Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

รัฐประศาสนศาสตร์

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
รัฐประศาสนศาสตร์ คืออะไร

การบริหารรัฐกิจ หรือ รัฐประศาสนศาสตร์ (Public administration)คือ การดำเนินการทั้งปวงของฝ่ายบริหาร ยกเว้นอำนาจของฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการ โดยมีจุดมุ่งหมายให้นโยบายของรัฐที่วางไว้บรรลุผล อาจมองได้ทั้งเป็นการปฏิบัติการและการเป็นสาขาวิชาแขนงหนึ่ง ในการบริหารและจัดการภาครัฐ จะไม่เหมือนการบริหารธุรกิจที่เน้นกำไรสูงสุด (profit maximize) แต่เป็นการเน้นการให้บริการที่ให้ลูกค้าพึงพอใจ โดยลูกค้าก็คือ ประชาชนที่มาใช้บริการ และต้องเป็นการให้บริการต่อทุกคนอย่างเป็นธรรม

การศึกษารัฐประศาสนศาสตร์ศึกษาเกี่ยวกับอะไรบ้าง

1.       นโยบายสาธารณะ

2.       การปฎิรูประบบราชการ

3.       องค์การกับการบริการสาธารณะ

4.       การบริหารทรัพยากรมนุษย์

5.       การคลังและงบประมาณ

6.       ธรรมาภิบาล

นโยบายสาธารณะ (public policy) หมาย ถึง แนวทางกิจกรรม/การกระทำ/การเลือกตัดสินใจของรัฐบาลซึ่งรัฐบาลได้ทำการตัดสิน ใจและกำหนดไว้ล่วงหน้า เพื่อชี้นำให้มีกิจกรรม/การกระทำต่างๆ เกิดขึ้น เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย/วัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ โดยมรการวางแผน การจัดทำโครงการ วิธีการบริหารหรือกระบวนการดำเนินงาน ให้บรรลุวัตถุประสงค์ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ด้วยวิธีปฏิบัติงานที่ถูกต้อง เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพความเป็นจริง และความต้องการของประชาชน/ผู้ใช้บริการในแต่ละเรื่อง

การปฏิรูประบบราชการ คือ การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของระบบราชการ ตั้งแต่ บทบาทของรัฐโครงสร้างอํานาจในระดับต่างๆโครงสร้างรูปแบบองค์การ ระบบการบริหาร และวิธีการทํางาน ระบบงบประมาณระบบบริหารบุคคล กฎหมาย กฎระเบียบ วัฒนธรรมและค่านิยมการปฏิรูประบบราชการเพื่อทําให้ราชการมีสมรรถนะสูง เป็นระบบที่มีคุณภาพ และคุณธรรม  เป็น ระบบราชการที่ทันสมัย ทันการณ์ มีความเป็นสากลตลอดจนเป็นกลไกการบริหาร และจัดการประเทศให้สามารถแข่งขันในระดับโลกได้ และการปฏิรูประบบราชการจะเป็นระบบที่สร้างให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ มีนิสัยการทํางานอย่างผู้รู้จริง ทําจริง มีผลงาน ขยัน มีความสามารถ ซื่อสัตย์ สุจริต กล้าคิด กล้าทํา สร้างสรรค์ ปฏิบัติงานอย่าง มีประสิทธิผล และประสิทธิภาพ เป็นที่เชื่อถือ ศรัทธาของประชาชน

องค์การ มีความหมาย  3 ลักษณะใหญ่ ๆ คือ

1. องค์การทางสังคม 2. องค์การทางราชการ 3. องค์การทางเอกชน

องค์การ คือ การรวมตัวกันของคนตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป โดยมีจุดมุ่งหมายร่วมกันในการทำกิจกรรม หรือ งานอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยอาศัยกระบวนการจัดโครงสร้างของกิจกรรมหรืองานนั้น ออกเป็นประเภทต่าง ๆ เพื่อแบ่งงานให้แก่สมาชิกในองค์การดำเนินการปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย

 

 ลักษณะขององค์การ

1. องค์การคือกลุ่มของบุคคล (Organization as a Group of People) เป็นกลุ่มของบุคคลที่มีเป้าหมายร่วมกัน ต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจ

2. องค์การคือโครงสร้างของความสัมพันธ์ (Organization as a Structure of Relationship) เป็นความรับผิดชอบระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ

3. องค์การเป็นหน้าที่ส่วนหนึ่งของการจัดการ (Organization as a Function of Management) เป็นรูปของการจัดกิจกรรม หรืองานต่าง ๆ ที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันเข้าไว้ด้วยกัน โดยกำหนดหน้าที่ (authority) ความรับผิดชอบ (Responsibility)

4. องค์การคือกระบวนการ (Organization as a Process) ลำดับ ขั้นตอน ความต่อเนื่อง การดำเนินงาน ก่อให้เกิดความรวดเร็ว ถูกต้อง และประหยัด มีขั้นตอนดังนี้

 

การกำหนดเป้าหมาย (Determination of objectives)

การแบ่งงาน (Division of activities)

การจัดบุคคลเข้าทำงาน (Fitting individuals into activities)

การสร้างความสัมพันธ์ (Developing relationships)

5. องค์การเป็นระบบอย่างหนึ่ง (Organization as a System) ส่วนรวมของสิ่งใด ๆ ที่ประกอบด้วยส่วนย่อย ๆ ที่จัดเรียงลำดับมีความเกี่ยวข้องกัน

 

เป้าหมายขององค์การ (Organization Goal) คือ จุดหมายปลายทางที่กำหนดขั้นเพื่อให้การจัดสรรทรัพยากร และกิจกรรมต่าง ๆ ขององค์การเอื้ออำนวยประโยชน์ต่อทิศทางสุดท้ายที่กำหนดไว้ในองค์การนั้น ๆ เช่น กำไรสูงสุด

 

ความสำคัญในการกำหนดเป้าหมายขององค์การ

1. ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติกิจกรรมขององค์การ

2. เป็นการอำนวยความถูกต้องตามระเบียบแบบแผน

3. เป็นมาตราฐานที่สมาชิกในองค์การและนอกองค์การสามารถวัดความสำเร็จได้

 

วัตถุประสงค์ขององค์การ (Organization objectives)

1. วัตถุประสงค์ทางเศรษฐกิจหรือกำไร (Economic or Profit objectives) กำไรสูงสุด ผลตอบแทนจากการลงทุน

2. วัตถุประสงค์เกี่ยวกับการให้บริการ (Service objectives) เพื่อสนองต่อความต้องการของประชาชน

3. วัตถุประสงค์ทางด้านสังคม (social objectives) สนองความต้องการของประชาชน ความรับผิดชอบทางสังคม

 

ประเภทขององค์การ

1. องค์การแบบปฐมภูมิ และองค์การแบบทุติยภูมิ

องค์การแบบปฐมภูมิ (Primary Organization) องค์การที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ครอบครับ เพื่อน

องค์การแบบทุติยภูมิ (Secondary Organization) องค์การที่เกิดขึ้นด้วยบทบาท หน้าที่ เหตุผล เช่น ธุรกิจ

2. องค์การแบบมีรูปแบบ และองค์การแบบไร้รูปแบบ

องค์การแบบมีรูปแบบ (Formal Organization) คือองค์การที่มีโครงสร้างอย่างมีรูปแบบ มีกฏเกณฑ์ ระเบียบแบบแผน หรือองค์การทางราชการ หรือการบริหารจากบนลงล่าง (Top-down Management) หรือการบริหารแบบแนวดิ่ง (Vertical) องค์ประกอบที่สำคัญขององค์การแบบมีรูปแบบ

 

1. การแบ่งระดับชั้นสายการบังคับบัญชา (Hierarchy)

การบริหารระดับต้น (Lower Management)

การบริหารระดับกลาง (Middle Management)

การบริหารระดับสูง(Top Management)

2. การแบ่งงาน (Division of Labor)

3. ช่วงการควบคุม (span of Control)

4. เอกภาพในการบริหารงาน (Unity of Command)

องค์การแบบไร้รูปแบบ (Informal Organization) หรือองค์การที่ไม่เป็นทางการ ไม่มีโครงสร้าง ไม่มี ระเบียบแบบแผน ไม่มีการกำหนดหน้าที่ ไม่มีสายบังคับบัญชา

ข้อดี        1 งานบางอย่างดำเนินไปอย่างรวดเร็ว

2. ส่งเสริมขวัญและกำลังใจ

3. เป็นทางออกที่บำบัดความไม่พอใจ

4. ลดภาระของหัวหน้างานลงได้บ้าง

ข้อเสีย    1 เกิดการต่อต้านกับองค์การมีรูปแบบ

2. เกิดการแตกแยกเป็นกลุ่ม ทำให้เสียแบบแผน

 

ทฤษฎีองค์การ (Organization Theory)

การวิเคราะห์ถึงความจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติรอบตัว อย่างมีระบบและแบบแผนในเชิงวิทยาศาสตร์

1. ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม (Classical Theory) - Frederick Taylor แนวคิดการบริหารงานแบบวิทยาศาสตร์ - Max weber แนวคิดระบบราชการ เป็นสังคมในยุคสังคมอุตสาหกรรม มีโครงสร้างที่แน่นอน มีระเบียบแบบแผน มุ่งให้ผลผลิตมีประสิทธิภาพ (efficient and effective Productivity) มองมนุษย์เหมือนเครื่องจักร (Mechanistic) ในองค์การ

2. ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ (Neo-Classical Theory of Organization) - Hugo Munsterberg ผู้เริ่มต้น วิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม เน้นสภาพสังคมที่มีผลต่อการปฏิบัติงาน มองมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิต ที่มีความรู้สึก มีจิตใจ (Organic) นำความรู้ด้าน มนุษย์สัมพันธ์มาใช้

3. ทฤษฎีองค์การสมัยปัจจุบัน (Modern Theory of Organization) เน้นสังคมเศรษฐศาสตร์ (Socioeconomic) มอง มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึก มีจิตใจ นำความรู้ด้านมนุษย์สัมพันธ์มาใช้ นำสิ่งแวดล้อมมาพิจารณา ใช้แนวความคิด เชิงระบบ คำนึงถึงความเป็นอิสระ และสิ่งแวดล้อมภายใน และภายนอก

การจัดการ คือ กระบวน การบริหารที่มีประสิทธิภาพ ที่ทำให้องค์การธำรงอยู่และเกิดสัมฤทธิผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยการรู้ จักใช้เทคนิควิธีต่าง ๆ ที่จะนำองค์การไปสู่เป้าหมายหรือจุดมุ่งหมายขององค์การ

การจัดการ นิยมใช้ในวงการธุรกิจ

การบริหาร นิยมใช้ในวงการรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจ ซึ่งทั้งสองคำมีความหมายไม่แตกต่างกัน

ส่วนประกอบขององค์การ คือ บุคคล (Man) เงิน (Money) เครื่องจักร (Machine) และวัสดุ (Materials)

เทคนิค และวิธีการต่าง ๆ ในจัดการส่วนประกอบขององค์การ เช่น เทคนิคการจัดการสารสนเทศ อาจเกี่ยวกับ บุคคล การเงิน การผลิต เป็นต้น ขึ้นอยู่กับผู้บริหารที่จะรู้จักนำไปใช้ประโยชน์ โดยมีการจัดการข้อมูลและขั้นตอนวิธีการที่ดี ที่จะได้มาซึ่งประสิทธิภาพสูงสุดขององค์การ

 

ความสำคัญของการจัดการ

1. มีกระบวนการจัดการที่ดี จะทำให้องค์การประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนดไว้

2. การจัดการเป็นเทคนิคที่ทำให้สมาชิกในองค์การเกิดจิตสำนึกร่วมกัน ในการปฏิบัติงาน มีความตั้งใจ

3. การจัดการเป็นกำหนดขอบเขตการทำงานของสมาชิกในองค์การ

4. การจัดการเป็นการแสวงหาวิธีการที่ดีที่สุดในการปฏิบัติงาน

 

การจัดการเป็นศาสตร์และศิลปะ

การจัดการเป็นศาสตร์ (Management is a Science) เพราะ ความรู้ที่ได้มาเป็นระบบ เป็นหลักการ กฎ ทฤษฎี หลังจากได้พิสูจน์ ทดสอบ และนำไปใช้แก้ปัญหาได้แล้ว และนำความรู้ต่าง ๆ นี้มาพัฒนาต่อไป เช่น วิชารัฐประศาสนศาสตร์ (Public Administration) , การบริหารธุรกิจ (Business Administration) เป็นต้น

การจัดการเป็นศิลปะ (Management is also an art) เพราะ การนำเอาความรู้ประยุกต์ใช้งานหรือเป็นเทคนิค ในการพัฒนา องค์การให้เกิดผลตามที่องค์การต้องการ โดยให้มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่เป็นอยู่จริง

ศาสตร์ ให้มีความรู้ วิชาการ ศิลปะสอนให้รู้จักการปฏิบัติ

ศาสตร์ และศิลปะเป็นสิ่งประกอบให้เกิดผล และต้องมีการพัฒนาความรู้ใหม่ ๆ และนำมา ประยุกต์ใช้ นำมาแก้ปัญหาในการจัดการบุคคล เงิน เครื่องจักร และวัสดุ ขององค์การให้ดำเนินไปได้ด้วยดี

 

การจัดการกับระบบสารสนเทศ

ระบบสารสนเทศจะต้องมีปริมาณและคุณภาพที่เพียงพอ จึงจะเป็นประโยชน์ต่อองค์การดังนี้

1. การกำหนดเป้าหมาย เป็นจุดหมายหรือเป้าหมายที่องค์การจะต้องทำให้สำเร็จ

2. การวางแผนและการตัดสินใจ เป็นการวางขั้นตอน วิธีการดำเนินการหรืองานต่าง ๆ โดยเป็นหน้าที่ของผู้บริหาร

3. การจัดและปรับปรุงโครงสร้างองค์การ เป็นการกำหนดหนทาง การทำงาน การบังคับบัญชา ความรับผิดชอบ

4. การบริหารงานบุคคล เป็นการวางแผนบุคคล การสรรหาและเลือกสรร การพัฒนา ต้องอาศัยข้อมูลของบุคคล

5. การอำนวยการและการสั่งการ เป็นการชักจูงให้คนงานปฏิบัติงานอย่างดีที่สุด เป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่ต้องหาวิธี

6. การควบคุม เป็นการบังคับให้กิจกรรมต่าง เป็นไปตามแผนงานที่กำหนดไว้

 

 

  การบริหารงานบุคคล (Personnel Management) รือการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) เป็น กระบวนการเพื่อให้ได้มาซึ่งกำลังคนที่เหมาะสมที่สุดกับงาน และใช้ทรัพยากรกำลังคนนั้นให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดตามเป้าหมายที่ กำหนดไว้ รวมถึงการบำรุงรักษาไว้ซึ่งทรัพยากรมนุษย์ที่มีประสิทธิภาพให้มีปริมาณเพียง พอ
การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management : HRM) แต่ก่อนใช้คำว่า การบริหารงานบุคคล (Personnel Management : PM) ซึ่งจริงๆ แล้วสองคำนี้เหมือนกันและสามารถใช้แทนกันได้ เนื่องจากมีลักษณะหน้าที่งานอย่างเดียวกัน เพียงแต่ HRM จะมีความหมายครอบคลุมมากกว่าและเพื่อให้เหมาะสมกับการที่จะเข้าไปดูแลมนุษย์ก่อนที่จะเข้ามาสู่ตลาดแรงงานตั้งแต่เริ่มต้น จึงใช้คำว่า HRM แทน PM นั่นเอง
2 ความแตกต่างระหว่าง Personnel Management กับ Human Resource Management
กล่าวคือ

       การบริหารงานบุคคล (Personnel Management) เป็นกระบวนการบริหารบุคคลที่อยู่ใน
องค์การ ซึ่งเริ่มตั้งแต่การคัดเลือกคนที่ดีที่สุดในตลาดแรงงานด้วยวิธีการต่างๆ เข้ามาสู่องค์การ แล้วใช้คนให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด จนกระทั่งคนนั้นพ้นออกไปจากองค์การ ซึ่งเมื่อคนออกไปจากองค์การแล้วมีการให้ Compensation Bonus เงินสะสม บำเหน็จบำนาญ ก็ถือว่าเป็นอันจบสิ้นกระบวนการ

      ประสิทธิภาพของคนทำงานจะต้องมี
- กำลังขวัญ (Moral) เช่น การทำงานอย่างมีความสุข ค่าตอบแทนที่ยุติธรรม ความ
ปลอดภัยในการทำงาน เป็นต้น

- แรงจูงใจ (Motivation) เช่น การให้ค่าตอบแทนเป็นรายชิ้น ทำมากได้มาก ทำดีมีโอกาสก้าวหน้า การเลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่ง 

        การบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management) เป็น เรื่องเกี่ยวกับการวางแผน การกำหนดคุณลักษณะ และคุณสมบัติของประชากร เริ่มตั้งแต่เกิดจนตาย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือ รัฐต้องดูแลรักษา ใช้งาน และให้ประโยชน์แก่ทรัพยากรมนุษย์ตั้งแต่เกิดจนตาย คือ ก่อนเข้าทำงานและหลังพ้นจากงานเป็นภารกิจของรัฐนั่นเอง

       HRM มองการบริหารงานบุคคลในแนวลึก หมายความว่า HRM ไม่ ได้เริ่มสร้างหรือเปลี่ยนนิสัยคนเมื่อเข้ามาอยู่ในองค์การ แต่จะเริ่มเข้าไปเกี่ยวข้องดูแลตั้งแต่ในสถาบันครอบครัวตั้งแต่เกิด โดยทำการบริหารคนตั้งแต่ตอนแรกที่เขายังไม่ได้เป็นบุคลากร เป็นเพียงแค่ทรัพยากรบุคคล กำลังคน เป็นมนุษย์ที่มีค่า ซึ่งหวังว่าวันหนึ่งเขาจะเป็นพนักงานขององค์กรธุรกิจ

      แนวคิดในแนวกว้างของ HRM สิ่งที่เน้นมากที่สุดคือ การดำเนินหน้าที่ต่างๆ (เหมือนกับ PM) จำเป็นต้องพิจารณาภาวะแวดล้อมทั้งด้านเศรษฐกิจ (การแข่งขันในตลาดโลก) สังคม (โครงสร้างประชากร) กฎหมายที่เข้ามามีอิทธิพลต่อการบริหารทรัพยากรมนุษย์ นอกจากนี้ HRM ยังเน้นกลยุทธ์ของการบริหารในแต่ละหน้าที่ (Function) ว่าจะต้องปรับให้สอดคล้องซึ่งกันและกันกับสภาวะแวดล้อม ตัวอย่างเช่น

- เมื่อมีการปรับลดขนาดขององค์การลง (Downsizing) กลยุทธ์ของ HRM ควรมุ่งเน้น
ในด้านการกำจัดคนให้ออกไปจากองค์การ (Decruitment) และการฝึกอบรมและการพัฒนา (Training and Development) เพราะกลยุทธ์ดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้กับพนักงานที่เหลืออยู่ และสามารถทำงานแทนพนักงานที่ถูก Layoffs ได้ (เทคนิคการจัดการที่เรียกว่า Learning Organization คือ องค์การแห่งการเรียนรู้)

- การฝึกอบรม (Training) และการพัฒนา (Development) เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญของ HRM ในภาวะวิกฤติ ซึ่งจำเป็นต้องปรับให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ สังคม การเมือง การแข่งขันต่างๆ เป็นต้น
- การบริหารค่าตอบแทน (Compensation) ต้องคำนึงว่าทำอย่างไรที่จะประหยัดต้นทุนได้ โดยที่กำลังขวัญของพนักงานไม่เสีย

- การประเมินผลงาน (Performance Appraisal) เน้นการประเมินผลงานตามผลงานจริงๆ แล้วจ่ายค่าจ้างตามผลงานนั้นๆ หรือการจ่ายค่าจ้างแบบ Pay for Performance มิใช่จ่ายแบบ Pay for Position
ทุกๆ องค์การเอาตัวรอดด้วยการลดขนาดขององค์การ (Downsizing) โดยการ Layoffs คนจำนวนมาก ทำให้คนที่เหลืออยู่ต้องทำงานมากขึ้น และสามารถทำงานแทนคนอื่นได้ ซึ่งการลดขนาดขององค์การก่อให้เกิด

- Job Enlargement เป็นการเพิ่มงานในระดับแนวนอน (Horizontal) เช่น เมื่อก่อนเคยทำงานเพียง 1, 2, 3 หน้าที่ แต่ตอนนี้เพิ่มเป็น 4, 5, 6 หน้าที่ เป็นต้น

- Job Enrichment เป็นการเพิ่มงานในแนวดิ่ง (Vertical) หรือเป็นการเพิ่มงานจากข้างบนลงมาข้างล่าง หมายความว่า เมื่อมีการลดขนาดขององค์การ หัวหน้างานอาจจะหายไปประมาณ 2 - 3 ระดับ โดยเฉพาะในระดับกลางๆ พวก First Line และพวก Middle จะ ถูกลดหายไป งานนั้นจึงตกมาที่ตัวคนงานข้างล่าง ซึ่งเมื่อก่อนคอยทำตามคำสั่งอย่างเดียว แต่เดี๋ยวนี้ต้องคิด ต้องวางแผนการทำงาน ปฏิบัติงานเอง และประเมินผลเอง ทำให้ภาระหน้าที่เพิ่มมากขึ้น ซึ่งการเพิ่มงานในแนวดิ่งนั้นเป็นงานชนิดเดียวกัน แต่เพิ่มคุณค่าตรงที่ต้องวางแผนและประเมินผลเอง

      สาเหตุที่องค์การหันมาใช้ Human Resource Management เพราะ แนวคิดที่พยายามบริหารงานบุคคลเพื่อให้คนที่อยู่ในองค์การเป็นคนที่มีคุณภาพ และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการทำงานที่มีประสิทธิภาพนั้น องค์การไม่ต้องการคนที่ทำงานเก่งอย่างเดียว แต่ต้องการคนที่มีความรับผิดชอบ มีความเชื่อมั่นในตัวเอง มีความซื่อสัตย์ มีความจงรักภักดีต่อองค์การ เป็นผู้นำที่สามารถตัดสินใจได้ และเป็นคนที่มีพฤติกรรมที่สามารถจะเข้ารวมกลุ่มกับเพื่อนร่วมงานได้เป็น อย่างดีเข้ามาทำงานในองค์การ
จะเห็นได้ว่า HRM เน้นอย่างมากในเรื่องของกลยุทธ์ ในขณะที่ PM ไม่ค่อยให้ความสำคัญมากนัก
ฑ กลยุทธ์ขององค์การสมัยใหม่ เช่น

- TQM (Total Quality Management) เน้น เรื่องของการให้บริการได้อย่างทันท่วงที และถูกต้องตรงตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งเทคนิคนี้นิยมให้ลูกค้าเป็นผู้ประเมินผลการปฏิบัติงานของพนักงาน
- Empowerment เป็นการมอบอำนาจเบ็ดเสร็จในการตัดสินใจให้ลูกน้อง
- Downsizing เป็นการลดขนาดขององค์การ ซึ่งทำให้เกิด Job Enrichment และ Job Enlargement
- Learning Organization เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ คือ พยายามทำให้คนมีประสิทธิ-ภาพสามารถทำงานแทนกันได้

- Pay for Performance การจ่ายค่าตอบแทนต้องอยู่บนพื้นฐานของการประเมินผลงาน
- Green Marketing (การตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อม) เป็นการจัดกิจกรรมหรือโครงการที่ใช้กลยุทธ์การตลาดซึ่งติดต่อสื่อสารเพื่อให้ผู้บริโภคมาอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม

      การบริหารทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพในศตวรรษที่ 21 จะตั้งอยู่บนรากฐานของ
1. นโยบายการเปิดประตู (Open - door Policy)
2. การไม่เลิกจ้าง (No Layoffs)
3. การพัฒนางานอาชีพ (Career Development)
4. มีความยุติธรรม (Equality)


            ความหมายของ HRM
1. เป็นศิลปะ
2. เป็นกระบวนการ
3. เป็นการดำเนินงานเกี่ยวกับคน
เ วัตถุประสงค์ของ HRM
1. เพื่อให้ได้คนดีและมีประสิทธิภาพ
2. เพื่อใช้คนอย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อก่อให้เกิดบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
4. เพื่อพัฒนาและบำรุงรักษาบุคคลไว้ในองค์การ
5. เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการทำงาน

       หลักในการบริหาร HRM
1. ทำให้เกิดความเป็นธรรมในสภาพการจ้าง
2. มีสภาพการทำงานที่ดี
3. ให้ความสำคัญแก่พนักงาน
4. ให้พนักงานได้มีส่วนร่วม
5. ยอมรับและเชื่อมั่นในความสามารถของพนักงาน

      แนวคิดเกี่ยวกับหน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (Human Resource Management Functions) มี 4 แนวคิด ดังนี้

     แนวแรก HRM Function มีดังนี้
1. กำหนดความต้องการขององค์การและหน่วยงาน โดยพิจารณาจาก
- ปริมาณบุคลากรที่มีอยู่ และที่ต้องการเพิ่ม
- คุณภาพของบุคลากร
- ค่าตอบแทน

2. การตอบสนองความต้องการ โดยวิธีการ
- การสรรหา (Recruitment)
- การคัดเลือก (Selection)

3. การรักษา พัฒนา และบริการ โดยวิธีการ
- การพัฒนา (Development)
- การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal)
- สวัสดิการและผลตอบแทนอื่นๆ (Fringe Benefit)
- แรงงานสัมพันธ์ (Labour Union)

     แนวที่สอง HRM Function มีดังนี้
1. Procurement (การจัดหาบุคคล)
2. Development (การพัฒนากำลังคน)
3. Motivation (การจูงใจ)
4. Maintenance (การบำรุงรักษาพนักงาน)

     แนวที่สาม HRM Function มีดังนี้
1. Procurement (การจัดหาบุคคล)
2. Development (การพัฒนากำลังคน)
3. Compensation (การจ่ายค่าตอบแทน)
4. Maintenance (การบำรุงรักษาพนักงาน)
5. Labour Relation (การมีส่วนร่วมในแรงงานสัมพันธ์)

     แนวที่สี่ HRM Function มีดังนี้
1. Staffing (Getting People)
2. Training and Development
3. Motivation (Simulating People)
4. Maintenance (Keeping Them)

      หน้าที่ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ มีดังนี้คือ
1. กำหนดกลยุทธ์ของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ (HRM Strategy)
2. การวางแผนกำลังคน / การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ (HR Planning)
3. การสรรหา คัดเลือก การบรรจุแต่งตั้ง (Recruitment + Selection and Placement) ถือว่าเป็นกระบวนการจัดหาบุคคลเข้ามา (Procurement)
4. การฝึกอบรมและการพัฒนา (Training and Development)
5. การประเมินผลการปฏิบัติงาน (Performance Appraisal)
6. การบริหารค่าตอบแทน สวัสดิการและผลประโยชน์ (Compensation, Benefit and Service)
7. วินัย (Discipline)
8. สุขภาพและความปลอดภัย (Safety and Health)
9. แรงงานสัมพันธ์ (Labour Relation)
10. ระบบข้อมูล การตรวจสอบ และการวิจัยทรัพยากรมนุษย์

      หน้าที่ทั้งหมดดังกล่าวของการบริหารทรัพยากรมนุษย์ เป็นหน้าที่ของหัวหน้างานทุกฝ่ายใน
องค์การที่ต้องรับผิดชอบ โดยยิ่งมีตำแหน่งสูงมากขึ้นเท่าใด การเข้าไปมีส่วนร่วมในการบริหารทรัพยากรมนุษย์
ก็มีมากขึ้นเท่านั้น

      การบริหารทรัพยากรทั้งหมดอยู่บนพื้นฐานของระบบคุณธรรม (Merit System) และความ
ยุติธรรม โดยตระหนักถึงสิทธิ (Right) คุณค่า (Value) และจริยธรรม (Ethic)

      การดำเนินการของนายจ้างที่ให้พนักงานที่ติดเชื้อ HIV ออกจากงานโดยจ่ายเงินชดเชยให้ เป็นการดำเนินการที่นายจ้างสามารถกระทำได้โดยไม่ผิดกฎหมายและหลักจริยธรรมต่อพนักงาน
แผนกทรัพยากรมนุษย์มักทำหน้าที่เป็น Staff ขององค์การ ซึ่งงานในการบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้น Line Manager จะทำงานประสานกัน ไม่ว่าจะเป็นการวางแผน หรือการตัดสินใจต่างๆ แต่ในทุกประเด็น Line Manager ทุกระดับต้องรับผิดชอบเหมือนกันหมด

     การ ตัดสินใจในการคัดเลือกขั้นสุดท้ายว่าจะรับหรือไม่ จะต้องให้หน่วยงานฝ่ายที่ต้องการพนักงานเป็นผู้ที่ตัดสินใจ นั่นคือ จะอยู่ในความรับผิดชอบของหัวหน้างานโดยตรง
จาก หลักฐานทางประวัติศาสตร์ ทำให้มีนักคิดเป็นจำนวนมากเชื่อว่าประเทศจีนเป็นประเทศแรกที่นำเอาวิธีการ บริหารงานบุคคลมาใช้ การบริหารงานบุคคลของจีนในสมัยนั้น ได้แก่ การที่ผู้บริหารประเทศได้จัดให้มีวิธีการสอบคัดเลือกข้าราชการเพื่อชิง ตำแหน่งสำคัญในราชการ ซึ่งการสอบแข่งขันในทางความสามารถก็กลายเป็นวิธีที่ใช้กันทั่วไปในวงการทหาร ของประเทศต่างๆ และรวมถึงวิธีการบรรจุ การเลื่อนขั้นด้วย

     ใน การบริหารทรัพยากรมนุษย์นั้น เมื่อได้รับทราบนโยบายเกี่ยวกับการดำเนินงานแล้ว ก็ต้องจัดวางแผนให้ถูกต้องเหมาะสม จากนั้นก็จัดหาบุคคลและเจ้าหน้าที่ให้เหมาะสมพอดีกับความต้องการของลักษณะ งานที่แบ่งไว้ (Put the right man on the right job)

      แผนกทรัพยากรมนุษย์มีหน้าที่เฉพาะ ดังนี้
1. ร่วมกับผู้บริหารระดับสูงในการกำหนดนโยบายที่เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์
2. ให้คำปรึกษา แนะนำ ให้แง่คิดในการบริหารทรัพยากรมนุษย์กับฝ่าย Line
3. รับผิดชอบ ควบคุม ดูแล ให้การบริหารทรัพยากรมนุษย์เป็นไปโดยรูปแบบเดียวกันทั้งองค์การ
4. ส่งเสริมสัมพันธภาพอันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง, ผู้บริหารกับพนักงาน, พนักงานกับพนักงาน และระหว่างองค์การกับชุมชน
5. รับผิดชอบหน้าที่ที่เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรมนุษย์ทั้งหมด โดยประสานกับฝ่าย Line

     การแบ่งส่วนงานของฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์
     การแบ่งส่วนงานของฝ่ายบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยถือเอาหน้าที่เป็นเกณฑ์ ได้แก่
1. แผนกจ้าง (Employment Division) มีหน้าที่สำคัญ คือ คัดเลือกบุคคลเข้าทำงาน ในการตัดสินใจขั้นสุดท้ายว่าจะรับหรือไม่นั้น จะเอื้อให้แก่ฝ่าย Line คือ หัวหน้าโดยตรง

2. แผนกฝึกอบรม (Training Division) เริ่ม โดยการปฐมนิเทศและฝึกอบรมให้สามารถปฏิบัติงานได้สำหรับพนักงานใหม่ ส่วนบุคคลที่เป็นพนักงานของบริษัทอยู่แล้ว ก็มีความจำเป็นที่ต้องรับความรู้เพิ่มเติม หรือพนักงานบริหารที่จะเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้นก็ต้องผ่านหลักสูตรอบรมเช่นกัน วัตถุประสงค์ที่สำคัญ คือ การปรับปรุงประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานทุกคนด้วยการเพิ่มพูนความรู้ จัดให้มีวิธีการทำงานที่ดีและช่วยแก้ปัญหาอันเกิดจากวิธีปฏิบัติงาน

3. แผนกค่าจ้างและเงินเดือน (Wage and Salary Division) มีหน้าที่กำหนดระบบค่าจ้างของพนักงานทั้งองค์การ จะวิเคราะห์งาน (Job Analysis) แล้วตีราคางาน (Job Evaluation) รวมถึงการประเมินตำแหน่งด้วย

4. แผนกสุขภาพและความปลอดภัย (Health and Safety Division) มีจุดประสงค์ คือ การดำรงรักษาไว้ซึ่งสมรรถภาพในการปฏิบัติงานของคนงาน

5. แผนกประโยชน์และบริการพนักงาน (Employee Benefit and Service Division) มีบทบาทในการสร้างขวัญ และทัศนคติที่ดีของคนงาน

6. แผนกแรงงานสัมพันธ์ (Labour Relation Division) งานแผนกนี้เกิดขึ้นเพราะการรวมกลุ่มของฝ่ายคนงานในรูปของสมาคมแรงงาน แผนกนี้มีหน้าที่เจรจาต่อรองกับคนงานในเรื่องข้อพิพาทต่างๆ เช่น
- Boycott การต่อต้านของสมาชิกสหภาพแรงงาน โดยไม่ใช้หรือไม่ซื้อผลิตภัณฑ์ขององค์การ
- Lockout การปิดงาน คือ การที่นายจ้างปฏิเสธไม่ยอมให้ลูกจ้างทำงานชั่วคราว เนื่องจากข้อพิพาทแรงงาน
- Picketing การ เดินขบวนของสมาชิกสหภาพแรงงานนอกบริเวณโรงงาน ที่สหภาพกำลังมีข้อขัดแย้งหรือพิพาทอยู่กับนายจ้าง โดยตั้งแถวหน้าโรงงานห้ามมิให้ลูกจ้างอื่นๆ เข้าไปทำงาน

      แนวคิดทางการบริหารทรัพยากรมนุษย์

1.       Douglas McGregor
ได้แบ่งมนุษย์ออกเป็น 2 จำพวก ดังนี้
1. ตามทฤษฎี X เป็นแนวสมมุติฐานที่มองตัวบุคคลในแง่ร้าย เป็นแนวความคิดที่สอดคล้องกับหลักการบริหารงานตามหลักวิทยาศาสตร์ของ Taylor ตามแนวทฤษฎีนี้มองว่ามนุษย์ขี้เกียจ, ขาดความรับผิดชอบ, ชอบเลี่ยงงาน, ชอบ อู้งาน ไม่ค่อยมีความทะเยอทะยานที่จะไต่เต้า ชอบทำงานตามคำสั่งอย่างเดียว และไม่ต้องการตัดสินใจหรือรับผิดชอบงานใดๆ เป็นต้น ดังนั้นการบริหารบุคคลประเภทนี้ต้องควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด โดยมีกฎข้อบังคับ และระเบียบที่วางไว้เป็นกรอบ
2. ตามทฤษฎี Y เป็น การมองตัวบุคคลในแง่ดี โดยถือว่าคนจะทำงานได้ดีย่อมเกิดจากความรับผิดชอบของเขาเอง การที่ผู้ปฏิบัติงานจะให้ความร่วมมือในการทำงานเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับ ปัจจัยหลายอย่าง เช่น ลักษณะงาน, ทัศนคติของผู้ปฏิบัติงาน, ความสามารถของผู้บังคับบัญชา เป็นต้น
พวกในทฤษฎี Y ใช้คำเรียกว่า Carrot Approach เพราะเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบ
ผู้บังคับบัญชาไม่จำเป็นต้องเข้าไปควบคุมมาก ส่วนพวกทฤษฎี X ใช้ศัพท์เรียกว่า Stick Approach หมายถึง การที่คนขี้เกียจไม่รับผิดชอบ ซึ่งผู้บังคับบัญชาจะต้องควบคุมอยู่ตลอดเวลา
คนเราทุกคนนั้นบางครั้งก็อยู่ในทฤษฎี X บางครั้งก็อยู่ในทฤษฎี Y

 2. Abraham Maslow
ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ (The need hierarchy) Maslow ได้จัดลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับ จากต่ำสุดไปถึงสูงสุด คือ
1. ความต้องการทางกายภาพ หรือความต้องการทางร่างกาย (Physiological Needs) เป็นความต้องการขั้นต่ำสุดของมวลมนุษย์ เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้
2. ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs) ซึ่งแสดงออกมาในรูปของความปรารถนาที่จะได้รับความคุ้มครองให้รอดพ้นจากอันตราย ปรารถนาความมั่นคงทางเศรษฐกิจ เป็นต้น
3. ความต้องการความผูกพันในสังคม (Social Needs) คือ การที่บุคคลแต่ละคนต้องการที่จะได้ร่วมเป็นสมาชิกคนหนึ่งของสังคม ต้องการมีความสัมพันธ์หรือคบหาสมาคมกับบุคคลอื่นๆ ต้องการให้เป็นที่ยอมรับจากเพื่อนฝูง ต้องการมิตรภาพและความรัก
4. ความต้องการที่จะได้รับการยกย่อง (Esteem Needs) เป็น ความต้องการที่จะให้ผู้อื่นนิยมนับถือตน ความต้องการที่จะได้รับการยกย่องนั้นรวมถึงความเชื่อมั่นในตัวเอง ความสำเร็จ ความสามารถ ความรู้ การนับถือตนเอง ความต้องการที่จะได้เป็นที่รู้จักแก่คนโดยทั่วไป
5. ความต้องการที่จะประสบผลตามความปรารถนา (Self - Actualization) เป็น ความต้องการของมนุษย์ที่อยู่ในลำดับสูงที่สุด ความต้องการเหล่านี้คือ ความต้องการของบุคคลแต่ละคนที่จะให้ความรู้ความสามารถของตนเป็นที่ประจักษ์ แก่คนทั้งหลาย

3. William Ouchi
นำเสนอทฤษฎี Z (Theory Z) ซึ่ง เป็นทฤษฎีที่เน้นทักษะที่จำเป็นระหว่างบุคคล และปฏิกิริยาระหว่างกลุ่ม โดยจะเน้นในด้านการตัดสินใจและความรับผิดชอบของกลุ่ม นอกจากนี้ยังเน้นลักษณะเฉพาะบุคคล (Specialization) ด้วย
 4. Theory A
ทฤษฎี A คือ ตัวแทนทัศนะการจัดการของสหรัฐอเมริกา ซึ่งองค์การจะเน้นการจ้างงานระยะสั้นเน้นความรับผิดชอบและการตัดสินใจเฉพาะ บุคคลใดบุคคลหนึ่งโดยไม่มีส่วนร่วมจากพนักงาน การประเมินผลงานและการเลื่อนตำแหน่งเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีการควบคุมอย่างเป็นทางการ (Formalized) และเส้นทางอาชีพ
จะเป็นแบบวชาญเฉพาะด้าน (Specialization)

การคลังและงบประมาณ

ความสำคัญ

1.  ปัจเจกบุคคล   ตัวบุคคลที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีให้กับรัฐบาล เช่น ภาษีมูลค่าเพิ่ม

2.  รัฐบาล  การบริหารบ้านเมืองโดยใช้กลไลตลาดในการบริหารเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด

3.  สังคม  มีหน้าที่ต้องใช้ทรัพยากรในประเทศให้เกิดการคุ้มค่ามากที่สุด

ความหมาย

1.Science   

-หน้าที่ทางเศรษฐกิจ 

-มาตรการทางการคลังการรับและรายจ่าย

-เป้าหมาย การกำหนดเป้าหมายให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของระบบเศรษฐกิจ

2.Art

      - การกำหนดนโยบาย เช่นนโยบายการคลัง

-          การปฎิบัติตามนโยบาย 

 

ลูกโป่งเศรษฐกิจ  (อ.ป๋วย อึ่งภากรณ์) แบ่งได้ 3 ส่วน

 

1. Fiscal policy   นโยบายการคลัง

2. Monetary Policy  นโยบายการเงิน

3.  International Trade Policy   การค้าระหว่างประเทศ

 

กิจกรรมทางการคลัง  (ลูกโป่งพองออก)

 

1. Buying and Selling   รัฐบาลไม่ซื้อก็ขาย  หรือรัฐบาลมีการซื้อแสดงว่าสภาวะเศรษฐกิจดี

2. Subsidizing and Taxing  รัฐบาลให้ความช่วยเหลือประชาชนในรูปของโครงการต่าง ๆ เช่น หนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ( OTOP)

3. Lending and Borrowing  การให้ความช่วยเหลื่อในรูปของเงินกู้ต่าง ๆ เช่นกองทุนหมู่บ้าน

 

เป้าหมายพื้นฐานทางเศรษฐกิจ

 

1) EC. Growth  มุ่งเน้นให้เกิดการเจริญเติบโตในประเทศ

- GNP  ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ  หมายถึงมูลค่าของสินค้าและบริการที่ประเทศสามารถผลิตได้ในระยะเวลา 1 ปี

-GDP  ภาพรวมของการลงทุนในประเทศ ซึ่งเป็นการลงทุนของชาวต่างชาติและคนไทย

 

Y= C+I+G+(X-M)

               

                C =  การใช้จ่ายซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภค

                I  = การใช้จ่ายของธุรกิจในสินค้าประเภททุน (Capital  goods)

G = การใช้จ่ายของรัฐบาลทั้งหมดในการซื้อสินค้าและบริการ

                X = มูลค่าการส่งสินค้าออก

                M= มูลค้าการนำส่งสินค้าเข้าประเทศ

 

  เมื่อประเทศมีการผลิตสินค้าและบริการมาก ประชาชนมีการกินดีอยู่ดี มีมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้น  แสดงว่าประเทศมีการเจริญก้าวหน้าทางเศรษฐกิจ  ซึ่งผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติจะเป็นตัวเลขที่แสดงให้เห็นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ 

2.)  EC. Stability เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ รัฐบาลต้องมีการบริหารแบบค่อยเป็นค่อยไป

    - Prosperity   or Boom  ยุครุ่งเรือง การดำเนินการผลิตและบริโภคไม่เกิดปัญหามากนัก ประชาชนในประเทศอยู่กันสุขสบาย

    - Recession or Decline ยุคทดถอย   เกิดภาวะเงินเฟ้อและอัตราการว่างงานเยอะมาก

   - Depression                  ยุคตกต่ำ  ภาวะเงินเฟ้อลดลง แต่อัตราการว่างงานยังมากอยู่เป็นช่วยที่ระบบเศรษฐกิจเกิดปัญหาทั้งการผลิต การบริโภคและการลงทุน

   - Recovery                              ยุคเริ่มฟื้นตัว

3.)  EC Justice  ความยุติธรรมหรือความเท่าเทียมกันทางเศรษฐกิจ

-Human Rights    มนุษย์มีสิทธิเท่าธรรมกันโดยชอบธรรม

- Citizen Rights   สิทธิเป็นพลเมืองซึ่งจะได้รับ สิทธิตามพื้นฐานของรัฐ เช่นการศึกษา  ด้านสาธารณะ ด้านความปลอดภัย

4.)  EC Freedom เสรีภาพทางเศรษฐกิจ  เสรีภาพในการเลือกบริโภคสินค้าและบริการในการดำเนินการภายในระบบเศรษฐกิจของสังคมซึ่งจำแนกได้ดังนี้

- ส่วนบุคคล

- ความคิดและการแสดงออก

- สังคมและเศรษฐกิจ

- การรวมกลุ่ม

- ทางการเมือง

- การปฎิบัติจากรัฐอย่างเท่าเทียมกัน

 

ถ้ารัฐบาลอยากให้บรรลุตามเป้าหมาย 4 ประการ รัฐต้องเน้นปฎิบัติด้านใด ด้านหนึ่งเป็นหลัก

 

หน้าที่ทางเศรษฐกิจ

 

1.)  Resources Allocation    คือ การจัดสรรทรัพยากรของสังคม ซึ่งได้แก่ที่ดิน ทุน แรงงาน ซึ่งมีอย่างจำกัดทั้งทางด้านปริมาณและคุณภาพเพื่อใช้ในการผลิตสินค้าและ บริการ  เพื่อตอบสนองทางสังคมแต่ความต้องการสินค้าและบริการมีจำนวนมาก  ซึ่งการจัดสรรทรัพยากรต้องใช้แนวทางการวิเคราะห์ ตามแบบทฤษฎีต่าง ๆ

 ทฤษฎีสินค้าสาธารณะ

 

1.  Exclussion Principle

2.  Rival Consumpltion  ความพึงพอใจในการบริโภคน้อยลง

 

 

                                                                        Exclude      Non-Exclude

                                                       

       1                       2

 

 

        3                      4

 


 

                                        Rival

 

                                        Non-Rival

 

1.  Rival

2.  Exclude

3.  Non- Rival   เอกชนเป็นผู้ให้บริการ เช่น  BUC หรือสินค้าสาธารณะ เช่นทางด่วน

4.  Non-Exclude

 

 

2.) Income  Distribution    การคลังมีหน้าที่ในการกระจายรายได้และความมั่นคงของสังคมให้กับประชาชน

 

3)  EC .Stability  การรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ 

     -การว่างงาน  รัฐต้องเข้ามาประกันการว่างงานให้กับประชาชน ให้มีการว่างงานน้อยที่สุด

-          Inflation รัฐต้องเข้ามาควบคุมสภาวะทางเศรษฐกิจ ไม่ให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ

อัตราเงินเฟ้อ  มี 3 ระดับ ซึ่งจะมีผลต่อราคาสินค้าและบริการ

-ภาวะเงินเฟ้อ อย่างอ่อน ช่วง 1-3 %

-ภาวะเงินเฟ้อ  ปานกลาง  ช่วง 5%

-ภาวะเงินเฟ้อ   รุ่นแรง    ช่วง 7%

ซึ่งรัฐจะใช้ทฤษฎีเข้ามาแก้ไขระบบภาวะเงินเฟ้อ  คือทฤษฎีการคลัง

 

ทฤษฏีการคลัง

 

ทฤษฎีการคลังตามหลักนักเศรษฐศาสตร์แบ่ง 4 ทฤษฎี

1. แนวความคิดของนักเศรษฐศาสตร์สำนักคลาสสิก (Classic) นักเศรษฐศาสตร์ Ricardo, Mill Marshall นักทฤษฎียุคนี้ไม่สนใจเกี่ยวกับการขาดเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เพราะการว่างงานเป็นปัญหาที่เกิดในระยะสั้น  รัฐใช้กลไกทางตลาดในการบริหารหรือเรียกว่า มือที่มองไม่เห็น  เพื่อรักษาดุลภาพและ ผลประโยชน์

2.แนวความคิดของนักเศรษฐศาสตร์สำนักเคนส์ (John Meynard Keynes)  เห็น ว่าระบบเศรษฐกิจขาดข้อบกพร่อง มีแนวโน้มขาดเสถียรภาพเกิดการลงทุน เกิดการชะลอตัว ทำให้เกิดการว่างงาน ความต้องการในการบริโภคสินค้าหรือบริการก็จะลดลง รัฐเข้ามาแทรกแซงเพื่อกระตุ้นทำให้เกิดการผลิตและการลงทุน ถ้ารัฐบาลไม่เข้าไปแทรกแซงแล้ว ภาวเศรษฐกิจก็จะเกิดปัญหาด้านเสถียรภาพมากขึ้น นโยบายของรัฐเรียกว่า

นโยบายด้านทิศทางลม

3.แนวความคิดของนักเศรษฐศาสตร์สำนักการเงิน (Monetarist)  ซึ่งมองว่าการที่รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงระบบเศรษฐกิจ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหามากขึ้น

4. แนวความคิดของนักเศรษฐศาตร์สมัยใหม่

รัฐบาลเข้ามาแทรกแซงโดยมีเงื่อนไข 6ประการ ของ ( Joseph E.Sligliks)

 

1.  ความล้มเหลวของการแข่งขันทางการตลาด

2. สินค้าสาธารณะ

3.  ผลกระทบจากภายนอก เช่น โรงงานปล่อยน้ำเสียลงแม่น้ำลำคลองทำให้เกิดมลภาวะเป็นพิษและประชาชนเดือดร้อน

4. สภาพตลาดไม่สมบูรณ์ เป็นตลาดที่มีการผลิตสินค้าบริโภคและการบริการน้อย ตลาดไม่มีการแข่งขัน ประชาชนขาดความรู้ในการเลือกผลิตภัณฑ์มาใช้

5. ความล้มเหลวของระบบข่าวสาร

6. สภาวะการว่างงาน ภาวะเงินเฟ้อและการขาดความสมดุลในระบบเศรษฐกิจ

4).  EC. Growth  การส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยการพิจารณาจากผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ หรือ (GNP)

   Integration  การประสานและการขัดแย้งระหว่างเป้าหมายและหน้าที่ต่าง ๆ ด้านเศรษฐกิจของรัฐ

 

ระบบเศรษฐกิจ

 

1. หน่วยเศรษฐกิจ  ทำหน้าที่เพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ซึ่งหน่วยเศรษฐกิจประกอบด้วยหน่วยใหญ่ 5 หน่วย ได้

             1.1   Household   (ครัว เรือน) เป็นหน่วยเศรษฐกิจที่ประกอบไปด้วยบุคคลเพียงคนเดียว หรือหลายบุคคลร่วมกัน มีการตัดสินใจร่วมกันในการใช้ทรัพยากรหรือปัจจัยทางด้านการเงินเพื่อเกิด ประโยชน์สูงสุด

            1.2  Government Agency   (ส่วนองค์การรัฐบาล ) คือหน่วยงานของรัฐ ซึ่งประกอบด้วยหลายหน่วยงาน เช่นฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการและฝ่ายบริหาร  องค์การของรัฐที่มีหน้าที่หลายประการ เช่น การเรียกเก็บภาษี รักษาความสงบเรียบร้อย ตัดสินข้อพิพาทระหว่างหน่วยเศรษฐกิจต่าง ๆ

            1.3    Business Unit  (ธุรกิจ)  คือ กลุ่มบุคคลที่ทำหน้าที่ในการนำปัจจัยการผลิตต่าง ๆ มาผลิตเป็นสินค้าและบริการ โดยการนำไปขายให้กับผู้บริโภค ซึ่งสามารถแบ่งได้ 2 กลุ่ม คือผู้ขายและผู้ผลิต มีเป้าหมายแสวงหากำไรสูงสุดจากประกอบการ

            1.4  Monetary Institution  (สถาบันเงินตรา)

            1.5  International  Factors (ปัจจัยระหว่างประเทศ)

ประเภทของระบบเศรษฐกิจ  แบ่งได้ 3 ระบบ

1.  Capitalism    ระบบ เศรษฐกิจแบบเสรีนิยม หรือทุนนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจให้เอกชนมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินและปัจจัยการผลิตเกือบทุก ชนิด เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันเป็นปัจจัยสำคัญ ซึ่งรัฐจะมีบทบาทน้อยที่สุด

2. Socialistic   ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม เป็นระบบเศรษฐกิจที่รัฐบาลมีกรรมสิทธิ์หรือเป็นเจ้าของ และรวมถึงอำนาจการผลิตสินค้าและการบริการ

3.Mixed Economic System  ระบบ เศรษฐกิจแบบผสม เป็นการผสมผสานระหว่างระบบเศรษฐกิจแบบเสรีนิยมและสังคมนิยม โดยเอกชนจะมีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินบางส่วน ธุรกิจที่ดำเนินการจะเป็นระบบการแข่งขัน ผู้บริโภคมีเสรีภาพในการเลือกใช้บริการ โดยอาศัยกลไกราคาเป็นหลัก รัฐจะเข้ามาควบคุมดำเนินการในกรณีที่มีการเอารัดเอาเปรียบหรือเกิดปัญหาการ ผูกขาด

 

 

 

 

 

A                                                                         B                                                       C

IDEAL SOCIEY                                  INSTITUTIONAL                            DISTRIBUTION               

            (Input)                                                   ARRANGEMENT                                                   (Output)                         

    Economic  Institutions
              IDEAL SOCIEY                 (Input

 

                                                                                                                                                           

                                                            2                                                                                              5             7  

                                                                           

Well Being

Ideology and

National Goals

Governance and

Political Institution

                                           

                                            1                                                              4                                             

         Social Institution
 

 


 

6                                                                                             3

                        8

                                                                            7                                             

                                                                                                                                                        

ระบบการคลัง

 

หน้าที่และความรับผิดชอบระบบการคลัง

 

1.งานรายได้   ระบบการคลังมีหน้าที่สำคัญในการจัดหารายได้ให้แก่รัฐบาลในรูปการจัดเก็บภาษีอากร เช่น ภาษีเงินได้ ภาษีทรัพย์สิน อากรขาเข้า  รวมถึงการขายสิ่งของและบริการ รัฐพาณิชย์ เช่นค่าธรรมเนียมต่าง ๆ  ค่าปรับซึ่งการจัดเก็บรายได้ของรัฐควรจะจัดเก็บให้เกิดประสิทธิภาพ และเต็มเม็ดเต็มหน่วย  โดยรัฐต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด  หน่วยงานทีมีหน้าที่ในการจัดเก็บภาษี เช่นกรมสรรพาพร กรมศุลกากรและกรมสรรพสามิต หน่วยงานต่างๆ อยู่ภายในของกระทรวงการคลัง

 

2. งานจัดสรรงบประมาณรายจ่าย   เมื่อ รัฐบาลมีการจัดเก็บรายได้มาแล้ว รัฐบาลมีงบประมาณที่จะนำไปใช้ในการจัดสรรทรัพยากรทางการบริหาร เพื่อให้นโยบายของรัฐดำเนินลุล่วงไปด้วยดีตามที่รัฐได้แจ้งไว้กับประชาชนโดย ความรับผิดชอบของสำนักงบประมาณที่ดูแลงบประมาณรายจ่าย โดยมีกองคลังของกระทรวง ทบวง กรมต่าง ๆ ทำหน้าที่พิจารณางบประมาณ

 

3. งานด้านการเบิกจ่ายและบริหารเงินสด   รัฐบาลมีการสำรองเงินสดให้กับหน่วยงานต่าง ๆ  เพื่อ ให้เกิดสภาพคล่องในระบบเศรษฐกิจ และถ้าหากประมาณเงินสดมีไม่เพียงพอ รายได้น้อยกว่ารายจ่ายทำให้ขาดดุลทางด้านงบประมาณ รัฐบาลก็มีความจำเป็นต้องกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล  หน่วยงานที่ทำหน้าที่ดูแลบริหารเงินสด การเบิกจ่ายและการบริหารเงินกู้ของรัฐคือกรมบัญชีกลาง

 

4. งานด้านการวางแผนพัฒนาเศรษฐกิจ  เป็น หน่วยงานที่มีความสำคัญต่อรัฐบาลในการวางแผนการจัดทำงบประมาณด้านการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมของประเทศจะต้องสอดคล้องตามนโยบายด้านเศรษฐกิจ  หน่วยงานที่ดูแลคือ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

 

5.งานด้านการตรวจสอบ เป็นหน่วยงานที่ดูแลการใช้จ่ายงบให้เป็นไปตามระเบียบกฎเกณฑ์ ที่รัฐบาลกำหนดไว้ โดยใช้กลไกของการตรวจสอบภายนอกระบบการคลังที่สำคัญได้แก่ รัฐสภา ประชาชน สื่อมวลชน  การตรวจสอบระบบการคลังอาจตรวจสอบได้ 3 ลักษณะ

5.1 ตรวจสอบความถูกต้อง

5.2 ตรวจสอบประสิทธิภาพ

5.3 ตรวจสอบประสิทธิผล

 

                G.Receipt 

 

1.Revenue 

-          Tax   (ภาษี)

-          Non-Tax ไม่ใช่ภาษี

-การขายสิ่งของและบริการ  เช่นแสตมป์ ,ค่าปรับ,ค่าธรรมเนียม

-รัฐพาณิชย์ เช่นรัฐวิสาหกิจ ที่ทำรายได้ให้กับรัฐ เช่นสลากกินแบ่งรัฐบาล โรงงานยาสูบ

2. Non – Revenue

-          เงินกู้

-          เงินคงคลัง

 

TAX

 

1).   ความ หมาย หมายถึง สิ่งที่รัฐบาลบังคับจัดเก็บจากประชาชน เพื่อนำใช้ทำประโยชน์ของสังคมส่วนรวมโดยมิได้ให้เป็นสิ่งตอบแทนโดยตรงแก่ผู้ เสียภาษี ภาษีที่รัฐบาลจัดเก็บจากประชาชนลักษณะการบังคับเก็บจากรายได้ สิ่งของ ผลประโยชน์ หรือบริการจากผู้เสียภาษี

    คำนิยาม เกี่ยวกับภาษีอากร

1.  ภาษีอากร มีลักษณ์การบังคับจัดเก็บจากประชาชนผู้เสียภาษีในรูปของภาษีทางตรง (Direct Tax)  และภาษีทางออ้ม(Indirect Tax)

2.  ภาษีอากร มีการเคลื่อนย้ายทรัพยากรจากภาคเอกชนไปสู่ภาครัฐบาล เพื่อนำไปใช้จ่ายในกิจการของรัฐบาลเพื่อพัฒนาประเทศ

3.  ภาษีอากร เป็นเครื่องมือทางการคลังในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และมาตรการกระตุ้น

 4. ภาษีอากรไม่มีผลตอบแทนโดยตรงต่อประชาชนผู้เสียภาษี ถือเป็นหน้าที่ตามกฏหมายที่พึง

ปฎิบัติ

5.ภาษีอากรไม่จำเป็นที่ต้องเรียกเก็บเป็นเงินสดเสมอไป

 

2.) วัตถุประสงค์

- รายได้

- ควบคุม

                - จัดสรร+กระจายรายได้

        -ชำระหนี้

-สนับสนุนนโยบายทางธุรกิจ

   3.)  อำนาจในการจัดเก็บ

-Resident  Rule บุคคลที่อยู่ในประเทศไทยเกิด 180 วันมีหน้าที่ในการเสียภาษี

-Source  Rule   แหล่งที่ก่อให้เกิดรายได้จากทรัพย์สินภายในประเทศ มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเช่น สนามกอล์ฟ

-Nationality  Rule   ประชาชนที่มีสัญชาติไทย ที่ได้รับการปกป้องจากประเทศ

4)  หลักการจัดเก็บภาษี  (Principle of Taxation )   10  ประการ

4.1 หลักความยุติธรรม (Equity)  ภาษี ที่ดีต้องเก็บอย่างยุติธรรม คือ ต้องเก็บให้ทั่วถึงโดยไม่มีการเลือกปฎิบัติและเก็บตามกำลังความสามารถของผู้ เสียภาษี ผู้มีรายได้น้อยเสียภาษีน้อยและผู้มีรายได้มากก็จะเสียภาษีมาก ซึ่งเป็นไปตามหลักความยุติธรรม

4.2 หลักความแน่นอน  (Certainty) ภาษีที่ดีจะต้องมีความแน่นอนชัดเจน  เช่นเสียเท่าไร อาศัยฐานอะไรและในอัตราเท่าไร

4.3 หลักความสะดวก  (Convenience)   ภาษี ที่ดีต้องสะดวกในการจัดเก็บ คือ จะต้องเก็บง่ายและประชาชนต้องเข้าใจง่าย ไม่สลับซับซ้อน ซึ่งรวมถึงแบบฟอร์มต่าง ๆ และข้อกำหนดต่าง ๆ  ทำให้ผู้เสียภาษีง่ายต่อกา

ปฎิบัติ

4.4 หลักความประหยัด (Economy)   ภาษีที่ดีต้องประหยัด คือ ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บน้อยแต่เก็บภาษีได้มาก

4.5 หลักความเป็นกลางในทางเศรษฐกิจ (Neutrality) ภาษี ที่ดีต้องไม่มีความลำเอียงในทางเศรษฐกิจ คือไม่มีการไปแทรกแซงการทำงานกลไกตลาด ภาษีที่ดีควรมุ่งก่อให้เกิดรายได้ต่อรัฐและปล่อยให้การตัดสินใจของธุรกิจภาค เอกชนเป็นไปตามกลไกตลาด

4.6 หลักการใช้นโยบายทางเศรษฐกิจ คือภาษีต้องเอื้ออำนายต่อการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ รัฐสามารถใช้ภาษีอากรเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมนโยบาย การส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

4.7หลักการยอมรับได้ของสังคม (Acceptability)  การเก็บภาษีต้องได้การยอมรับจากสังคม

4.8 หลักการบังคับใช้ได้ (Enforceability)

4.9หลักความยืดหยุ่นได้ (Flexibility) หลักภาษีที่ดีต้องมีความยืดหยุน ต้องสอดคล้องกับสภาวะทางเศรษฐกิจ

4.10 หลักการอำนวยรายได้ ภาษีที่ดีต้องก่อให้เกิดรายได้ต่อรัฐต้องมีการขยายฐานตามสภาวะทางเศรษฐกิจ

 

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการจัดเก็บภาษี

 

1. )Tax   Officer   เจ้าหน้าที่กรมสรรพากร ซึ่งรัฐจะต้องเขามาดูแลด้านคุณภาพของข้าราชการไทย ไม่ให้มี

Corruption

                                ประเภทของ Corruption ของ (Heidenhaimer) ข้าราชการไทย แบ่งได้เป็น 3 สี

 

1.1White Corruption คือสังคมถือว่าเรื่อง  Corruption  เป็นเรื่องปกติ

o      ทองไหล

o      เงินลอย

     2.2 Gray Corruption  คือคนในสังคมบางส่วนยอมรับเรื่อง Corruption  และบางส่วนไม่ยอมรับ

     -บ้านต้องเช่า

     -ข้าวต้องซื้อ

3.3 Black Corruption  คือคนในสังคมไม่ยอมรับการ Corruption

   -ดาวไถ

  -ใจถึง

               

2.  Tax  Law  กฎหมายทางด้านภาษี เช่นประมวลรัษฎากรหรือกรมสรรพาสามิต

3.  Tax Payer 

4. Technology 

5. Others

-สถานการณ์ทางเศรษฐกิจ

-การเมือง

-สังคม

 

5.)Equity  หลักความเสมอภาค

-Absolute Equity  คือความเสมอภาคแบบสมบูรณ์  เป็นความเสมอภาคในการใช้ของสาธารณะที่เท่าเทียมกัน

-          Relative  Equity  คือบุคคลใดได้ประโยชน์จากรัฐบาลมากก็ต้องย่อมเสียภาษีมากเช่น ค่าน้ำ,ค่าไฟ

ข้อดี

-          เกิดความเป็นธรรม

-          ทำให้หน่วยงานมีรายได้และสามารถนำรายได้มาลงทุนต่อไป

-          สอดคล้องกับความสมัครใจ

ข้อเสีย

-          ผู้ด้อยโอกาสไม่สามารถได้รับการบริการเช่น คนต่างจังหวัด คนพิการ

 

6.) Tax Base   สิ่งที่ใช้เป็นเกณฑ์ในการจัดเก็บภาษี แบ่งการจัดเก็บได้ 3 ประเภท

-  Income   คือรายได้จากบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล ฐานภาษีมากจากรายได้

-          Consumption  ฐานภาษีมาจากการบริโภค เช่นภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีศุลกากรหรือภาษีสรรพาสามิต

-          Property  ภาษีทรัพย์สิน เช่นภาษีมรดก

7)   Tax Rate   อัตราภาษี

 

ธรรมาภิบาล ( good governance) คือ การปกครอง การบริหาร การจัดการ การควบคุมดูแล กิจการต่าง ๆ ให้เป็นไปในครรลองธรรม นอกจากนี้ยังหมายถึงการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ธรรมที่ใช้ในการบริหารงานนี้ มีความหมายอย่างกว้าง กล่าวคือ หาได้มีความหมายเพียงหลักธรรมทางศาสนาเท่านั้น แต่รวมถึง ศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม และความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีและพึงประพฤติปฏิบัติ อาทิ ความโปร่งใสตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรภายนอก เป็นต้น

ธร รมาภิบาล เป็นหลักการที่นำมาใช้บริหารงานในปัจจุบันอย่างแพร่หลาย ด้วยเหตุเพราะ ช่วยสร้างสรรค์และส่งเสริมองค์กรให้มีศักยภาพและประสิทธิภาพ อาทิ พนักงานต่างทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริตและขยันหมั่นเพียร ทำให้ผลประกอบการขององค์กรธุรกิจนั้นขยายตัว นอกจากนี้แล้วยังทำให้บุคคลภายนอกที่เกี่ยวข้อง ศรัทธาและเชื่อมั่นในองค์กรนั้น ๆ อันจะทำให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เช่น องค์กรที่โปร่งใส ย่อมได้รับความไว้วางใจในการร่วมทำธุรกิจ รัฐบาลที่โปร่งใสตรวจสอบได้ ย่อมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนและประชาชน ตลอดจนส่งผลดีต่อเสถียรภาพของรัฐบาลและความเจริญก้าวหน้าของประเทศ เป็นต้น

                    ดำเนินการบริหารจัดการโดยยึดหลักการ  6  หลัก  ได้แก่  หลักนิติธรรม  หลักคุณธรรม  หลักความโปร่งใส  หลักความมีส่วนร่วม  หลักความรับผิดชอบ  และหลักความคุ้มค่า  โดยมีสาระสำคัญ  ดังนี้

                    1.     หลักนิติธรรม  ได้แก่  การตรากฎหมาย  กฎข้อบังคับต่าง ๆ  ให้ทันสมัยและเป็นธรรม  เป็นที่ยอมรับของสังคม  และสังคมยินยอมพร้อมใจปฏิบัติตามกฎหมาย  กฎข้อบังคับเหล่านั้น โดยถือว่าเป็นการปกครองภายใต้กฎหมายมิใช่ตามอำเภอใจ  หรืออำนาจของตัวบุคคล

                    2.     หลักคุณธรรม  ได้แก่  การยึดมั่นในความถูกต้องดีงาม  โดยรณรงค์ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐ  ยึด ถือหลักนี้ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นตัวอย่างแก่สังคมและส่งเสริมสนับสนุน ให้ประชาชนพัฒนาตนเองไปพร้อมกันเพื่อให้คนไทยมีความซื่อสัตย์  จริงใจ  ขยัน  อดทน  มีระเบียบวินัย  ประกอบวิชาชีพสุจริตจนเป็นนิสัยประจำชาติ

                    3.     หลักความโปร่งใส ได้แก่ การสร้างความไว้วางใจซึ่งกันและกันของคนในชาติโดยปรับปรุงกลไกการทำงานขององค์กรทุกวงการให้มีความโปร่งใส มีการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์อย่างตรงไปตรงมาด้วยภาษาที่เข้าใจง่าย ประชาชนเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้สะดวกและมีกระบวนการให้ประชาชนตรวจสอบความถูกต้องชัดเจนได้

                    4.     หลักความมีส่วนร่วม ได้แก่  การเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และเสนอความเห็นในการตัดสินใจปัญหาสำคัญของประเทศไม่ว่าด้วยการแจ้งความเห็น  การไต่สวนสาธารณะ  การประชาพิจารณ์  การแสดงประชามติหรืออื่น ๆ 

                    5.     หลักความรับผิดชอบ ได้แก่ การตระหนักในสิทธิหน้าที่ความสำนึกในความรับผิดชอบต่อสังคม การใส่ใจปัญหาสาธารณะของบ้านเมืองและกระตือรือร้นในการแก้ปัญหาตลอดจนการ เคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง  และความกล้าที่จะยอมรับผลจากการกระทำของตน

                    6.     หลักความคุ้มค่า ได้แก่  การบริหารจัดการและใช้ทรัพยากรที่มีจำกัด  เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม โดยรณรงค์ให้คนไทยมีความประหยัด  ใช้ของอย่างคุ้มค่า  สร้างสรรค์สินค้าบริการที่มีคุณภาพสามารถแข่งขันได้ในเวทีโลกและรักษาพัฒนารัพยากร ธรรมชาติให้สมบูรณ์ยั่งยืน

แสดงความคิดเห็น

>

6 ความคิดเห็น

NorthStar 8 พ.ย. 51 เวลา 10:05 น. 3

เรียนอยู่หรอฮับ ^^


PS.  ท่านแม่ครับ สบายดีหรือเปล่า? เมื่อคืนผมเห็นดาวดวงหนึ่งส่องแสงสุกใสงอยู่บนปลายยอดไม้ซีด้า เมื่อจ้องมองดาวดวงนั้นผมรู้สึกถึงความอ่อนโยนของท่านแม่ ผมคุยกับดวงดาวนั้นว่าผมเป็นลูกผู้ชายจะไม่ท้อแท้...
0
เดิมคือผู้แสวงหา 8 พ.ย. 51 เวลา 10:49 น. 4

รัฐประศาสนศาสตร์หรือบริหารรัฐกิจ คือรัฐศาสตร์ทางอำนาจนิยมหรือไม่--

เป็นการโหมโรง 'งานสิงห์สัมพันธ์' หรือไม่ ท่านเจ้าของกระทู้--ผมรู้สึกแปลกใจ มีสิงห์หลากสีแต่ทำไมสิงห์ทองไม่เข้าร่วม 'งานสิงห์สัมพันธ์' ทุกครั้งที่ผ่านมา นักเรียนรัฐศาสตร์หรือท่านเจ้าของกระทู้ช่วยชี้แจงด้วยครับ--

ท่านใดที่เกิดมาเพื่อเป็นผู้นำอย่างแท้จริงต้องเรียนภาควิชานี้ครับ--ถ้าอยากเป็นส่วนหนึ่งในมหาวิทยาลัย 'ดัง' ต้องทุ่มเทอย่างเหนื่อยหนัก แล้วผลที่งอกเงยตามมาคือการได้อาศัยอยู่ภายใต้ร่มเงาของ 'ตราพระเกี้ยว' หรือไม่จิตวิญญาณแห่ง 'กงล้อธรรมจักร' -- 

วลีของอาจารย์โบ๊ต แห่งติวเตอร์ (tuter) ส่วนใหญ่เด็กที่ร้องเพลงดัง ๆ จะเป็นเด็กจุฬาฯ ธรรมศาสตร์ พวกรามฯ จะร้องอยู่ในลำคอ  --ครับ ไม่มีความใฝ่ฝันใดที่ใหญ่เกินกว่าความพยายาม ใครอยากเป็นลูกของใครกำหนดชะตาชีวิตกันเอง บางครั้งอาจจะกำหนดการเป็นชนชั้นในอนาคตก็ว่าได้--

วลีของโสกราตีส แห่งนครเอเธนส์ (Athens) คนที่เป็นเสรีชนนั้นไม่ควรเรียนเยี่ยงทาส การใช้กำลังกายมิได้เพื่อให้ร่างกายเลวลง อะไรก็ตามที่เรียนด้วยการบังคับจะไม่ติดอยู่ในวิญญาณ --ครับ ยิ่งมหาวิทยาลัยมีประวัติศาสตร์มากเท่าไหร่ นักเรียนก็มีความใฝ่ฝันหามากเท่านั้น วันนี้เด็กอัจฉริยะทั้งหลายได้ไปฝังตัวอยู่ในมหาวิทยาลัยเปิดเกือบทั้งสิ้น-- 

ผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น (ดาวรุ่งแห่งคลองหลอด) แห่งสิงห์ดำ ใช้เวลาในการสอบเป็นนายอำเภอถึงสิบครั้งด้วยกัน ก่อนจะก้าวขึ้นเป็นพ่อเมืองตามลำดับขั้น--ครับ ในความหมายนี้ไม่จำเป็นต้องอธิบาย ทุกอย่างมีสูตรสำเร็จตายตัว นอกเสียจากเป็นกลยุทธ์ที่สามารถเล่นกลได้--

ขอบคุณตัวละครทุกท่านที่ทำให้ความเห็นนี้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น ขอบคุณครับ--


PS.  ลูกผู้ชายที่แท้จริง เมื่อถึงเวลาต้องไปย่อมต้องไป และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมห้วงยามแห่งการพลัดพรากจึงเป็นเรื่องโศกสลดกว่าธรรมดา
0
หยงเล่อ Starlessnight 9 พ.ย. 51 เวลา 03:47 น. 5

ขอตอบตาแหวง

ในถานะที่เป็นนักศึกษาทั้งรามและธรรมศาสตร์โดยส่วนตัวเราชอบรามที่สุด

เพราะรามเป็นมหาลัยที่มุ่งเน้นการเผยแพร่ความรู้แก่ทุกชนชั้นจริงๆ ไม่ทำตัวเป็นผู้วิเศษลอยอยู่บนฟ้า ไม่ทำตัวแบบว่า "ไม่พอใจลาออกไป คนอื่นอยากเรียนเยอะแยะ" รามถ่อมตนแต่มีผลงานไม่ทำตัวเหมือนตัวเองเจ๋งทั้งๆ ที่ไม่มีผลงานอะไรเป็นชาติ มีแต่อดีต อธิการรามมาจากการเลือกตั้งจริงๆ ไม่เหมือนมหาลัยที่บอกว่าเป็นดินแดนแห่งเสรีแต่ปาก

ขอดีของมธ. คือระบบองค์การที่นักศึกษาเป็นอิสระจากอาจารย์ การมีอาจารย์ที่มีชื่อเสียง (แต่ไม่ีรู้ว่าเก่งจริงไหม) และการที่นักศึกษาด่าอาจารย์ได้ (นี้สำคัญ)
แต่ข้อเสียงคือการบริหารงี่เง่า (ใครก็ได้เอาอาจารย์สายวิทย์มาเป็นอธิการที) ดีแต่สร้างภาพ (แน่จริงเถียงตูเรื่อง TUโดมดิ) ไม่เคยแก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ แฮะอะเอาแต่พึ่งแนวทางทางกฎหมาย (สูจะร่างกฎหมายห้ามยุงกัดตูไหม ร่างกฎหมายห้ามน้ำเสียรึเปล่า อ. สายวิทยาศาสตร์นิเวศวิทยาน่ะไม่เอามาใช้) กัดกันเอง (อย่างตึกกิจสรุปว่าระบบจะเอาไง คนนึงสั่งแบบนึง อีกคนสั่งแบบนึง ใครเป็นผู้มัอำนาจกันแน่ฟะ) เอาเป็นว่าพูดสิบวันก็ไม่หมด

ถ้าไม่ติดว่ามีพวกจุลชีพสอน อ. เปิดรับฟังความคิดเห็น อ. สายปรัชญาเก่ง กับมาตามหารักแท้ตูไม่ทนเรียนหรอก หลวมตัวเข้ามาแล้วจะออกก็ไม่ได้ T-T

ถ้าเรามีเงินเมื่อไหร่เราจะบริจาคให้แก่ราม แต่จะไม่เพิ่มเงินให้สำนักทรัพย์สินธรรมศาสตร์สักบาทเดียว


ในถานะนักศึกษารัฐศาสตร์เราคิดว่าการแข่งขันระหว่างมหาลัยเป็นเีรื่องไร้สาระ จุดประสงค์ของการเรียนคือการแสวงหาความรู้เพื่อทำไปพัฒนาบ้านเมือง ไม่ใช่สร้างพรรคพวกเพื่อปูทางให้ตนเป็นใหญ่

ในคณะก็ตั้งกลุ่มกันเป็นก๊กๆ แข่งกลับกลุ่มอื่น
ในมหาลัยตั้งคณะเป็นก๊กๆ แข่งกับคณะอื่น
ในประเทศตั้งมหาลัยเป็นก๊กๆ แข่งกับมหาลัยอื่น
ในโลกตั้งประเทศเป็นก๊กๆ แข่้งกับประเทศอื่น

การแข่งขันในเชิงการเมืองไม่ใช่การแข่งขันที่สร้างสรรค์เลย มันไม่ใช่การพัฒนาตัวเองให้เหนือกว่าคู่แข่งแบบการแข่งขันทางธุรกิจ แต่เป็นการปัดแข่งปัดขา เล่นพรรคเลยพวก ล้วนไม่ช่วยให้ประชาชนอยู่ดีกินดี

ขนาดสมัยเรียนยังแข่งสิงห์ดำ สิงห์แดง สิงห์ทอง สิงห์ขาว ตีกันเอง จบไปจะร่วมมือกันช่วยเหลือประชาชนได้อย่างไร

ไร้สาระ

แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 9 พฤศจิกายน 2551 / 04:06
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 9 พฤศจิกายน 2551 / 04:08
แก้ไขครั้งที่ 3 เมื่อ 9 พฤศจิกายน 2551 / 04:24

0
เดิมคือผู้แสวงหา 10 พ.ย. 51 เวลา 07:42 น. 6

ตอบตาหยง--

โดยส่วนตัวผมมิได้มีอคติทางความคิดกับมหาวิทยาลัยใดเป็นการส่วนตัว--

ขี้เกียจพิมพ์ครับ--


PS.  ลูกผู้ชายที่แท้จริง เมื่อถึงเวลาต้องไปย่อมต้องไป และนั่นคือเหตุผลว่าทำไมห้วงยามแห่งการพลัดพรากจึงเป็นเรื่องโศกสลดกว่าธรรมดา
0