Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ศีลธรรมนำสุฃ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ตอนที่ 1
ความเป็นมาของชฏิลสามพี่น้อง

ในสมัยพุทธกาล ที่ตำบลอุรุเวลา  มีชฎิล 3 พี่น้อง  อาศัยอยู่กับพวกชฎิล จำนวน 1,000 คน โดยชฎิลอุรุเวลกัสสปะ ซึ่งเป็นพี่ชายคนโต เป็นผู้นำและเป็นหัวหน้าของชฎิลจำนวน  500  คน   นับว่าเป็นเลิศในการมีบริวารมากที่สุด ส่วนน้องชายคนรอง คือชฎิลนทีกัสสปะ เป็นหัวหน้าของชฎิลจำนวน  300  คน และน้องชายคนเล็ก คือ ชฎิลคยากัสสปะ เป็นหัวหน้าของชฎิลจำนวน  200  คน                    
(ชฎิล เป็นคำเรียกนักพรตพวกหนึ่งที่บูชาไฟ)  










                                    
                                        
                                     ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดป่าเลไลย์ฯ  จังหวัดสุพรรณบุรี












    ตอนที่ 2
   พระพุทธเจ้าทรงโปรดชฎิลอุรุเวลกัสสปะ


    หลังจากที่พระพุทธเจ้า ได้ส่งพระสาวกชุดแรกจำนวน 60 รูปออกไปประกาศพระศาสนาตามทิศทางต่างๆ แล้ว  พระองค์เองก็ได้เสด็จมาที่  ตำบล
อุรุเวลา ซึ่งมีชฎิล 3 พี่น้องกับพวกอาศัยอยู่ โดยพระองค์ทรงใช้วิธีทำให้พี่ชายคนโต คือ ชฎิลอุรุเวลกัสสปะ ผู้ซึ่งมีความถือดีสูง ยอมลดความถือดีหันมายอมรับนับถือ และพร้อมที่จะฟังธรรมของพระองค์











ภาพจิตรกรรมฝาผนัง  พระอุโบสถวัดมะกอกสีมาราม จังหวัดปราจีนบุรี

             พระพุทธเจ้าเสด็จไปยังอาศรมของชฎิลอุรุเวลกัสสปะ และขอพักแรมด้วย แต่อุรุเวลกัสสปะ ไม่ยินดีเพราะเห็นว่าพระพุทธเจ้าเป็นนักบวชต่างลัทธิกับตน พระพุทธเจ้าต้องเอ่ยปากถึง   3  ครั้ง อุรุเวลกัสสปะจึงกราบทูลอนุญาตให้พระองค์ประทับในโรงไฟ ซึ่งมีพญานาคที่ดุร้ายอาศัยอยู่ พวกชฎิลคิดว่าพระพุทธเจ้าคงจะถูกพญานาคทำร้ายแน่นอน แต่พระองค์ไม่ทรงได้รับอันตรายใดๆ และทรงกำจัดฤทธิ์ของพญานาค โดยทรงจับพญานาคขดลงในบาตร



เมื่ออุรุเวลกัสสปะเห็นก็เลื่อมใสในปาฏิหาริย์ของพระองค์ จึงกราบทูลให้พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่อาศรมของตน





    

          

ในแต่ละคืนที่พระพุทธเจ้าประทับที่อาศรมของอุรุเวลกัสสปะ ได้มีเทวดามาเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อฟังธรรมจากพระองค์ ซึ่งอุรุเวลกัสสปะ ก็รับทราบแต่ยังไม่ยอมนับถือพระพุทธเจ้าและมีความคิดว่าพระพุทธเจ้ามีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมากก็จริง แต่ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนตน
    ต่อมาชฎิลอุรุเวลกัสสปะ ได้ตระเตรียมการบูชาไฟครั้งใหญ่ประชาชนที่เลื่อมใสต่างก็มาร่วมพิธีจำนวนมาก  อุรุเวลกัสสปะจึงคิดในใจว่าไม่อยากให้พระพุทธเจ้าเสด็จมาฉันอาหารที่อาศรม ด้วยเกรงว่าประชาชนจะหันมาเลื่อมใสพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ก็ทรงทราบความคิดของอุรุเวลกัสสปะ จึงไม่เสด็จไปฉันอาหารที่อาศรม เมื่ออุรุเวลกัสสปะทูลถามพระองค์ถึงสาเหตุที่ไม่เสด็จมาฉันอาหาร พระพุทธเจ้าจึงทรงตอบว่า เพราะอุรุเวลกัสสปะไม่อยากให้พระองค์เสด็จมา ด้วยเกรงว่าประชาชนจะหันมานับถือพระองค์ เมื่ออุรุเวลกัสสปะได้ยินดังนี้
ก็คิดว่า พระพุทธเจ้ามีฤทธิ์มาก  มีอานุภาพมากจริง ถึงกับทรงทราบความนึกคิดของตน แต่พระองค์ไม่ได้เป็นพระอรหันต์เหมือนตนแน่
              พระพุทธเจ้าได้ทรงแสดงปาฏิหาริย์ให้ปรากฏแก่พวกชฎิลอีกหลายประการ เช่น พวกชฎิลต้องการบูชาไฟ แต่ก่อไฟไม่ติด จนกระทั่งพระพุทธเจ้าเปล่งวาจาอนุญาตให้ก่อไฟได้ พวกชฎิลจึงก่อไฟติด และเมื่อพวกชฎิลต้องการดับไฟก็ไม่สามารถดับได้ เมื่อพระพุทธเจ้าเปล่งวาจาอนุญาต พวกชฎิลจึงสามารถดับไฟได้ แต่ไม่ว่าพระพุทธเจ้า จะแสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ให้ปรากฏอย่างใด  แต่ชฎิลอุรุเวลกัสสปะ ก็ยังไม่ลดความถือดี และยังคงคิดว่าพระพุทธเจ้าไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนตนแน่











                                                    ภาพจิตรกรรมฝาผนังพระอุโบสถวัดมะกอกสีมาราม จังหวัดปราจีนบุรี
             พระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสสอนให้อุรุเวลกัสสปะได้รู้สึกตัว จนยอมละความถือดี และทูลขอบวชเป็นสาวกของพระองค์ ก่อนที่อุรุเวลกัสสปะจะบวช พระพุทธเจ้าได้ชี้แจงกับเหล่าชฎิลที่เป็นบริวารทั้ง 500 คนก่อน เมื่อชฎิลเหล่านั้นทราบว่าผู้เป็นอาจารย์ของตนจะบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า จึงขอบวชตาม
           เมื่อชฎิลนทีกัสสปะ และชฎิลคยากัสสปะ ทราบว่าพี่ชายของตนบวชเป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ชฎิลทั้ง  2  คน และบริวารทั้งหมด ต่างพากันเลื่อมใสในพระพุทธเจ้าและกราบทูลขอบวชตาม รวมแล้วพระพุทธเจ้าได้สาวกเพิ่มขึ้น
อีก 1,003 รูป เมื่อท่านเหล่านั้นมีอินทรีย์แก่กล้าแล้ว พระพุทธเจ้าจึงทรงตรัสเทศนาชื่อ อาทิตตปริยายสูตร (อ่านว่า อา-ทิด-ตะ-ปริ-ยา-ยะ-สูด)  จิตของท่านเหล่านั้นก็หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นอุปทาน ได้บรรลุพระอรหันต์  เป็น
พระขีณาสพ  พระอุรุเวลกัสสปะ ได้รับการยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่ามีความเป็นเลิศทางการมีบริวารมาก การที่ท่านมีบริวารมาก เพราะท่านรู้จักเอาใจบริษัทสงเคราะห์ด้วยอามิสบ้าง ด้วยธรรมบ้างตามที่ต้องการ ผู้ประกอบด้วยคุณสมบัติเช่นนี้ย่อมยึดเหนี่ยวน้ำใจของมหาชนไว้ได้
                             ตอบคำถามก่อนนะคะ ค่อยๆคิด แล้วจะได้คำตอบ  
        จงตอบคำถามต่อไปนี้
1.    ชฎิลอุรุเวลกัสสปะเป็นผู้ที่มีลักษณะอย่างไร
         ตอบ ..........................................................................................................
2.     เพราะเหตุใดชฏิลอุรุเวลกัสสปะจึงมีบริวารมาก
         ตอบ ..........................................................................................................
3.     เพราะเหตุใดชฏิลอุรุเวลกัสสปะจึงไม่ยอมรับนับถือพระพุทธเจ้าในตอน
        แรก
        ตอบ ..........................................................................................................
                 ..........................................................................................................
4.     เพราะเหตุใดชฏิลอุรุเวลกัสสปะจึงยอมหันมานับถือและขอบวชเป็นสาวก
         ของพระพุทธเจ้า
         ตอบ .........................................................................................................
        ..................................................................................................................
5.     พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระอุรุเวลกัสสปะว่ามีความเป็นเลิศทางด้านใด
       ตอบ ...........................................................................................................

                                  

เฉลย/แนวตอบ
     1.    เป็นผู้ที่มีความถือดีสูง        
     2.    เพราะการรู้จักเอาใจบริษัทสงเคราะห์ด้วยอามิสบ้าง ด้วยธรรมบ้างตามที่ต้องการ      
     3.    เพราะมีความถือดีสูง  เห็นว่าพระพุทธเจ้าเป็นนักบวชต่างลัทธิกับตน  และคิดว่าพระพุทธเจ้า ไม่เป็นพระอรหันต์เหมือนตน    
     4.    เพราะเห็นปาฏิหาริย์หลายๆประการของพระพุทธเจ้า และที่สำคัญที่สุด คือพระพุทธเจ้า  ทรงตรัสสอนให้อุรุเวลกัสสปะได้รู้สึกตัว จนยอมละความถือดี และทูลขอบวชเป็นสาวก ของพระพุทธเจ้า      
     5.    การมีบริวารมาก


                    นักเรียนศึกษาเนื้อเรื่อง  ชุดที่ 3  จบแล้ว
ทำแบบทดสอบหลังเรียนด้วยนะคะ


















ตอนที่ 1
กุฏิทูสกชาดก : นกขมิ้นสอนลิงพาล  

ชาดก เป็นวรรณกรรมทางพระพุทธศาสนา ที่นำมาจากพระไตรปิฎก
ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอดีตชาติของพระพุทธเจ้า มีอยู่ 547 เรื่อง ชาดกนี้เป็นการสอนหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา โดยใช้รูปแบบนิทานเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย ในชั้นนี้ให้ศึกษา 2 เรื่อง คือ กุฏิทูสกชาดก  และมหาอุกกุสชาดก
กุฏิทูสกชาดก : นกขมิ้นสอนลิงพาล
    ครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ในเมืองพาราณสี มีนกขมิ้นตัวหนึ่ง อาศัยอยู่ในรัง
ที่ทำขึ้นเองอย่างประณีต แข็งแรง ถึงฝนจะตก น้ำฝนก็ไม่รั่วเข้าไปในรัง
    ในฤดูฝนวันหนึ่งมีฝนตกหนักมากจนพื้นดินชุ่มฉ่ำด้วยน้ำฝน มีลิงตัวหนึ่งวิ่งหลบฝนมานั่งอยู่ใกล้ๆรังของนกขมิ้น  นกขมิ้นเห็นลิงเปียกปอน  นั่งกอดเข่า
ตัวสั่นด้วยความหนาวเย็น จึงร้องถามออกไปด้วยความสงสารและแปลกใจว่า “ท่านลิง ท่านก็มีมือมีเท้าคล้ายกับคน ทำไมจึงไม่สร้างบ้านอยู่เล่า มานั่งเปียกฝนอย่างนี้ทำไมกัน”  







เจ้าลิงจึงตอบว่า “นี่แน่ะ! เจ้านกขมิ้น แม้เราจะคล้ายคนแต่เราก็ไม่มีปัญญาเหมือนคนนี่ เราจะสร้างบ้านได้อย่างไร”
นกขมิ้นจึงแนะนำว่า “นี่! ท่านลิง หากท่านต้องการจะให้ปัญญาเกิดขึ้น
ในหัวของท่าน ท่านจงตั้งใจละทิ้งความไม่ดี  ความคดโกงที่ท่านเคยเป็น แล้ว
ทำความดี รักษาศีล  ทำจิตใจให้มั่นคงเป็นสมาธิ  แล้วปัญญาก็จะเกิดในตัวท่าน
จะช่วยให้ท่านสร้างบ้านได้”
เมื่อลิงได้ฟังคำแนะนำสั่งสอนของนกขมิ้นก็เกิดโมโห และนึกในใจว่า  “เจ้านกขมิ้น หลบอยู่ในรังที่กันฝนกันลมได้ จึงปากดีอวดตนมาสั่งสอน”
นึกดังนั้นแล้วก็ตรงเข้าไปคว้าตัวนกขมิ้นจากในรัง นกขมิ้นรู้ทันจึงบินหนีไปเสียก่อน ลิงจึงได้แต่ทุบทำลายรังของนกขมิ้นจนพังหมด แล้วก็วิ่งหนีไปที่อื่น



























ตอนที่  2
มหาอุกกุสชาดก

มหาอุกกุสชาดก ( อ่านว่า มะ-หา-อุก-กุด-ชา-ดก )  เป็นชาดกที่พระพุทธเจ้าทรงพระปรารภ( อ่านว่า ปรา-รบ )  เรื่องของอุบาสกมิตตคัณฐกะ( อ่านว่า มิด-ตะ-คัน-ทะ-กะ )  และได้ตรัสเทศนาแด่พระภิกษุ ขณะประทับที่พระวิหารเชตวัน ดังนี้
มิตตคัณฐกะอุบาสกนั้นเป็นบุตรแห่งตระกูลเก่าแก่ที่มีชื่อเสียง ณ เมืองสาวัตถี ได้สั่งสหายไปเป็นเถ้าแก่สู่ขอสตรีที่เป็นธิดาของตระกูลหนึ่งที่มีชื่อเสียงเช่นกัน นางนั้นจึงถามเถ้าแก่ว่า “อุบาสกนั้นมีมิตรสหาย ซึ่งจะสามารถช่วยกิจการงานอันจะเป็นประโยชน์แก่อุบาสกนั้น มีอยู่บ้างหรือไม่” เถ้าแก่ตอบว่า “มิตรและสหายเช่นนั้นของอุบาสกยังไม่มีเลย” นางจึงให้เถ้าแก่กลับไปบอกอุบาสกว่าขอให้ไปคบหาผู้ที่จะเป็นมิตรสหายที่ดีให้ได้เสียก่อน จึงจะยอมแต่งงานด้วย




      



                                               ภาพจิตรกรรมฝาผนังวัดป่าเลไลย์ฯจังหวัดสุพรรณบุรี
           เมื่อเถ้าแก่กลับมาบอกอุบาสกตามที่นางสั่งทุกประการ อุบาสกก็ยินดีปฏิบัติตามโดยเริ่มไปผูกมิตรกับนายประตู 4  คนก่อน แล้วไปผูกมิตรไมตรีจิตกับบุคคลหลายประเภท ซึ่งล้วนเป็นคนดี  มีชื่อเสียง เช่น มหาอำมาตย์  ทหาร  เสนาบดี  และอุปราช เมื่อมีมิตรสหายมากขึ้นแล้วก็ได้ไปทำไมตรีจิตเป็นที่พอพระทัยกับพระมหากษัตริย์ ต่อมาก็ไปผูกมิตรกับพระมหาเถระผู้ใหญ่ทั้ง 80 พระองค์ รวมทั้งพระอานนท์เถระ
กาลต่อมาได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า พระองค์ได้ทรงโปรดให้อุบาสกรับไตรสรณคมน์และเบญจศีล ข้างฝ่ายพระมหากษัตริย์ ได้ทรงโปรดปราน ประทาน
ยศศักดิ์แก่อุบาสกเป็นอันมาก อุบาสกมิตตคัณฐกะมีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั่วโดยอาศัยการผูกมิตรไมตรีจิตกับบุคคลทั่วไปและบรรพชิตให้เป็นมิตรสหาย
ต่อมาอุบาสกได้แต่งงานกับสตรีที่เขาไปขอไว้แต่เดิม ซึ่งฝ่ายสหายก็ได้ส่งเครื่องบรรณาการไปช่วยอุบาสก สตรีผู้เป็นภรรยาซึ่งเป็นผู้มีปัญญาเฉียบแหลมได้ใช้อุบายส่งเครื่องบรรณาการที่พระมหากษัตริย์พระราชทานไปถวายอุปราช เอาเครื่องบรรณาการที่อุปราชส่งมานั้นไปให้แก่เสนาบดี ได้ส่งบรรณาการต่อๆกันไป ทำให้สามารถผูกไมตรีสนิทกับคนทั่วทั้งเมือง
ครั้นครบ 7 วัน สองสามีภรรยาได้แต่งเครื่องสักการบูชาเพื่อถวายแด่พระพุทธเจ้าและภิกษุสงฆ์จำนวน 500 รูป ครั้นเสร็จจากพิธีแล้ว สองสามีภรรยาผู้มีจิตตั้งมั่นในพระพุทธศาสนา ได้บรรลุธรรมในขั้นโสดาบัน (โสดาบัน คือ ผู้ที่บรรลุธรรมในขั้นเบื้องต้น)    






                                                      ศึกษาเนื้อเรื่องแล้วตอบคำถามหน้าต่อไป   นะจ๊ะ








ตอนที่ 1
อานิสงส์ของการสวดมนต์

    อานิสงส์หรือประโยชน์ของการสวดมนต์ มีดังนี้
    1.  ช่วยให้ผู้สวดเกิดสมาธิ
    2.  เป็นการฝึกวินัยในตนเอง
    3.  ช่วยน้อมจิตของตนให้ยึดเหนี่ยวและตั้งมั่นในคุณความดี
    4.  ถ้าสวดมนต์ในพิธีกรรมต่างๆก็เป็นการช่วยยึดเหนี่ยวให้ชาวพุทธรวมตัวกัน เป็นหมู่คณะ
5.  ช่วยรักษาประเพณีและแบบแผนที่ดีของสังคม










              กิจกรรมถวายเทียนพรรษา
               วัดศรีเจริญ ฯ







ตอนที่  2
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวัด


ส่วนประกอบของวัด
วัดประกอบด้วยส่วนสำคัญ ดังนี้
1.  พระอุโบสถ
2.  กุฏิ
3.  ศาลา
4.  วิหาร เจดีย์
5.  อื่นๆ











วัดป่าเรไรฯ   จังหวัดสุพรรณบุรี








ความสำคัญของวัด
    วัดมีความสำคัญต่อชาวพุทธ ดังนี้
    1.  เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา
    2.  เป็นศูนย์กลางของชุมชน
    3.  เป็นแหล่งกำเนิดวัฒนธรรมและประเพณี
    4.  เป็นแหล่งรวมงานศิลปะแขนงต่างๆ








พระอุโบสถวัดช่องลม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี

ตอนที่ 3
การบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์แก่วัด

    นอกจากวัดเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาแล้ว ยังมีความสำคัญอื่นๆอีกมากมายต่อชาวพุทธ วัดจึงเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่เราชาวพุทธต้องร่วมกันดูแลรักษา ซึ่งนักเรียนสามารถปฏิบัติได้ ดังนี้
    1.  ร่วมพิธีกรรมทางศาสนาตามโอกาส
    2.  บริจาคเงินและสิ่งของเพื่อช่วยทำนุบำรุงสภาพวัด
    3.  ช่วยกันเก็บกวาดเศษขยะในบริเวณวัด
    4.  ช่วยปลูกและดูแลรักษาต้นไม้ภายในวัด
    5.  ไม่นำของวัดไปเป็นของตน


                                                                                                                 กิจกรรมถวายเทียนพรรษา
                                                                                                                 วัดศรีเจริญราษฎร์ฯ
                                                                                                                  อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี




           การปฏิบัติกิจกรรม
            บริเวณวัดศรีเจริญราษฎร์ฯ
            อำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี












ตอนที่ 4
การเรียนธรรมศึกษา

    การเรียนธรรมศึกษา  เป็นการศึกษาหาความรู้  ความเข้าใจในคำสอน
ของพระพุทธเจ้า เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และสามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง
    การเรียนธรรมศึกษาสามารถเรียนได้หลายทาง ดังนี้
    1.  การฟังพระธรรมเทศนา
    2.  การเรียนตามหลักสูตรพระพุทธศาสนาในโรงเรียน
    3.  การอ่านหนังสือธรรมะ
    4.  การฟังการอภิปรายปัญหาธรรม
    5.  การสนทนากับผู้รู้








                                            
การเรียนธรรมศึกษาของนักเรียนโรงเรียนบ้านทุ่งยาว


                                                       ตอนที่  5
                                       การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ

    








ภาพประกอบการศึกษา จากอินทราการพิมพ์: กรุงเทพฯ
                  
                 การแสดงตนเป็นพุทธมามกะ คือ การประกาศตนเป็นผู้นับถือพระพุทธศาสนา  ผู้แสดงตนเป็นพุทธมามกะจะต้องมีอายุตั้งแต่  7  ปีขึ้นไป สำหรับผู้เข้าร่วมพิธี  ต้องกล่าวคำบูชาพระรัตนตรัย  และกล่าวคำแสดงตน
เป็นพุทธมามกะต่อหน้าพระพุทธรูป และพระสงฆ์อย่างน้อย 4 รูป ซึ่งจะกระทำในพระอุโบสถ โดยจะเป็นการกระทำเฉพาะตนหรือทำร่วมกับผู้อื่นก็ได้
    จุดประสงค์ของการแสดงตนเป็นพุทธมามกะ เพื่อ
    1.  ให้เด็กและเยาวชนสืบความเป็นชาวพุทธตามวงศ์ตระกูลต่อไป
    2.  ให้เด็กและเยาวชนระลึกอยู่เสมอว่า ตนเป็นชาวพุทธ
    3.  ปลูกฝังนิสัยเด็กและเยาวชนให้มั่นคงในพระพุทธศาสนา

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น