Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

โลมา ที่ไม่ใช่ปลา แต่กำลังจะสูญพันธ์ ในไทยเหลือแค่ 14 ตัวเท่านั้น !!

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

หลายๆคน คงรู้จักโลมาและ หลายๆคน คิดว่ามันคือปลา และคนเรียกว่าปลาจนติดปากไปแล้ว  แต่จริงๆ แล้ว โลมา ไม่ใช่ปลา ถึงแม้จะมีลักษณะเหมือนปลาแทบจะทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นการดำรงชีวิต หรือรูปร่างลักษณะ โลมานั้นถึงแม้ว่าจะดูเหมือนปลาแต่จริงๆ แล้วโลมาไม่ใช่ปลา มันเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่อาศัยอยู่ในน้ำหรือเรียกง่ายๆ ว่าสัตว์น้ำนั่นเอง โลมาแบ่งออกเป็น 5 ชนิดด้วยกันคือ โลมาอิรวดี โลมาปากขวด โลมาเผือก โลมาหัวบาตรหลังเรียบ และโลมาแถบ ซึ่งแต่ละชนิดจะมีลักษณะแตกต่างกันออกไป โลมาสามารถอาศัยได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม  โดยในประเทศไทยนั้นจะมีโลมาอาศัยอยู่ 2 ชนิดหลักได้แก่ โลมาอิรวดี กับโลมาปากขวด
โดยทั่วไปโลมานั้นจะอาศัยทั่วไปในท้องทะเลหรือมหาสมุทรซึ่งลักษณะที่คนเรานั้นคุ้นเคยกันดี ไม่ว่าจะเห็นที่สวนสัตว์ ท้องทะเลก็แล้วแต่จะมีลักษณะรูปร่างปราดเปรียว ลำตัวเพรียวยาวคล้ายคลึงกับกระสวย ส่วนใหญ่แล้วจะมีปากที่เรียวยาว หัวกลมมน หางของมันจะไม่ตั้งตรงเหมือนปลาทั่วไปแต่จะแบนยาวที่เอาไว้สำหรับช่วยในยการพุ้ยน้ำ และที่แตกต่างจากปลาโดยสิ้นเชิงเลยคือ โลมาไม่มีเมือกหรือเกล็ดปกคลุมผิวหนังโลมานั้นเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีอวัยวะเหมือนกันกับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป แต่ละส่วนตำแหน่งอาจจะต่างกันเนื่องจากสภาพแวดล้อม หรือการใช้ชีวิตที่ไม่เหมือนกัน เช่น จมูก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไปจะมีจมูกบริเวณใบหน้า แต่โลมานั้นมีจมูกอยู่ที่กลางหัวเพื่อสำหรับหายใจบนผิวน้ำ วันนี้เราจะพูดถึงการดำรงชีวิตของมันว่าเป็นอย่างไรบ้าง สำหรับสัตว์ที่มีรูปร่างเหมือนปลาแต่ไม่ใช่ปลาตัวนี้
การหาอาหาร โลมาจะออกล่าเหยื่อเป็นฝูง อาหารของมันคือปลาตัวเล็กๆ จ่าฝูงจะว่ายน้ำนำหน้า ส่วนตัวเล็กๆ จะว่ายอยู่ใกล้ๆ กับตัวใหญ่ไม่ไกลมากนัก การนอนของเหล่าโลมาแสนรู้พวกนี้ จะไม่มีระยะเวลาการนอนยาวนานเหมือนกันสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมทั่วไป ซึ่งการนอนของมันนั้นจะเป็นการผ่อนคลายในระยะเวลาเพียงน้อยนิดเท่านั้น ตอนนอนสมองของมันจะสั่งการให้ระบบทางเดินหายใจใช้ได้ปกติ ซึ่งการนอนของมันมักจะคู้ตัวเอาหัวและหางจมอยู่ใต้น้ำ ไม่นานมันก็จะลอยตัวและว่ายตามฝูงของมันปกติ

การสื่อสาร โลมาจะมีการสื่อสารโดยการใช้คลี่นความถี่ที่อยู่บนหัวของมัน คล้ายๆ กันกับ ระบบโซนาร์ที่มนุษย์ใช้กันในปัจจุบัน
การสืบพันธุ์ โลมาจะใช้ระยะเวลาการสืบพันธุ์กันเพียง 12 วินาทีเท่านั้น มีการตั้งครรภ์ในระยะเวลาประมาณ 12 เดือน ซึ่งโลมาสามารถออกลูกได้ครั้งละ 1 ตัว เมื่อคลอดแล้วลูกโลมาสามารถว่ายน้ำได้ทันทีที่ลืมตามองดูโลก ขนาดตัวของลูกจะมีขนาดประมาณ 40% ของตัวที่เป็นแม่และ
ข้อมูลสำคัญจากเพจ  TOP Varawut - ท็อป วราวุธ ศิลปอาชา ได้กล่าวให้ความรู้ไว้ว่า 
"โลกนี้มีโลมาอิรวดี ในแหล่งน้ำจืดเหลือเพียง 5 แห่ง ได้แก่ อินเดีย 140 ตัว อินโดนิเซีย 90 ตัว เมียนมาร์ 80 ตัว กัมพูชา 90 ตัว และไทย 14 ตัว ซึ่งผมได้รับรายงานจากคณะทำงาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ถึงสถานการณ์ของโลมาอิรวดี 14 ตัวสุดท้าย ในทะเลสาบสงขลา ที่เสี่ยงสูญพันธุ์ และรับทราบถึงกระแสความกังวลใจของพี่น้องประชาชนคนไทย ที่ห่วงใยในสถานการณ์ ผมขอเรียนชี้แจงข้อเท็จจริงและแนวทางการทำงานเพื่อรักษา โลมาอิรวดีฝูงสุดท้ายฝูงนี้เอาไว้ครับ โลมาอิรวดี จัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 และยังเป็นสัตว์ที่ได้รับการคุ้มครองตามข้อตกลงระหว่างประเทศ จากการประชุม CITES ครั้งที่ 13 เมื่อปี พ.ศ. 2546 ที่ประเทศไทยได้เสนอให้โลมาอิรวดีเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองบัญชีที่ 1 ส่งผลให้โลมาอิรวดีได้รับความคุ้มครองสูงสุดในระดับนานาชาติด้วย

ทั้งนี้ จากการสำรวจเมื่อ 30 ปีก่อน พบว่ามีโลมาอิรวดีในประเทศไทย มากกว่า 100 ตัว แต่ในปัจจุบัน พบเหลือเพียงแค่ 14 ตัว เป็นโลมาฝูงสุดท้ายที่ยังรอดชีวิตในทะเลสาบสงขลา โดยจากรายงานการเกยตื้นของโลมาอิรวดีในทะเลสาบสงขลา ตั้งแต่เดือน เม.ย. 2549 - มี.ค. 2565 มีโลมาอิรวดีเกยตื้นตายทั้งหมด 94 ตัว สาเหตุมาจากการติดเครื่องมือประมง ไม่ทราบสาเหตุ และป่วย โดยพื้นที่ที่พบส่วนใหญ่อยู่ใน จ.สงขลา และ จ.พัทลุง ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง จึงได้สำรวจประชากรโลมาอิรวดี ทั้งโดยวิธีทางเรือ สำรวจทางอากาศโดยเครื่องบินเล็ก และอากาศยานไร้คนขับ (Drone) เพื่อคอยดูแลและเฝ้าระวัง มาตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน ในช่วงปี 2561 มีการประกาศแนวเขตพื้นที่คุ้มครองโลมาอิรวดีทะเลสาบสงขลา แต่แนวโน้มประชากรยังคงลดลง โดยในปี 2558 มีรายงานการพบ 27 ตัว แต่ปัจจุบัน ปี 2565 เหลืออยู่ 14 ตัว จึงจำเป็นต้องเพิ่มการตรวจตราเฝ้าระวัง ป้องกันการทำการประมงที่ผิดกฎหมาย หรือหยุดการใช้เครื่องมือที่เป็นภัยคุกคามเข้มงวดมากขึ้น
ในด้านการดูแลความปลอดภัยของโลมาอิรวดี 14 ตัว ที่เหลืออยู่ตอนนี้ ในระยะสั้น พวกเราจะมุ่งเน้นไปที่เรื่องระบบ การลาดตระเวนเชิงคุณภาพ ของเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ ให้ถี่ถ้วนมากยิ่งขึ้น รวมไปถึงการออกทำความเข้าใจกับพี่น้องประชาชน และชาวประมงในพื้นที่ ถึงความสำคัญของ 14 ชีวิต ที่เหลืออยู่ทั้งนี้ ความเคยชินในวิถีการทำประมงที่ยังหมิ่นเหม่ต่อการดำรงชีวิตของโลมาอิรวดี ของผู้คนในพื้นที่บางคน และบางส่วนมาจากนอกพื้นที่ ที่อาจจะยังไม่รู้ถึงความสำคัญตรงนี้ พวกเราจะหาแนวทางปรับความเข้าใจกันใหม่ ให้เข้มงวด และเข้าใจให้ตรงกัน เชื่อว่าเมื่อพี่น้องประชาชนในพื้นที่เข้าใจ เขาจะต้องรักและหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นสมบัติของพวกเขาแน่นอนครับ
นอกจากนี้ ในระยะยาว เราจำเป็นต้องสำรวจศึกษา วิจัย เกี่ยวกับการผสมพันธุ์แบบเลือดชิดในกลุ่มโลมาทะเลสาบสงขลา การฟื้นฟูสภาพแวดล้อมในทะเลสาบ การแก้ปัญหามลพิษ การตื้นเขิน และเร่งเพิ่มปริมาณสัตว์น้ำซึ่งเป็นอาหารของโลมาอิรวดี รวมทั้งสร้างศูนย์ช่วยเหลือและพยาบาลสัตว์ทะเล เพิ่มประสิทธิภาพการช่วยเหลือพร้อมอุปกรณ์การปฏิบัติอย่างเป็นระบบ ควบคู่ไปกับการดูแลจัดการถิ่นที่อยู่ของโลมา และการจัดการสภาพแวดล้อมของทะเลสาบสงขลา อย่างระมัดระวังครับ"
 ซึ่งล่าสุดได้รับข่าวดีจากเฟซบุ๊ก กองทุนสัตว์ป่าโลก ประเทศไทย(WWF) กล่าวไว้ว่า ประเทศกัมพูชา ได้ประกาศข่าวดี ว่า ขณะที่ทีมนักวิจัยทรัพยากรน้ำจืดในแม่น้ำโขงจาก WWF และ กรมประมงกัมพูชา กำลังออกสำรวจร่วมกันใน จังหวัดกระแจะ (Kratie) ทีมวิจัยพบลูกโลมาอิรวดีตัวใหม่กำลังว่ายน้ำพร้อมกับโลมาอิรวดีโตเต็มวัยอีก 9 ตัว โดยในวันที่เจอลูกโลมา เจ้าตัวน้อยมีอายุเพียงแค่ 5 วันเท่านั้น
นับเป็นข่าวดีของการอนุรักษ์จำนวนประชากรโลมาอิรวดีในแม่น้ำโขง เพราะหากใครจำข่าวเศร้ากันได้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โลมาอิรวดีตัวสุดท้ายในเขตพื้นที่สปป.ลาว ติดอวนจับปลาตายไป การสูญเสียครั้งนั้น WWF สปป.ลาวระบุว่า เป็นการสูญพันธุ์ระดับชาติของประชากรโลมาอิรวดีในสปป.ลาวที่ผ่านมาโลมาอิรวดีในแม่น้ำโขงลดจำนวนลงเพราะภัยคุกคามหลายอย่าง ทั้งการสร้างเขื่อนพลังน้ำที่ส่งผลต่อการไหลของกระแสน้ำและที่อยู่อาศัย การใช้วิธีการตกปลาที่สร้างความเสียหาย เช่น การตกปลาด้วยไฟฟ้า รวมถึงการตกปลาในจำนวนที่มากเกินลูกโลมาอิรวดีในภาพที่เราเห็น เป็นตัวที่สองแล้วที่กัมพูชาพบในปีนี้ ที่ผ่านมาการทำงานอนุรักษ์โลมาอิรวดีในกัมพูชา แม้จะยังท้าทายมากๆ แต่ก็ค่อนข้างมีความหวัง WWF ทำงานร่วมกับรัฐบาล ชาวประมง และชุมชนในกัมพูชาเพื่อลดการจับปลาและเสริมสร้างแหล่งที่อยู่อาศัย
อย่างไรก็ตาม โลมาอิรวดีก็ยังถูกจัดให้เป็นสัตว์ที่มีความเสี่ยงขั้นวิกฤตต่อการสูญพันธุ์ (Critically Endangered : CR) จากการสำรวจในปี พ.ศ.2563 พบว่า เราเหลือโลมาอิรวดีในแม่น้ำโขงเพียง 89 ตัวเท่านั้น ในจำนวนนี้เป็นโลมาอิรวดี ที่อยู่ในทะเลสาบสงขลาประเทศไทย 14 ตัว ตามข้อมูลที่ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกล่าวไว้ 
ซึ่งการพบลูกโลมาอิรวดีเกิดใหม่จึงเป็นเรื่องที่น่ายินดีอย่างมาก เนื่องจากโลมาอิรวดีไม่ได้ออกลูกบ่อยๆ โดยจะออกลูกเพียงครั้งละหนึ่งตัวทุกๆ 2-3 ปี ระยะเวลาตั้งท้องของโลมาอิรวดียังนานเท่าคนเราอีกด้วย
#TopVarawut #TheLast14 #IrrawaddyDolphin

แสดงความคิดเห็น

>