Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

อำนาจอธิปไตย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
อำนาจอธิปไตย  หมายถึง อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของการปกครองของรัฐที่มีอิสระ เสรีภาพ และมีความเป็นเอกราช มีอำนาจในการบริหารราชการ ทั้งกิจการภายในและนอกประเทศได้อย่างเต็มที่ โดยทั่วไปอำนาจอธิปไตยแยกใช้เป็น 3 ลักษณะ คือ อำนาจนิติบัญญัติ  อำนาจบริหาร และ อำนาจตุลาการ
          รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ระบุว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ซึ่งหมายความว่า ในทางการเมืองประชาชนมีอำนาจสูงสุด แต่การใช้อำนาจทางกฎหมายต้องใช้ผ่านสถาบันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาลที่พิพากษา  อรรถคดีตามกฎหมายที่บัญญัติไว้แล้วในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ และตามขอบเขตที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้เท่านั้น ดังนั้นองค์ประกอบของผู้ใช้อำนาจก็คือ ต้องมีสถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันนิติบัญญัติ สถาบันบริหาร และสถาบันตุลาการ อย่างไรก็ดี จะเห็นได้ว่าอำนาจอธิปไตยตามกฎหมายไม่ได้อยู่ที่รัฐสภาเท่านั้น แต่แยกกันอยู่ใน 3 สถาบันหลักดังกล่าว ซึ่งรัฐธรรมนูญไม่ได้ระบุว่าอำนาจใดใหญ่ที่สุดหรือสำคัญกว่ากัน
          การกำหนดให้แยกการใช้อำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 ส่วน และให้มีองค์กร 3 ฝ่าย เป็นผู้รับผิดชอบไปแต่ละส่วนนี้ เป็นไปตามหลักการประชาธิปไตยที่ไม่ต้องการให้มีการรวมอำนาจ แต่ต้องการให้มีการถ่วงดุลอำนาจซึ่งกันและกัน เพราะถ้าให้องค์กรใดเป็นผู้ใช้อำนาจมากกว่าหนึ่งส่วนแล้ว อาจเป็นช่องว่างให้เกิดการใช้อำนาจแบบเผด็จการได้

ความสัมพันธ์ระหว่างอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ มีดังนี้
          1. อำนาจนิติบัญญัติ หรือ สถาบันนิติบัญญัติ หมายถึง สถาบันที่ทำหน้าที่ออกกฎหมาย คือรัฐสภา ซึ่งมีรูปแบบเป็นสภาคู่ หรือ 2 สภา ประกอบด้วย
               1.1 สภาผู้แทนราษฎร สมาชิกมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขต จำนวน 400 คน และการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 100 คน รวม 500 คน มีอำนาจหน้าที่ในการออกกฎหมาย
               1.2 วุฒิสภา สมาชิกวุฒิสภามาจากการเลือกตั้งโดยตรงของประชาชน มีจำนวน 200 คน มีหน้าที่ในการพิจารณากลั่นกรองพระราชบัญญัติโดยถี่ถ้วนไม่ต้องผูกพันกับฝ่ายรัฐบาล นอกจากนี้ยังมีอำนาจหน้าที่ในการแต่งตั้งและถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งสำคัญของบ้านเมือง เช่น นายกรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
          สมาชิกวุฒิสภา ประธานศาลฎีกา ประธานศาลรัฐธรรมนูญ ประธานศาลปกครอง อัยการสูงสุด เป็นต้น
          2. อำนาจบริหาร หรือ สถาบันบริหาร หมายถึงบุคคล คณะบุคคล กลุ่มบุคคล หรือองค์กรที่นำนโยบายของรัฐไปดำเนินการและนำไปปฏิบัติ สถาบันบริหารนั้นนอกจากจะเป็นสถาบันสร้างกฎหมายแล้ว ยังเป็นสถาบันสร้างนโยบายบริหารประเทศด้วย สถาบันบริหารจะนำนโยบาย และกฎหมายที่ผ่านความเป็นชอบของรัฐสภาแล้วไปดำเนินหรือไปปฏิบัติ องค์ประกอบของสถาบันบริหารประกอบด้วย
               2.1 ข้าราชการการเมือง คือข้าราชการซึ่งได้รับการเลือกตั้งจากประชาชนให้มาทำหน้าที่เป็นนายกรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรี เพื่อบริหารบ้านเมือง
               2.2 ข้าราชการประจำ คือ บุคลากรซึ่งเป็นกลไกหรือเครื่องมือในการนำนโยบายและกฎหมายไปปฏิบัติ ซึ่งต้อง
ปฏิบัติงานอย่างตรงไปตรงมา มีประสิทธิภาพสูง มีความรอบรู้ในหลักวิชาการ มีประสบการณ์ และมีระเบียบประเพณีการประพฤติปฏิบัติ
ที่เป็นแบบอย่าง มีสายการบังคับบัญชาของข้าราชการประจำอย่างชัดเจน มีการแบ่งงานกันทำเฉพาะอย่างตามความชำนาญ
          3. อำนาจตุลาการ หรือ สถาบันตุลาการ หมายถึง ศาลและผู้พิพากษาที่ปฏิบัติหน้าที่ในนามของรัฐ หรือในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ อำนาจตุลาการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมีสาระสำคัญ 2 ประการดังนี้
               3.1 อำนาจตุลาการในระบอบประชาธิปไตย รัฐธรรมนูญของไทยในอดีตได้แยกอำนาจระหว่างอำนาจตุลาการ
และอำนาจนิติบัญญัติไว้อย่างชัดเจน โดยจัดอำนาจตุลาการให้มีความอิสระจากฝ่ายบริหารและนิติบัญญัติ รัฐสภาจะก้าวก่ายอำนาจของศาลไม่ได้
               3.2 ศาล รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันได้วางหลักทั่วไปเกี่ยวกับหลักการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีว่าเป็นอำนาจศาล ซึ่งศาลในที่นี้หมายถึง ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง ศาลทหาร ศาลยุติธรรม และศาลอื่นๆ

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น

Noppakaw pattoyanton 12 มิ.ย. 61 เวลา 21:11 น. 2

เเล้วอำนาจนิติบัญญัติ

อำนาจบริหาร

อำนาจตุลาการ พระมหากษัตริย์ทรงใช้พระราชอำนาจนี้ผ่านทางใด

0