Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ป.5

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
บทคัดย่อ
       การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โดยใช้แบบฝึกทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ แบบใช้คำถาม (Questioning Method) จัดทำขึ้นโดย นางวงเดือน คล้ายบุญมี ตำแหน่งครู วิทยฐานะ         ครูชำนาญการ โรงเรียนบึงเขาย้อน    (คงพันธุ์อุปถัมภ์ )   สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานีเขต 1
                      การเรียนการสอนคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์นับว่ามีปัญหา ในการเรียนการสอนมากผู้เรียนส่วนใหญ่เห็นว่าการแก้โจทย์ปัญหาเป็นเรื่องที่ยาก โดยเฉพาะเรื่องบทประยุกต์ และโจทย์ปัญหาเศษส่วน เนื่องจากว่าผู้เรียนวิเคราะห์โจทย์ไม่เป็น แปลความจากโจทย์ไม่ได้ ไม่ทราบวิธีการหาคำตอบ ทั้งหมดนี้เป็นเหตุมาจากผู้เรียนขาดการฝึกทักษะพื้นฐานด้านกระบวนการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์การเปรียบเทียบสิ่งที่ง่ายแทนสิ่งที่ซับซ้อนในโจทย์ไม่เป็นผู้รายงาน จึงได้ทำการศึกษาสภาพปัญหาในการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เพื่อนำมาหาวิธีการช่วยลดปัญหาดังกล่าว โดยได้ทำการศึกษาแหล่งข้อมูลทางด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาโดยมีจุดประสงค์ที่จะพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ให้แก่ผู้เรียน ศึกษาประสิทธิภาพของแบบฝึก และศึกษาผลการเปรียบเทียบเจตคติของผู้เรียนที่มีต่อวิชาคณิตศาสตร์ระหว่างก่อนและหลังการใช้นวัตกรรม จึงได้จัดทำแบบฝึกทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์    ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 แบบใช้คำถามขึ้น ประชากรที่ใช้ในการศึกษาคือนักเรียนชั้นประถมศึกษา     ปีที่ 5 จำนวน 74 คน และกลุ่มตัวอย่างได้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5/2 โรงเรียนบึงเขาย้อน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาปทุมธานีเขต 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 36 คน ในการพัฒนา        ความสามารถในการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ แบบใช้คำถาม ครั้งนี้รวบรวมข้อมูลวิเคราะห์ผลและสรุปผลการศึกษา โดยการหาประสิทธิภาพของนวัตกรรมโดยใช้ E1/E2 สถิติที่ใช้   ในการสรุปผลการพัฒนา คือ ค่าเฉลี่ย (%) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานโดยใช้ S.D. เปรียบเทียบผลการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้     t-test) ค่าร้อยละ(
                ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ แบบใช้คำถาม มีประสิทธิภาพตามที่กำหนดไว้คือ 75/75 ผลการพัฒนาความสามารถ ในการคิดวิเคราะห์โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของผู้เรียนหลังการใช้แบบฝึกทักษะสูงกว่าก่อนการใช้    แบบฝึกทักษะมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผู้เรียนมีเจตคติต่อวิชาคณิตศาสตร์ก่อนการใช้แบบฝึกทักษะคิดเป็นร้อยละ 33.15 และหลังการใช้แบบฝึกทักษะคิดเป็นร้อยละ 81.44
 

แสดงความคิดเห็น

>

7 ความคิดเห็น