Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

100เรื่องจุฬาฯ100เรื่องธรรมศาสตร์

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

เห็นทุกคนเครียดๆ ก็เลยเอาเกล็ดเล็กเกล็ดน้อย(น้อยหรือเยอะไม่รู้เหมือนกันเหอๆ)
ของสองมหาวิทยาลัยนี้มาให้อ่านกัน
เพราะเผื่อได้ไปเรียนจะได้ ตื่นเต้นกับเรื่องที่เคยอ่าน  บางทีเราอาจไปพบกับสถานที่จริงหรือ เรื่องที่เราเคยอ่านในนี้โดยไม่รู้ตัว

แอบตื่นเต้นอยากไปเห็นที่จิงแล้วอะเหอๆ
ขอให้ทุกคนสู้ๆ สมหวังทุกคนนะคับ


เรื่องทั้งหมดเอามาจากเวป
http://gensci.igetweb.com/index.php?mo=3&art=7237
http://quezie.exteen.com/20050911/vs


เริ่มที่100เรื่องมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เหลืองคือธรรมประจำจิต แดงคือโลหิตอุทิศให้

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 100 เรื่อง
1.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งที่ 2 ของประเทศ
2.ชื่อเดิมของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ม.ธ.) คือ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (ม.ธ.ก.) ที่ ต้องตัดคำว่า และการเมือง ออกนั้น เพราะว่า เพื่อไม่ให้น.ศ.ฝักใฝ่การเมืองมากไป รวมระยะเวลาที่ใช้ชื่อนี้ 18 ปี
3.สถาปนาโดยท่านผู้ประศาสน์การ ดร.ปรีดี พนมยงค์ รัฐบุรุษอาวุโส อดีตผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์
หัวหน้าขบวนการเสรีไทย อดีตนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กระทรวงการต่างประเทศและ กระทรวงมหาดไทย และปัจจุบันองค์การยูเนสโกได้ประกาศว่าท่านเป็นบุคคลสำคัญของโลกอีกด้วย
4.เป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่ใช้ตำแหน่งผู้ประศาสน์การ (ต่อมาเปลี่ยนเป็นตำแหน่งอธิการบดี)
5.ตำแหน่งผู้ประศาสน์การมีเพียงท่านเดียว คือ อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ เพื่อยกย่องท่านในฐานะที่เป็นผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัย
6.อธิการบดีคนแรกของมหาวิทยาลัยเป็นนายกรัฐมนตรี คือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม
7.จอมพลถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรีก็เคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีในขณะที่ดำรงตำแหน่งนายกฯด้วย
8
.วันสถาปนามหาวิทยาลัย คือ 27 มิถุนายน 2477 (ซึ่งตรงกับวันคล้ายวันพระราชทานรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว)
9.พระเจ้าบรมวงศ์เธอ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ เสด็จมาเป็นประธานในพิธีเปิดมหาวิทยาลัย เพราะขณะนั้นพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ประทับอยู่ที่ประเทศอังกฤษ
10.ที่ตั้งเดิมของมหาวิทยาลัยก่อนจะย้ายไปที่ท่าพระจันทร์คือ ตึกร.ร.กฎหมาย กระทรวงยุติธรรม เชิงสะพานผ่านภพลีลา ปัจจุบันเป็นที่ขายสลากกินแบ่งรัฐบาล
11.นายจิตรเสน(หมิว) อภัยวงศ์ สถาปนิกผู้มีชื่อเสียงเป็นผู้ออกแบบ ตึกโดม
12.ความหมายของตึกโดม คือ ตัวโดมที่เป็นรูป 6 เหลี่ยมเพราะจะได้สะท้อนถึงหลักที่ 6 ในหลัก 6 ประการของคณะราษฎร คือ จะต้องให้การศึกษาเต็มที่แก่ราษฎร และ ที่ยอดตัวโดมแหลมขึ้นฟ้านั่นก็เพราะ เปรียบโดมเสมือนดินสอ ที่จดบันทึกวิชาความรู้และเรื่องราวต่างๆที่ไม่รู้จักจบสิ้นเอาไว้บนผืนฟ้าอันกว้างใหญ่
13.จุดประสงค์ในการก่อตั้ง คือ เพื่อเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงที่ให้ความรู้ทางด้านกฎหมาย การเมือง และเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นวิทยาการสมัยใหม่แก่ประชาชนทุกชนชั้น โดยเก็บค่าเล่าเรียนให้น้อยที่สุด
14.ตราประจำมหาวิทยาลัย คือ พระธรรมจักร เกิดขึ้นในปี 2479 มีความหมายว่าสถาบันแห่งนี้ยึดถือคติธรรมของพระพุทธศาสนาในการกล่อมเกลาบัณฑิต สิ่งที่อยู่กลางธรรมจักรคือพานรัฐธรรมนูญ หมายถึงการยึดมั่นเชิดชูรัฐธรรมนูญ
15.สีประจำมหาวิทยาลัย คือ สีเหลือง-แดง มีความหมายว่า เหลือง คือ ธรรมประจำจิตใจของน.ศ. แดงคือโลหิตที่ต้องอุทิศตนเพื่อประชาชน
16.ต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย คือ ต้นยูงทอง มีอยู่ 5 ต้น ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงเพาะชำเอง และเสด็จฯมาทรงปลูกด้วยพระองค์เอง ยังความปลาบปลื้มมาสู่ชาวธรรมศาสตร์จวบจนทุกวันนี้
17.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เคยมีร.ร.เตรียม เรียกว่า ชั้นเตรียมปริญญา ชื่อ ร.ร.เตรียม ม.ธ.ก. เพื่อผลิตนักเรียนเข้าเรียนต่อใน ม.ธ.ก. มีแค่ 8 รุ่นเท่านั้น แล้วก็ยุบไป
18.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เคยเป็นเจ้าของ ธนาคารเอเชีย ด้วย (เพราะตอนแรกไม่ได้ขึ้นตรงต่อรัฐบาล จึงไม่ได้รับงบฯ) แต่ต่อมาถูกใช้อำนาจสกปรกขู่เข็ญให้มอบหุ้นทั้งหมดให้นายทหารผู้หนึ่ง (น่าเสียดายมากๆ)
19.คณะเริ่มแรกตั้งแต่สถาปนามหาวิทยาลัย มี 4 คณะ คือ
นิติศาสตร์ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี รัฐศาสตร์ และเศรษฐศาสตร์
20.เพลงประจำมหาวิทยาลัยมี 2 เพลง เพลงแรกที่ใช้ คือ เพลงประจำมหาวิทยาลัย ทำนองมอญดูดาว แต่งโดยขุนวิจิตรมาตรา และเพลงที่2 คือเพลงพระราชนิพนธ์ยูงทอง ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ
21.ธรรมศาสตร์เคยจะถูกเปลี่ยนชื่อเป็น มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ด้วย เพื่อจะได้ดูเป็นกลาง แต่ไม่สำเร็จ
22.งานฟุตบอลประเพณีธรรมศาสตร์-จุฬาฯครั้งแรก มีเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2477 ณ ทุ่งพระสุเมรุ สนามหลวง ผลคือเสมอกัน1-1 โดยครั้งนั้นยังไม่มีขบวนพาเหรด แปรอักษร หรือเชียร์ อย่างในปัจจุบัน
23.เคยสงสัยไหมว่างานฟุตบอลประเพณีบางปีทำไมเรียก ธรรมศาสตร์-จุฬาฯ บางปีเรียก จุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ เพราะว่า ปีใดที่ไหนเป็นเจ้าภาพ ก็จะเอาชื่อของที่นั่นขึ้นก่อน ซึ่งการเป็นเจ้าภาพ ธรรมศาสตร์ จะเป็นครั้งที่เป็นเลขคี่ เพราะเริ่มครั้งแรกที่ธรรมศาสตร์ ส่วนจุฬาฯ จะเป็นครั้งที่เป็นเลขคู่ เช่น ปีหน้าครั้งที่62 จุฬาฯเป็นเจ้าภาพ
24.ธรรมศาสตร์มีงิ้วล้อการเมืองที่มีชื่อเสียงมาก คือ งิ้วธรรมศาสตร์ หรือ งิ้วการเมือง โดยมีต้นกำเนิดจาก คณะนิติศาสตร์
25.สมเด็จพระพี่นางฯ ทรงเคยเป็นหัวหน้าภาควิชาภาษาฝรั่งเศส คณะศิลปศาสตร์ด้วย
26.ปีการศึกษา 2540 พระองค์ภาฯ ทรงเข้าไปนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ยังความภาคภูมิใจมาสู่ชาวธรรมศาสตร์เป็นล้นพ้น โดยทรงจบการศึกษาด้วยคะแนนเกียรตินิยมอันดับ 2 อีกด้วย
27.หอประชุมใหญ่ ม.ธรรมศาสตร์ เป็นหอประชุมที่นักศึกษาม.ธ.ในอดีตภาคภูมิใจว่า
เป็นหอประชุมที่ใหญ่และทันสมัยที่สุด ในเอเชียอาคเนย์
28.คณะรัฐประศาสนศาสตร์ ได้แยกตัวออกไปเป็นสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
29.มหาวิทยาลัยถูกปิดความเป็นตลาดวิชาลงเมื่อ พ.ศ.2503 เป็นระบบสอบเข้าแทน
30.ธรรมศาสตร์ ไม่มีระบบรุ่นพี่รุ่นน้อง แต่จะเรียกว่าเพื่อนใหม่ เพราะถือว่าทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกัน
31.พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ และสมเด็จพระบรมราชินีนาถ เคยเสด็จมาทรงดนตรีเป็นการส่วนพระองค์กับนักศึกษาม.ธ.ด้วย
32.ในปี 2507 มีมติจากสภาการศึกษาแห่งชาติให้เปลี่ยนชื่อมหาวิทยาลัยเป็น มหาวิทยาลัยภูมิพล โดยให้โอนม.ธรรมศาสตร์ไปรวมกับม.แพทยศาสตร์(ม.มหิดลปัจจุบัน) และม.ศิลปากร แต่สมาคมธรรมศาสตร์มีมติคัดค้าน จึงไม่มีการเปลี่ยนแต่อย่างใด
33.อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์ เคยดำรงตำแหน่งผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทยควบกับตำแหน่งคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ แต่ตามระเบียบ ก.พ. นั้นข้าราชการจะทำงานพร้อมกันทีเดียว 2 แห่งได้ แต่จะได้รับเงินเดือนอีกแห่งเพียงครึ่งเดียว โดยอ.ป๋วยเลือกรับเงินเดือนคณบดีเต็มอัตรา 8,000 บาท และรับเงินเดือนผู้ว่าแบงค์ชาติครึ่งอัตราคือ 25,000 บาทแทน นับเป็นพระคุณอันยิ่งใหญ่ในการตัดสินใจของท่านเพื่อชาวธรรมศาสตร์
34.ธรรมศาสตร์ไม่มีผู้อัญเชิญธรรมจักร เพราะถือว่า ธรรมจักรอยู่ในหัวใจของนักศึกษาทุกคน
35.จอมพล ป. พิบูลสงครามเป็นผู้ก่อตั้ง
คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์
36.วันที่ 10 ธันวาคม ของทุกปี นอกจากจะเป็นวันรัฐธรรมนูญแล้ว ยังเป็นวันธรรมศาสตร์อีกด้วย
37.โขนธรรมศาสตร์ เคยใช้เป็นการแสดงในการสมโภชการสถาปนาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฏราชกุมาร
38.ลิฟท์แดง อยู่ที่คณะศิลปศาสตร์
39.ลานโพธิ์ เป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยของธรรมศาสตร์และสังคมไทย นับตั้งแต่เหตุการณ์
14 ตุลาคม พ.ศ.2516 ที่ขบวนการนิสิตนักศึกษาประชาชนร่วมกันต่อสู้เพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตย
40.ผู้มีพระคุณในเหตุการณ์ 14 ตุลา ที่ชาวธรรมศาสตร์จะลืมไม่ได้ก็คือ แม่ค้าย่านท่าพระจันทร์และปากคลองตลาด ที่จัดทำเสบียงส่งให้ตลอด
41.สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เช่าที่ดินของธรรมศาสตร์ (ที่รังสิต) เนื้อที่ 1,110 ไร่ เป็นเวลา 30 ปี รวมค่าเช่า 3,000 บาท
42.รถโดยสารในม.ธ.รังสิต คือ รถราง (รอนานมากๆ บางทีไม่จอดด้วย แถมคนขับก็ดุยังกะแมว)
43.อาหารที่ศูนย์รังสิต แพงกว่ามหาวิทยาลัยอื่นมากๆ แล้วก็ไม่ค่อยมีที่ไหนอร่อยเลย
44.ห้องเรียนที่ม.ธ.ติดแอร์หมดทุกห้อง ทำให้หลับสบาย อิอิ
45.คณะที่เป็นขวัญใจของสาวๆ คือ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร หรือ SIIT แบบว่ารูปหล่อ บ้านรวย เรียนเก่ง(คือถ้าขึ้นปี2ได้ ถือว่านายแน่มาก) เข้าง่าย ออกง่าย(โดนไทล์) แต่จบยาก
46.เศรษฐศาสตร์ เป็นคณะหนุ่มหล่อของธรรมศาสตร์
47.บัญชี รัฐศาสตร์ ศิลปศาสตร์ เป็นคณะรวมสาวสวยของธรรมศาสตร์
48.หอเอXนเกมส์ เป็นหอมหาวิทยาลัยรัฐฯที่หรูที่สุด มีแอร์ เครื่องทำน้ำอุ่น ยูบีซี ลิฟท์ แล้วก็เบอร์โทรศัพท์02ส่วนตัวทุกห้อง (ต่อเนตได้สบายๆ) ค่าไฟแพงหูฉี่เลย (เปิดแอร์อย่างเดียวตกช.ม.ละ 6 บาท)
49.หอเอXนเกมส์จะมีโซน A-E แต่หอน.ศ.จะอยู่ที่โซน B C E โซนB เป็นโซนห้องละ 4 คน มี 8 หลังๆละ 8 ชั้น โซนC เป็นโซนห้องละ 2 คน มี 11 หลังๆละ 8 ชั้น เช่นกัน ส่วนโซนE มี 2 หลังๆละ 4 ชั้น ไม่มีลิฟท์และก็เครื่องทำน้ำอุ่นด้วย หน้าหนาวทีก็ทนๆเอาละกัน
50.หอในเป็นหอพัดลม อาบน้ำรวม จะมีอะไรที่เหมือนๆกับหอมหาวิทยาลัยอื่นทั่วๆไป
51.เด็ก self จัดต้องนี่เลย สถาปัตย์ฯ กับ ศิลปกรรมฯ
52.ถ้าใครเล่นmsn หรือเกมส์ ในห้องคอม หอสมุดป๋วย จะโดนขึ้นประจานให้ทุกเครื่องทราบว่าคุณกำลังทำผิดกฎห้องสมุด แล้วทุกคนก็จะหันมาทางคุณกันหมด (เป็นเรื่องที่น่าอับอายมากๆ)
53.โรงอาหาร SC ปัจจุบันกลายเป็น โรงอาหารวิศวะ 2 ไปซะแล้ว เพราะ 50% ที่กินข้าวที่นี่ล้วนแต่ใส่ชอปทั้งนั้น
54. สะพานที่คู่รักมักจะไปนั่งจู๋จี๋ให้อาหารปลากัน คือ สะพานปลา ที่หน้าตึกคณะวิศวะ
55.โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ มีอีกชื่อว่า โรงพยาบาลซาร่า เพราะถึงแม้ว่าจะเจ็บปางตาย ถ้าไปขอยาจากที่นี่ก็จะได้แต่ ซาร่า (หรืออาจจะมีอย่างอื่นด้วยไม่แน่ใจ)
56.ตลาดนัดที่นี่มีฉายาว่า ตลาดนัดดูตัว เพราะจะมีคนหน้าตาดีมาเดินเยอะมาก จะมีทุกวันจันทร์ กับ พฤหัสบดี ของกินอร่อยๆก็เยอะ ของใช้ก็เยอะ เด็กม.อื่นก็มาเดินตลาดนัดที่นี่กันเยอะเช่นกัน แม้แต่จุฬาก็ยังมีเลย
57.บ.ร. คือ อาคารบรรยายรวม มีทั้งหมด 5 หลัง ตึกบ.ร.มีฉายาว่า บรรทมรวม เพราะวิชาที่น่านอนหลับจะเรียนที่ตึก บ.ร.เป็นส่วนใหญ่
58.ขนมบราวนี่ เป็นขนมที่อร่อยขึ้นชื่อของที่รังสิต เวลาไปเรียนTU130 คนมักจะต่อแถวกันยาวเหยียดเพื่อซื้อขึ้นไปกิน ทั้งๆที่หน้าห้องเขียนว่า ห้ามนำอาหารและน้ำเข้ามาในห้องบรรยาย ก็ตาม
59.ค่าไฟเฉพาะห้องบรรยาย 1,000 คน ที่บ.ร.4 อย่างเดียวตกเดือนละ 400,000 บาท
60.สะพานดาวอยู่หน้ามหาวิทยาลัย ที่ศูนย์รังสิต เอาไว้พาแฟนไปชมดาวกันตอนกลางคืน ทางที่ดีควรไปรถป๊อป เพราะปั่นจักรยานไป ขาลากแน่นอน เพราะไกลมากๆ
61.ฝั่งโน้น ในความหมายของเด็กธรรมศาสตร์ คือ ร้านเหล้าทั้งหลายแหล่ ที่อยู่ฝั่งประตูเชียงราก ที่ดังๆก็จะมี กระฉ่อน89, Sweet duck เป็นต้น
62.ลักษณะของโดมแต่ละที่
โดมไม้เมืองพี่ ท่าพระจันทร์
โดมเปลือยขวัญ รังสิตทรงศรี
โดมแก้ว ลำปางธานี
โดมน้องพี่ เชิดชูธรรม นำผองชน 
63.คลื่นPCT จะมีที่หอเอฯโซนซี อินเตอร์โซน แล้วก็บ.ร.1-บ.ร.4
64.ที่ศูนย์รังสิตมีโชว์รูมรถยุโรปด้วย ไม่ว่าจะเป็น S-class, BMWseries5, เฟอรารี่ ฯลฯ จะสามารถหาดูได้ที่ SIIT แต่ถ้าเป็นรถญี่ปุ่นจะเป็นของอาจารย์
65.SIIT กับ วิศวะ ภาคอินเตอร์ คือคนละอย่างกัน เพราะ SIIT เป็นอีกสถาบัน แต่สังกัดม.ธรรมศาสตร์
66.ธรรมศาสตร์ มี 4 ศูนย์ คือท่าพระจันทร์ รังสิต พัทยา และลำปาง
67.ในสมัยที่คุณหญิงนงเยาว์ เป็นอธิการบดี เคยมีการปิดโรงอาหารกลางตอนกลางคืน เพื่อเป็นเธค ให้ความผ่อนคลายแก่น.ศ.ด้วย
68.ธรรมศาสตร์เป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่มีห้องสมุด อยู่ชั้นใต้ดิน ชื่อหอสมุดปรีดี พนมยงค์ ที่ท่าพระจันทร์
69.มีการขุดพบปืนใหญ่หลายกระบอกเมื่อครั้งก่อสร้างประตูใหม่ที่ต่อจากกำแพงโบราณ ด้านถ.พระจันทร์
70.มีการขุดพบแนวกำแพงเมืองเก่า ในขณะสร้างอาคาร 60 ปี และลานจอดรถใต้ดิน หน้าคณะรัฐศาสตร์
71.ชื่อโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เป็นชื่อที่ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
72.ในปี 2550 ประเทศไทยจะเป็นเจ้าภาพจัดงาน กีฬามหาวิทยาลัยโลกฤดูร้อนโดยใช้ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตเป็นสถานที่จัดการแข่งขัน
73.ที่จะลืมไม่ได้เลย ในปี 2541 ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันเอ X นเกมส์ ครั้งที่ 13 ก็ใช้ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิตเป็นสถานที่จัดการแข่งขันด้วย
74.อาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ อดีตนายกรัฐมนตรี ฉายาคนของแผ่นดิน ผู้เป็นตัวอย่างของการใช้ชีวิตอย่างสมถะ และสันโดษ ก็เคยดำรงตำแหน่งอธิการบดี
75.สามอนุสาวรีย์ คนดีศรีธรรมศาสตร์ และประเทศไทย อยู่ที่ธรรมศาสตร์ รังสิต ได้แก่ อาจารย์ปรีดีอยู่ที่หน้าตึกยิม2 อาจารย์ป๋วยหน้าตึกเรียนรวม(SC) และอาจารย์สัญญาอยู่หน้าตึกคณะนิติศาสตร์-คณะรัฐศาสตร์
76.ธรรมศาสตร์เป็นดินแดนแห่งเสรีภาพทุกตารางนิ้ว
77.คำขวัญอมตะของธรรมศาสตร์ คือ ฉันรักธรรมศาสตร์ เพราะธรรมศาสตร์สอนให้ฉันรักประชาชน
78.นักศึกษาไม่จำเป็นต้องใส่ชุดนักศึกษามาเรียนก็ได้ แต่อาจจะยกเว้นบางวิชา แต่ตอนนี้ได้มีการรณรงค์ให้แต่งชุดนักศึกษา
79.มีผู้เคยกล่าวไว้ว่า ประวัติศาสตร์การเมืองไทย ก็คือประวัติศาสตร์ธรรมศาสตร์
80.ธรรมศาสตร์ เป็นที่เรียนที่มีตั้งแต่อนุบาล-ปริญญาเอก
81.ธรรมศาสตร์ไม่เรียกผู้ที่ศึกษาที่นี่ว่า นิสิต เพราะ ถือว่าการเป็นนิสิตเป็นการถูกกำหนดขอบเขต
82.ธรรมศาสตร์ ยังไม่มีคณะเภสัชศาสตร์
83.ค่าไฟแต่ละเดือนของธรรมศาสตร์ไม่ต่ำกว่า 8 ล้านบาท จึงต้องมีโครงการธรรมศาสตร์หาร 2
84.หอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ อยู่ตรงข้ามหอสมุดปรีดี ที่ท่าพระจันทร์ ถ้าต้องการศึกษาประวัติมหาวิทยาลัยตั้งแต่ ปี2477 ก็สามารถดูได้จากที่นี่
85.ศาลเจ้าแม่สิงโต ซึ่งเป็นที่เคารพ สักการะของน.ศ.คณะรัฐศาสตร์ และคณะอื่นๆ อยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณอาคาร 60 ปี
86.น.ศ.ที่อยู่หอพักที่ศูนย์รังสิต จะต้องทำการย้ายทะเบียนบ้านเข้าหอ เพื่อที่ธรรมศาสตร์จะได้ทำคุณประโยชน์ให้กับชุมชนคลองหลวงบ้าง
87.สำนักงานจัดการทรัพย์สินฯ มีอีกชื่อหนึ่งคือ สำนักงานดูดทรัพย์สิน ยิ่งตอนบิลค่าไฟมานี่ยิ่งดูดหนัก
88.อุทยานวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ตั้งอยู่ในพื้นที่ของธรรมศาสตร์ รังสิต
89.แฟนพันธุ์แท้โขนไทย อยู่ปี1 คณะรัฐศาสตร์ สาขาการระหว่างประเทศ
90.ตึกเรียนที่หรูที่สุดในศูนย์รังสิต คือ ตึกคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี (ตึก4ชั้น) หน้ามหาวิทยาลัย
91.ตึกคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มีโครงเสาเหล็กมาตั้งแต่พี่ปี 5 อยู่ปี1 จนปัจจุบันโครงเสานี้ก็ยังอยู่เหมือนเดิม
92.หอเอฯโซนบี มักจะมีเริ่องเกี่ยวกับสิ่งเหนือธรรมชาติมาโดยตลอด
93.นาฬิกาลูกตุ้มบนตึกโดม มีชื่อว่า นาฬิกาปารีส ได้รับบริจาคจาก ห้างเอส.เอ.บี
94.เหตุการณ์นองเลือด 6 ตุลาคม 2519 มีผู้เสียชีวิตมากมาย และนับว่าเป็นเหตุการณ์ที่รุนแรงกว่า 14 ตุลาคม 2516มาก เนื่องมาจากท่านอธิการบดีในขณะนั้น คือ อาจารย์ป๋วย ถูกกล่าวโจมตีว่าฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ จนตัวท่านต้องลี้ภัยไปต่างประเทศ
95.ลงทะเบียนเรียนทางเทเลแบงค์ 1551 เป็นอะไรที่ต้องใช้ความอดทนสูงในการกดโทรศัพท์ พอๆกับลงทะเบียนเรียนเพิ่มกับเจ้าหน้าที่สำนักทะเบียน (ที่แสนจะใจดี๊ใจดี)
96. การเดินขบวนเรียกร้องดินแดนอินโดจีน จากฝรั่งเศสคืนเป็นการเดินขบวนครั้งแรกของน.ศ.ธรรมศาสตร์
97.อาจารย์ป๋วย เป็นศิษย์เก่าม.ธรรมศาสตร์คนแรก ที่ได้เป็นอธิการบดีม.ธรรมศาสตร์
98. 8 ธ.ค. 2484 ธรรมศาสตร์แพ้ฟุตบอลประเพณีกับจุฬาฯ เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่มีการแข่งขันมาตั้งแต่ปี 2477 ทำให้อาจารย์ผู้คุมทีมถึงกับหัวใจวายถึงแก่กรรม
99. ปลายเดือน ก.ย. 2545 เกิดฝนตกหนัก ลมกรรโชกแรง ทำให้ต้นโพธิ์ธรรมศาสตร์ ฉีกกลางลำต้น
100.ถึงแม้ว่านักศึกษาบางคณะจะไม่ได้ศึกษาที่ท่าพระจันทร์ แต่ความเป็นจิตวิญญาณธรรมศาสตร์ก็ได้รับการถ่ายทอดและหล่อหลอมให้กับนักศึกษาทุกคนเสมอมา


ตึกโดมท่าพระจันทร์

มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองถือได้ว่าเป็นผลพวงหรือ "คู่แฝด" ของการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 โดยในคำประกาศของคณะราษฎรในวันยึดอำนาจกล่าวว่า การที่ราษฎรยังถูกดูหมิ่นว่ายังโง่อยู่ ไม่พร้อมกับระบอบประชาธิปไตยนั้น "เป็นเพราะขาดการศึกษาที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้เรียนเต็มที่"[4] นโยบายหรือหลักประการที่ 6 ใน หลัก 6 ประการของคณะราษฎร จึงระบุไว้ว่า "จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร"[4] สถาบันศึกษาแบบใหม่ที่เปิดกว้างให้ประชาชนชาวสยามได้รับการศึกษาชั้นสูง โดยเฉพาะที่จะรองรับการปกครองบ้านเมืองที่เปลี่ยนไป จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องมาคู่กันกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ดังที่ปรีดี พนมยงค์ ได้กล่าวไว้ในโอกาสจัดตั้งมหาวิทยาลัยว่า "การตั้งสถานศึกษาตามลักษณะมหาวิทยาลัยย่อมเป็นเครื่องพิสูจน์ และเป็นปัจจัยในการแสดงความก้าวหน้าของประเทศ ประชาชนชาวสยามจะเจริญในอารยธรรมได้ก็โดยอาศัยการศึกษาอันดีตั้งแต่ชั้นต่ำ ตลอดจนการศึกษาชั้นสูง เพราะฉะนั้นการที่จะอำนวยความประสงค์และประโยชน์ของราษฎรในสมัยนี้ จึงจำต้องมีสถานการศึกษาให้ครบบริบูรณ์ทุกชั้น" และ "มหาวิทยาลัยย่อมอุปมาประดุจบ่อน้ำบำบัดความกระหายของราษฎร ผู้สมัครแสวงหาความรู้อันเป็นสิทธิและโอกาสที่เขาควรมีควรได้ตามหลักแห่งเสรีภาพในการศึกษา รัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรเห็นความจำเป็นในข้อนี้ จึงได้ตราพระราชบัญญัติจัดตั้งมหาวิทยาลัยขึ้น"[1][5]

อีกแรงผลักดันหนึ่งที่ทำให้เกิดการก่อตั้ง มธก. ขึ้น อาจมาจากกลุ่มอดีตนักเรียนโรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรม กล่าวคือใน พ.ศ. 2476 รัฐบาลอนุรักษนิยมมช่วงเปลี่ยนผ่านของพระยามโนปกรณ์นิติธาดา โรงเรียนกฎหมายของกระทรวงยุติธรรมได้ถูกโอนไปขึ้นกับคณะรัฐศาสตร์และนิติศาสตร์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอยู่หนึ่งปี[6] ซึ่งสร้างความไม่พอใจให้แก่นักเรียนโรงเรียนกฎหมาย ที่ต้องการให้ยกฐานะโรงเรียนของตนเป็นมหาวิทยาลัยดังเช่นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่กลับถูกทำให้เสมือนถูกยุบหายไป จึงมีผลผลักดันให้นักเรียนกฎหมายดังกล่าวเคลื่อนไหวหนุนให้มีการก่อตั้ง มธก. ขึ้น[1] โดยเมื่อจัดตั้งมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองนั้น ได้โอนทรัพย์สินตลอดจนคณาจารย์ของโรงเรียนกฎหมายเดิม เข้ามาสังกัดในมหาวิทยาลัยใหม่นี้ด้วย[7]

ด้วยเหตุทั้งหมดนี้ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมืองจึงได้สถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 ณ ที่ตั้งเก่าของโรงเรียนกฎหมาย บนถนนราชดำเนิน เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา[1] โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัดติวงศ์ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทำพิธีเปิดมหาวิทยาลัย[8][9]

ในช่วงเวลา 2 ปีแรก (พ.ศ. 2477-2479) การเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยยังคงดำเนินอยู่ที่ตึกโรงเรียนกฎหมายเดิม หลังจากนั้นจึงได้ย้ายมาที่บริเวณวังหน้า ท่าพระจันทร์ ดังเช่นในปัจจุบัน[1] และต่อมาได้มีการขยายการเรียนการสอนออกไปที่จังหวัดปทุมธานี ลำปาง ชลบุรี นราธิวาส และอุดรธานี

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นตลาดวิชา เพื่อการศึกษาด้านกฎหมายและการเมือง สำหรับประชาชนทั่วไป เมื่อเริ่มก่อตั้งใช้ชื่อว่า มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (University of Moral and Political Sciences) เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย และมีประวัติศาสตร์ผูกพันกับพัฒนาการทางการเมืองและความเป็นไปของชาติ ตลอดจนเรื่องของรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยตลอดมา[1] โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลา 2519[2]

เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2490 คณะรัฐประหารได้ยึดอำนาจการปกครองประเทศ ทำให้มหาวิทยาลัยได้รับผลกระทบโดยตรง[3] ผู้ประศาสน์การ ปรีดี พนมยงค์ ต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ ชื่อมหาวิทยาลัยถูกตัดคำว่า "การเมือง" ออกจากชื่อมหาวิทยาลัย เหลือเพียง "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" ตำแหน่งผู้ประศาสน์การถูกยกเลิก เปลี่ยนเป็นตำแหน่งอธิการบดี[1] หลักสูตรการศึกษาธรรมศาสตร์บัณฑิต ถูกเปลี่ยนแปลงเป็น นิติศาสตร์, รัฐศาสตร์, เศรษฐศาสตร์ และ พาณิชยศาสตร์และการบัญชี ความเป็นตลาดวิชาหมดไปตามพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ พ.ศ. 2495

นับตั้งแต่ พ.ศ. 2477 มีนักศึกษากว่า 240,000 คน เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในจำนวนนี้ได้รวมถึงผู้ที่เข้ามาบทบาททางการเมืองในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ นายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรี, นักการเมืองและเจ้าหน้าที่ระดับสูง, ผู้อำนวยการธนาคารแห่งประเทศไทย ตลอดจนบุคลากรที่มีความวชาญในสาขาวิชาด้านสังคมศาสตร์ต่าง ๆ มากมาย

มหาวิทยาลัยเป็นสมาชิกของเครือข่าย LAOTSE ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยชั้นนำในเอเชียและยุโรป ตามกรอบความร่วมมืออาเซม รวมทั้งเป็นสมาชิกของเครือข่ายการศึกษาและวิจัยในลุ่มแม่น้ำโขง (GMSARN) อีกด้วย

อธิการบดีมหาวิทยาลัยคนปัจจุบันคือ นายสุรพล นิติไกรพจน์ และมีนายสุเมธ ตันติเวชกุลเป็นนายกสภามหาวิทยาลัย



และปิดท้ายด้วย 173 เรื่องจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

สีชมพูจักอยู่ในกายเจ้า พระเกี้ยวเกล้าจักสถิตเป็นมิ่งขวัญ

เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

1.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย(อันนี้รู้มานานแล้ว)
2.เป็นมหาวิทยาลัยเดียวในประเทศ ที่ไม่ได้ขึ้นต้นด้วยคำว่ามหาวิทยาลัย
3.เป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่ไม่มีป้ายชื่อมหาวิทยาลัย มีแต่เพียงป้ายบอกอาณาเขต (อยู่ 2 ที่ ที่แรกคือตรงสาธิตฯ ปทุมวัน/ เตรียมฯ หรือคณะศิลปกรรมตึกที่เพิ่งสร้างใหม่ แต่เด็กเตรียมฯ ชอบใช้เรียกว่า Black Gate อีกที่หนึ่งอยู่ข้างหลังมาบุญครอง/สนามกีฬาแห่งชาติ สำนักวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬา)
4.เป็นมหาวิทยาลัยที่ สถาปนาโดย พระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาลงเสาเอกด้วยพระองค์เอง
5. เงินที่นำมาสร้างจุฬาฯ คือเงินบริจาคของประชาชนครับ เงินที่เหลือจากการบริจาคสร้างพระบรมรูปทรงม้า เรียกว่า "เงินหางม้า"
"หางม้าสีชมพู"
6. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานที่ดินของพระคลังข้างที่จำนวน ๑,๓๐๙ ไร่ ซึ่งอยู่ที่อำเภอปทุมวัน ให้เป็นสถานที่ตั้งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อก่อสร้างอาคารเรียนและเป็นตึกบัญชาการ นอกจากนี้ได้พระราชทานเงินทุนจำนวน ๙๘๒,๖๗๒.๔๗ บาท เป็นทุนก่อสร้างโรงเรียน (ทุนที่ใช้ก่อตั้งจุฬาฯ ก็คือรัชกาลที่ 6 ได้พระราชทานมา + เงินหางม้า ด้วย)
7. พระบรมรูป 2 รัชกาลศักดิ์สิทธิ์เป็นที่เคารพสักการะ
8. ลานหน้าพระบรมรูป ไว้ถวายสัตย์และถวายบังคมลา บางทีก็ใช้เล่นบอล
9. จุฬาฯ ยึดธรรมเนียมปฏิบัติไว้ว่าก่อนที่จะเข้ามาศึกษาชั้นปีที่ 1 ก็ต้องมีพิธีการถวายสัตย์ และพอตอนเรียนจบปริญญาตรีก็ต้องมีพิธีการถวายบังคมลา และทุก ๆ วันที่ 23 ต.ค. ของทุกปี ชาวนิสิต-คณาจารย์-บุคลากรจุฬาฯ จะไปทำพิธีเคารพสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์พระบรมรูปทรงม้า (เหมือนอยู่ในรั้วในวังกลาย ๆ เลย ศักดิ์สิทธิ์มาก ๆ และทั้งสามพิธีการนี้ จะออกข่าวทางสื่อโทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ internet ทุกปี )
10. ในปีการศึกษา 2548 พิธีการถวายสัตย์นั้นพระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ให้เกียรติมาเป็นผู้นำถวายสัตย์ (แต่ในขณะที่มีพิธีถวายสัตย์ ท่านหญิงยังคงพระยศ ม.จ.สิริวัณวรี มหิดล)
11. นิสิตใหม่ปี 1 ที่ได้มาถวายสัตย์จะรู้สึกว่าเริ่มต้นชีวิตนิสิตใหม่อย่างสมบูรณ์แบบและภาคภูมิใจในจุฬาฯ และสถาบันกษัตริย์
12. เพียงท่านพลิกแบงค์ 100 บาท ท่านก็จะเห็นพระบรมรูป 2 รัชกาล คือ รัชกาลที่ 5 และ ที่ 6 ที่ประดิษฐานที่จุฬาฯ (เป็นมหาวิทยาลัยแห่งเดียวในไทยด้วยที่มีพระบรมรูปแบบเดียวกับในธนบัตร)
13.สัญลักษณ์ตราพระเกี้ยว เป็นสัญลักษณ์ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นตราประจำรัชกาลที่ 5และเป็นเครื่องหมายแห่งความภาคภูมิใจของนิสิตจุฬาฯทุกคน
14.สีประจำมหาวิทยาลัยคือสีชมพู เป็นสีแห่งความรัก สีแห่งรักรมณ์ละมุนอุ่นไอหวาน สีสถานศึกษาสง่าไฉน.... สีประจำจุฬาฯ และการเทิดทูนล้นเกล้าสองรัชกาล อัญเชิญมาใช้ครั้งตอนงานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์
15.จุฬาฯ เป็นสถานที่ที่เกิดขึ้นจากความรักของ 2 พระองค์ที่มีแก่กัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระประสงค์อยากให้จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยแห่งนี้เป็นอนุสรณ์ในพระราชบิดาของพระองค์
คือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยก็เป็นสถานที่ที่เป็นอนุสรณ์ บ่งบอกถึงพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้อย่างถ่องแท้ นอกจากนี้พระองค์ยังมีพระประสงค์อยากให้สถานที่แห่งนี้เป็นประโยชน์ทั้งในปัจจุบัน(พ.ศ.2459)และในอนาคตกาล
16.เหตุที่ให้ชื่อมหาวิทยาลัยว่า "จุฬาลงกรณ์" เพราะว่า มีการสืบต่อเนื่องมาจากโรงเรียนที่รัชกาลที่ ๕ ทรงก่อตั้งขึ้นในรัชสมัยของพระองค์ ชื่อแรกคือ " สำนักวิชาฝึกหัดข้าราชการฝ่ายพลเรือน " - - - - > "โรงเรียนมหาดเล็ก" - - - - >" โรงเรียนข้าราชการพลเรือน ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว " - - - - > " จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย " รัชกาลที่ 6 ทรงเล็งเห็นว่าใช้ชื่อเกี่ยวกับพระราชบิดาของพระองค์มาโดยตลอด จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีความหมายว่า มหาวิทยาลัยของสมเด็จเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ หรือ University of Prince Chulalongkorn
17.จามจุรี เป็นต้นไม้ประจำมหาวิทยาลัย มีอยู่ 5 ต้นที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯมาปลูกด้วยพระองค์เองโดยพระองค์ทรงนำต้นจามจุรีทั้ง 5 ต้นมาจากพระราชวังไกลกังวล หัวหินด้วยพระองค์เองโดยมิได้แจ้งทางมหาวิทยาลัยล่วงหน้า นำความปลาบปลื้มมาสู่ชาวจุฬาฯทุกคน
("นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นต่อชาวจุฬาฯ ถือเป็นนิมิตหมายที่ดี โดยที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน ในวันที่ 15 มกราคม 2505 พระบาทสมเด็จพระปร มินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้เสด็จพระราชดำเนิน ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระราชทานต้นจามจุรีแก่มหาวิทยาลัย จำนวน 5 ต้น ซึ่งพระองค์ทรงนำมาจากพระราชวังไกลกังวล หัวหิน และทรงปลูกด้วยพระองค์เอง บริเวณด้านหน้าหอประชุมจุฬาฯ ฝั่งด้านสนามฟุตบอล ทางด้านขวา จำนวน 3 ต้น ด้านซ้ายจำนวน 2 ต้น และยังได้พระราชทานพระราชดำรัสถึงความผูกพันระหว่างชาวจุฬาฯ กับจามจุรีว่ามีมานานตั้งแต่สร้างมหาวิทยาลัย ทรงเน้นว่าดอกสีชมพูเป็นสัญลักษณ์สูงสุดอย่างหนึ่งของจุฬาฯ พระองค์ทรงเห็นว่าจามจุรีที่นำมานั้นโตขึ้น สมควรจะเข้ามหาวิทยาลัยเสียที และสถานที่นี้เหมาะสมที่สุด "จึงขอฝากต้นไม้ไว้ห้าต้นให้เป็นเครื่องเตือนใจตลอดกาล") และคำเรียกติดปากก็คือ ~จามจุรีสีชมพู-จามจุรี...ศรีจุฬาฯ~
18. เครื่องแบบการแต่งกายของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเครื่องแบบแห่งแรกและเพียงแห่งเดียวของประเทศไทยที่ได้รับพระราชทานมาจากองค์พระมหากษัตริย์ และเป็นแห่งแรกที่มีการสวมใส่เครื่องแบบนิสิต(เหมารวมถึงนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาของประเทศไทย)
และนอกจากนี้ เครื่องแบบนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเครื่องแบบของมหาวิทยาลัยเพียงแห่งเดียวของประเทศไทยที่ถูกตราไว้ในพระราชกฤษฎีกา พ.ศ.2498 ดังนั้นการใส่เสื้อที่มีสาบหลังและส่วนพับปลายแขนเสื้อ รวมทั้งเข็มขัดหนังกลับสีนํ้าตาลของนิสิตหญิง//ส่วนนิสิตชาย เสื้อเชิ้ตแขนยาวสีขาว
กางเกงขายาวสีขาว ถุงเท้าสีดำหรือนํ้าตาลเข้ม รองเท้าหุ้มส้นสีดำหรือสีนํ้าตาลเข้ม เข็มขัดหนังสีดำ มีหัวเข็มขัดตราพระเกี้ยวตามแบบของมหาวิทยาลัย เนคไทมีตราพระเกี้ยวตามแบบของมหาวิทยาลัย จึงเป็นเอกสิทธิ์ของนิสิตจุฬาฯ ตามข้อบัญญัติตามกฎหมาย
( เป็นเกียรติเป็นศรีเป็นศักดิ์ - - เป็นเอกลักษณ์งามสง่า - - สวมชุดนิสิตจุฬาฯ - - ประกาศค่าจุฬาลงกรณ์)
19. และจุฬาฯ แทบจะเป็นมหาวิทยาลัยเดียวในไทยที่บังคับให้นิสิตแต่งกายถูกต้องตามระเบียบทุกประการ เพราะถือว่าที่นี่เป็น Original เอามาก ๆ ทำกันมาตั้งแต่ก่อนปีพ.ศ.2459 จนถึงปัจจุบันนี้
พอน้อง ๆ ที่เข้ามาเป็นนิสิตใหม่ พวกรุ่นพี่ก็จะต้องอบรมสั่งสอนเรื่องการแต่งกายแบบเข้มงวดมาก ๆ
โดยเฉพาะน้องปี 1 หญิง-จะบังคับให้ใส่กระโปรงพลีตและรองเท้าหนังสีขาวล้วนเท่านั้น ชาย-ต้องผูกเน็คไทด์ (แต่พวกรุ่นพี่ก็ต้องผูกเน็คไทด์เวลาเข้าสอบ ไม่เช่นนั้นจะถือว่าผิดระเบียบ)
ส่วนพวกรุ่นพี่ก็ต้องคอยดูแล ควบคุมการแต่งกายของทั้งน้องปี 1(และของตัวเอง)
ให้ถูกต้องตามระเบียบอย่างเคร่งครัด (ยิ่งกว่าโรงเรียนมัธยมบางแห่งอีก)
ส่วนผู้ที่แต่งกายผิดระเบียบ เช่น ผู้หญิงเอาเสื้อออกนอกกระโปรง ก็จะถูกสายตาจากบุคคลรอบ ๆ ลงโทษเอง แถมยังมีกฎออกมาอีกว่าถ้านิสิตจุฬาฯแต่งกายผิดระเบียบก็จะโดนตัดคะแนนความประพฤติ
ก่อนครั้งแรก - ตักเตือน
ครั้งแรก 20 คะแนน - พักการเรียน 1 ภาคการศึกษา
ครั้งที่สอง 40 คะแนน - พักการเรียน 2 ภาคการศึกษา
ครั้งที่สาม 60 คะแนน - พักการเรียน 3 ภาคการศึกษา
ครั้งที่สี่ 80 คะแนน - พักการเรียน 4 ภาคการศึกษา
ครั้งที่ห้า ครบ 100 คะแนน - พ้นสภาพนิสิต
* สำหรับน้องปี 1 จะมีการกล่าวตักเตือนก่อนในสองสัปดาห์แรกของเทอมหนึ่ง ถ้าพ้นจากนี้ไปก็จะเริ่มหักคะแนนความประพฤติทันที ถึงแม้ว่าจะกระทำผิดเป็นครั้งแรกและไม่เคยได้รับคำตักเตือนเลยก็ตาม
พวกเราชาวจุฬาฯ ควรจะภาคภูมิใจในเครื่องแบบนิสิตซึ่งพระมหากษัตริย์พระราชทานมาให้และรักษากฎระเบียบเพื่อความเรียบร้อย สวยงามและได้รับคำชื่นชมจากคนรอบข้าง ว่าที่นี่นิสิตมีวินัย ให้เกียรติสถาบัน ดูงามตาน่ามอง (สมกับคำขวัญที่ว่า " แต่งกายสง่างาม สมพระนามจุฬาลงกรณ์ ")
20.พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกที่เกิดขึ้นในไทยก็เกิดขึ้นที่จุฬาฯ
โดยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์พระราชทานให้แก่นิสิตคณะแพทยศาสตร์เป็นที่แรก
21. สมเด็จพระเทพฯ ทรงสำเร็จการศึกษาจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
22. พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ ทรงเข้าศึกษาในคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ในปีการศึกษา2548
23. มิถุนายน 2495-2501 สมเด็จพระพี่นางฯ ทรงเคยเป็นอาจารย์สอนนิสิตคณะอักษรศาสตร์ วิชาวรรณคดีฝรั่งเศสให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 4 และ phone'tiquie สำหรับนิสิตปี 3 และ conversation ให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 2 เมื่อท่านมีภารกิจเยอะขึ้น ท่านก็เลยต้องล้มเลิกการสอนไป (ถ้านิสิตคนไหนอยากดูพระฉายาลักษณ์ตอนที่ท่านเคยสอนนิสิตคณะอักษรศาสตร์ ลองไปดูที่หอประวัติจุฬาฯ ชั้นสองได้ มีรูปและคำบรรยายประกอบด้วย)
24. สมเด็จพระเทพฯ ได้รับการแต่งตั้งพระยศเป็นเจ้าฟ้า ในขณะที่ทรงศึกษาอยู่ที่คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ชั้นปีที่ 2 (สำหรับเรื่องนี้ก็ไปดูที่หอประวัติชั้นสองได้เช่นกัน มีพระฉายาลักษณ์ของท่านที่ติดอยู่กับบัตรห้องสมุดและบัตรประจำตัวนิสิตด้วย มีคำบรรยายประกอบพร้อมสรรพ)
25. จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยแรกที่ใช้คำว่า " นิสิต-นิสิตา"
26.เทวาลัย หอประชุมใหญ่จุฬาฯ เป็นสถาปัตยกรรมที่ผสมผสานทั้งแบบตะวันออกและตะวันตก ผู้ออกแบบเป็นชาวต่างชาติ
27.ศาลาพระเกี้ยว เป็นอัครสถานที่มีความโดดเด่น เป็นแหล่งรวมกิจกรรมทุกอย่าง เป็นที่ตั้งของศูนย์หนังสือจุฬาฯ( ได้รับรางวัล ๑ ใน ๑๐ ร้านค้ายอดเยี่ยมในทศวรรษ...ด้วยนะ....) สหกรณ์ ตลอดจนที่รับประทานอาหาร
คุณสามารถทำกิจกรรมต่างๆนานาได้จากอัครสถานแห่งนี้
28.สระน้ำ จุฬาฯ เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ
29. สนามจุ๊บ (สนามกีฬาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หรือ จารุเสถียร) เป็นที่อยู่ของ CU Band CU Chorus และ ที่ซ้อม ของเชียร์ลีดเดอร์
30. เมื่อถึงวันงานประเพณีต้อนรับน้องใหม่ทุก ๆ ปี นิสิตรุ่นพี่จะนำใบหรือกิ่งจามจุรีเล็ก ๆ มาผูกริบบิ้นสีชมพูคล้องคอให้นิสิตใหม่เพื่อเป็นการต้อนรับเข้าสู่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาณาจักรแห่งจามจุรีสีชมพู
31.การรับน้องใหม่ของจุฬาฯที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในปลายเดือนพฤษภาคม
น้องใหม่ทั้งหลายจะได้รับการคัดสรรเข้าบ้าน

32.ชื่อบ้านรับน้อง ก็จะมีหลากหลาย แต่กว่าครึ่งจะแปลได้สองแง่สองง่าม...
33.ถ้าเฟรชชี่คนไหนพลาดการรับน้องก้าวใหม่ มันยากจริงๆที่จะได้เจอเพื่อนต่างคณะ...
ในทางกลับกันถ้าเข้าร่วมกิจกรรมนี้ ก็จะรู้จักเพื่อนใหม่ต่างคณะเยอะแยะ ...
34.เรื่องรับน้องก้าวใหม่ยังไม่จบ...กิจกรรมที่ทำกันก็จะเน้นการเต้น กิน เต้น และก็เต้น...
เพลงฮิตในการสันทนาการที่เด็กจุฬาฯเต้นเป็นกันทุกคนคือ เพลง"หอยจี้ลี่"
35. จุฬาฯ 2 ฝั่งนะ....อิ อิ งงหละสิ ฝั่งแรกคือฝั่งอนุสาวรีย์สองรัชกาล หน้าหอประชุมใหญ่ เป็นที่รวมของหลายๆคณะ.....
อีกฝั่งคือ ฝั่ง หอกลาง เป็นที่ตั้งของคณะอีก 4 คณะ คือ นิเทศฯ นิติฯ ครุฯ และวิทย์ฯกีฬา
นอกจากนี้ยังมีคณะทันตะ,สัตวะ,เภสัช,สหเวชและจิตวิทยา ที่เป็นคณะหรูอยู่ติดสยามแสควร์
36.เป็นมหาวิทยาลัยเล็กๆ ที่รายล้อมไปด้วยย่านเศรษฐกิจและศูนย์การค้า
37.ผิดกับสมัยก่อนที่อยู่กลางทุ่งพญาไท ไกลมาก ๆ จนนิสิตต้องมาอยู่หอพักเพราะเดินทางไป-กลับไม่สะดวกและอาจไม่ปลอดภัย เป็นที่มาของคำว่า "นิสิต" แปลว่า ผู้อยู่หอ
38.การเดินจากฝั่งคณะวิทยาศาสตร์ไปนิเทศ ไปง่ายๆโดยไม่ต้องขึ้นสะพานลอย แต่จุฬาฯหรูกว่านั้น
มีอุโมงค์เชื่อมสองฟากถนนด้วย...
39. หอกลาง ไว้นอนหลับ อ่านหนังสือ เล่นเน็ท ดูหนัง ฟังเพลง MSN และจะกลายเป็นตลาดนัดในช่วง Midterm กับ Final
40.โรงอาหารที่ขึ้นชื่อในความอร่อยคงเป็น โรงอาหารคณะรัฐศาสตร์ ซึ่งถือว่ามีเมนูหลักจากร้านก๋วยเตี๋ยวอดทน
ด้านโรงอาหารคณะอักษรฯคงไม่แพ้กัน งัดเมนูเด็ดๆ..ทั้งนั้น คณะวิศวะ มีความหลากหลายในอาหาร หนุ่มๆหล่อเพียบ
โรงอาหารบัญชี&เศรษฐศาสตร์ อยู่ที่ตึกใหม่ สีขาว โปร่งโล่งสบาย ลมเย็นมาก ๆ ด้วย แต่พอฝนตกทีก็
โรงอาหารคณะทันตะ แหล่งรวมอาหารอร่อยๆ...มากมายเช่นกัน ฝั่งครุฯก็ไม่ยอมแพ้มีเครื่องดื่มขึ้นชื่อคือ โอเรโอ้ปั่นใส่วีฟครีม ...
( ข้าวเหนียวไก่ย่าง อักษรฯ น้ำปั่น ครุฯ ไอติม บัญชี )
41.กว่าร้อยละ 60 ของนิสิตจุฬาฯ ต้องเคยกินเวเฟอร์ ที่สหกรณ์จุฬาฯ ศาลาพระเกี้ยว...
เพราะกลิ่นที่ชวนไปลิ้มลองแน่ๆเลย...
42.หนุ่มที่สาวคณะต่างๆหมายปองมักจะอยู่ฝั่งในเมือง เช่น สถาปัตย์ วิดวะ หรือแม้กระทั่งหนุ่มๆสิงห์ดำ(รัฐศาสตร์)...
43.สาวๆก็ไม่แพ้กัน สาวสวยที่ขึ้นชื่อในจุฬาฯ ก็ต้องยกให้อักษรฯ รัดสาด บัญชี...ทั้ง สวย รวย เก่ง...อืม!
44. มีเรื่องเล่าขานว่า ถ้าผู้หญิงคนไหนเดินสะดุดลานเกียร์ จะได้แฟนเป็นเด็กวิศวะ (ต้องรีบไปซะแล้ว!!)
45.สถานที่ที่เหมาะแก่การไปนั่งสวีทกัน คือ หอกลาง(อาคารมหาธีรราชานุสรณ์:หอสมุดกลาง) ด้วยวิวที่ดูเป็นเมืองนอกมาก
มีวิว ตึกหอพักหญิงสีน้ำตาล ยิ่งดูยิ่งโรแมนติก...
46. หอพักนิสิตจุฬาฯ มี 5 หอ คือ จำปี พุดตาล พุดซ้อน เฟื่องฟ้า ชวนชม ++++ หอนอก หอพักพวงชมพู ยูเซ็นเตอร์ แอบไฮโซ
47.เด็ก self จัดในจุฬาฯ ต้องยกให้ นิเทศฯ ศิลปกรรมฯ(สินกำ)...แรงมากๆ...ขอบอก
สาวสวย - - อักษรฯ บัญชี
-
-
สาวหรู ไฮโซ - - รัดสาด
-
-
สาวเปรี้ยว - - นิเทศ
-
-
สาวแรง - - สินกำ
-
-
สาวห้าว - - วิดวะ
-
-
สาวดุ - - ครุ
-
-
สาวเคร่ง - - นิติ
48.คนภายนอกชอบมองว่าเด็กจุฬาฯเป็นพวกเหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ แต่จริงๆควรมองเด็กจุฬาฯจากภายในและความสามารถมากกว่า
49.คู่รักคู่แค้นของเด็กจุฬาฯคือ เด็กธรรมศาสตร์ งานบอลแต่ละครั้ง ต้องประชันกันให้เหนือกว่ากัน ซึ่งค่าใช้จ่ายจากงานบอล
แต่ละครั้ง สามารถซื้อบ้านหรูๆได้มากกว่า 3 หลัง....
50.เพลง เดินจุฬาฯ เป็นเพลงปลุกใจให้ฮึกเหิม ในการต่อสู้ที่ดีที่สุด อ้าว....เดิน เดิน เถอะรา นิสิต มหาจุฬาลงกรณ์.....
51.บูม Baka เป็นบูมที่ไม่เคยมีใครให้เหตุผลได้ว่า ทำไมต้อง baka ทำไมต้อง bow bow....
52.โรงเรียนเตรียมอุดมฯ แต่ก่อนผู้ที่จะเข้าจุฬาฯต้องมาศึกษา ณ ที่นี่ แต่ก่อนชื่อว่า โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และโรงเรียนเตรียมฯ ยังใช้ตราสัญลักษณ์พระเกี้ยว(น้อย)-ต้นจามจุรี- สีชมพู-การบูม Baka เป็นสัญลักษณ์ของสถาบันเหมือน ๆ กับชาวจุฬาฯ อีกด้วย
53. อุเทนถวาย อยู่กับเรามานานแล้ว หุหุ
54. สยาม สามย่าน มาบุญครอง สถานที่พักผ่อนหย่อนใจ หุหุ
55. สถาบันภาษา ไว้สอบ FE หุหุ
56. เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 8 ในเอเชีย อันดับที่ 60 ของโลกในด้านการแพทย์
57. เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 46 ของโลกในด้านสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ (รัฐศาสตร์,นิติศาสตร์,เศรษฐศาสตร์,อักษรศาสตร์)
58. เป็นมหาวิทยาลัยอันดับที่ 50 ของโลกในสายมนุษยศาสตร์ (คณะอักษรศาสตร์และครุศาสตร์)
59.คะแนนในการสอบเข้ามหาวิทยาลัย จุฬาฯมีคะแนนนำมาตลอดทุกคณะ/สาขาวิชา...และที่นี่เปรียบเสมือนที่รวมหัวกะทิของประเทศ
60.กว่าร้อยละ 70 ของเด็กมัธยม กำลังกวดวิชาเพื่อความหวังในการเข้าศึกษาในสถาบันแห่งนี้...
61.จุฬาฯเป็นแหล่งรวมความหวังของเด็กมัธยมทั่วประเทศ...
62.การเรียนในจุฬาฯ หนักยิ่งกว่าการเอ็นทรานซ์เท่าตัว
63. ในปีการศึกษา 2548ไม่เคยมีคะแนนตํ่าสุดที่สูงมากเป็นประวัติศาสตร์ขนาดนี้ คือ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ เอกภาษาญี่ปุ่น มีคะแนนตํ่าสุดที่สูงที่สุดในประเทศในการสอบ 4 วิชาแบบสายศิลป์ (ไทย,eng,สังคม,ภาษาต่างประเทศที่สองหรือเลข 2) คือ 351คะแนน จาก 444.44 และรองลงมาคือ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ภาคIR คือ 330 คะแนน จาก 444.44 คะแนน
64. มหาจุฬาลงกรณ์ เพลงพระราชนิพนธ์ประจำมหาวิทยาลัย แต่ก่อนเคยใช้เป็นเพลงมหาฤกษ์
65.มีเพลงหนึ่งที่บอกเล่าการใช้ชีวิตในจุฬาฯ คือ เพลงจามจุรีศรีจุฬาฯ...ตอนช่วงสุดท้ายของเพลงถือเสมือนการเตือน เรื่องการเรียนที่ฟังแล้วซึ้งจริงๆ
66. สถานีรถไฟใต้ดินที่สามย่าน เขียนว่า
" สิ่งปลูกสร้างนี้ตั้งอยู่บนพิ้นที่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย "
67. รถป๊อป 55++ จอดหน้าศาลาพระเกี้ยว
68. ที่จุฬาฯ สามารถใช้พาหนะได้หลายอย่างและสะดวก คือ BTS,MRT,รถป็อป,รถยนต์,เฮลิคอปเตอร์(สภากาชาด)< - - - แต่อันนี้คงไม่สะดวกมั้ง และเรือ (ที่สะพานหัวช้าง)
69. ว่างๆก็ไปบริจาคเลือดที่สภากาชาดนะ
70. ภาพยนตร์เรื่อง "มหา'ลัย เหมืองแร่" เกี่ยวข้องและเกิดขึ้นกับอดีตนิสิตวิศวะ จุฬาฯ โดยตรงในปีพ.ศ. 2492 พร้อมประโยคหนึ่งที่มาพร้อมกับเรื่องนี้ "เลือดสีชมพูไม่มีวันจาง แต่สีชมพูจะจางด้วยนํ้าลาย"/ "จุฬาฯ ไม่ต้องการผม "
71.++++ จีฉ่อย ++++ มีทุกสิ่งในโลก หุหุ อยากได้ไรมาร้านนี้ 555++
72. ที่ร้านสเต็กสามย่านที่ใช้โต๊ะเหล็ก เขียนตัวนูนบนโต๊ะว่า "จุฬาฯ"
73.รู้ไหมว่าในจุฬาฯ(ฝั่งในเมือง)มีถนนมีชื่อNickName อยู่สองสาย คือ Art Street = ตั้งแต่คณะสถาปัตย์มาศิลปกรรมจนถึงอักษรฯ (เกี่ยวกับศิลป์) ส่วนอีกถนนหนึ่งก็คือ Hi-So Street = ตั้งแต่รัฐศาสตร์ไปถึงเศรษฐศาสตร์ไปสุดที่คณะบัญชีไง ส่วนสามแยกปากห-ม-า ก็ต้องที่วิศวะเท่านั้น !!!!!
74. ถ้าจะนับเวลาที่จุฬาฯ เกิดขึ้นจริง ๆ แล้ว โดยที่ไม่นับรวมว่าใช้ชื่อสถาบันว่าอะไรก็ตั้งแต่ปีพ.ศ.2442
ในขณะนั้นยังใช้ชื่อว่า "สำนักวิชาฝึกหัดข้าราชการฝ่ายพลเรือน" (ร้อยกว่าปีผ่านมา.....)
75. คณะก่อตั้งจุฬาฯ 4 คณะแรกคือ วิดวะ (เก่าแก่สุด) ,รัฐศาสตร์,อักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์,แพทย์
76.เหมารวมถึงคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อก่อน - โรงเรียนรัฏฐประศาสนศาสตร์ตั้งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง
คณะครุศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อก่อน - โรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ตั้งอยู่ที่บ้านสมเด็จเจ้าพระยา พ.ศ.2435
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อก่อน - โรงเรียนราชแพทยาลัยตั้งอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราช
คณะนิติศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อก่อน - โรงเรียนเนติศึกษาตั้งอยู่ ณ อาคารห้างแบดแมนเดิม (ต่อมาเป็นกรมประชาสัมพันธ์)ที่เชิงสะพานผ่านพิภพลีลา
คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ เมื่อก่อน - โรงเรียนยันตรศึกษา อาคารที่ตั้งวังใหม่ หรือวังกลางทุ่งหรือวังวินด์เซอร์ (เคยเป็นวังของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศสยามบรมราชกุมาร)
77. นอกจากนี้คณะรัฐศาสตร์มีเค้ากำเนิดมาตั้งแต่โรงเรียนฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือนพ.ศ. 2442 (ร.ศ.118 )ซึ่งต่อมาเปลี่ยนเป็นโรงเรียนมหาดเล็กในสมัยรัชกาลที่ 5และได้ยกเป็นโรงเรียนข้าราชการพลเรือนในสมัยรัชกาลที่ 6 จนกระทั่งเป็น 1 ใน 4 คณะแรกของจุฬาฯ โดยใช้ชื่อว่า "รัฏฐประศาสนศาสตร์" ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นคณะนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์ในปี พ.ศ.2476 ต่อมารัฐบาลได้ให้คณะดังกล่าวไปขึ้นต่อมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง ซึ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ (ก็คือว่า รัฐศาสตร์ จุฬาฯก็โดนยุบไปชั่วคราวครั้นเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ.2491 ได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ขึ้นใหม่อีกครั้งหนึ่ง)และคณะเศรษฐศาสตร์ก็เคยเป็นแผนกหนึ่งในคณะรัฐศาสตร์มาก่อนที่จะจัดตั้งเป็นคณะด้วย
78.คณะครุศาสตร์ มีเค้ากำเนิดมาจากโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ตั้งแต่ พ.ศ.2435 ต่อมาได้พัฒนาเป็นส่วนหนึ่งของโรงเรียนข้าราชการพลเรือน เป็นแผนกวิชาหนึ่งในคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ พร้อมกับการสถาปนาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
79. เมื่อก่อน ศิริราช คือ คณะแพทย์ของจุฬาฯ ต่อมาเมื่อมีการตั้งมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ คณะแพทย์ เภสัช ทันตะ ก็ไปสังกัดมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ จึงเป็นการสิ้นสุดคณะแพทย์ที่สังกัดจุฬา ต่อมา รัชกาลที่ 8 ทรงพระราชดำริสมควรมีคณะแพทย์แห่งใหม่ จึงเลือกตั้ง คณะแพทย์ ร.พ.จุฬาลงกรณ์ ดังนั้น คณะแพทย์ ที่สังกัดจุฬาจึงกำเนิดขึ้นอีกครั้ง(พ.ศ.2490)และนับเป็นรุ่นที่ 1(พ.ศ.2496) ตั้งแต่นั้นมา
80. จะเห็นได้ว่าชาวคณะรัฐศาสตร์กับนิติศาสตร์ จุฬาฯ มีความผูกพันกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
แต่ชาวคณะแพทยศาสตร์/ทันตะ/เภสัช จุฬาฯ จะมีความผูกพันกับมหาวิทยาลัยมหิดล
81.คำว่า SOTUS มีมานานประมาณปี2462 โดยนิสิตจุฬาฯรุ่นนั้นสรรหาคำที่มีความหมายลึกซึ้ง มาประกอบกันเป็นคำว่า SOTUS
82. คณะรัฐศาสตร์หรือชาวสิงห์ดำของพวกเราเป็นคณะเดียวในจุฬาฯ ที่ไม่ใช้คำว่า"Boom" แต่พวกเขาใช้คำว่า "ประกาศนาม" แทน >>>>> นี่....นัก..รัฐศาสตร์
83. ในอินเตอร์เนต หลาย ๆ คนชอบใช้ ฬ เรียกสั้น ๆ แทนจุฬาฯ ...สั้น ๆ แต่ได้ใจความ
84. นิสิตจุฬาฯ มีบัตรประจำตัวนิสิตเป็น ATM กับธนาคารไทยพาณิชย์ แต่ถ้ามีปัญหาเช่นเครื่องกินบัตรเข้าไปก็ต้องไปติดต่อที่สาขาสภากาชาดไทย(ตรงข้ามคณะรัฐศาสตร์)
85. ของที่ขายในสหกรณ์ ศาลาพระเกี้ยว ราคาถูกมาก ๆ มากกว่าใน super market-seven eleven
หรือที่ขายตามท้องตลาดทั่วไป ยิ่งเป็นนิสิตเอง ยิ่งลดเข้าไปใหญ่
86. จุฬาฯ มีรายได้จากสามย่าน- Siam Square- มาบุญครอง-โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา-อุเทนถวาย คาดว่าสำนักงานทรัพย์สินแห่งจุฬาฯ คงดูแลอยู่ (ไม่แน่ใจว่ารวมถึงสาธิตฯ จุฬาฯ กับสาธิตฯ ปทุมวัน-สภากาชาดหรือเปล่า) (ทางรัฐบาลจึงไม่ค่อยให้งบ ฯ แก่จุฬาฯ เท่าไร ข้ออ้างคือ จุฬาฯ มีรายได้มากแล้ว แต่ก็ไม่มีกฎบัญญัติข้อไหนบอกว่าถ้ามีรายได้มากแต่จะได้งบฯน้อย และมาบัดนี้ทางจุฬาฯ ยืนกรานปฏิเสธแอดมิชชั่นในปี 2549 เข้าไปอีก เลยโดนขู่จะตัดงบฯ ท่านรองอธิการบดีท่านหนึ่งเลยกล่าวกลับไปว่า "ทางจุฬาฯ เองก็ไม่ค่อยได้รับงบเต็มเม็ดเต็มหน่วยมานานแล้ว ถ้ามาบัดนี้ จะไม่ได้เลย ก็ไม่ได้ทำให้จุฬาฯ เดือดร้อน ถ้าจุฬาฯคิดจะหาเงินทำนาบนหลังคน ขูดรีดผู้เช่าที่จริง ๆ ล่ะก็ หาได้มากกว่าที่พวกคุณหาเอาไปให้มหาวิทยาลัยทั่วประเทศรวมกันด้วยซํ้าไป") < - - - แสบไหมล่ะ คงฉุนจัดอ่ะ คงอึดอัดอยากพูดมานานแล้วไง ทั้งห้องประชุมสภาอธิการบดีจะได้รู้ ๆ กันไปเลย ทางดร.ภาวิชเองก็ว่าจุฬาฯ ว่าเรื่องมากอยู่ที่เดียว ที่อื่นไม่เห็นมีปัญหา จุฬาฯ ไม่รับผิดชอบต่อสังคม หาสปิริตพี่พระเกี้ยวไม่เจอ(เราอ่านจากmanager.co.th) แต่เราคิดว่าที่อื่น ๆ เขาก็คงไม่อยากได้แอดมิชชั่นหรอก แต่เขาไม่มีอำนาจต่อรองพอ ถ้าทำแบบจุฬาฯ มีหวังได้โดนตัดงบฯ หรือโดนกีดกันต่าง ๆ นานา
~*~ขออธิบายต่อนะ เพื่อกันความเข้าใจผิดกัน ผู้เช่าที่สยามสแควร์ที่ถูกเก็บเงิน ถูกเก็บจากผู้ที่เซ้งที่จากจุฬาฯ อีกทีหนึ่ง(หรืออาจจะเช่าช่วงเป็นสิบ ๆ ทอด) จุฬาฯ ไม่ใช่ผู้เก็บค่าเช่าโดยตรง
87. บัตรจอดรถสยามสแควร์มีตราองค์พระเกี้ยวอยู่บนบัตรด้วย แสดงถึงความเป็นเจ้าของที่ดิน
88. แทบจะไม่มีนิสิตจุฬาฯ คนใดที่จำเลขประจำตัวนิสิตไม่ได้และการลืมบัตรประจำตัวนิสิตในวันหนึ่ง ๆ เหมือนกับว่าเราแทบจะหมดสิทธิ์ทำอะไรหลาย ๆ อย่างไปเลย (แอบเห็นเด็กจุฬาฯ หลายคนแล้วนะที่พอจะเข้า BTS,MRT แต่สอดบัตรผิด ใช้บัตรนิสิตสอดเข้าไป ต่อไปคงต้องขอทางกรมขนส่งให้เด็กจุฬาฯ ใช้บัตรนิสิตแทนบัตรรถไฟฟ้าแล้วล่ะมั้ง !!!)
89. BTS สถานีสยาม-สนามกีฬาฯ เป็นสถานีที่ชาวจุฬาฯ ใช้ขึ้นและลงบ่อยที่สุด แต่สถานีศาลาแดงเป็นสถานีที่ชาวคณะแพทย์ใช้บ่อยที่สุด ส่วน MRT ก็คงหนีไม่พ้นสถานีสามย่านกับสถานีสีลม
90. วงเวียนชีวิตของชาวจุฬาฯ ช่วงเช้าคือลง BTS (ส่วนมาก)ที่สยามและลงมาขึ้นรถป๊อปตรงหน้าร้าน Dunkin' Donuts ตอนช่วงเย็นก็สลับกันขึ้นรถป๊อปก่อนแล้วค่อยมาขึ้น BTS
91. จุฬาฯ มีทุนเล่าเรียนฟรีแบบไม่ต้องใช้ทุนคืนด้วยนะ เพราะจุฬาฯ พยายามที่จะไม่ให้นิสิตไม่ได้เล่าเรียนเนื่องจากปัญหาทางทุนทรัพย์ ....แบบนี้ล่ะ สมกับเป็นสถาบันชั้นนำร่วมรับผิดชอบต่อสังคม
92. และนอกจากทุนเล่าเรียนฟรีแล้ว ยังมีอาหารกลางวันฟรีให้นิสิตทุกคนได้ทานฟรี ๆ ด้วย
93. ทางจุฬาฯ ยังมีสถานีวิทยุของจุฬาฯ เองอีกด้วย คลื่น 101.5 FM
94. บุตร-ธิดา ของท่านนายกฯทักษิณ ชินวัตร นายกฯคนปัจจุบัน เคยเรียนที่จุฬาฯ (รู้สึกจะเป็นคณะหนุ่มหล่อ วิศวะนั่นเอง) คือ พานทองแท้ ส่วนที่กำลังศึกษาอยู่ก็คือ แพทองธาร เรียนอยู่คณะรัฐศาสตร์ ภาคสังคมฯ
95. จุฬาฯ ทำดินสอไม้ยี่ห้อ จุฬาฯ เองแล้วนะ นอกจากนี้ยังมีกระเป๋าหลายรูปแบบหลายสี สมุด เสื้อ หมวก ร่ม ผ้าขนหนู กรอบรูป แฟ้ม นํ้าดื่ม ที่ทับกระดาษ ฯลฯ ที่เป็นตราจุฬาฯ
96. จุฬาฯ มีศูนย์พิมพ์หนังสือเป็นของตัวเองอีกด้วย
97. ศูนย์หนังสือ จุฬาฯ ยังได้มีการร่วมกับมหาวิทยาลัยต่าง ๆ จัดตั้งศูนย์หนังสือขึ้นมาร่วมกันด้วยทั้งในต่างจังหวัดและกรุงเทพฯ
98. ถ้านิสิตคนไหนรู้สึกเบื่อหน่าย ท้อแท้ ผิดหวังในเรื่องต่าง ๆ ทั้งการเรียนและความรักปัญหารอบตัว สามารถโทรไปปรึกษาได้ที่สำนักงานนิสิตสัมพันธ์ หรือไปพบที่อาคารจุลจักรพงษ์ชั้น 2 จันทร์-ศุกร์ตั้งแต่ 8 โมงถึง4 โมงเย็นได้โดยอาจารย์ทางด้านจิตวิทยาและจิตแพทย์
99. รู้ไหมว่า post-it ของ 3M อดีตนิสิตวิศวะ จุฬาฯ ภาคเคมี เขาได้เข้าทำงานอยู่ที่ 3M เขาเป็นคนคิดค้นpost-itได้โดยบังเอิญในขณะคิดค้นกาวชนิดหนึ่งอยู่ เขาเลยรวยเละไปเลย (แต่ที่รวยกว่าคือ 3M 5555++)
100. Life is local and global. คำนี้คุ้น ๆ ไหม ? อยู่ตรงที่บัญชีกำลังดำเนินการสร้าง ทั้งกว้างทั้งสูงใหญ่มาก ๆ เสร็จออกมาคงสวยน่าดู (นี่ล่ะ...มีเงินมีทุน ทำอะไรก็ดีไปหม๊ดดดดดด)
101. จุฬาฯ เป็นสถาบันที่มีกิจกรรมหลากหลายให้ทำเยอะแยะมากมาย เช่น งานฟุตบอลประเพณี-งานลอยกระทง-งานจุฬาฯวิชาการ-กิจกรรมห้องเชียร์สัมพันธ์-ประกวดพานไหว้ครู- กีฬาFreshy-ช่วยกันแต่งซุ้มรับพี่ ๆ บัณฑิต-สิงห์ดำ สิงห์แดง สัมพันธ์-กีฬา 5 หมอ-กีฬา 5 เภสัช-กีฬา 5 เกียร์-สิงห์สัมพันธ์-กีฬา 5 สิงห์-งานวัดรัฐศาสตร์แฟร์-กีฬามหาวิทยาลัย-กีฬาสี(sport day) ฯลฯ
102. สมัยก่อน รู้หรือไม่ว่า นิสิตชายคณะรัฐศาสตร์และวิศวะไม่ถูกกัน ถึงขนาดยกพวกตีกันในวันไหว้ครูในปีพ.ศ.2504 รัฐศาสตร์เสียเปรียบตรงกำลังคนน้อยกว่า 4 ต่อ 1 จนร้อนไปถึงจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกฯในสมัยนั้นต้องออกมาไกล่เกลี่ยด้วยตัวเอง มีคนว่ากันว่า วิศวะชนะด้านยุทธวิธี แต่รัฐศาสตร์ชนะด้านยุทธศาสตร์
103. - จีบด้านหลังของเสื้อนิสิตหญิง เป็นสัญลักษณ์แทนสไบ(สะ-ไบ) แปลว่า ผ้าแถบ,ผ้าห่มผู้หญิง
- ส่วนที่ตลบกลับตรงท้องแขนของเสื้อนิสิตหญิง เป็นสัญลักษณ์แทนพาหุรัด แปลว่า เครื่องประดับ,กำไลแขน,ทองต้นแขน ซึ่งเป็นเครื่องประดับชั้นสูง
104. เกียรติประวัติของจุฬาฯ ริเริ่ม สร้างสรรค์และได้รับการยอมรับนับถือคือ
- วันที่ 24 เม.ย. 2472 จุฬาฯ ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลไทยให้เป็นเจ้าภาพ"จัดการประชุมนานาชาติเกี่ยวกับสมุทรศาสตร์ที่ศาลาวิทยาศาสตร์"(ตึกขาว-ผู้เขียน)คณะวิทยาศาสตร์ นับเป็นครั้งแรกที่มีการประชุมระดับโลกจัดที่เอเชีย
- พฤษภาคม 2470 จุฬาฯ รับนิสิตหญิงจำนวน 7 คน เข้าเรียนสาขาแพทยศาสตร์(เตรียมแพทยศาสตร์-ผู้เขียน) ในคณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์ "นับเป็นครั้งแรกของเมืองไทยที่จัดสหศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา(รับผู้หญิงเข้าศึกษา)"
- พ.ศ.2492 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชพระมหากรุณาธิคุณ"โปรดเกล้าฯ พระราชทานเพลงมหาจุฬาลงกรณ์เป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัย" นับเป็นสถาบันอุดมศึกษาแรกที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณเช่นนี้" พระราชทานทำนองแบบ Pentatonic Scale และโปรดเกล้าฯ ให้ใส่คำร้องเอง ภายหลังท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา และนายสุภร ผลชีวิน ได้ประพันธ์คำร้องขึ้นถวาย ต่อมาได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นายเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล ดัดแปลงเพลงมหาจุฬาลงกรณ์เป็นเพลงโหมโรงจุฬาลงกรณ์" ขึ้น เพื่อให้นิสิตใช้บรรเลงในการแสดงดนตรีไทย นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณพิเศษซึ่งได้พระราชทานเพลงประจำมหาวิทยาลัยรวม 2 เพลงซึ่งเป็นเพลงมหาจุฬาลงกรณ์ ทำนองสากล และเพลงโหมโรงมหาจุฬาลงกรณ์
- พ.ศ.2494 รัฐบาลได้มอบให้จุฬาฯ เป็นเจ้าภาพการจัดประชุม UNESCO ขึ้นที่ตึกอักษรศาสตร์ 1หรือเทวาลัยหรืออาคารมหาจุฬาลงกรณ์ในปัจจุบัน นับเป็นครั้งแรกในเมืองไทยที่มีการจัดประชุม UNESCO
- 14 ก.พ. 2529 จุฬาฯ ได้จัดตั้งสำนักบริหารวิชาการขึ้นเพื่อเป็นศูนย์กลางของการเผยแพร่ผลงานวิจัยและการประดิษฐ์ผลงานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของคณาจารย์และนิสิต เพื่อให้โรงงานอุตสาหกรรมหรือหน่วยงานภาคเอกชนนำไปใช้เชิงอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์ เป็นสถาบันแรกของไทยที่จัดบริการดังกล่าวได้
- 27 มี.ค. 2529 จุฬาฯ ได้จัดตั้งโครงการพิเศษหรือรับนักเรียนผู้มีความสามารถดีเด่นทางกีฬาเข้าศึกษาในจุฬาฯ เป็นสถาบันอุดมศึกษาแรกที่จัดบริการขยายโอกาสทางการศึกษาแก่ผู้มีความสามารถพิเศษ
- 28 ก.ย. 2529 คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประสบความสำเร็จในการฝังตัวอ่อนในวัวนมและสุกรเป็นครั้งแรกของการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านการพัฒนาปศุสัตว์ในเอเชียอาคเนย์
- 2 เม.ย. 2530 จุฬาฯ รับนักเรียนผู้มีความสามารถดีเด่นทางศิลปะเข้าศึกษาในคณะศิลปกรรมศาสตร์และคณะครุศาสตร์ เพื่อขยายโอกาส รวมทั้งเป็นการส่งเสริมและพัฒนานักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษเข้าศึกษาเพื่อเพิ่มศิลปินในอนาคต
- 2 ส.ค. 2530 จุฬาฯ จัดตั้งสำนักงานทรัพย์สินทางปัญญาเพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของคณาจารย์และนิสิตผู้ประดิษฐ์ผลงานค้นคว้าวิจัย นับเป็นสถาบันแรกที่คุ้มครองสิทธิประโยชน์ของการประดิษฐ์คิดค้นผลงานอันเป็นสิทธิบัตรของชาวจุฬาฯ ได้
- 15 ส.ค. 2530 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประสบความสำเร็จในการทำให้เด็กปฏิสนธิในหลอดแก้วได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในเมืองไทย
- 21 ธ.ค. 2530 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
- ธันวาคม 2531 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนตับเป็นครั้งแรกในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
- 29 ก.ค. 2534 คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ จัดตั้งพิพิธภัณฑ์เทคโนโลยีถ่ายภาพและการพิมพ์เป็นแห่งแรกของเอเชีย
- 27 ก.ค. 2535 จุฬาฯ ได้จัดและใช้ระบบ internet เป็นแห่งแรกในประเทศไทย(ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาคไฟฟ้า)
- 1 ต.ค. 2542 จุฬาฯ ได้จัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติขึ้นที่คณะวิทยาศาสตร์เป็นแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย
- พ.ศ. 2543 คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ประสบความสำเร็จในการช่วยให้เกิดการปฏิสนธิของเด็กนอกครรภ์มารดาเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
- คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯเป็นแห่งแรกที่ผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจ ปอด ตับ และทดลองเด็กหลอดแก้วได้สำเร็จเป็นแห่งแรกของเอเชีย
- 20 ต.ค. 2543 มูลนิธิสนทนาธรรมนำสุขของท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาคในพระสังฆราชูปถัมภ์ มอบพระไตรปิฎกจำนวนมากให้จุฬาฯ "จัดตั้งคลังพระไตรปิฎกนานาชาติ"
- เมษายน 2548 นิตยสารไทม์ได้เสนอผลการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก 100 แห่งคือ จุฬาฯ อยู่ในอันดับที่ 60 ด้านการแพทยศาสตร์และวิทยาศาสตร์การแพทย์ อยู่ในอันดับที่ 46 และ 50 ในสายสังคมศาสตร์และสายศิลปะและมนุษยศาสตร์
- พ.ศ. 2548 นิสิตแพทย์ จุฬาฯ พิชิตรางวัลชนะเลิศ การแข่งขันโครงการวิจัยของนิสิตนักศึกษาแพทย์ในเอเชีย จากการศึกษาตรวจหาเชื้อไวรัสไข้เลือดออกในยุงลายในฤดูแล้งก่อนที่โรคไข้เลือดออกจะระบาด รวมทั้งใช้เป็นดัชนีชี้วัดเบื้องต้นถึงปริมาณเชื้อไข้เลือดออกในยุงสำหรับการควบคุมก่อนที่ยุงลายจะแพร่เชื้อ
- กรกฎาคม 2548 สถาบันวิจัยวัสดุและโลหะแห่งจุฬาฯ เสนอเสื้อนาโนดับกลิ่นกายได้ตัวแรกของไทย
** ทั้งหมดนี้เป็นเพียงข้อมูลบางส่วนเท่านั้น ไม่ได้ครอบคลุมทุกเรื่องทุกอย่างที่มี ขออภัยมา ณ ที่นี่ด้วย **
105. จุฬาฯ เป็นสถาบันเดียวที่มีสมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์ 4 พระองค์ ได้แก่
- 4 ตุลาคม 2461สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ กรมขุนเพ็ชรบูรณ์อินทราชัย เสด็จมารับราชการที่จุฬาฯ นับเป็นเจ้าฟ้าอาจารย์พระองค์แรกของจุฬาฯ ในครั้งนั้นท่านทรงสอนวิชาภาษาอังกฤษที่คณะรัฏฐประศาสนศาสตร์
- พ.ศ. 2467-2468 สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ทรงสอนวิชา vertebrate anatomy แก่นิสิตคณะแพทยศาสตร์ ทรงริเริ่มและสอนวิชาอารยธรรมและประวัติศาสตร์แก่นิสิตทุกคณะที่ลงทะเบียน ทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์องค์ที่สอง
- มิถุนายน 2495-2501 สมเด็จพระพี่นางฯ ทรงเคยเป็นอาจารย์สอนนิสิตคณะอักษรศาสตร์ วิชาวรรณคดีฝรั่งเศสให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 4 และ phone'tiquie สำหรับนิสิตปี 3 และ conversation ให้แก่นิสิตชั้นปีที่ 2 เมื่อท่านมีภารกิจเยอะขึ้น ท่านก็เลยต้องล้มเลิกการสอนไป ท่านทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์องค์ที่สาม
- พ.ศ. 2522 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสอนวิชาอารยธรรมแก่นิสิตที่ลงทะเบียนเรียนตามโครงการการศึกษาทั่วไป ทรงเป็นสมเด็จเจ้าฟ้าอาจารย์องค์ที่สี่
106. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บัญญัติว่า พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระบรมราชูปถัมภกแห่งโรงเรียนข้าราชการพลเรือนฯ และเป็นพระราชปฏิบัติว่าพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีเป็นพระบรมราชูปถัมภกของสถาบันนี้ตลอดมาจนถึงปัจจุบันและตลอดไป (ด้วยเหตุนี้มหาวิทยาลัยแรกแห่งกรุงสยามได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบรมราชูปถัมภกแห่งจุฬาฯ ตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน 5 พระองค์)
107. ตึกเรียนคณะศิลปกรรมศาสตร์ มีตุ๊กแก(ตัวใหญ่มากกกกก)ถูกสตัฟฟ์ไว้ แล้วถูกเอาไปแปะไว้มุมบนขวาของตึก
108. เขาว่ากันว่า จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับงบฯ น้อยที่สุดในประเทศไทย
109. ปราสาทแดง หรือ ตึกแฝดที่สร้างเลียนแบบให้เหมือนกัน(สร้างตั้งแต่เริ่มก่อตั้งจุฬาฯ เชียวนะ) ถึงแม้จะเป็นแฝด แต่ก็มีอะไรที่แตกต่างกันคือ ปูนที่อยู่ที่อิฐแต่ละก้อน ตึก1จะแบบเว้าเข้า ตึก2จะนูนออก ของเจ๋ง ๆ แบบนี้ไปชมได้ที่คณะหนุ่มหล่อ พ่อรวยแถมฉลาดเป็นกรด - - - >>>วิศวะเท่านั้น
110. ตึกที่สูงที่สุดในจุฬาฯ คือ ตึกมหามกุฎ หรือที่เรียกติดปาก sci26 ที่คณะวิทยาศาสตร์
111. อาคารหลังแรกของจุฬาฯ หนีไม่พ้นตึกอักษรศาสตร์1 ศิลปะงดงามแบบตะวันออกผสมตะวันตก ถูกสร้างในสมัยรัชกาลที่ 6
112. และอย่าถ่ายรูปคู่กับพญานาคตรงหัวบันไดที่คณะอักษร(ยกเว้นพี่บัณฑิต) และอย่าขึ้นไปบนสี่เสาเทวาลัยเชียว เพราะมีเรื่องเล่าว่าจะทำให้เรียนไม่จบ
113. เขาว่ากันว่าถ้าคู่รักมาลอยกระทงที่จุฬาฯ แล้วจะมีอันเลิกรากัน (จึงนิยมไปลอยที่โรงเรียนเตรียมฯ แทน) แต่ถ้าเป็นเพื่อนกันมาลอยด้วยกันก็จะเป็นแฟนกัน
114. พระยาอุปกิตศิลปสาร เป็นอาจารย์สอนคณะอักษรศาสตร์ และได้สร้างกฎไว้ว่า ก่อนที่ท่านจะเข้ามาสอน-หลังจากสอนเสร็จ-พบกันในเวลาอื่น ๆ ให้นิสิตทุกคนไหว้ท่าน เพื่อเป็นการเคารพผู้เป็นอาจารย์ที่ให้วิชาแก่ตน และแสดงความนอบน้อมต่อผู้อาวุโสกว่า ซึ่งเป็นคณะแรกที่สอนแบบนี้
115. จุฬาฯ เป็นมหาวิทยาลัยเดียวในประเทศไทยที่เวลามีเสด็จฯ ต้องมีการตั้งซองรับเสด็จ นิสิตหญิง-ชาย นั่งพับเพียบกับพื้นถนนและก้มกราบบนพื้นเวลามีรถยนต์พระที่นั่งผ่าน
116. และสาเหตุของการตั้งซองรับเสด็จฯ เกิดจาก <<"เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในวันศุกร์ ที่ 20 กันยายน 2506 ณ 15.00น. ยังจารึกอยู่ในความทรงจำผู้ที่เกี่ยวข้อง หรือทราบเรื่องราวโดยตลอด โดยเฉพาะคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ขณะที่รถยนต์พระที่นั่ง แล่นออกจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน จะเลี้ยวซ้ายไปตามถนนพระราม 5 มีนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์กลุ่มหนึ่งเรียงรายรอเฝ้ารับเสด็จอยู่ ได้คุกเข่าลงและเข้าหมอบแทบประตูพระที่นั่ง ซึ่งทำให้จำต้องหยุดรถชั่วขณะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชดำรัส ถามถึงความประสงค์ที่มารอดักหน้ารถพระที่นั่งครั้งนี้ ว่ามีความประสงค์อย่างไร นิสิตซึ่งเป็นหัวหน้ากลุ่มได้กราบบังคมทูลโดยย่อ แล้วนำฎีกาขึ้นทูลถวาย เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับฎีกาแล้ว ทรงมีพระราชดำรัสแก่นิสิตเหล่านั้นเล็กน้อย แล้วรถยนต์พระที่นั่งก็เคลื่อนที่ต่อไปยังจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทโดยใกล้ชิด ดั่งเช่นทุกปีมา
ฎีกาที่กลุ่มนิสิตทูลเกล้าฯ นั้น ได้ขอพระราชทานอภัยโทษ อันสืบเนื่องมาจากสาเหตุเกิดการพิพาทกันระหว่างนิสิตคณะวิศวกรรมศาสตร์ 9 คน กับรองอธิการบดีฝ่ายปกครอง ซึ่งโดยสาเหตุอันแท้จริงนั้น ไม่อาจสืบทราบได้ถ่องแท้ เพียงแต่ทราบว่า นิสิตวิศวฯ 2 คน ถูกคัดชื่อออกจากทะเบียนมหาวิทยาลัย นอกนั้นมีความผิดหนักเบาลดหลั่นกันลงไป โดยได้รับโทษให้พักการเรียนมีกำหนดและเพิกถอนสิทธิในการสอบไล่ ซึ่งปรากฏว่าภายหลังที่ทางมหาวิทยาลัยได้ออกคำสั่งลงโทษดังกล่าวแล้ว ก็ได้มีการอุทธรณ์ การประท้วง และการวิพากษ์วิจารณ์อย่างรุนแรง ซึ่งมีทีท่าว่าไม่อาจจะยุติลงได้
ครั้นถึงเวลาดังกล่าวข้างต้น ด้วยพระบารมีและพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าล้นกระหม่อม เหตุการณ์อันทำท่าจะรุนแรงและลุกลามไปใหญ่โต ได้กลับคืนสู่สภาพปกติ เมื่อนิสิตทั้ง 9 คนได้ถวายฎีกาแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้มีพระราชดำรัสทรงตักเตือนนิสิตว่า
ในการที่จะถวายฎีกานั้น จะต้องมีความนึกผิดจริงๆทางใจด้วย ต้องยอมรับว่ากระทำไปแล้วเป็นความผิดจริง จึงจะให้อภัยกัน มิใช่เป็นการถวายฎีกาแต่เพียงโดยลายลักษณ์อักษร
เมื่อรถยนต์พระที่นั่งแล่นคล้อยไป นิสิตทั้ง 9 คนก็แยกย้ายกันกลับ ไม่ตามเสด็จไปทางมหาวิทยาลัย เนื่องจากอยู่ในระหว่างลงโทษ
...ทรงมีพระราชดำรัสให้ที่ประชุมทราบถึงกรณี ที่เกิดขึ้นหน้าตำหนักจิตรลดารโหฐาน เกี่ยวกับนิสิตทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาพร้อมทั้งนำฎีกาออกไปให้ที่ประชุมดู รวมทั้งคำสั่งของมหาวิทยาลัย ฎีกานี้นิสิตทั้งหลายที่ถูกทำโทษ เขียนมารับว่าทำผิดจริง การรับว่าทำผิดนี้ แสดงว่าเขารู้ตัวว่าทำผิด คนเราทำผิดครั้งเดียวนับว่าเก่ง นิสิตพวกนี้ไม่เคยบอกว่าทำผิดมาก่อน การที่เขาทำผิดและฎีกาบอกมาวันนี้ จึงอยากจะให้อธิการบดี และคณะอาจารย์อภัยเขาเสีย เนื่องในงานวันนี้
...ภายหลังที่กระแสพระราชดำรัสให้อภัยโทษแก่นิสิตจบลง บรรดานิสิตที่มีจำนวนล้นหอประชุมและคณา
จารย์ ได้พากันปรบมืออยู่เป็นเวลานาน รวมทั้งอธิการบดีด้วย บรรยากาศภายในและภายนอกห้องประชุมมีแต่ความสดชื่น ร่าเริง เป็นที่น่าเสียดายที่ผู้ได้รับพระราชทานอภัยโทษไม่มีโอกาสได้รู้เห็น ซึ่งคงจะก่อให้เกิดความปิติปราโมทย์ ยิ่งกว่าจะได้ยินคำบอกเล่าจากเพื่อนฝูง">>
117. เป็นประเพณีในวันที่พี่บัณฑิตได้รับพระราชทานปริญญานั้น พี่ ๆ เขาจะให้สตางค์แก่น้องปี 1 ด้วย
118. ในปี พ.ศ. 2548 นี้ที่มีการเปลี่ยนคะแนน Toefl ใหม่เป็นเต็ม 300 มีนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ ได้คะแนนเต็ม 300 ด้วย (ฅนหรือเปล่า ????)
119. แฟน ๆ ของหนุ่มวง Freeplay ก็เรียนที่จุฬาฯ ก็มีแฟนของเพชร-เบิร์ด-แก้วไง !!!
120. ที่คณะสถาปัตย์มีธรรมเนียมที่ว่าห้ามนิสิตคณะเดินเหยียบ "สถ" บนพื้นถนน
121. ที่คณะครุศาสตร์ ห้ามนิสิตชั้นปีที่ 1 เดินบันไดกลาง เพราะว่ากันว่าจะเรียนไม่จบ
122. ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ ห้ามนิสิตชั้นปีที่ 1 ใช้ลิฟท์ตรงติดกับห้องทะเบียน ให้เดินขึ้นบันไดเท่านั้น
123. ที่คณะรัฐศาสตร์ มีนิสิตปี 2 ได้แชมป์แฟนพันธุ์แท้การเมืองไทยด้วย และผ่านเข้ารอบสุดท้าย 1 ใน 5 คนของ แฟนพันธุ์แท้ Of The Year 2004. อีกเช่นกัน
124. นิสิตหญิงคณะนิเทศศาสตร์ใส่พลีตสีดำตลอดปี 1 แต่นิสิตหญิงคณะครุศาสตร์ใส่พลีตสีกรมท่าตลอดปี 1ส่วนนิสิตชายคณะวิศวะและครุศาสตร์ ให้ใส่กางเกงสีกรมท่า(แต่ถ้าปีอื่น ๆ ใส่สีดำก็ไม่ว่ากัน)
125. อาจารย์จุฬาฯ เป็นผู้ออกข้อสอบ ent' ด้วย แต่เมื่อก่อนหลาย ๆ ที่รวมกัน ตอนนี้เป็นอาจารย์จุฬาฯที่เดียว (ไม่รู้ว่ารวมถึงระบบadmission ด้วยหรือเปล่า)
126. อาจารย์ที่สอนอังกฤษในจุฬาฯ นั้น อยู่ภายใต้ชื่อ "สถาบันภาษา" ไม่ได้สังกัดในคณะใด ๆ เลย
127. อักษร "ฬ" ที่ใช้เรียกสั้น ๆ แทนจุฬาฯ นั้น ยังเป็นตัวอักษรลำดับที่ 42 ใน 44 ตัวอักษรไทยด้วย
128. ที่คณะบัญชี มีการ Boom ดำ / Boom กลางสนามด้วย (แปลก ๆ ดี)
129. Boom ของคณะวิศวะนั้นที่เกือบจะเป็นแฝดกับBoom ของจุฬาฯเลย ตั้งข้อสันนิษฐานไว้ว่า เป็นเพราะเมื่อนานมากหลายสิบปีที่แล้วมีนิสิตชายวิศวะคิด Boom Baka ได้ เลยเอามาใช้กับวิศวะ (Who are we? - Intania) แต่เขาเป็นแฟนกับนิสิตหญิงที่เป็นประธานเชียร์ของจุฬาฯ เลยเอา Boom Baka มาใช้ของจุฬาฯ (Who are we? - Chulalongkorn) < - - - ฟังต่อ ๆ มา ไม่รู้ว่าถูกผิดยังไงนะ
130. Boom ของจุฬาฯ มี Boom 2 แบบด้วยกันคือ
1. Boom Ba La Ka ... Bow Bow Bow
Chik Ka La Ka ... Chow Chow Chow
Boom Ba La Ka Bow
Chik Ka La Ka Chow
Who are we ?
- - - > CHULALONGKORN
Can you see Laaa..

2. Baka .. Bowbow .. Cheerka .. Chowchow .. Babow .. Cheerchow
Who are we ?
- - - > CHULALONGKORN
Can you see Laaa

* แบบที่ 2 จะเป็นที่นิยมมากกว่า แบบที่ 1 จะมาจากเพลง C.U.Polka
131. เมื่อก่อนชื่อ "จุฬาลงกรณ" ไม่มีการันต์ เป็นคำสมาสที่ไม่ได้อ่าน กะ-ระ-นะ อ่านว่า" กอน " เฉย ๆ
แต่มาสมัยจอมพล ป. รัฐบาลชุดนั้นก็ได้มาเปลี่ยนให้มีตัวการันต์ เพราะเขาบอกว่าถ้าไม่อย่างนั้น
ก็ต้องอ่าน " กะ-ระ-นะ " ก็เลยต้องมีตัวการันต์จนถึงปัจจุบันนี้ -_-"
132. อาจารย์ที่สอนพิเศษต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงก็จบจากจุฬาฯ ไปเยอะนะ เช่น พี่POP-EnConcept (ตรี:ครุศาสตร์ โท:อักษรศาสตร์),อ.เหมียว เจ้าของPinnacle (อักษรศาสตร์),อ.Lilly-Pinnacle,อ.Art-Pinnacle (บัญชี),อ.มนชัย-Pinnacle (อักษรศาสตร์),อ.smith-Pinnacle,อ.พี่แนน-EnConcept (อักษรศาสตร์ เกียรตินิยมอันดับ 1),อ.เจมส์-Pinnacle,อ.เสาวนิตย์-อ.เสาวนิตย์ (อักษรศาสตร์ จุฬาฯ),พี่ตุ้ย-The Tutor (วิศวะ ภาคไฟฟ้า), อ.เจี๋ย - สอนเลข (ถูกไทร์ออกจากวิศวะ จุฬาฯ ไม่รู้ว่าหลังจากนี้ไปต่อที่ไหน)ฯลฯ
133. แม้แต่คุณเสี่ยใหญ่อย่าง " อากู๋ " ผู้ร่วมก่อตั้งGrammy ก็จบจากนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ
134. ในปี 2547(2548) มีนิสิตบัณฑิตจบจากคณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ก็เป็นลูกหลานค่ายละครยักษ์อย่างกันตนา กับอีกคนทายาทช่อง 3 " มาลีนนท์ " (เห็นออกข่าวไปแสดงความยินดีรับปริญญายกกันไปกันทั้ง2ค่ายเลย)
135. ส่วนเจ๊ดา-ดารุณี แฟนพันธุ์แท้เพชรกับไฮโซบ้านนอกก็จบบัญชี จุฬาฯ ส่วนสามีเจ๊ดาจบวิศวะ จุฬาฯ
136. ตึกขาว(ชีววิทยา 1) ปี เดินขึ้นบันไดกลางตึกขาวจะไปซิ่วไปก็ไทร์เอา. . .แต่ความจริงแล้วเมื่อก่อนเดิมนี้ ตึกขาวเป็นตึกปฏิบัติการวิทยาศาสตร์แห่งแรกในประเทศไทย ผู้ที่เป็นอาจารย์สมัยนั้น ไม่ใช่คนสามัญธรรมดาแต่เป็นพระบรมวงศานุวงษ์ เด็กปี 1 ไม่รู้ถ้าขึ้นตรงนั้นจะเป็นห้องพักอาจารย์ทำให้เป็นกการรบกวนอาจารย์ + ไม่ได้ทำครวามเคารพอาจารย์ที่เป็นพระบรมวงศานุวงษ์ด้วย. . .ซ้ำตรงนั้นด้านล่างยังเป็นที่เก็บอาจารย์ใหญ่สำหรับนิสิตแพทย์ในสมัยนั้นด้วย
137. สหเวช ตกบันไดคณะแล้วจะโชคดี แต่มันตกง่ายมากอะ
138. พยาบาล ขึ้นลิฟท์ตอนกลางคืนควรระวัง ขึ้นบันไดดีกว่าเฮอๆ
139. วิดยา ตอนสอบฟิ หรือแคว ให้เอาขนมปังไปเลี้ยงปลาหน้าตึกฟิ แล้วจะดี แล้วจะมีคนเลี้ยงข้าวด้วย
140. วิดวะ ถ้าตั้งใจมองบ่อเห็นเต่าในบ่อได้aเห็นตะพาบในบ่อได้f เห็นกี่ตัวได้เท่านั้นตัว
141. หลายคณะ ไปไหว้พระบรมรูป 2 รัชกาลตอนวันเริ่มสัปดาห์สอบ
ถ้าเป็นวันอังคารเอากุหลาบชมพูไปถวาย วันอื่นธูป9ดอก ขอพรได้แต่ห้ามบน
142. ที่หน้าคณะวิทยาศาสตร์ตรงข้ามตึกจุลฯ มีนาฬิกาแดดด้วย เป็นโครงงานจุฬาฯวิชาการปี 2533
143. รู้ไหมว่ารถสีเขียว ๆ เก่า ๆ ของจุฬาฯ ที่เสียงดังมากขนาดวิ่งอยู่แถวอังรีได้ยินไปถึงพญาไท ที่วิ่งเก็บขยะ ตัดต้นไม้ เป็นรถโครงงานของเด็กวิศวะเมื่อ20กว่าปีมาแล้ว จนปัจจุบันยังใช้ได้อยู่ (โห....)
144. และรถกอล์ฟไฟฟ้าที่วิ่งในจุฬาฯ รับส่งผู้ปกครองตอนรับปริญญาก็เป็นโครงงานจุฬาฯ วิชาการของนิสิตวิศวะอีกเช่นกัน (คิดโดยวิศวะ แต่ไปชาร์จไฟที่เภสัช อืม.... )
145. ที่รัฐศาสตร์ ตอนนิสิตขึ้นปี 2 ต้องย้ายโต๊ะไปนั่งกับรุ่นพี่ ๆ ปีอื่น ๆ แล้วมอบลานเฟรชชี่ให้น้องปี 1 นั่งตามใจน้อง
146. ในความเห็นของเรา เพลงท่อนที่บอกความเป็นจุฬาฯได้ดีที่สุดคือ
1. นํ้าใจน้องพี่สีชมพู ทุกคนไม่รู้ลืมบูชา พระคุณของแหล่งเรียนมา จุฬาลงกรณ์
2. ขอตราพระเกี้ยวยั่งยืนยง ... นิสิตประสงค์เป็นธงชัย
3. ณ อุทยานนี้งามด้วยจามจุรี ... เขียวขจี แผ่ปกพสกจุฬาฯ
4. สีชมพู เชิดชูไว้คู่แดนไทย +++ แสนยิ่งใหญ่และเกรียงไกรในวิทยา
5. ชโย ชโย .. จุฬาฯ สถานศึกษาสง่าพระนาม
6. พระนามจุฬาฯ สูงส่ง ยืนยง .. ตราบชั่วดินฟ้าเอย
7. หมายเอาจามจุรี เป็นเกียรติเป็นศรี ของชาวจุฬาฯ
147. เพลงท่อนที่บอกความเป็นนิสิตจุฬาฯ ได้ดีอีกเหมือนกัน คือ
1. นิสิตพร้อมหน้า สัญญา...ประคอง ความดีทุกอย่างต่างปอง
2.น้องจุฬาฯ พี่จุฬาฯ พร้อมกันมารื่นฤดี +++ รักเราพูนเพิ่มทวีนิจนิรันดร์
3. C.U. will win again just as the same as previous day
- - - > We WiLL SiNg C.U. wiLL WiN,wiLL WiN. < - - -
4. เมื่อปลายปีดอกจามจุรีร่วงหล่น ทิ้งใบเกลื่อนถนนเหลือเพียงลำต้นยืนไว้ เหล่าจุฬาฯ ทิ้งความสุขาทันใด
พ่อแม่น้องพี่ใกล้ไกลอยู่ไหนลืมพลัน
ที่กินถิ่นนอน มิได้อาวรณ์นำพา มีความปรารถนาเหลือเพียงตำราเท่านั้น เพื่อนเชือนชักทิ้งจนคนรักสารพัน ... หวังมิให้ตกชั้นรีไทร์
148. ชาวจุฬาฯ เปรียบเทียบยางจามจุรีที่ไหลออกมาจากฝักว่ายางลื่นมาก ถ้าเดินไม่มองก็จะหกล้มทันที เปรียบกับการเรียนถ้าไม่ระวังให้ดีก็จะพลาดท่าล้ม ยางจามจุรีนี้เปรียบเหมือนยางอายของเราเวลาสอบตก ก็จะอายไปทั้งปี ฉะนั้นต้องจำยางจามจุรีเตือนใจ
149. ในปี 2548 นี้มีนิสิตจุฬาฯ เข้ารอบ academy fantasia 2 ได้ 2 คนคือโจ-กุ๊กไก่ อยู่สถาปัตย์ทั้งคู่
150. และในเดียวกันมีนิสิตหญิงจุฬาฯ เข้ารอบ Channel [v] Thailand Vj.Search 2 คน อยู่นิเทศกับรัดสาด
151. ในปี2548 มีการจัดประกวด 1-2-call Freedom Girl ครั้งที่ 2 นิสิตหญิงจุฬาฯ คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1/ รองที่ 1/รองที่2 ควบหมดสามตำแหน่ง คนที่ได้ที่1 อยู่ครุศาสตร์ปี 3
152. เน็คไทด์ของวิศวะนั้น เป็นธรรมเนียมที่น้องปี1 จะได้รับต่อๆมาจากพี่ปี 2 ใช้ตกทอดไปเป็นรุ่น ๆ ไปเรื่อย ๆ
153. เจ้าของ dek-d.com เป็นเด็กวิศวะ จุฬาฯ
154. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์สามารถผ่าตัดแปลงเพศและเสริมนู้นตัดนี่ได้ด้วย(เพื่อนเราบอกว่าน้องแนทมาเสริมหน้าอกที่นี่)
155. เพลงที่จุฬาฯกับธรรมศาสตร์มีเหมือนกันคือ " เดินจุฬาฯ-เดินมธ. " (แต่เนื้อเพลงไม่เหมือนกัน ชื่อเพลงเหมือนกัน)
156. ในงานเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคณะในจุฬาฯ-มธ. เด็กทั้ง2สถาบันก็จะฝึกร้องเพลงสถาบันของอีกฝั่งหนึ่งให้ได้ เช่น มหาจุฬาลงกรณ์-ยูงทอง,เดิน มธ.-เดินจุฬาฯ,จุฬาฯ น่ารัก-แชวับ,Baka-Boom T.U........และที่สำคัญมากคือเพลง ชั่วดินฟ้า
157. โทษทัณฑ์ที่หนักที่สุดในคณะรัฐศาสตร์สมัยก่อนที่รุ่นพี่ใช้ลงโทษน้องคือ "การโยนนํ้า" ซึ่งบรรยากาศของคณะในสมัยก่อนก็เอื้ออำนวย โดยบริเวณหน้าคณะฝั่งอังรีดูนังต์ จะมีคลองอรชรและมีสะพานข้ามมีชื่อว่า สะพานวรพัฒน์พิบูลย์ นอกจากนี้หน้าตึก 3 ยังมีบ่อนํ้าขนาดใหญ่ของสภากาชาด และเมื่อน้อง ๆ กระทำความผิดกฎที่รุ่นพี่บัญญัติไว้ เช่น ขึ้นบันไดหน้าตึก1 นั่งรับประทานอาหารที่โต๊ะseniorในโรงอาหาร ก็จะถูกชำระโทษโดยการจับโยนลงนํ้า ซึ่งปัจจุบันทั้ง2แห่งถูกถมเพื่อสร้างตึก การโยนนํ้าจึงสิ้นสุดไปโดยปริยาย
158. คะแนนอังกฤษFEในจุฬาฯ คณะที่คะแนนสูงสุด3อันดับแรก(โดยส่วนมาก)คือ 1.แพทย์ 2.วิศวะ 3.อักษร
159. ที่ใต้ศาลาพระเกี้ยวมีตู้ฝากเงินอัตโนมัติของธนาคารไทยพาณิชย์ด้วย
160. เหมือนจะเคยอ่านเจอในหนังสือเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกของสมเด็จพระปิยมหาราช(Premier voyage en Europe)แล้วอ่านเจอว่าท่านเคยเสด็จฯประเทศฝรั่งเศส ทางการของเขาเลยให้เกียรติท่านโดยการใช้ชื่อ "Chulalongkorn" เป็นชื่อถนนหนึ่งในกรุงปารีส (จริง ๆ ถนนนั้นเป็นชื่ออื่นมาก่อนแล้วค่อยมาเปลี่ยนเป็นชื่อ "Chulalongkorn" ภายหลังจากที่ท่านเสด็จฯ)
161. สื่อมวลชนและคนทั่วไปชอบใช้คำว่า "รั้วจามจุรี-พี่พระเกี้ยว-ลูกพระเกี้ยว-รั้วสีชมพู-" แทนจุฬาฯ
162. นอกจากนี้ ฯพณฯศ.ม.ล.ปิ่น มาลากุล เคยแต่งบทกลอนเอาไว้ เรียกจุฬาฯเป็น "แม่" ส่วนเตรียมอุดมศึกษาเป็น "ลูก" (เนื้อหากลอนนี้ประมาณว่าตอนที่เตรียมฯ จะถูกตัดสร้อยชื่อ "แห่งจุฬาฯ" ออก ท่านก็ได้แต่งกลอนเพื่อเป็นการระลึกถึงว่ามีความผูกพันกันแค่ไหน ถึงขนาดว่าจบม.ปลายที่นี่แล้วมีการเดินแถวเข้าจุฬาฯ ได้ทันทีเลย เมื่อก่อนเด็กเตรียมฯ ก็มาทำพิธีประดับพระเกี้ยวน้อยที่หอประชุมจุฬาฯ ด้วย ส่วนสาเหตุที่เตรียมฯ ถูกตัดสร้อยชื่อออกเพราะ ประชาชนตอนนั้นก็มีเสียงพูดกันว่า
๑. ทำไมจึงให้โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย ผูกขาดการเข้าจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยเพียงโรงเรียนเดียว
๒. ขอให้โรงเรียนอื่น ๆ เปิดชั้นเตรียมอุดมศึกษาด้วย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๘ ก็เคยสอนมาแล้ว
ถ้าโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยสอนดี นักเรียนเตรียม ฯ ก็คงจะเข้ามหาวิทยาลัยได้หมดตามเดิมไม่เดือดร้อนอะไร
๓. อยากให้นักเรียนที่จบมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ได้เรียนต่อจะได้มีความรู้สูงขึ้น มากกว่าที่จะมุ่งเข้าเรียนต่อในมหาวิทยาลัย
ดังนั้น โรงเรียนเตรียม ฯ จึงได้โอนไปสังกัดกรมสามัญ และได้ตัดสร้อยชื่อ
" แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย " ออก เหลือเพียงแต่ " โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา " เฉย ๆ)< - - - ในความคิดเราเรื่องนี้นะ เหมือนโรงเรียนเตรียมฯ ถูกอิจฉายังไงไม่รู้อ่ะนะ ยังไงเด็กที่นี่ก็เก่งอ่ะเราว่า
ยังไงเด็กจุฬาฯ ก็เป็นเด็กเตรียมฯ เยอะมาก ๆๆๆๆๆๆ อ่ะ ดูสิคนที่สอบได้ที่1 ของแต่ละคณะ/ประเทศก็เป็นเตรียมฯ แทบทั้งนั้น ก็ดีออกนะ มีคนเก่ง ๆ อยู่เยอะ ๆ ช่วยกันสร้างชื่อเสียง + คุณความดี ออกไปภายนอก
163. ในหนังเรื่องวัยอลวน "ตั้ม" อยากเข้าเรียนที่สถาปัตย์ จุฬาฯ สุดท้ายไปได้ที่นิติศาสตร์แทน
164. คิดเหมือนเราไหมว่าลีด จุฬาฯ ส่วนใหญ่ที่ได้จะมาจากอักษร(เยอะมาก ได้ปีละหลายคนมาก ๆ)/รัดสาด(นี่ก็ได้มาตลอดทุกปี ไม่เคยขาดตอน)/นิเทศ(ลีด Freshy ชนะตลอด ต้องเต้นดีมากอยู่แล้ว)/ส่วนผู้ชายมาจากแพทย์พอควรนะ
165. แม็ค อธิศีล ณ ป้อมเพชร นิสิตชั้นปีที่ 3 ภาควิชาการประชาสัมพันธ์ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ เมษ์ หิรัญญา วิวัฒนเดชากุล นิสิตชั้นปีที่ 3 คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เป็น 2ใน 3 ทูตตัวแทนประเทศไทยในกีฬา ม.โลก ครั้งที่ 23 ในระหว่างวันที่ 1121 สิงหาคม 2548 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทูตที่ผ่านการคัดเลือกให้เป็นตัวแทนนักศึกษาไปทำหน้าที่แนะนำสถานที่แข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ครั้งที่ 24 ที่ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพ
166. การเข้าร่วมงานแสดงในพิธีรับธงกีฬามหาวิทยาลัยโลกที่จะมีขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 21 สิงหาคม 2548 เวลา 24.00 น. (ตามเวลาในประเทศไทย) เดินทางไปตระเตรียมพิธีรับมอบธงจัดการแข่งขันที่ประเทศไทยรับเป็นเจ้าภาพที่ประเทศตุรกี ในครั้งนี้มีนิสิตหญิงจากจุฬาฯ 1 ใน 3 คน ด้วย " พัชรกร พันธ์รัตนานนท์ " จากคณะศิลปกรรมศาสตร์
167. สังเกตไหมว่า เวลาที่พวกเราขึ้นรถป๊อป ทั้งในเวลาเร่งด่วนและไม่เร่งด่วน ผู้หญิงจะได้ขึ้นก่อนเสมอ พวกที่เหลือท้าย ๆ จะเป็นผู้ชายทั้งหมด (นํ้าใจงามจริง ๆ นะชาวสีชมพู )
168. ยังไม่หมด !!! พอขึ้นรถป๊อปถ้าถือของหนัก(ถ้ายืนอยู่)จะมีเสียงจากคนนั่งข้าง ๆ ที่เรายืนแทบทุกครั้งว่าให้ช่วยถือไหม ยิ่งถ้าถอยไป ๆๆๆๆ ด้านหลังเรื่อย ๆ ก็จะมีคนบอกว่าหนักไหม ช่วยถือได้เรื่อย ๆ ตลอดทาง ... ปลื้มจริง ๆ :)
169. ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร ณ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อหลายสิบปีผ่านมาแล้ว ผู้ร่วมเหตุการณ์หลาย ๆ คนคงยังจำได้แม่นยำขึ้นใจ โดยเฉพาะนิสิตชายคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ปี 5 ที่โดนคัดชื่ออกจากจุฬาฯ ในปีการศึกษาสุดท้ายของตนคนนั้น ...ในขณะรถยนต์พระที่นั่งของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเคลื่อนที่ผ่านพิธีตั้งซองรับเสด็จฯ ของนิสิตปี 1 ... นิสิตชายคนนั้นได้วิ่งเข้ามาขวางรถยนต์พระที่นั่งและหมอบกราบลงกับพื้นถนน ... ท่ามกลางความตื่นตกใจของทุกคน ณ ตรงนั้น ... นิสิตชายคนนั้นได้ถวายฎีกาแก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องจากเขาถูกคัดชื่อออกเพราะมีเรื่องวิวาทกับนิสิตคณะวิทยาศาสตร์ซึ่งโดนคัดชื่อออกจากจุฬาฯ เช่นกัน ... เขาขอศึกษาต่อ เพราะเป็นปีสุดท้ายแล้ว ในปีนี้เพื่อน ๆ ร่วมชั้นปีได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรกันหมด แต่เขาถูกเพิกถอนสิทธิ์ศึกษาต่อในจุฬาฯ ... ด้วยพระมหากรุณาธิคุณเป็นล้นพ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงนำความนี้เข้าที่ประชุม และให้นิสิตชายคนนั้นได้ศึกษาต่อ ... ในปีการศึกษาถัดมา เขาได้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ... เขาได้เข้าถวายตัวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมมหาราชวัง เป็นสถาปนิก ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและจงรักภักดีตลอดอายุการทำงานของเขา ... เมื่อปลายปี 2547 เขาคนนี้เพิ่งเกษียณอายุงานจากการเป็นสถาปนิกในพระบรมมหาราชวังตลอดมา
170. ประเพณีการโต้วาทีน้องใหม่ของชมรมวาทศิลป์ เรียกสั้น ๆ ว่า " โต้ชี่ " = โต้วาทีของเฟรชชี่
171. อาจารย์แม่มาเป็นกรรมการการโต้วาทีของน้องใหม่ของจุฬาฯ ติดกันมา 25 ปีแล้ว
172. ที่เข็มพระเกี้ยวต้องติดที่อกเบื้องขวา เพราะเป็นของพระราชทาน (ของพระราชทานจะติดที่เบื้องขวา)
173. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอันเป็นที่รักยิ่งของข้าพเจ้า


จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย[1] ตั้งอยู่ที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ถือกำเนิดจาก "โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน" ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งขึ้นภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อปี พ.ศ. 2442 พร้อมทั้งพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญ "พระเกี้ยว" มาเป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน การดำเนินงานของโรงเรียนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้สถาปนาขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย และพระราชทานนามว่า "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมชนกนาถของพระองค์ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2460 ถึงปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีผู้บัญชาการและอธิการบดีดำรงตำแหน่งมาแล้ว 16 คน อธิการบดีคนปัจจุบัน คือ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับยกย่องเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก ทั้งในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์การแพทย์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์[2] และได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาในระดับดีมาก จาก สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา[3] ปัจจุบัน เปิดการเรียนการสอนใน 18 คณะ 1 สำนักวิชา บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัย และสถาบันต่าง ๆ รวมทั้งสิ้น 492 สาขาวิชา หลักสูตรนานาชาติและภาษาอังกฤษ รวมทั้งสิ้น 70 สาขาวิชา[4] นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งสถาบันวิจัยขึ้นภายในมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งเพื่อดำเนินการวิจัยในศาสตร์ต่าง ๆ ด้วย

ในอดีต ผู้ที่จบการศึกษาจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับพระมหากรุณาธิคุณ ให้เข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรจากพระหัตถ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช แต่ในปัจจุบันพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินมาปฏิบัติพระราชกรณียกิจแทนพระองค์ในการพระราชทานปริญญาบัตร แก่บัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

อาคารมหาจุฬาลงกรณ์



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 22 เมษายน 2551 / 13:16

แสดงความคิดเห็น

>

219 ความคิดเห็น

kiagenwa 21 เม.ย. 51 เวลา 11:43 น. 3

พระจอมลาดกระบัง ก็ไม่ได้ขึ้นด้วยมหาลัยเหมือนกัน (แต่ขึ้นด้วยสถาบัน อิอิ)

เยอะจัง จนขี้เกียจอ่านแว้ว

0
เจ๋งมาก 21 เม.ย. 51 เวลา 12:38 น. 7

เข็มพระเกี้ยวต้องติดที่อกเบื้องขวา เพราะเป็นของพระราชทาน


แล้วทำไม เข็มพระเกี้ยวของ น.ร.หญิง รร.เตรียมฯ ติดหน้าอกซ้ายอ่ะคะ

555

แค่สงสัยเฉยๆนะ

0
1234 21 เม.ย. 51 เวลา 13:29 น. 8

ขอบคุณเจ้าของบทความมากเลยนะค่ะ
อ่านแล้วรู้สึกอยากเรียนรั้วสีชมพูจังเลยค่ะ
อาบทความดี ๆ แบบนี้มาให้อ่านอีกนะค่ะขอบคุณมากค่ะ

0
... 21 เม.ย. 51 เวลา 14:07 น. 10

73.รู้ไหมว่าในจุฬาฯ(ฝั่งในเมือง)มีถนนมีชื่อNickName อยู่สองสาย คือ Art Street = ตั้งแต่คณะสถาปัตย์มาศิลปกรรมจนถึงอักษรฯ (เกี่ยวกับศิลป์) ส่วนอีกถนนหนึ่งก็คือ Hi-So Street = ตั้งแต่รัฐศาสตร์ไปถึงเศรษฐศาสตร์ไปสุดที่คณะบัญชีไง ส่วนสามแยกปากห-ม-า ก็ต้องที่วิศวะเท่านั้น !!!!!

- ถูกกก โดยเฉพาะไฮโซสตรีท 3 คณะนั้น(รัดสาด-เสดสาด-บัญชี) มันไฮโซจริงๆ รถหรูๆออกใหม่ๆ หรือ กระเป๋าแบรนหรูออกใหม่ ไปเดินหาดูแถวนี้จะได้เห็น


153. เจ้าของ dek-d.com เป็นเด็กวิศวะ จุฬาฯ

- พวกเวบมาสเตอร์ เป็นเด็กถาปัด ไม่ใช่หรออออ

0
2522 21 เม.ย. 51 เวลา 14:34 น. 12

ผมเรียนอยู่เกษตร แต่ชอบ มธ. เหมือนกัน
เหตุผล คือ ทุกคนเท่าเทียมกันหมด ไม่มีโลโซ ไฮโซ ในอุดมการณ์มหาลัย และเด็กส่วนใหญ่
แต่จุฬา ยอมรับว่า ยังต้องปรับปรุงเรื่องนี้ แต่เรื่องอื่นๆจุฬาก็มีดีอยู่เยอะเหมือนกัน

0
456 21 เม.ย. 51 เวลา 14:41 น. 13

รักจุฬาฯ

สีชมพูจักอยู่ในกายเจ้า พระเกี้ยวเกล้าจักสถิตเป็นมิ่งขวัญ

0
36985 21 เม.ย. 51 เวลา 14:44 น. 14

ธรรมศาสตร์ อิสระก็จริง แต่รู้สึกว่าเดี่ยวนี้จะอิสระมากไปรึป่าวอะ

บางทีลืม เคารพ&nbsp อาจารย์&nbsp รุ่นพี่&nbsp เดินผ่านเหมือน คนไม่รู้จักกัน

นักศึกษาแต่งกายค่อนข้างอิสระอะ&nbsp อยากให้มีระเบียบกว่านี้

0
ลูกแม่โดม 21 เม.ย. 51 เวลา 15:35 น. 16

ธรรมศาสตร์ ของเรา มีอิสระทุกตารางนิ้ว

อาจารย์เราก็ไหว้นะ&nbsp แต่งตัวอิสระ ที่เขาให้แต่งได้ เพราะ เราอยู่ที่รังสิต

แล้ว ลงมาจากหอ มาเรียน ต้องแต่งเต็มยศ ไปทำไมกัน

แต่วัรงานพิธีต่างๆ เราก็แต่งตัวได้ถูกต้องนะคะ

0