Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ศาสนาเชน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

ศาสนาเชนเป็นศาสนาหนึ่งที่มีแหล่งกำเนิดในเอเชียใต้  คือ  อินเดีย  และยังคงเป็นศาสนาสำคัญ ศาสนาหนึ่งในอินเดียในปัจจุบัน  มีผู้นับถือกระจัดกระจายอยู่ในทุกรัฐของอินเดีย  ประมาณมากกว่า 2 ล้านคน

ศาสนาเชนเกิดก่อนพุทธศาสนาเล็กน้อย  เป็นศาสนาที่เกิดขึ้นจากการปฏิรูปศาสนาพราหมณ์ หรือ ฮินดูในด้าน คำสอน ความเชื่อถือ และศาสนาพิธี  ตลอดทั้งปฏิเสธเรื่องพระเจ้า  เป็นศาสนาอเทวนิยม  ศาสนาเชนสอนเน้นหนักในการบำเพ็ญทุกรกิริยา

คำว่า “เชน”  บางทีออกเสียงว่า  ไชน์  หรือ  ไยน์  มาจากคำว่า “ชินะ”  แปลว่า “ผู้ชนะ”   เพราะฉะนั้น  ศาสนาเชนจึงหมายความว่าศาสนาแห่งผู้ชนะ ( ชนะตนเอง )

   มหาวีระผู้เป็นศาสดาของศาสนาเชนมีนามเดิมว่า  วรรธมานะ  แปลว่า  ผู้เจริญ  ประสูติ ณ นครเวสารี แคว้นวัชชี ในภาคเหนือ ของอินเดีย  ในราว 635 ปีก่อนคริสต์ศักราช

                ในวันประสูติของเจ้าชายวรรธมานะ ได้มีการจัดงานเฉลิมฉลองสมโภชที่นครเวสารีอย่างใหญ่โต มโหฬาร  พระเจ้ากรุงเวสาลีทรงบำเพ็ญทานโปรดให้แจกจ่ายสิ่งของเครื่องอุปโภคบริโภคแก่คนยากไร้อนาถา และให้ประกาศนิรโทษแก่นักโทษที่ถูกจองจำ  ยิ่งกว่านั้นบรรดา นักพรตและเหล่า พราหมจารย์ ต่างก็ได้พยากรณ์ ว่า เจ้าชายจะทรงเป็นผู้มีอนาคตที่ยิ่งใหญ่ โดยมีคติเป็น 2 คือ

                1. ถ้าอยู่ครองฆราวาส จักได้เป็นพระเจ้าจักพรรดิ

                2. ถ้าทรงออกผนวช จักได้เป็นศาสดาเอกของโลก

               ศาสดาของศาสนาเชน

 เมื่อพระชนมายุได้ 30 พรรษา มหาวีระ ก็ได้ตัดสินพระทัยอย่างเด็ดเดี่ยวออกจากกรุงเวสารีไป  พร้อมอธิษฐานจิตว่า  “ตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไปเป็นเวลา 12 ปี จะไม่ยอมพูดจาอะไรกับใครแม้แต่คำเดียว” เมื่อเวลาถือปฏิญาณครบ 12 ปี พระมหาวีระก็ทรงคิดและมั่นพระทัยว่าพระองค์ทรงพบคำตอบ ต่อปัญหาชีวิตครบถ้วนแล้ว จึงเสด็จออกไปเพื่อเผยแพร่ความคิดคำสอนใหม่ของพระองค์ ทรงตั้งศาสนาใหม่เรียกว่า ศาสนาเชน ศาสนาของผู้ชนะตนเอง

                พระมหาวีระผู้ชนะได้ใช้เวลาในการสั่งสอนสาวก และประสบผลสำเร็จตลอดมาเป็นเวลา 30 ปีเศษ เมื่อพระชนมายุได้ 72 ปี ทรงประชวรหนัก ทรงทราบว่าวาระสุดท้ายของชีวิตจะมาถึง จึงเรียกประชุมบรรดาสาวกทั้งหลาย และสั่งสอนเป็นโอกาสสุดท้ายพระมหาวีระดับขันธ์ในเช้าวันต่อมา สรีระของพระมหาวีระได้กระทำการฌาปนกิจที่เมืองปาวา จึงเป็นสังเวชนียสถาน ที่ควรไปดูไปทำสักการะ

คัมภีร์องศาสนาเชน

คัมภีร์ของศาสนาเชนชื่อ อาคมะ ตามหลักฐานปรากฏว่าได้จารึกเป็นอักษรปรากฤตประมาณ 200ปี

 ภายหลังสมัยของพระมหาวีระ ส่วนคำอธิบายคัมภีร์ และวรรณคดีของเชนในสมัยต่อมา ล้วนเป็น
 ภาษาสันสกฤต

หลักคำสอนสำคัญบางประการของศาสนาเชน

อนุพรต
 อนุพรต คือ ข้อปฏิบัติพื้นฐาน  มี 5 ประการที่สอนให้งดเว้นสิ่งที่ไม่ดี คือ

1. อหิงสา  การไม่เบียดเบียนให้คนอื่น สัตว์อื่น สิ่งอื่น

2. สัตยะ    การไม่พูดเท็จ

3. อัสตียะ  การไม่ลักขโมย

4. พรหมจริยะ  เว้นจากการประพฤติชั่วทางกาย

5. อัปริคคหะ  ความไม่โลภ

 มหาพรต
ข้อปฏิบัติสำคัญและยิ่งใหญ่

1. สัมยัคทรรศนะ  ความเชื่อที่ถูกต้อง

2. สัมยัคญาณะ  ความรู้ที่ถูกต้อง

3. สัมยัคยาริตะ  ความประพฤติที่ถูกต้อง

พิธีกรรมของศาสนาเชน

การบวชเป็นบรรพชิต  เป็นการเปลี่ยนแปลงภาวะของคนธรรมดาสู่ความเป็นนักพรต ครองผ้า 3 ผืน ต้องโกนผมด้วยวิธี ถอนผมตนเอง ฉันอาหารเท่าที่แสวงหามาได้การถืออัตตกิลมถานุโยค  ศาสนาเชนถือว่าการทรมานตนให้ได้รับการลำบากต่างๆ เช่นการอดอาหาร การไม่พูดจากับใครจะสามารถทำให้บรรลุโมกษะ

จุดหมายปลายทางสูงสุดของศาสนาเชน

จุดหมายปลายทางสูงสุดของศาสนาเชน
 ศาสนาเชนมีจุดหมายปลายทางสูงสุดของชีวิต อันเป็นความสุขที่แท้จริงและนิรันดร คือ นิรวารณะ หรือ โมกษะ (ความหลุดพ้น)
  ผู้หลุดพันจากเครื่องผูก คือ กรรม ได้ชื่อว่า สิทธะ หรือ ผู้สำเร็จ เป็นผู้ไม่มีชั้นวรรณะ ไม่รู้สึกกระทบกระเทือนต่อกลิ่น ปราศจาก
 ความรู้สึกเรื่องรส ไม่มีความรู้สึกที่เรียกว่า เวทนา ไม่มีความหิว ความเจ็บปวด ความเสียใจ ความดีใจ ไม่เกิด แก่ ตาย ไม่มีรูป 
 ไม่มีร่างกาย ไม่มีกรรม เสวยความสงบอันหาที่สุดมิได้ วิธีที่จะบรรลุจุดหมายปลายทางนั้นจะต้องปฏิบัติโดยเคร่งครัดตาม ข้อปฏิบัติพื้นฐานที่เรียกว่า อนุพรต 5 จนถึงอย่างสูงที่เป็นข้อปฏิบัติอันยิ่งใหญ่และสำคัญคือ มหาพรต 3

นิกายสำคัญของศาสนาเชน

ศาสนาเชนมีนิกายที่สำคัญอยู่ 2 นิกาย
1. นิกายเศวตัมพร  นิกายนุ่งผ้าขาว  ถือว่าสีขางเป็นสีบริสุทธิ์
2. นิกายทิคัมพร     นิกายนุ่งลมห่มฟ้า ( เปลือยกาย)

สัญลักษณ์ของศาสนาเชน

สัญลักษณ์โดยตรงของศาสนาเชนก็คือ รูปปฏิมาของศาสดามหาวีระ ซึ่งในโบสถ์หรือในวัดเชนทั่ว ๆ ไปจะมีรูปปฏิมาของศาสดาประดิษฐานอยู่ หรือภายในบ้านของศาสนิกชนเชนก็มีรูปปฏิมาโลหะไว้บูชาเช่นเดียวกับชาวพุทธมีพระพุทธรูปไว้บูชาทั้งในบ้าน ในวัด โรงเรียน และในโบสถ์ รูปปฏิมาของศาสดามหาวีระที่เก่าแก่ที่สุด ได้แก่ ที่ประดิษฐานที่เมืองโลหะนิปุระ ใกล้ ๆ กับเมืองพิหาร หล่อขึ้นมาในสมัยราชวงศ์เมารยะ และได้ขุดค้นพบที่เมืองกันกาลิทิลา แคว้นมธุระ มากมาย รูปปฏิมาในยุคแรก ๆ ทุกองค์ไม่สวมเสื้อผ้า รูปปฏิมาอีกรูปที่หล่อด้วยทองสำริดอายุเก่าแก่ที่สุด พบได้ในพิพิธภัณฑ์ปรินซ์ออฟเวลล์

อ้างอิงจากssc260.tripod.com/jainism.htm

 

รูปปั้นบูชา ที่มาเป็นอย่างไร




(ภาพจากข้อความใน fwdder http://www.fwdder.com/topic/33048)

 

จาก email ที่ส่งเข้ามา (ซึ่ง email เดียวกันนี้ ก็ถูก fwd ไปยังเว็บไซท์ต่างๆและมีข้อกังขาแนวเดียวกัน) แล้วมีคำถามว่า ใครกันทำไม อุตริสร้างพระพุทธรูปนี้ขึ้นมา และได้มีผู้ที่ตอบบ้างแล้วว่า รูปสลักดังกล่าวไม่ใช่ศาสนาพุทธแต่เป็นศาสนาเชน (Jainism) แต่ข้อมูลยังน้อยไป ผมเลยไปค้นหาเพิ่มเติมมาให้

** ข้อความต่อไปนี้ เป็นการชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับศาสนาอีกศาสนาหนึ่งในโลกนี้ มิได้มีความตั้งใจที่จะเปรียบเทียบ หรือทำให้ศาสนาใดเสื่อมเสีย **

มหาวีระ (Mahavir) หนึ่งในองค์ศาสดาของศาสนานี้ เปลือยกายในการปฏิบัติธรรมด้วยคติของการไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งนอกกายเพื่อไม่ให้เกิดกิเลส จึงไม่ยึดมั่นแม้กระทั่งเครื่องนุ่งห่ม ตามประวัติกล่าวว่า มหาวีระ เป็นผู้ที่มีมานะสูงในการนั่งปฏิบัติธรรมไม่ขยับเขยื้อนจนเถาวัลย์เกาะ (ตามในภาพถ่ายดังกล่าว เป็นรูปยืน มีเถาวัลย์เกาะที่แขนและขา จึงเป็นสิ่งที่ตรงกันว่า นี่คือ รูปสลักในศาสนาเชน)

 

 (ลักษณะของมหาวีระ แสดงถึงความสงบท่ามกลางการเวียนว่ายตายเกิด
แต่แตกต่างจากภาพวาดทางศาสนาพุทธเพียงแค่ลักษณะของการนุ่งห่ม)

 

เพิ่มเติมความรู้ครับ ศาสนาเชนมีแนวคิดบางอย่างคล้ายศาสนาพุทธในสมัยพุทธกาลด้วย นอกจากสภาพนุ่งลมห่มฟ้า และการยึดถือการอดอาหารเป็นเส้นทางสู่นิพพานแล้ว แนวคิดอื่นๆใกล้เคียงศาสนาพุทธมาก คือ ไม่ยึดถือรูปเคารพเทพเจ้า(atheistic) ไม่เห็นด้วยกับการเช่นฆ่าสรรพสัตว์(อหิงสา) มีเป้าหมายในการนิพพาน ไม่แบ่งวรรณะ รูปบูชารวมทั้งรูปปั้นบูชาก็คล้ายพระพุทธรูปเพียงแต่ถ้าดูดีๆ มหาวีระจะมีลักษณะเปลือยกาย

(พระรูปของมหาวีระ มีลักษณะที่ใกล้เคียงกับ พระพุทธรูป
และบางครั้งมีลักษณะใกล้เคียงกับเทวรูปฮินดู ต้องสังเกตดีๆ)

 

นักบวชของศาสนาเชนมีสองนิกายหลัก นิกายหนึ่งนุ่งลมห่มฟ้า ละทิ้งซึ่งปัจจัยภายนอกตามคติเดิม อีกนิกายหนึ่งนุ่งขาวห่มขาว (ศาสนานี้ยังเป็นอีกศาสนามีศาสนิกชนในอินเดียจำนวนมาก)


ส่วนรูปปั้นตามที่เห็นใน fwd mail นั้นเป็นรูปสลักที่มาจากแรงศรัทธาของของศาสนิกชนของศาสนาเชน สลักจากหินชิ้นเดียว จึงมีการบอกว่า รูปสลักดังกล่าวเป็น รูปสลักจากหินก้อนเดียวที่ใหญ่ที่สุดในโลก (largest monolith statue)


ดังนั้นก็ คงจะเคลียร์แล้วสำหรับรูปที่เป็นปัญหาว่าทำไมจึงมีพระพุทธรูปเปลือยกาย? ตอบว่า ไม่ใช่รูปสลักในศาสนาพุทธ เป็นศาสนาเชนและเปลือยกายตามประวัติของท่านศาสดามหาวีระ อย่างไรก็ตาม ทุกศาสนาสอนให้คนเป็นคนดี แม้จะมีที่มาที่ไปในด้านคติและตำนานที่ต่างกัน


มีประเด็นแปลกๆใน fwd mail เราจะไปค้นหามานำเสนออีกครับ

 


Superboy ณ Fwdder

อ้างอิงและข้อมูลเพิ่มเติม
 
การแข่งขันระหว่างศาสนาเชนและพุทธ
http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=wpath
&month=07-2007&date=19&group=14&gblog=11

ศาสนาต่างๆที่แข่งขันกันในยุคพุทธกาล อ่านเพิ่มเติมที่ http://ecurriculum.mv.ac.th/dhamma/dhammathai/
buddhism/india/chapter01_5.php.htm

บทแปลเนื้อหาเกี่ยวกับศาสนาและหลักธรรมของศาสนาเชน http://www.eduzones.com/knowledge-2-3-43343.html

ศาสนาเชนโดยละเอียด
http://www.answers.com/topic/jainism

ประวัติมหาวีระ
http://manojsangani.blogspot.com/2008/04/
mahavir-jayanti-greatingssmsmahavir


PS.  ขอทรยศคนทั้งโลกดีกว่าให้ คนทั้งโลกมาทรยศ

แสดงความคิดเห็น

>

4 ความคิดเห็น