Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ข้อคิดสะกิดเตือนใจน้องๆที่อยากเรียนนิติศาสตร์ หรือ กฎหมาย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ขอออกตัวก่อนเลยนะคะว่าเข้ามาโพสกระทู้นี้ไม่ได้มาป่วน หรือมาบั่นทอนกำลังใจ หรือเข้ามาตัด สกัด หรือขัดขวางอนาคต ความเจริญของน้องๆ

พี่เป็นรุ่นพี่ที่จบคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และเอ็นทรานต์ติดคณะนี้ด้วยการเอ็นทรานซ์แบบเก่าที่ไม่ใช่ระบบปัจจุบัน

พวกพี่และเพื่อนๆ ตกใจกับกระแสบูมเรียนคณะนิติศาสตร์ของรุ่นน้องๆและครอบครัวญาติๆของน้องๆมาก

จึงได้อยากชี้แจงข้อเท็จจริงให้ได้รับทราบกันไว้ น้องๆหลายๆคนจะได้ไม่เสียเวลา และเสียอนาคต

สถานการณ์ปัจจุบันของบัณฑิตกฎหมายนั้น คนเรียนจบมาเยอะมากค่ะ เพราะตอนนี้มหาวิทยาลัยทุกแห่งมีการสอนในหลักสูตรคณะนิติศาสตร์ จากเดิมที่เคยมีแต่ธรรมศาสตร์ จุฬา รามคำแหง ตอนนี้เกษตรศาสตร์ก็มี มหาวิทยาลัยราชภัฎทั้ง 76 จังหวัด ก็เปิดสอนกันเกือบหมด รวมไปถึงราชภัฎอีกหลายแห่งในกรุงเทพ

บัณฑิตที่จบจากมหาวิทยาลัยเอกชน ก็เยอะมากเช่นกัน ยังมีมหาวิทยาลัยเปิดเช่นสุโขทัยและรามคำแหงที่รับบัณฑิตไม่จำกัด

แต่ในความเป็นจริง เนติบัณฑิตยสภายังไม่รับรองหลักสูตรนิติศาสตร์ของหลายสถาบัน หลายคนจบมาแล้วไม่สามารถศึกษาต่อเนติบัณฑิตได้

หลายๆมหาวิทยาลัยนอกจากเปิดภาคปกติรับเด็กจบ ม. 6 แล้ว ยังเปิดภาคบัณฑิต ซึ่งก็คือภาคค่ำนั่นเอง ภาคบัณฑิตรับคนที่จบปริญญาตรีสาขาอื่น แล้วคนเหล่านี้ก็มาเรียนปริญญาตรีนิติศาสตร์เป็นปริญญาบัตรใบที่ 2 เช่นที่ธรรมศาสตร์ และรามคำแหง

บางแห่งถึงขนาดจัดการเรียนการสอนทางไกล เช่น ม.รังสิต

น้องๆ พอจะนึกภาพออกแล้วใช่ไหมคะว่าจำนวนคนที่เรียนและจบกฎหมายปีนึงๆ เยอะมากขนาดไหน

แรงดลใจอะไรที่ทำให้คนแห่กันมาเรียนนิติศาสตร์ อาจเป็นเพราะว่ามีข่าวว่าถ้าได้เป็นผู้พิพากษาหรืออัยการจะมีเงินเดือนเป็นแสน

ข้อเท็จจริงคือ กว่าที่น้องๆจะมีเงินเดือนขนาดนั้น น้องๆ ต้องเป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์แล้ว และอายุอานามก็ปาเข้าไป 50 กว่าๆ แล้ว

ผู้พิพากษาใหม่ๆ เงินเดือน 20,000 ต้นๆ เท่านั้นเอง แถมยังมีภาษีสังคมมาก ถูกรับเชิญไปงานศพ งานแต่งงาน งานบวชเยอะ ต้องใส่ซองช่วยงานหลายที่

ปัจจุบันมีคนสอบเป็นผู้ช่วยผู้พิพากษาเยอะมาก ปีที่แล้วราวๆ 5,000 กว่าคน แต่มีคนสอบได้เพียงแค่ 41 คน

คนที่จบกฎหมายมาแล้วหางานยากมาก แม้หน่วยงานราชการหลายแห่งจะเปิดสอบเข้ารับราชการบ่อย แต่ทว่ากลับรับเพียงจำนวนน้อย แค่หลักสิบ คนแย่งกันสอบเพื่อเก็บอายุราชการ 2 ปี ไว้ใช้สอบอัยการผู้พิพากษา หลายคนทำงานครบ 2 ปี ก็ลาออก

ซึ่งทำให้หน่วยงานหลายแห่งไม่อยากเปิดสอบวุฒิกฎหมายเท่าไหร่ เพราะเปลืองเวลาและงบประมาณมาก ส่วนใหญ่หลายๆหน่วยงานจึงใช้วิธีรับโอนตำแหน่งนิติกรจากหน่วยงานอื่น หรือขอใช้บัญชีรายชื่อผู้สอบผ่านวุฒิกฎหมายของหน่วยงานอื่นๆ เพื่อประหยัดเวลาและงบประมาณ

คนที่จบกฎหมายมาจึงประสบปัญหาในการหางานราชการทำเพื่อเก็บอายุงาน 2 ปี และประสบปัญหายังไม่ได้สอบผ่านภาค ก. ของ สำนักงานก.พ.

บางคนก็หันไปใช้วิธีอบรมทนายความ ว่าความให้ครบ 20 คดี จบทนายความมาแล้วก็แย่งกันเป็นทนายความกันอีก บางคนก็อยากทำลอว์เฟิร์มดีๆ แต่น้องก็ต้องเก่งภาษาอังกฤษและมีเส้นด้วย

ส่วนใหญ่ลอว์เฟริ์มดังๆ มักจะรับคนจบกฎหมายปริญญาโท หรือปริญญาตรีจากเมืองนอก

ซึ่งปัจจุบันก็มีจำนวนเยอะมากๆ เพราะคนจบกฎหมายจากมหาวิทยาลัยในไทยแทบจะชนกันตาย หลายๆคนจึงหนีตายอัพเกรดตัวเองให้สูงกว่าคนอื่นด้วยการบินไปเรียนนอก

ตามข่าวที่เด็กม. 6 บอกกับนักข่าวว่าทนายความรายได้ดี ให้คำปรึกษาชั่วโมงละเป็นหมื่น อันนั้นน้องต้องเป็นทนายความมีชื่อและสังกัดลอว์เฟิร์มดังๆ

เท่าที่พี่เห็นทนายความที่มีรายได้เดือนละ 8 หมื่นบาท อันนั้นเขาเป็นทนายความระดับหัวหน้าสำนักงานทนายความจ๊ะ และอายุอานามก็ 40 กว่าๆ

พี่นำข้อเท็จจริงมาเล่าให้น้องๆฟังเพื่อจะได้ไม่เสียเวลา และเสียอนาคตไปโดยใช่เหตุ น้องๆควรเรียนคณะอื่นเช่นบริหารธุรกิจ หรือบัญชีจะดีกว่า หรือถ้าเรียนสายศิลป์มาเลือกเรียนเอกภาษาอังกฤษ ภาษาจีนดีที่สุด อนาคตไม่มีวันตัน ไม่มีวันตาย ไม่มีวันดับ ไปที่ไหนใครก็รับ

ปัจจุบันคนจบกฎหมายเยอะจริงๆ พอๆกับคนจบนิเทศสมัยก่อนเลย น้องๆลองเข้าไปหาอ่านกระทู้ได้ที่เว็บ thaijustice.com ดูได้ แล้วน้องๆจะรู้ว่าที่พี่พูดมาเป็นความจริง

ขอบคุณที่อ่านนะคะ ไม่ได้เข้ามาป่วนหรือทำลายความหวังน๊า... ^___^

แสดงความคิดเห็น

>

64 ความคิดเห็น

อานิจจัง 10 พ.ค. 58 เวลา 16:16 น. 1-1

สาขาไหนคนก็เรียนเยอะคะ คนจบ ก็เยอะเหมือนกันคะ เรียนมาเพือเป็นความรู้
ไปประกอบอาชีพสุจริตก็ได้ คะ ที่มาบอกคนอื่น เคยเป้นทนายมายังคะ

0
เด็กติดตรงนิติ มธ 51 10 เม.ย. 51 เวลา 11:36 น. 2

คุณคิดว่าแค่นิติศาสตร์อย่างเดียวเหรอที่จบออกมาแล้วเฟ้อตลาด

ผมว่าเดี๋ยวนี้ทุกคณะทุกสายอาชีพมันก็เฟ้อตลาดด้วยกันทั้งนั้น ยิ่งวิศวะ หางานทำยาก

เพราะฉะนั้นก็ต้องเกิดการแข่งขันเพื่อให้ได้งานที่ดีที่สุด

คนที่เป็นหัวกะทิ เกรดเฉลี่ยดี อยู่ ม.ดัง เช่น มธ จุฬา เกษตร ย่อมได้รับการพิจารณาก่อน

เพราะเขาคัดคนเก่งเข้ามาแล้ว ย่อมเชื่อถือคุณภาพของเด็กได้ในระดับหนึ่ง

ส่วนที่อื่นก็ต้องลักหลั่นไปตามลำดับ

อันนี้ปฏิเสธไม่ได้ ที่ สถาบันกลายเป็นปัจจัยในการเลือกลูกจ้างเข้าทำงานของนายจ้าง

เพราะฉะนั้นเด็กเก่ง หัวกะทิ เกรดเฉลี่ยดี อยู่ ม.ดัง ย่อมได้ง่านก่อน จบบบ

ยิ่งโดยเฉพาะการสอบรรจุแข่งขันเนี่ย เด็กเอนท์ติดมหาวิทยาลัยดังย่อมได้เปรียบ เพราะแข่งกับเด็กรุ่นเดียวกันทั้งประเทศมาแล้ว

แล้วอีกอย่าง จบนิติ จำเป็นต้องทำงานกฏหมายอย่างเดียวเหรอ

ทำธุรกิจ เปิดบริษัทไม่ได้เหรอ

คนจบนิติไม่จำเป็นต้องทำงานด้าน กม. เสมอไป

มิ่งขวัญ จบนิติ จุฬา เป็น&nbsp ceo บริษัทรถ กับช่องเก้า&nbsp เพราะมีความสามารถ

ทักษิณ จบ criminal justice จาก สหรัฐ มาเป็น ceo shin corp ก่อตั้งบริษัทโทรคมนาคมแห่งแรกในไทย

หนทางในการทำมาหากินมันมีเยอะ ถ้าคุณเป็นคนเก่ง

ธนินทร์ ceo CP ไม่จบ ป.ตรี ยังรวยติดอันดับโลก

แต่ถ้าไม่เก่ง ทำไง ก็ไม่ขึ้น

0
ptwit 10 เม.ย. 51 เวลา 12:01 น. 3

เชื่อเจ้าของกระทู้เหอะ  เรียนกันเยอะมากๆ  เอกชนก็แห่กับไปเรียน

แต่จบจากสถาบันไหนก็ต้องมาสอบแข่งกันเข้าเรียนเนติบัณฑิต  อยู่ ดี (แล้วเด็กไม่เก่งจะสู้เด็กเก่งกว่าได้ไง)

สายศิลป์ภาษา (อังกฤษ  จีน ญี่ปุ่น)เรียนเข้าไปสิ  ไม่ตกงานอยู่แล้ว ขาดคนด้านนี้ตลอด  แต่ต้องฟัง-พูด-อ่าน-เขียนได้(ภาษาอื่นๆที่คนเรียนน้อยก็ไม่ตกงานเหมือนกัน)

1
หนิง 10 เม.ย. 51 เวลา 12:06 น. 4

พี่เข้าใจนะคะคุณเด็กติดตรงนิติ มธ 51 พี่เพียงแต่ชี้แจงข้อเท็จจริงบางส่วนให้ฟัง

อันที่จริงแล้วโลกความเป็นจริงหลังจากเรียนจบไปแล้ว โลกแห่งการทำงาน ชีวิตคนทำงานมันต่างจากตอนเราเรียนอยู่ในมหาวิทยาลัย และ ตอนเรียนในมัธยมมากๆ

เอาไว้น้องเรียนจบแล้วทำงานน้องจะเข้าใจ

ข้อเท็จจริงคือ เด็กเรียนกฎหมายในมหาวิทยาลัยที่ผ่านการสอบการคัดเลือก ไม่ใช่คนที่เก่งและเด็กที่ผ่านการคัดเลือกมาแล้ว ยังไม่ใช่คนคุณภาพ

ข้อเท็จจริงนี้ได้รับการพิสูจน์จากบัณฑิตที่เข้าเรียนต่อในระดับเนติบัณฑิตศึกษา ของเนติบัณฑิตยสภา เพราะว่าการใช้กฎหมายจริงๆนั้น ไม่สามารถใช้แบบที่เรียนตอนเรียนปริญญาตรีได้ ต้องใช้กฎหมายทุกลักษณะวิชาพร้อมๆกัน ซึ่งต่างจากสมัยเรียนปริญญาตรีที่สอบทีละวิชา

ข้อเท็จจริงคือ เด็กที่จบจากรามคำแหงจะเก่งที่สุด ดูได้จากจำนวนผู้พิพากษาและอัยการส่วนใหญ่จะเป็นเด็กราม เพราะรามเน้นให้นักศึกษาทำความเข้าใจหลักกฎหมายและมาตรากฎหมายในประมวลกฎหมาย และอ่านคำพิพากษาฎีกาประกอบ

ส่วนเด็กธรรมศาสตร์จะแน่นเรื่องทฤษฎีที่อยู่เบื้องหลังกฎหมาย เพราะอาจารย์จะเน้นเรื่องทฤษฎีกฎหมาย

สำหรับตัวอย่างผู้ที่ประสบความสำเร็จทั้ง 3 ที่น้องยกตัวอย่างมานั้น พี่อยากให้น้องยกตัวอย่างผู้ที่เก่งและเป็นคนดีที่แท้จริงมาให้ฟังบ้าง

ส่วนบุคคลทั้ง 3 ดังกล่าวนั้น เบื้องหลังความเป็นใหญ่ได้มาด้วยวิธีการไหนบ้างพี่ไม่ขอพูดนะคะ

พี่อยากให้น้องยกตัวอย่างของศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ หรือ อ.จิตติ ติงศภัทย์ อดีตองคมนตรี หรือ ฯพณฯ สัญญา ธรรมศักดิ์ มากกว่านะคะ

จริงของน้องค่ะ ว่าจบกฎหมายไม่จำเป็นต้องทำงานด้านกฎหมาย

แต่ถ้าตั้งใจว่าจบมาแล้วจะไม่ทำงานด้านกฎหมาย ก็ควรเรียนบริหารธุรกิจหรือบัญชี พอเรียนจบแล้วค่อยมาเรียนนิติศาสตร์ภาคบัณฑิต(ภาคค่ำ)แทนก็ได้นะคะ จะได้ไม่เสียเวลา 4 ปีในมหาวิทยาลัย

ไหนๆ น้องก็เป็นเด็กนิติธรรมศาสตร์แล้ว ขอให้น้องประสบความสำเร็จนะคะ

1
คนที่เฝ้าดูสถิติอยู่ 18 มิ.ย. 61 เวลา 14:58 น. 4-1

ไม่เห็นด้วยกับเรื่องผู้พิพากษาอัยการมีแต่เด็กราม ถ้าดูรุ่นโตๆ เป็น 10 ปีที่แล้วอาจจะใช่ แต่ตอนนี้สนามเล็ก สนามใหญ่ เกือบๆ ครึ่งเป็น มธ.


แม้แต่คนที่สอบเนติได้ในปีเดียวมธ. ก็ยังมีจำนวนสูงสุดค่ะ (มธ. 37 คน/จุฬา 17 คน/ เกษตร 10 คน/ เชียงใหม่ 6 คน/ ขอนแก่น นเรศวร สงขลา 4 คน/ ราม 3 คน/ กรุงเทพ แม่ฟ้าหลวง 2 คน)

0
ติดตรง นิติ มธ 51 10 เม.ย. 51 เวลา 12:35 น. 5

เด็กรามเข้าสอบกี่คน&nbsp  ได้กี่คน คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์

เด็ก มธ เข้าสอบกี่คน ได้กี่คน คิดเป็นกี่เปอร์เซ็นต์

เด็ก จุฬา เข้าสอบกี่คน ได้กี่คน คิดเป็นเป็นกี่เปอร์เซ็นต์

ถ้า เปอร์เซ็นต์ ของราม มากกว่า จุฬา กับ มธ ยินดีไปลาหมาแก่ตายทันที

ก็อยู่แล้วรามต้องมากกว่าอยู่แล้ว&nbsp ก็คนเรียนกี่คนหละ เป็นแสน อัตราส่วนมันก็ต้องเยอะกว่าเป็นธรรมดา

แต่ถ้าคิดเป็นเปอร์เซนต์ จุฬากับ มธ ชนะ ราม&nbsp แน่นอน

เคยไปอ่านที่&nbsp thaijustice แล้ว เป็นตามที่กระผมพูดทุกประการ

2
บุคคลทั่วไป 5 ก.ย. 60 เวลา 20:09 น. 5-2

เห็นด้วยครับ

เด็กราม จบ1000 สอบ100 ติด40คน

มธ จบ100 สอบ10 ติด7คน


คุณคิดดีๆว่าอันไหนมากกว่ากัน


ผมก็เด็กรามเก่าเหมือนกันครับ

0
เด็กติดตรง นิติ มธ 51 10 เม.ย. 51 เวลา 13:02 น. 7

แล้วก็ คนที่ สอบติด ผช.ผู้พิพากษาปีนี้ มี 166 คนนะ

เผอิญ ดูรายการ เปิดปม กระบวนการยุติธรรม&nbsp ช่อง thaipbs

รายการไปสัมภาษณ์หนึ่งในผู้สอบติด ผช.ผู้พิพากษา ลูก ทนายสมชาย

เธอ จบ นิติ จุฬา เธอบอกว่า ปีนี้มีผู้สอบผ่าน 166 คน จาก 5 พันกว่าคน

มิใช่ 41 คน

0
เดะเหนือ 10 เม.ย. 51 เวลา 13:07 น. 8

คห5.พี่เขาหวังดีเพราะเขาเรียนจบมาแล้วมีประสบการณ์จริงจากชีวิติเขา
คุณยังไม่ทันจะเข้าไปเรียนเลยทำเป็นอวดรู้แล้ววันหนึ่งจะมานั่งคิดว่า..จริงอย่าง
ที่พี่เขาบอก...นิสัยสู่รู้แบบนี้เลิกเถอะ ฟังคนรอบข้างหรือผู้มีประสบการณ์ไว้
ไม่เสียหายหรอก หวังดีนะ

0
ptwit 10 เม.ย. 51 เวลา 13:15 น. 9

อย่าลืม  รามคัดคนไม่ได้  และส่วนใหญ่ก็คือเด็กทีAdmission  ไม่ติด  ถึงแม้จะมีจำนวนเด็กที่จบมากกว่า  จะให้ทุกคนสอบเนติ  ติดทุกคนเลยไม่ได้
แต่  เด็กที่ไม่ได้ถูกคัดเลือกให้เรียนมหาวิทยาลัยปิด เหล่านี้  กลับสามารถสอบ เป็นเนติ  เป็นผู้พิพากษา ได้เป็นจำนวนมาก  นั่นสิ  น่าแปลกใจ
(แต่ที่เด็กจบนิติราม ส่วนใหญ่ สอบได้ก็น่าจะมาจากการที่ต้องแข่งขันกับตัวเอง  นั่งท่องตัวบทกฏหมายอยู่ตลอดเวลา  ไม่มีเวลาไปเดินเที่ยว,แต่งตัว  ลองไปดูได้ที่รามคำแหงตอนเปิดเทอม จะมีคนมานั่งอ่านหนังสือโดยลากเก้าอี้มานั่งอ่านในที่ ที่มีแสงไฟฟ้า  ตลอดวัน ตลอดคืน)
อย่าเอาเปอร์เซนต์ มาวัดกันเลย   แค่การที่เด็กผ่านคัดเลือกได้เข้าไปเรียนมหาวิทยาลัยปิด แล้ว  สอบได้จำนวนต่ำกว่า เด็กที่ไม่ผ่านการคัดเลือก  ก็ต้องสงสัยแล้วว่า  การคัดเลือกที่ทำอยู่นั้นดีจริงหรือ

1
Rapee___ 31 ต.ค. 66 เวลา 03:17 น. 9-1

ถ้าหากใช้ตรรกะที่ว่า มธ ได้เด็กเก่งกว่าเข้าไปเรียนก็ควรมีปริมาณผู้สอบได้อัยการ ผู้พิพากษา มากกว่ารามในทุกปี โดยให้ลืมๆหลับหูหลับตาอย่าเอาเรื่องปริมาณและสถิติมาพิจารณาซะ ถึงจะเรียกได้ว่า การคัดเลือกของ ม.ปิดใช้ได้ หรือหมายถึงมีคุณภาพมากกว่ารามนั้นแหละ ซึ่งมีจำนวนผู้สอบได้มากกว่า มธ ในบางปีเป็นส่วนน้อย แม้เมื่อเทียบอัตราส่วนผู้จบการศึกษาต่อผู้สอบได้ดูแล้ว มธ มีสัดส่วนผู้สอบได้มากกว่ารามคำแหงหลายเท่า ยิ่งเป็นสัดส่วนเข้าสอบต่อผู้สอบได้และอายุผู้สอบได้แล้ว มธ ยิ่งทิ้งห่าง ก็ต้องขอตอบว่า (แม้ตรรกะของ จขคห จะใช้ไม่ได้ก็ตามในหลัก สถิติ ถ้าลองอ่านที่แจกแจงมาก็จะเห็นความย้อนแย้ง และการให้ค่าน้ำหนักกับเด็กเก่งอยู่แล้ว จึงได้ผลดี มากเกินไป จะเป็นการดูถูกครูบาอาจารย์สถาบันอื่น แบบที่เด็กนิติไม่น่าจะทำกัน แต่ก็จะขอตอบแล้วกัน) ให้ จขคห พึงสังวรด้วยว่าเด็กเก่งของ มธ จุฬา มีทางเลือกอีกทางหนึ่งคือการได้ทำงานในบริษัทเอกชนใหญ่โต อย่างเช่นจุฬาก็มีแต่คนสาขาแพ่งอาญาเป็นส่วนใหญ่ที่ไปสอบท่านกัน สาขาอื่นๆอย่าง สาขาธุรกิจ ภาษี ไปทำงานเอกชนกันทั้งนั้น แต่อัตราผู้สอบท่านได้ก็ยังมากกว่า ราม เสียอีก ให้ไปดูใน QS ว่าจำนวนผู้ได้ทำงานในบริษัทแนวหน้าต่างๆมีเด็ก ราม กี่คน ลองพิจารณากับจำนวนผู้สอบท่านดู จขคห น่าจะอนุมานได้ว่า ม.ปิด หรือ ม.เปิด ที่มีการเรียนการสอนที่มีคุณภาพมากกว่ากัน ระบบคัดเลือกใช้ได้หรือไม่ หรือไม่ก็ดู ท็อป 10 คะแนนเนติในแต่ละปีก็ได้ซึ่งน่าจะให้ข้อมูลที่ดีกว่าปริมาณผู้สอบได้ในการพิจารณา จริงๆเหมือน จขคห เองก็มีความคิดกลายๆว่า เด็กรามที่เก่ง เก่งด้วยตัวเองมิใช่คุณภาพ ม. ถึงว่านำไปสู่ตรรกะข้างต้นนี่เอง

ป.ล. ผู้เขียนเองก็ขอยอมรับว่าหลักสูตรและการคัดจบปริญาของ ราม มีคุณภาพมากระดับหนึ่ง ดูจากจำนวนผู้ถูกคัดออกในแต่ละปี และน่าจะมากกว่า ม.ปิด บาง ม. เสียอีก แต่จะให้เป็น ม.ปิด ทุก ม. ก็คงเป็นไปได้ยากสังคมและผู้เรียนก็รู้ๆกันอยู่ทั่วไป

0
คับ 10 เม.ย. 51 เวลา 13:32 น. 10

คุณ ติดตรง นิติ มธ 51 อ่ะ

น่าจะให้เกียรติ รุ่นพี่คุณมั่งนะ

พี่เขาแค่ เตือนเฉยๆ

คำพูดของคุณที่ว่า "ถ้า เปอร์เซ็นต์ ของราม มากกว่า จุฬา กับ มธ ยินดีไปลาหมาแก่ตายทันที"

มันเป็นคำพูดที่ ไม่ดีเอาซะเลยนะคับ

เหมือนเป็นการดูถูก สถาบันอื่น

ขอให้คุณ กลับไปคิดทบทวน คำพูดใหม่

และอย่างให้คุณ คิด ก่อนพูด หรือ โพสต์ คับ

อย่างน้อย คุณก็เป็นรุ่นน้อง เขา

และ ถ้าผม ก็เป็นรุ่นพี่คุณ

ถ้าอยากจะว่าผม ก็ไม่ว่าอะไรคับ แล้วแต่สามัญสำนึกของคน

0
E-ratic 10 เม.ย. 51 เวลา 14:20 น. 11

ไร้อารยธรรม -*- อวดรู้มากๆ พี่เค้าเตือนด้วยความหวังดี แล้วก็ที่ยกตัวอย่างมาอะ ขอให้ดูเบื้องลึกแต่ละคนดีๆนะค่ะทักษิณเองก็เคยถือกระเป๋าให้รมต. ก่อนจะเป็นCEOอะค่ะ ทำไมถึงถือกระเป๋า    แหม...เรียกไรดีล่ะ??ส่วนมิ่งขวัญ มีความสามารถจริง แต่ก็มีเส้นสายไม่ใช่หรอค่ะ.. นามสกุลไม่ดัง ไม่รวย ไม่ประจบใคร มีความสามารถแค่ไหนก็อดตายได้ค่ะ(อันนี้ประชดนะค่ะ) นิสัยคนไทยชอบให้ยอค่ะ ^^ มันก็เลยโกงสะดวกกัน 55

1
สงสาร มธ 10 เม.ย. 51 เวลา 14:45 น. 12

ติด นิติ มธ 51 จริงป่าวอ่ะ ถ้าจริง

ขอแสดงความเสียใจกับ คณะนิติศาสตร์ มธ ด้วยครับ

ที่คุณได้เด็กที่มีความรู้มาก แต่จิตใจต่ำ

คนที่ยกตัวอย่างมาสามคน เฮ้อ คน"ดีๆ"ของชาติทั้งน้านน(เหอะๆ)

แล้วที่บอกว่าจบมาไม่จำเป็นต้องเป็นต้องทำงานด้าน กม ก็ได้

ถามหน่อย "แล้วมืงจะเรียนนิติเพื่อ????"

อวดดีอย่างงี้ขอให้ประสบความสำเร็จแล้วกันนะ เหอะๆ เราเห็นจริงกับพี่เค้าด้วย

เอาความ EQ ต่ำ ความจองหอง หยิ่งยโส ความคิดตื้นๆ ของตัวเองมาประจานจริงๆ

ขอสงบนิ่ง เพื่อเป็นการไว้อาลัยให้ นิติ มธ51 ครับ ที่มีเด็กคนนี้เป็นลูกคณะ

0
เหอๆๆๆ 10 เม.ย. 51 เวลา 14:51 น. 13

อยากบอกว่าดูจาก สามคนที่เค้าใช้เป็นไอดอล ก็คงรู้อ่ะ

ว่าความคิดเป็นไง เด็กจริยธรรมต่ำลงทุกวันๆ แต่ของแบบนี้คงมาจากที่บ้านด้วยแหละ

ถ้าที่บ้านสอนมาดีก็คงไม่เป็นแบบนี้อ่ะนะ เหอๆๆ

0
บัญชี มธ ปี 1 10 เม.ย. 51 เวลา 15:19 น. 14

 เรียนจบกฎหมาย ไม่จำเป็นต้องทำงานด้านกฎหมาย เห็นด้วย แต่ที่เจ้าของกระทู้พูดก็ถูกนะ แต่เราว่าคนที่มีความรู้ด้านกฎหมายจะได้เปรียบ มันสามารถเอาไปประยุกต์ใช้ได้ในหลายๆศาสตร์นะ จะเรียนอะไร ไม่สำคัญ ขอให้เรียนในสิ่งที่ตนเองชอบและสนใจจริงๆ แค่นี้อนาคตก็สดใสแล้ว ต่อให้จบคณะที่ไม่เป็นที่นิยม แต่ถ้าเราสนใจและถนัดด้านนั้นจริงๆ มีเหรอจะๆไม่รุ่ง เห็นด้วยกับเจ้าของกระทู้หลายอย่างนะ แต่ไม่ชอบความคิดที่ว่า ไม่สนับสนุนให้เรียนนิติมากโดยเอาเรื่องเงินเดือนมาเกี่ยวข้อง คือ เงิน มันก็เป็นปัจจัยสำคัญ แต่ไม่ควรเอามาตัดสินทุกอย่าง ถ้ามีเด็กที่เขาเก่ง มีความสามารถ รักความยุติธรรม อยากทำงานด้านนี้ แต่มีความคิดที่ว่า ความก้าวหน้าในอาชีพมีน้อย เงินเดือนไม่เยอะ  แล้วอย่างนี้เมื่อไหร่บ้านเราจะเจริญละ ควรจะให้ความสำคัญกับทรัพยากรมนุษย์มากกว่าเงินนะ อืม นี่ก็เป็นความคิดเห็นส่วนตัว ใครจะเห็นด้วยไม่เห็นด้วยก็ไม่ว่ากัน และถ้าเรากล่าวล่วงเกินอะไรใครไปก็ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย ปล อย่าเอาเรื่องพวกนี้มาโยงไปถึงสถาบันเลยดีกว่า ที่ว่า เสียใจกับนิติ มธ ที่ได้นักศึกษา แบบนี้ มันเป็นการดูหมิ่นสถาบันนะ

0
lovely_poyjung 10 เม.ย. 51 เวลา 17:24 น. 15

อ่านกระทู้นี้แล้วเห็นได้ชัดเลยว่า
เด็กที่เก่ง(หรือเปล่า)บางคนก็เก่งแต่วิชาการ แต่ไม่เก่งคุณธรรม

รุ่นพี่เค้าหวังดี พี่เค้าก็บอกว่าพูดในด้านหนึ่ง เพื่อให้คนที่จะเข้านิติเพราะหวังว่าจะได้เงินเดือนดีๆ(ซึ่งก็ไม่ใช่คนทุกคนจริงมั้ย)ได้รู้ ได้ตัดสินใจอีกที 

เรื่องเงินเดือนแสนนึงเนี่ย ถ้าพี่เค้าไม่บอกว่าต้องเป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์เราก็คงไม่รู้ และอีกหลายคนก็ไม่รู้เช่นกัน (กำลังคิดว่า ติดตรงมธ 51 จะหาว่าโง่ อีกไหมที่ไม่รู้???) 

วันนั้นนั่งแท็กซี่ไปเรียนแถวศรีย่าน คนขับเค้าก็คุยด้วยความดีใจให้เราฟังว่า ลูกชายเค้าเพิ่งได้เป็นผู้พิพากษาศาลอะไรซักอย่างเนี่ยแหละจำไม่ได้ ลูกเค้าก็จบจากราม 

อยากจะบอกว่า บางทีคนที่เรียนราม หรือคนที่ admission ไม่ติด หรือ สอบตรง ไม่ติด  ไม่ได้หมายความว่าเขาจะไม่ฉลาด ไม่เก่งเท่าคุณ แต่ถ้าคนเรามีความพยายาม ซักวันก็ต้องสำเร็จอยู่แล้ว

เคยได้ยินไหมคะว่า เก่งไม่กลัว กลัวขยัน

ถ้าเก่งแต่ไม่มีจริยธรรม สังคมก็รังเกียจนะคะ


ปล. ไม่ได้เข้านิติ ไม่ต้องมาด่านะ กลัวคุณติดตรง นิติ มธ 51 มากเลย กลัวจะควบคุม...ไม่ได้แล้วสติแตกมาพาลใส่คนอื่น

อืมๆๆๆ


PS.  Poyz อ่านว่า ปอย ค่ะมะใช่ พลอย น้า TOT เข้าไปเยี่ยมชม Myid. ของเราได้นะคะ ยินดีต้อนรับ everybodyเลย อิอิ >O
0
Law Chula 10 เม.ย. 51 เวลา 17:41 น. 16

มันก็จริงนะ

แต่เรื่องผู้พิพากษาต้องทำงานถึงอายุ 50 กว่าๆ ต้องเป็นผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์จึงจะได้เงินเดือนเป็นแสนนี่ขอเถียงค่ะ

เพราะเพื่อนพ่อก็เป็นผู้พิพากษาศาลชั้นต้นเนี่ยแหละ อายุก็เพิ่งจะ 40 ต้นๆ(ในตอนนั้น) แต่เค้าก็เป็นหัวหน้าศาลอ่ะนะ

เค้าก็ได้เงินเดือนเป็นแสนแล้วค่ะ

ทั้งนี้ทั้งนั้น ของอย่างนี้ขึ้นอยู่กับความสามารถ และช่วงอายุที่เราเริ่มเป็นผู้พิพากษาด้วย

ผู้พิพากษาสอบง่ายๆซะที่ไหนล่ะ

แล้วคนที่ดูถูกสถาบันอื่นนี่กรุณาหุบปากไปเลย

คุณรู้รึเปล่าว่าที่ 1 เนติบัณฑิตปีนี้ เป็นเด็กที่จบจากรามคำแหงนะคะ

เด็กรามเก่งจริงๆนะจะบอกให้ เข้าไปเรียนใช่ว่าจะจบกันง่ายๆ

ถึงเราจะไม่ได้เรียนรามเราก็ไม่เคยดูถูกสถาบันเค้านะ

คุณคิดว่าคุณวิเศษมากเลยเหรอคะไปว่าคนอื่นเค้าอย่างนี้น่ะ??

ปล.เรื่องเงินเดือน ถ้าเราเจ๋งจริง ไม่ต้องรอจนแก่หรอกค่ะ แต่ถ้าไม่เจ๋งก็ค่อยว่ากัน(อาจต้องรอจนแก่จริงๆก็ได้)

0
เด็กนิติ 10 เม.ย. 51 เวลา 21:25 น. 17

เห็นด้วยที่ว่าเดี๋ยวนี้คนจบนิติเยอะมากๆ

แทบจะทุกมหาลัยต้องมีคณะนิติศาสตร์

แล้วคนก็มีความเข้าใจผิดๆกับเรื่องนี้กันมากๆ

ประมาณว่าเรียนนิติ จบมาเงินเดือนแพง (แต่หารู้ไม่ว่ากว่าจะได้เงินเดือนสูงๆ แทบกระอัก)

บ้างก็ว่า "ไม่รู้จะเรียนไร เรียนนิติละกัน" ท่องๆเอาเดี๋ยวก็สอบได้

ขอเตือนน้องๆเลยนะคะ ว่ามันไม่จริง!!!

นิติ เป็นวิชาที่ยากมากกก มันทำความเข้าใจยาก ต้องอ่านหนังสือหลายเที่ยว กว่าจะเข้าใจ

เรื่องท่องเนี่ย มันก็แน่นอน เรียนอะไรมันก็ต้องให้จำได้อยู่แล้ว

แต่เราต้องวิเคราะห์ได้ด้วย สามารถพลิกแพลง

ท่องอย่างเดียวไม่สามารถทำให้ตอบข้อสอบได้หรอก

นิติเป็นคณะที่เรียนชิวๆ แต่ช่วงใกล้สอบนี่ นรก!! จริงๆนะ 555+

แบบว่า ซอมบี้ กะ แพนด้า เต็มคณะ 555+

น้องๆอาจจะไปเรียนคณะอื่น เช่น บัญชี เศรษฐศาสตร์ ฯลฯ

จบแล้วค่อยมาเรียนต่อ ภาคบัณฑิตก็ได้

อ.หลายๆท่านก็แนะนำให้เรียนแบบนี้นะ เหมือนที่ อเมริกา อังกฤษ

ต้องจบตรีหนึ่งใบ แล้วถึงจะเรียนกฎหมายได้

เพราะเขาถือว่า คนที่จบแล้วมีวุฒิภาวะมากกว่า น่าจะเข้าใจกฎหมายได้ดีกว่า

ข้อดีของการเรียนกฎหมายคือ มันเป็นวิชาชีพอ่ะ และมันก็สามารถไปทำอย่างอื่นได้ด้วย

มันไม่ได้ถูกจำกัดอยู่แค่การเป็น ผู้พิพากษา ทนายความ หรือ อัยการ

ขอให้น้องๆเลือกกันให้ดีละกันนะคะ เลือกอย่างที่ชอบละกัน

แนะให้เฉยๆ แต่คนเลือกคือตัวน้องเอง ^__________^


ปล.เข้าใจที่ เด็กติดตรงนิติ มธ 51 พยายามจะสื่อ แต่ก็ไม่ควรไปดูถูกสถาบันอื่นนะคะ
แต่ละสถาบันก็มีเกียรติทั้งนั้น

0
NappyOnTheLock 10 เม.ย. 51 เวลา 23:47 น. 18

เห็นด้วยนะคะ กับความคิดที่ว่า นิติคนจบมาเยอะมากเพราะทุกที่เปิดกัน พูดได้ว่า พอๆกับ เซเว่นเลยทีเดียวเยอะมากก -_-"

อุ้ยถ้าพูดแบบนี้ถือว่าดูถูกก็ขอโทด้วยนะ แบบว่าอยากให้เห็นภาพอ่ะ T_T

เหอๆ กว่าจะได้เป็นผู้พิพากษา หรืออัยการก็นานมาก ตามหาฝันกันนานกว่าคนที่เลือกเรียนแพทย์อีกนะ ^^

ส่วนน้องๆที่รักความยุติธรรม หรือ สนใจคณะนี้จริงๆ พี่ก็ขอให้ประสบผลสำเร็จในชีวิตและได้ตามที่ฝันนะคะ

ส่วนน้องๆที่ตามกระและเห็นว่า เรียนนิติได้เงินเยอะ ก็อยากบอกว่า เงินเป็นปัจจัยที่สำคัญในปัจจุบันนี้ก็จิงนะ แต่มันก็มีสิ่งที่สำคัญกว่าเงินมากนะ

อยากเรียนอะไร ทำตามฝันดีกว่านะ เพราะเงินกับชื่อเสียงมันจะอยู่กับเราได้ไม่นาน แต่ความชอบจะอยู่กับเราไปตลอดชีวิตนะ

ปล.เห็นด้วยกับทุกคนที่บอกว่า ถ้าเรียนนิติแล้วไม่ได้ทำงานด้านกฏหมาย น้องจะเรียนไปทำไมอ่ะ -_-"

0
ข่าว น.ส.พ. 11 เม.ย. 51 เวลา 13:12 น. 19

วันนี้เราอ่านข่าว หน้า 15 น.ส.พ. มติชนรายวัน ฉบับวันศุกร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2551 หัวข้อข่าว เด็กที่สอบได้ที่ 1 แพทย์

ตอนท้ายของข่าวเป็นคำให้สัมภาษณ์ของนายกสภาทนายความ เราขอเอามาลงให้ทุกคนได้อ่านกัน

เพราะเห็นว่าตรงกับกระทู้นี้พอดีเลย

“..................ทั้งนี้ในส่วนที่นักเรียน ม. 6&nbsp อีกกลุ่มหนึ่งมีแนวโน้มเลือกเข้าเรียนคณะนิติศาสตร์มากขึ้นเนื่องจากส่วนใหญ่เห็นว่ามีรายได้ตอบแทนสูงนั้น&nbsp นายเดชอุดม ไกรฤทธิ์ นายกสภาทนายความ กล่าวว่า


การที่นักเรียนหันมาสนใจเรียนคณะนิติศาสตร์ อาจจะเป็นกระแสเหมือนยุคหนึ่งที่นิยมเรียนทางด้านสื่อสารมวลชน&nbsp เพราะถ้าต้องการเป็นอัยการก็จะมีเงินเดือนสูงอาจจะถึง 6 หลัก&nbsp ส่วนนี้อาจจะเป็นตัวเร่งให้หันมาสนใจเรียนทางด้านนี้มากยิ่งขึ้น&nbsp 

แต่ถ้าผู้ที่ประกอบวิชาชีพนักกฎหมายปราศจากความเป็นธรรม&nbsp ก็จะทำให้สังคมเกิดปัญหาตามไปด้วย&nbsp จึงไม่อยากให้เรียนตามเพื่อน&nbsp ตามใจผู้ปกครอง&nbsp หรือเรียนตามกระแส&nbsp เพราะถ้าเรียนด้วยเหตุผลข้างต้น&nbsp แนะนำอย่าเรียนทางด้านนี้ดีกว่า&nbsp เพราะจะไม่เป็นประโยชน์&nbsp 

การเรียนตามกระแส&nbsp ซึ่งไม่ใช่ความดีงามที่อยู่ในตัวบุคคล&nbsp ถึงจะเรียนเก่ง&nbsp จบภายใน 3 - 4 ปี&nbsp สอบได้เนติบัณฑิต&nbsp แต่ขาดคุณธรรม&nbsp จริยธรรม&nbsp จะทำให้สังคมมีความบอบช้ำ&nbsp ถ้าคิดจะเรียนเพื่อให้ตนเองมีฐานะดี&nbsp ควรจะเรียนทางด้านอื่น”

0
ข่าว น.ส.พ. 11 เม.ย. 51 เวลา 13:17 น. 20

ผลสอบผู้ช่วยผู้พิพากษา (สนามใหญ่) (วันที่ 30 พ.ย. 50 เวลาประมาณ 19.05 น.)

ปี 50 สอบติดแค่ 41 คนเองครับ (จากประมาณ 5,700 คน)

** ลิ้งค์ผลสอบครับ

http://www.judiciary.go.th/ojc/p_noi/exam2550/test_2550_7.pdf

0