Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ดนตรีคลาสสิค

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
Classical Music
           ยุคคลาสสิค ( 1750 – 1820 )

           ดนตรี สมัยคลาสสิค เริ่มต้นในราวปี ค.ศ. 1750 และสิ้นสุดลงในราวปี ค.ศ. 1820 ซึ่งในช่วงระยะเวลาระหว่าง ค.ศ. 1750 – 1775 ยังมีกลิ่นของดนตรีในยุคบาโร้คอยู่ ซึ่งเป็นระยะเวลาที่คาบเกี่ยวระหว่างสมัยบาโร้คตอนปลายกับสมัยคลาสสิคตอนต้น นักปราชญ์บางท่านได้จัดให้เป็นสมัยหนึ่งโดยใช้ชื่อสมัยนี้ว่า “สมัยโรโคโค” ( Rococo ) สไตล์ของดนตรีโรโคโคนั้นแตกต่างจากสไตล์บาโร้คที่ชัดเจน คือ ความละมุนละไม และความร่าเริงแจ่มใส เพราะฉะนั้นคีตกวีที่มีชื่อเสียงของยุคคลาสิคบางท่าน เช่น ไฮเดินได้เติบโตและเห็นการพัฒนาของดนตรีในยุคนี้ จนมาถึงสมัยคลาสสิคอย่างสมบูรณ์ ซึ่งเป็นยุคที่ดนตรีได้รับการพัฒนามาถึงจุดสูงสุดด้านการประพันธ์เพลง อาทิ มีการประพันธ์เพลงสำหรับให้ ออร์แกน เปียโน และเครื่องดนตรีตระกูลของไวโอลิน มีบทบาทมากขึ้น
         ดนตรียุคคลาสสิค  เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด มีกฏเกณฑ์ แบบแผน รูปแบบและหลักในการเล่นดนตรีอย่างชัดเจน เป็นรูปแบบหนึ่งของดนตรี ซึ่งมักจะกล่าวถึงดนตรีที่เป็นศิลปะของประเทศทางฝั่งตะวันตก  ศุนย์กลางของดนตรียุคนี้คือประเทศออสเตรีย โดยเฉพาะที่กรุงเวียนนา และเมืองมานไฮม์(Mannheim)
         ดนตรีในระหว่างยุคสมัยของนักประพันธ์เพลง เช่น ไฮเดิน (Haydn)
โมสาร์ท (Mozart) และเบโธเฟน (Beethoven) (จาก ค.ศ.1750-1830) เป็นการประพันธ์ที่มักจะได้ยินในรูปแบบของเปียโนโซโลโดยไม่มีการร้องหรือที่เรียกว่า Concerto ดนตรี ยุคคลาสสิคนี้มีความแตกต่างจากดนตรีในยุคโรแมนติก (ซึ่งเป็นยุคต่อจากยุคคลาสสิค) ในเรื่องของคีตลักษณ์และแบบฉบับการเขียน โดยดนตรีในยุคโรแมนติกนั้นมีอิสระมาก อารมณ์ก็รุนแรงซึ่งจะสัมผัสได้จากปลาย ปากกาของนักประพันธ์เพลงในยุคโรแมนติกคู่นี้คือ โชแปง (Chopin) และลิสซท์ (Liszt) พัฒนาการที่สำคัญของเพลงคลาสสิกคือ คีตลักษณ์แบบโซนาตา (Sonata) มีการเรียบเรียงโน้ตขึ้นมาอย่างสละสลวย ซึ่งเป็นพื้นฐานการประพันธ์เพลง ประเภทซิมโฟนีคลาสสิค (Symphony) และเพลงประเภท แชมเบอร์มิวสิก (Chamber Music)
  

            ดนตรีคลาสสิค (Classical music) เป็นรูปแบบหนึ่งของดนตรี ซึ่งมักจะกล่าวถึงดนตรีที่เป็นศิลปะของประเทศทางฝั่งตะวันตก การแสดงดนตรีคลาสสิคนี้นิยมใช้เครื่องดนตรีชนิดเครื่องสาย (String instruments) เป็นหลัก เช่น ไวโอลิน วิโอล่า เชลโล และ เบส เมื่อเล่นรวมกันเป็นวงเรียกว่า ออร์เคสตรา (orchestra) ซึ่งมีผู้ควบคุมวง (conductor) เป็นผู้อำนวยเพลง และนำการบรรเลงเพลงหรือบางท่อนของเพลง หรือเรียกว่า piece เครื่องดนตรีที่ใช้ การบรรเลงเพลงหรือท่อนของเพลงบางประเภท นิยมใช้วง ซิมโฟนีออเคสตรา (symphony orchestra) ซึ่งเป็นการร่วมกันระหว่างวงเครื่องสาย เครื่องเป่าแตรทองเหลือง (brass instruments) เช่น ทรัมเป็ท ทรอมโบน เฟรนชฮอร์น และ ทูบา เครื่องเป่าลมไม้ (Wood winds) เช่น คลาริเน็ต ฟลุต โอโบ และบาซูน และ เครื่องเพอร์คัชชั่น (percussion) เช่น กลอง และ ฉาบ
            ประวัติ และ เวลา ดนตรีคลาสสิคสามารถแบ่งออกเป็นช่วงยุคดังนี้  
        1.ดนตรีคลาสสิกยุโรปยุคกลาง (Medieval European Music พ.ศ. 1019 - พ.ศ. 1943) ดนตรีคลาสสิกยุโรปยุคกลาง หรือ ดนตรียุคกลาง เป็นดนตรีที่ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของดนตรีคลาสสิก เริ่มต้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1019 (ค.ศ. 476) ซึ่งเป็นปีล่มสลายของจักรวรรดิโรมัน ดนตรีในยุคนี้มีจุดประสงค์หลักเพื่อประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับศาสนา และคาดกันว่ามีต้นกำเนิดมาจากดนตรีในยุคกรีกโบราณ
       2. ดนตรียุคเรเนสซองส์ (Renaissance Music พ.ศ. 1943 - พ.ศ. 2143) นับเริ่มการนับเมื่อประมาณปี พ.ศ. 1943 (ค.ศ. 1400) เมื่อเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงศิลปะ และฟื้นฟูศิลปะโบราณยุคโรมันและกรีก แต่ดนตรียังคงเน้นหนักไปทางศาสนา เพียงแต่เริ่มมีการใช้เครื่องดนตรีที่หลากหลายขึ้น ดูเพิ่มที่ ยุคเรเนสซองส์
      3. ดนตรียุคบาโร้ค (Baroque Music พ.ศ. 2143 - พ.ศ. 2293) ยุคนี้เริ่มขึ้นเมื่อมีการกำเนิดอุปรากรในประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี พ.ศ. 2143 (ค.ศ. 1600) และ สิ้นสุดลงเมื่อ โยฮันน์ เซบาสเทียน บาค เสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2293 (ค.ศ. 1750) แต่บางครั้งก็นับว่าสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2273 (ค.ศ. 1730) เริ่มมีการเล่นดนตรีเพื่อการฟังมากขึ้นในหมู่ชนชั้นสูง นิยมการเล่นเครื่องดนตรีประเภทออร์แกนมากขึ้น แต่ก็ยังคงเน้นหนักไปทางศาสนา นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น บาค วิวัลดิ เป็นต้น
       4. ดนตรียุคคลาสสิค (Classical Period Music พ.ศ. 2293 - พ.ศ. 2363) เป็นยุคที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด มีกฏเกณฑ์ แบบแผน รูปแบบและหลักในการเล่นดนตรีอย่างชัดเจน ศุนย์กลางของดนตรียุคนี้คือประเทศออสเตรีย โดยเฉพาะที่กรุงเวียนนา และเมืองมานไฮม์(Mannheim) นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น โมซาร์ท เป็นต้น
       5. ดนตรียุคโรแมนติค (Romantic Music พ.ศ. 2363 - พ.ศ. 2443) เป็นยุคที่มีเริ่มมีการแทรกของอารมณ์ในเพลง มีการเปลี่ยนอารมณ์ ความดังความเบา และจังหวะ ซึ่งต่างจากยุคก่อนๆซึ่งยังไม่มีการใส่อารมณ์ในทำนอง นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่น เบโธเฟน ชูเบิร์ต โชแปง ไชคอฟสกี เป็นต้น
      6. ดนตรียุคศตวรรษที่ 20 (20th Century Calssical Music พ.ศ. 2443 - พ.ศ. 2543) นักดนตรีเริ่มแสวงหาแนวดนตรีที่ไม่ขึ้นกับแนวดนตรีในยุคก่อนๆ จังหวะในแต่ละห้องเริ่มแปลกไปกว่าเดิม ไม่มีโน้ตสำคัญเกิดขึ้น(Atonal) ระยะห่างระหว่างเสียงกับเสียงเริ่มลดน้อยลง ไร้ท่วงทำนองเพลง นักดนตรีบางกลุ่มหันไปยึดดนตรีแนวเดิม ซึ่งเรียกว่า แบบนีโอคลาสสิก (Neoclassic) นักดนตรีที่มีชื่อเสียงในยุคนี้ เช่นอิกอร์ สตราวินสกี เป็นต้น
7. ดนตรียุคปัจจุบัน (ช่วงทศวรรษหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 - ปัจจุบัน)
        
            Classical Music  ประพันธ์ขึ้นโดยคีตกวีในยุคต่าง ๆ ผู้ฟังต้องใช้สมาธิในการฟังมาก เพื่อรับรู้จินตนาการ ความไพเราะการประสานเสียง และรูปแบบของดนตรี
เพลงคลาสสิกฟังยากจริงหรือ ?
        ดนตรีจัดเป็นศาสตร์ขั้นสูงสาขาหนึ่งที่มีความงดงาม มีโครงสร้างของรูปแบบและเนื้อหาของตนเอง เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่ คู่มากับมนุษย์ โดยเป็นลักษณะของโสตศิลป์,เป็นภาษาสากลของมนุษยชาติ , สามารถสื่อสารอารมณ์ต่าง ๆ แห่งความเป็นมนุษย์ และถือว่าเป็นส่วนสำคัญในชีวิตของมนุษย์ขณะที่เราฟังดนตรี เราต้องคำนึงถึงคีตกวี (Composer) เพราะเป็นผู้ที่สร้างดนตรีหรือบทเพลงนั้น ๆ ขึ้นมา เป็นผู้ที่มีทักษะในการแต่งเพลงนอกจากคีตกวีแล้วก็ต้องมีนักดนตรี(Performer) เป็นผู้ที่แสดงนำเสนอหรือบรรเลงบทเพลงนั้นออกมาทำให้ผู้ฝังได้ยินเสียงและนำไปสู่อารมณ์ต่างๆได้ตามที่ได้กล่าวแล้วข้างต้นว่าดนตรีเป็นภาษาสากลของมนุษยชาติที่สามารถเข้าใจเป็นสื่อสากลที่จะนำมนุษย์ไปสู่ความเข้าใจอันดีต่อกัน ดนตรีทำให้มนุษย์เกิดสุนทรียภาพมีจิตใจงดงาม
         เมื่อกล่าวถึงดนตรี ประการแรกที่ควรพิจารณา คือ ดนตรีทุกประเภทหรือเพลงทุกเพลงนำไปสู่ความซาบซึ้งได้เท่ากันหมดหรือไม่
         คำ ตอบก็คือไม่ใช่ เนื่องจากความซาบซึ้งเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นในลักษณะของความเอิบอิ่มในใจ เป็นความลึกซึ้งในความรู้สึกที่ยากจะใช้คำ ๆ ใดมาอธิบายได้อย่างกระจ่างชัด เพราะเป็นเรื่องของจิตใจที่แต่ละคนรู้สึกได้ด้วยตนเองเท่านั้น
         ดังนั้นดนตรีที่ทำให้ผู้ฟังเกิดความซาบซึ้งได้นั้นย่อมต้องเป็นดนตรีที่มีโครงสร้างของรูปแบบและเนื้อหาที่ลึกซึ้งละเอียดอ่อน   มีลักษณะเป็นเอกลักษณ์ เต็มไปด้วยการสร้างสรรค์ซึ่งประกอบด้วยโครงสร้างของรูปแบบและเนื้อหาที่ลึกซึ้งตามหลักเกณฑ์และทฤษฎี
      ได้แก่ จังหวะ , ทำนอง , เสียงประสาน , ระบบเสียง , รูปพรรณ , ฯลฯซึ่งสิ่งเหล่านี้จะได้รับการถ่ายทอดผ่านทางผู้แสดง (Performer) ออกมาเป็นเสียงดนตรีที่เต็มไปด้วยความรู้สึกที่มีทั้งเนื้อหาสาระที่ลึกซึ้งที่เราเรียกว่าดนตรีตะวันตก หรือดนตรีคลาสสิก เป็นต้นดนตรีเหล่านี้เป็นดนตรีที่มีรูปแบบและเนื้อหาที่สลับซับซ้อนลึกซึ้งดนตรีคลาสสิก เป็นดนตรีที่มีประวัติความเป็นมายาวนาน ผู้ที่จะสร้างสรรค์ดนตรีไม่ว่าจะเป็นในฐานะของผู้ประพันธ์เพลงหรือนักดนตรีต้อง ใช้เวลาในชีวิตศึกษาทฤษฎีฝึกฝนอยู่เป็นเวลานานจึงทำให้ผลงานที่ออกมามีคุณ ค่า ด้วยเหตุที่บทเพลงเหล่านี้มีความสลับซับซ้อน ในบางครั้งเมื่อฟังบทเพลงเหล่านี้ผู้ฟังอาจไม่เข้าใจและไม่เกิดความซาบซึ้ง
      ทั้งนี้เนื่องมาจากตัวผู้ฟังเองด้วยผู้ฟังซึ่งเป็นผู้ที่จะเกิดความซาบซึ้งในดนตรีนั้นต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ ความเข้าใจในบทเพลงหรือดนตรีพอเพียงที่จะเกิดความซาบซึ้ง

     ความหมายของคำว่า “คลาสสิค” ( CLASSICAL )

1. โดยทั่ว ๆ ไปหมายถึง “สิ่งที่รับรองกันแล้วว่าดีถึงขนาด” หรือ “ผลงานชิ้นเยี่ยมของศิลปิน” หรือ “ผลงานของศิลปินที่มีความสมบูรณ์ ความบริสุทธิ์ และความกระจ่างชัดในด้านเนื้อหา ( Contents ) และแบบแลนหรือรูปทรง ( Form )”
2. ศิลปะและวรรณคดี ที่ศิลปินและกวีกรีกโบราณได้สร้างสรรค์ขึ้นระหว่างปี 540 – 400 ก่อนคริสตกาล
3. เป็นคำทีมีความหมายตรงกันข้าม กับคำว่า “ROMANTIC”
4. เป็นคำทีมีความหมายตรงกันข้ามกับคำว่า “Popula” เช่น Classical music ฟังและเข้าใจยากกว่า Popula music
5. ในกรณี หมายถึง สมัยของดนตรียุโรปนับตั้งแต่กลางคริสต์ศตวรรษที่ 18 มาจนถึงราวปี ค.ศ. 1820 ซึ่งบางทีสมัยนี้นิยมเรียกกันว่า “ สมัยคลาสิคเวียนนา” ทั้งนี้เพราะความเจริญของดนตรีสมัยนี้มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงเวียนนา

       ใน สมัยคลาสสิคนี้ เพลงที่บรรเลงด้วยเครื่องดนตรี ( instrumental music ) เริ่มมีความสำคัญกว่าเพลงขับร้อง ดังจะเห็นว่าซิมโฟนีที่ประกอบขึ้นด้วยท่อนต่าง ๆ 4 ท่อน โซโลคอนแชร์โตที่ประกอบขึ้นด้วยท่อนต่าง ๆ 3 ท่อน ดิแวรร์ติเมนโตและเซเรเนดได้พัฒนาไปมาก การคลี่คลายของ “แบบแผนโซนาตา” ได้มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งยวดต่อ ซิมโฟนี คอนแชร์โต และเชมเบอร์มิวสิคที่แต่งขึ้นในสมัยนี้และสมัยต่อมา

       ดนตรีในสมัยนี้ นับได้ว่าเป็น “ดนตรีบริสุทธิ์” ( pure music or absolute music ) โดยแท้เพราะดนตรีมุ่งแสดงความงดงามของเสียงโดยตรง ปราศจากความประทับใจทางอารมณ์ เป็นการประพันธ์เพื่อฟังแล้วเกิดความไพเราะโดยไม่มีจุดประสงค์ว่าแต่งเพื่อ ใคร เพราะเหตุใด และไม่มีเรื่องราว หรือ เนื้อหาความเป็นมาใด ๆ อยู่เบื้องหลังการแต่ง

        ถ้าเราฟังดนตรีสมัยนี้ เราจะสัมผัสกับเจตนารมณ์ของคีตกวีที่ประสงค์ให้บทเพลงของเขาแสดงถึงเทคนิค การบรรเลงที่สูงส่ง เช่น การสอดสลับ การรับตอบ การล้อเลียนจากทำนองหนึ่งไปอีกทำนองหนึ่ง ฯลฯ ซึ่งแต่ละเทคนิคจะมีเม็ดพรายหน่วยก้านชั้นเชิงอย่างแพรวพราว และขณะเดียวกันบทเพลงก็จะต้องมีทำนองที่ไพเราะจับใจเป็นเสน่ห์ชั้นแรกที่ดึง ดูดผู้ฟัง ซึ่งจะมีความแตกต่างจากในยุคบาโรคมากพอสมควร ดนตรีที่มีการเน้นเสียงประสานมากขึ้น มีการเล่นลักษณะของซิมโฟนี่วงใหญ่ที่มีเครื่องดนตรีมากขึ้น การประพันธ์เพลงและแนวเพลงจะมีกฎเกณฑ์และแบบแผนทำให้ลักษณะของเพลงดูเป็นรูป แบบมากขึ้น

       คีตกวีในสมัยนี้มิได้ถ่ายทอดความรู้สึกทางอารมณ์ของตน ลงในบทเพลง ( จะมีบ้างก็เป็นส่วนน้อย ) โดยถือว่ากรสร้างสรรค์ดนตรีก็เพื่อคุณค่าของดนตรี หรือ “ศิลปะเพื่อศิลปะ” ( art for art sake ) แม้ว่าบางครั้งเขาจะได้รับความสะเทือนอารมณ์อย่างรุนแรง เขาก็ยังคงยึดมั่นอุดมคตินี้อย่างเคร่งครัด และพยายามอย่างยิ่งยวดที่ยะทำให้ผลงานดีเด่นด้วยความอ่อนหวาน ความกระจุ๋มกระจิ๋ม และความกระปรี้กระเปร่าร่าเริง ปรากฎเป็นลักษณะเด่นอยู่บ่อยครั้งในบทเพลง
           ในสมัยนี้เปียโนเริ่ม เป็นเครื่องดนตรีที่มีบทบาทสำคัญแทนฮาร์พซิคอร์ดและคลาวิคอร์ด คาร์ล ฟิลิปป์ เอมานูเอล บาค ได้วางพื้นฐานของเทคนิคการบรรเลงเปียโน ซึ่งต่อจากนั้นก็ได้มีพัฒนาการขึ้นมาเป็นลำดับ

                สรุปลักษณะสำคัญของดนตรีสมัยคลาสสิค
  1. “แบบแผนโซนาตา” มีความสำคัญอย่างมากต่อซิมโฟนี คอนแชร์โตและเชมเบอร์มิวสิค ( โซนาตา คือ การบรรเลงเดี่ยวด้วยเครื่องดนตรี 1 หรือ 2 ชิ้น )
  2. ในด้าน “texture” ได้ใช้สไตล์โฮโมโฟนี บทเพลงจะมีท่องทำนองเพียงแนวเดียว และจะมีการคลอประกอบท่วงทำนองนั้นด้วยเนื้อหาที่มิได้เป็นท่วงทำนอง
  3. ในด้านการประสานเสียงนั้น การประสานเสียงของดนตรีซับซ้อนน้อยกว่าการประสานเสียงของดนตรีสมัยบาโร้ค ได้มีการใช้ไตรแอ็ดมากยิ่งขึ้น
  4. เนื่องจากแนวบรรเลง “basso continuo” ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในสมัยบาโร้คมิได้รับความนิยมอีกต่อไป ดังนั้นการเล่นโ ดยอาศัยปฏิภาณ ( improvisation ) จึงไม่ค่อยมีผู้ใดนำมาปฎิบัติกัน คีตกวีในสมัยนี้เมื่อได้แต่งเพลงบทใด เขาก็จะเรียบเรียงและจัดการประสานเสียงในเพลงบทนั้นไว้พร้อมบริบูรณ์สำหรับ การบรรเลง
            การแสดงดนตรีคลาสสิคนี้นิยมใช้เครื่องดนตรีชนิดเครื่องสาย (String instruments) เป็นหลัก เช่น ไวโอลิน วิโอล่า เชลโล และ เบส เมื่อเล่นรวมกันเป็นวงเรียกว่า ออร์เคสตรา (orchestra) ซึ่งมีผู้ควบคุมวง (conductor) เป็นผู้อำนวยเพลง และนำการบรรเลงเพลงหรือบางท่อนของเพลง หรือเรียกว่า piece
     เครื่องดนตรีที่ใช้
การบรรเลงเพลงหรือท่อนของเพลงบางประเภท นิยมใช้วง ซิมโฟนีออเคสตรา (symphony orchestra) ซึ่งเป็นการร่วมกันระหว่างวงเครื่องสาย เครื่องเป่าแตรทองเหลือง (brass instruments) เช่น ทรัมเป็ต ทรอมโบน เฟรนช์ฮอร์น และ ทูบา เครื่องเป่าลมไม้ (Wood winds) เช่น คลาริเน็ต ฟลุต โอโบ และบาสซูน และ เครื่องเพอร์คัชชั่น (percussion) เช่น กลอง และ ฉาบ

การแบ่งประเภทวงและการแสดงของดนตรีคลาสสิค
   แบ่งตามประเภทวงที่บรรเลง และประเภทของการแสดง
             ☺ เดี่ยวเครื่องดนตรี
    เปียโนสี่มือ
☺แชมเบอร์มิสิก
    วงดูโอ
    วงทริโอ
    วงควอเต็ต
    วงควินเต็ต
    วงเซ็กซ์เต็ต
    วงซิมโฟนีออร์เคสตรา
    อุปรากร หรือ โอเปร่า
    โอเปเร็ตต้า
    บัลเลต์
    ขับร้อง
    ขับร้องเดี่ยว
    ขับร้องประสานเสียง
       แบ่งตามโครงสร้าง (Form) ของเพลง
    คอนแชร์โต้ - Concerto
    ซิมโฟนี่ - [English: Symphony | French: Symphonie | German: Sinfonia]
    โซนาต้า - Sonata
    ฟิวก์ - Fugue
    เปรลูด - Prelude
    โอเวอร์เจอร์ - Overture
    บัลลาด - Ballade
    เอทู๊ด - Etude
    มาร์ช - March
    คันตาตา - Cantata
    วาริเอชั่น - Variation
    แฟนตาเซีย หรือ ฟ็องเตซี - [Italian: Fantasia | French: Fantasy]
    กาวอต - Gavotte
    มินูเอ็ต - [French: Minuet |Italian: Menuet]
    เซเรเนด - Serenade
    พอลก้า - Polka
    คังคัง - Can-Can
    คานอน - Canon
    โปโลเนส - Polonaise
    อาราเบส - Arabesque
    โฮโมรี๊ส - Humoresque
    น็อคเทิร์น - Nocturne/Nocturno
    สวีท - Suite
    ทอคคาต้า - Toccata
    บากาเตล - Bagatelle
    ตารันเตลลา - Tarantella
    ดิแวร์ติเมนโต - Divertimento
    บทเพลงทางศาสนา - Sacred Music
    โมเต็ต - Motet
    แพสชั่น - Passion
    ออราทอริโอ - Oratorio
    มิสซา - Mass
    เรควีเอ็ม - Requiem
            รายชื่อศิลปินดนตรีคลาสสิกที่มีแบ่งตามยุค
    ยุคกลาง
    Léonin
    Pérotin
    Phillippe de Vitry
    Guillaume de Machaut
    ยุคเรเนสซองส์
    Guillaume Dufay
    Johannes Ockeghem
    Josquin Des Prez
    Jacob Obrecht
    Claude Le Jeune
    Giovanni Palestrina
    Orlando di Lasso
    Carlo Gesualdo
    Adriane Willaert
    ยุคบารอค
    Claudio Monteverdi
    ฌอง-แบ๊ปติสต์ ลุลลี่ (Jean Baptist Lully)
    Jean Phillippe Rameau
    โยฮันน์ เซบาสเตียน บาค (Johann Sebastian Bach)
    จอร์จ เฟรดริก ฮันเดล (Georg Friedrich Händel)
    Georg Phillip Telemann
    Henry Purcell
    อันโตนิโอ วิวัลดิ (Antonio Vivaldi)
    โยฮันน์ พาเคลเบล (Johann Pachelbel)
    ยุคคลาสสิค
    Carl Phillip Emanuel Bach
    Johannes Christian Bach
    Christoph Willibald Gluck
    โวล์ฟกัง อะมาเดอุส โมซาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart)
    ฟรานซ์ โจเซฟ ไฮเดิร์น (Franz Joseph Haydn)
    ลุดวิก ฟาน เบโธเฟน (Ludwig van Beethoven)
    ยุคโรแมนติค
    ลุดวิก ฟาน เบโทเฟน (Ludwig van Beethoven)
    ฟรานซ์ ปีเตอร์ ชูเบิร์ต (Franz Peter Schubert)
    เฟรเดริก ฟรองซัวส์ โชแปง (Frédéric François Chopin)
    เฟลิกซ์ เมนเดลโซห์น-บาร์โธลดี (Felix Mendelssohn-Batholdy)
    แอนโทนิน ดโวชาค (Antonín Dvořák)
    ริชาร์ด วากเนอร์ (Richard Wagner)
    จูเซปเป แวร์ดิ (Giuseppe Verdi)
    เอกตอร์ แบร์ลิโยส (Hector Berlioz)
    ปีเตอร์ อิลิช ไชคอฟสกี้ (Peter Ilyich Tchaikovsky)
    โรเบิร์ต อเล็กซานเดอร์ ชูมันน์ Schumann
    โยฮันเนส บราห์มส์ (Johannes Brahms)
    โยฮันน์ สเตราส์ บิดา (Johann Strauss father)
    โยฮันน์ สเตราส์ บุตร (Johann Strauss son)
    ชาร์ลส กูนอด (Charles Gounod)
    แอนตัน บรุคเนอร์ (Anton Bruckner)
    ริเคอร์ด สเตราส์ (Richard Strauss)
    กุสตาฟ มาห์เลอร์ (Gustav Mahler)
    ฮูโก วูล์ฟ (Hugo Wolf)
    ยาน ซิเบเลียส (Jean Sibelius)
    ยุคศตวรรษที่ 20
    อาร์โนลด์ เชินแบร์ก (Arnold Schoenberg)
    โคลด เดอบุซซี (Claude Debussy)
    ชาร์ลส์ ไอฟส์ (Charles Ives)
    คาร์ล ออร์ฟ (Carl Orff)
    อิกอร์ สตราวินสกี้ (Igor Stravinsky)
    อัลบัน แบร์ก (Alban Berg)
    อันโตน เวเบิร์น (Anton Webern)
    เบลา บาต๊อค (Béla Bartók)
    ดิมิทรี ดิมิทรีวิช ชอสตาโกวิช (Dmitri Dmitrievich Shostakovich)
    โอลิวิเยร์ เมสสิออง (Olivier Messiaen)
    วิโทลด์ ลูโทสลาฟสกี (Witold Lutoslawski)
    จอห์น เคจ (John Cage)
    ยุคปัจจุบันหรือ คริสต์ศตวรรษที่ 21
    ปิแอร์ บูเลซ (Pierre Boulez)
    คาร์ลไฮน์ สต็อกเฮาเซน (Karlheinz Stockhausen)
    ลูเซียโน เบริโย (Luciano Berio)
    ลุยจิ โนโน (Luigi Nono)
    ยานนิส เซนาคิส (Iannis Xenakis)
    เอลเลียต คาร์เตอร์ (Elliott Carter)
    Milton Babbitt
    วอล์ฟกัง รีห์ม (Wolfgang Rihm)
    Arvo Pärt
    Sofia Gubaidulina
    Giya Kancheli
    ยอร์กี ลิเกตี (Gyorgy Ligeti)
    คริสตอฟ เพนเดเรซกี Krzysztof Penderecki
    ยอร์กี เคอร์ทัค Gyorgy Kurtag
    เฮลมุต ลาเคนมานน์ (Helmut Lachenmann)
    สตีฟ ไรค์ (Steve Reich)
    Philip Glass
    John Adams
    John Zorn
    Toru Takemitsu
    Tan Dun
    Chen Yi
    Unsuk Chil

คีตกวีชาวไทยที่ประพันธ์ดนตรีคลาสสิกในปัจจุบันที่มีงานดนตรีออกมาอย่างสม่ำเสมอ
    ณรงค์ฤทธิ์ ธรรมบุตร
    วีรชาติ เปรมานนท์
    สุรัตน์ เขมาลีลากุล
    จิรเดช เสตะพันธุ
    ณรงค์ ปรางเจริญ
    อติภพ ภัทรเดชไพศาล
    บุญรัตน์ ศิริรัตนพันธ
    อภิสิทธ์ วงศ์โชติ
    ศิรเศรษฐ์ พันธุอัมพร
    วิบูลย์ ตระกูลฮุน
    จักรี กิจประเสริฐ
    อโนทัย นิติพล
             คีตกวีคนสำคัญ
    ฟรานซ์ ปีเตอร์ ชูเบิร์ต (Franz Peter Schubert)
    เอริก ซาที (Erik Satie)
    จอร์เจอส์ บิเซท (Georges Bizet)
    เบลา บาร์ต็อก (Béla Bartók)
    คาร์ล เซอร์นี (Carl Czerny)
    โคล้ด เดบุซซี่ (Claude Debussy)
    โยฮันน์ เฟรดริก ฟร้านซ์ เบิร์กมุลเลอร์ (Johann Friedrich Franz Burgmüller)
    ฟร้านซ์ ลิซท์ (Franz Liszt)
    ชาคส์ ออฟเฟนบาค (Jacques Offenbach)
    จิอาโคโม ปุชชินี (Giacomo Puccini)
    ฟรานซิส ปูเลงค์ (Francis Poulenc)
    จูเซปเป แวร์ดิ (Giuseppe Verdi)


                              
                                






                      
              คีตกวีคนสำคัญในยุคคลาสสิค
       ลุดวิก ฟาน บีโธเฟ่น ( Ludwig van Beethoven)
      ดนตรีคลาสสิคนั้นมีกฎข้อบังคับไม่ค่อยให้อิสระแก่นักประพันธ์ที่จะใส่อะไรลงไปตามใจชอบ  บีโธเฟ่น คือคีตกวีคนสุดท้ายในยุคคลาสสิค  และเป็นคนแรกของยุคโรแมนติก  ผลงานช่วงแรกๆของเขายังคงไว้ซึ่งกฎระเบียบในแบบคลาสสิคอย่างเคร่งครัด  แต่ในช่วงหลังๆเมื่อหูของเขาเริ่มหนวกก็ได้แหวกฟอร์มคลาสสิคบ้างแต่ยังคงไว้ ซึ่งทฤษฎีดนตรี  ด้วยว่าเขามีชีวิตคาบเกี่ยวระหว่างยุคคลาสสิคและโรแมนติค
      ตัวอย่างผลงานแนวโรแมนติคของบีโธเฟ่นคือซิมโฟนี

        “ความ เป็นอมตะแห่งดนตรี ของบีโธเฟ่นคือสามารถบอกเรื่องราวอันขมขื่นเกือบทั้งชีวิต  บอกความรู้สึกนึกคิดที่สุดจะทนต่อความทุกข์ ที่เนื่องมาจากความผิดหวัง และโชคชะตา ยิ่งไปกว่านั้นคือสามารถเตือนใจทำให้ผู้ฟังย้อนคิดถึงตัวเอง”

        บี โธเฟ่นคีตกวีชาวเยอรมัน เกิดที่กรุงบอร์น ในปีค.ศ. ๑๗๗๐ บีโธเฟ่นศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ในวัยหนุ่มชีวิตของเขา ก็ไม่แตกต่างจากศิลปินผู้ยิ่งใหญ่ทั้งหลายนั่นคือเงาแห่งความยากจนข้นแค้นใน ระหว่างที่ยังคงมีชีวิตอยู่  มีบันทึกไว้ว่าสิ่งที่ทำให้บีโธเฟ่นดูเคร่งเครียดเนื่องจากในวัยเด็กมาจาก ครอบครัวที่ยากจนทำให้ต้องดิ้นรนขวนขวาย มีผู้ตั้งข้อสังเกตไว้ว่าแม่ของเขาไม่เคยยิ้มเลย กระนั้นเขาก็ยังคงมีจิตใจที่อ่อนโยนและช่างคิดเขานับถือแม่และเห็นใจเธอ ต่างจากพ่อที่ขี้เมาหัวราน้ำ  พ่อที่ไม่เคยวางแผนอนาคตให้ลูกแต่ก็ได้เคี่ยวเข็ญให้เขาฝึกดนตรีอย่างหนัก ตั้งแต่เขาอายุ ๔ขวบ ขณะนั้นโมสาร์ทกำลังมีชื่อเสียงทางดนตรีพ่อของบีโธเฟ่นอยากให้ลูกของตนมี ชื่อเสียงอย่างนั้นบ้าง แต่ตอนนั้นอัจฉริยภาพทางดนตรีของเขายังไม่ปรากฏ  จนกระทั่งเขาเริ่มแตกหนุ่มและมีความสนใจวรรณคดีอย่างจริงจังโดยเฉพาะวรรณคดี ที่เชื่อมโยงกับดนตรีในทางอุปรากร  พออายุได้ ๑๖ ความทะเยอทะยานก็นำเขามุ่งสู่กรุงเวียนนา  โอกาสอาจจะไม่เป็นของเขาถ้าวันนั้นโมสาร์ทไม่ได้ฟังหนุ่มน้อยบีโธเฟ่นเล่น ดนตรีที่โมสาร์ทเป็นผู้แต่งอย่างพลิกแพลงและความสามารถในการเล่นคีย์บอร์ด  แต่ไม่นานเขาต้องจากเวียนนาเมื่อทราบข่าวว่าแม่ป่วยหนักและต้องดูใจแม่เป็น ครั้งสุดท้าย ภาระที่เขาต้องรับหลังจากที่แม่จากไปอย่างไม่มีวันกลับคือเลี้ยงดูน้องอีก ๒ คนกับพ่อขี้เมา  เขาเลี้ยงน้อง ๒ คนจากการเล่นคีย์บอร์ดทั้งเปียโนและออร์แกนตามงานต่างๆจนกระทั่งพ่อได้จากไป อีกคน  ชื่อเสียงของบีโธเฟ่นเริ่มเป็นที่รู้จักในฐานะมือเปียโนตัวฉกาจและได้รับการ อุปการะจาก Prince Lichnowsky ทำให้เขาได้มีโอกาสสัมผัสกับดนตรีแห่งราชสำนักและเรียนพื้นฐานทางดนตรีเพิ่ม เติม


บีโธเฟ่นในวัยแตกพาน กำลังเล่นเปียโนเพลงของโมสาร์ทให้โมสาร์ทฟัง

กระนั้น เขาก็ได้รับการยอมรับจากเวียนนาในฐานะนักเปียโนผู้สามารถแต่มิใช่นักการ ประพันธ์ดนตรี  บีโธเฟ่นไม่ต้องการที่จะลอกเลียนแบบการประพันธ์ดนตรีของใครเขาจึงพยายาม อย่างหนักจนกระทั่งเริ่มได้รับการยอมรับ  แต่โชคชะตาและเคราะหืกรรมก็ถาโถมเข้ามาอีก เมื่อหูของเขาเริ่มหนวกเมื่อวัยเพียง ๓๐ ต้นๆ  แน่นอนที่สุดชีวิตของเขาคือการไม่ยอมจำนน เขามีความรักกับหญิงหลายคนแต่ก็เป็นเพียงทางผ่านของแต่ละฝ่าย แต่คนที่เขาต้องการจะแต่งงานด้วยคือ Magdalena แต่เธอก็ปฏิเสธที่จะตอบตกลงโดยลงความเห็นว่าเขาดูบ้าๆบอๆ หลังจากนั้นอีกสิบปีเขาได้ประพันธ์ดนตรีออกมามากมาย ทั้งๆที่หูหนวกและต้องใช้เครื่องช่วยฟัง

ในบั้นปลายของชีวิตหูของเขา หนวกสนิท มีชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยว สุขภาพเริ่มทรุดโทรมและจากไปด้วยวัย ๕๗ ปี อนุสาวรีย์หรือคำสรรเสริญไม่จำเป็นสำหรับบีโธเฟ่น แต่ผลงานของเขาคืออนุสรณ์ที่แท้จริง ดนตรีของเขาเป็นตัวของตัวเองอย่างแน่วแน่ ไม่ยึดติดกับดนตรีของราชสำนักหรือแบบเจ้าขุนมูลนายอีกต่อไป



หูของเขาเริ่มหนวกด้วยวัยเพียงสามสิบต้นๆ จนหนวกสนิทและต้องใช้เครื่องช่วยฟังจนถึงวาระสุดท้าย

ผล งานดนตรี “Moonlight” Sonata เขาประพันธ์เพลงชิ้นนี้เพื่อระลึกถึงหญิงสาวชื่อ จูเลียตตา (Giulietta Guicciardi) ที่เขาหลงใหล  Symphony No. 6 in F Major ที่ได้ชื่อว่า “ซิมโฟนีแห่งชนบท”  และอีกหลายๆชิ้นรวมทั้งบทเพลงที่ ป้า Jpusang ได้กล่าวถึง  






            รายงาน
   เรื่อง ดนตรียุคคลาสสิค ( Classical Music)
จัดทำโดย
นางสาวกนกภรณ์ ด้วงกูล   เลขที่ 14
                                 นางสาวจารึก สงวนทอง   เลขที่ 17
                                 นางสาวจิราณี บุญรัตน์      เลขที่ 18
                                นางสาวพิมพธู พงศ์ยูโสะ  เลขที่ 32
                               นางสาวพัททิยา พัฒฉิม     เลขที่ 33
                               นางสาวอารยา รัตนะ         เลขที่41
              ชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่๕/๗
เสนอ
อาจารย์ วัฒนา แก้วนพรัตน์
ภาคเรียนที่๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๑
โรงเรียน เตรียมอุดมศึกษาภาคใต้

แสดงความคิดเห็น

>

6 ความคิดเห็น

P_peo 19 ส.ค. 51 เวลา 23:09 น. 2

โห กำลังหาอยู่พอดี คนที่เอามาลง ขอบคุณมากๆนะคะ
ล้วก็ผู้ที่ทำรายงานด้วยค่ะ ขอบคุณมากๆค่ะ

0
ดีจัง 14 ส.ค. 52 เวลา 20:33 น. 3

ขอบคุนมากๆเลยน่ะค่ะ


ได้ข้อมูลสำคัญๆไปประกอบเยอะแยะเลย

+/\*&nbsp ขอให้มีความสุขมากๆน่ะค้า พี่ๆผู้จัดทำทุกคน

0