและฟาน แดร์เลกค์ พยายามค้นคว้าและสร้างทรงรูปใหม่ อย่างนามธรรม โดยใช้ทิศทางเส้นพื้นฐานสองแนวคือเส้นแนวนอนและแนวตั้ง (อันเป็นหัวใจของเส้น) และการประกอบมุมรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก โดยบรรจุองค์ประกอบของพื้นระนาบสี ที่เป็นแม่สีปฐมภูมิ (primary colours) สามสี คือ สีเหลือง แดง น้ำเงิน และค่าน้ำหนักพื้นฐาน (primary values) สามค่าน้ำหนัก คือสีขาว สีดำและสีเทา]

0