Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

(((โจทย์กฎหมาย ให้ลองคิด)))

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
1.นายหนึ่งต้องการฆ่านายสาม จึงไปหลอกนายสองว่าปืนกระบอกนี้ไม่มีลูก(จริงๆมี)ให้ลองเอาไปแกล้งยิงใส่นายสามลองดูว่านายสามจะตกใจรึป่าว นายสองหลงเชื่อที่นายหนึ่งพูดนายสองจึงทำตามที่นายหนึ่งบอก ปรากฎว่ากระสุนลั่นออกมาถูกนายสามเสียชีวิต และ กระสุนนั้นก็เลยไปถูกนายสี่ได้รับบาดเจ็บ
ต่อมานายสองรู้ว่านายหนึ่งหลอกตนจึงโกรธแค้นแล้วเอาปืนกระบอกนั้นทุบไปที่นายหนึ่งเพื่อเป็นการสั่งสอน 1 ที ปรากฎว่ากระสุนลั่นออกมาตัดขั้วหัวใจนายหนึ่งตายคาที่ แล้วกระสุนนั้นก็เลยไปถูกนายห้าที่อยู่ใกล้ๆได้รับบาดเจ็บสาหัส


ความรับผิดทางอาญาของนายสอง ต่อ นายสาม นายสี่ นายหนึ่ง นายห้า   มีความผิดฐานใด












2.นาย ก อยู่เชียงใหม่คุยโทรศัพท์กับนาย ข ที่อยู่ กทม. เรื่องการซื้อขายรถยนต์ โดยพูดคุยกันทางโทรศัพท์ว่านาย ก ตกลงขายรถคันเดียวที่ตนมีอยู่ให้นาย ข ราคา 5ล้านบาท นาย ข ตกลงซื้อ หลังจากนั้นก็วางสายกันไป ปรากฏว่าเกิดฝนตกหนักที่เชียงใหม่ฟ้าผ่าลงมาที่รถคันนั้นไม่เหลือซาก

คำถาม.....ผลจะเป็นอย่างไร

แสดงความคิดเห็น

>

11 ความคิดเห็น

เด็ก มธ 28 ก.พ. 52 เวลา 16:00 น. 1

ข้อ1
นายหนึ่งไปดักซุ่มยิงนายสองถือว่ามีเจตนาฆ่านายสองโดยไตร่ตรองไว้ก่อน (คำพิพากษาฎีกาที่ 370/2527)&nbsp เมื่อกระสุนปืนไม่มีความรุนแรงพอที่จะทำให้นายสองถึงแก่ความตายได้ เพราะเหตุอาวุธปืนซึ่งเป็นปัจจัยที่ใช้ในการกระทำความผิดมีกำลังอ่อน นายหนึ่งจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่านายสองโดยไตร่ตรองไว้ก่อนซึ่งเป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 81
วรรคหนึ่ง (คำพิพากษาฎีกาที่ 3502/2548)
การที่กระสุนปืนไปถูกนายสามที่ใบหน้าเป็นการกระทำโดยพลาดตามมาตรา 60
เมื่อนายหนึ่งมีเจตนาฆ่านายสองโดยไตร่ตรองไว้ก่อน ก็ต้องถือว่านายหนึ่งมีเจตนาฆ่านายสามโดยไตร่ตรองไว้ก่อนโดยพลาด (คำพิพากษาฎีกาที่ 370/2527) นายหนึ่งจึงมีความผิดฐานพยายามฆ่านายสามโดยไตร่ตรองไว้ก่อนซึ่งเป็นไปไม่ได้อย่างแน่แท้โดยพลาดตามมาตรา 289 (4) ประกอบมาตรา 60 และมาตรา 81

0
012154 28 ก.พ. 52 เวลา 16:04 น. 2

ข้อ2

ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นโมฆะ&nbsp เพราะไม่ได้ทำสัญญาเอาไว้ และ นาย ข ก็ไม่ได้โอนเงินให้ นาย ก

0
tan 28 ก.พ. 52 เวลา 16:26 น. 3

งงข้อ1อ่ะ

คห. 1

ตกลงใครผิดกันแน่

นายหนึ่งหรือนายสอง

เค้าถามความผิดนายสองไม่ใชหรอ

แล้วทำไมที่ตอบมันเป็นความผิดของนายหนึ่ง

หรือเราโง่เอง ไม่เข้าใจอ่ะ

ถ้าถูกแล้วก็ขอโทษด้วย

0
แอลซี มศว 28 ก.พ. 52 เวลา 17:56 น. 5

เราของลองดูนะ


แบบไม่รู้ไม่มีประมวล


ความผิดของนายสองต่อนายสามและสี่น่าจะไม่มี


เพราะบุคคลจะรับผิดทางอาญาก็ต่อเมื่อกระทำโดยเจตนา



แต่นายสองมิได้มีเจตนาต่อนายสามและสี่และไม่ได้ประมาทด้วย



ส่วนต่อนายหนึ่งก็ผิดทำร้ายร่างกายจนผู้อื่นถึงแก่ความตาย(มั้ง..มีจ้อนี้ป่าววะ)&nbsp ได้ลดโทษเรื่องบันดาลโทสะ


ส่วนต่อนายห้าก็น่าจะทำให้ผู้อื่นบาดเจ็บโดยพลาด



เดาๆเอานะคะ

0
เบส 28 ก.พ. 52 เวลา 18:50 น. 7

ข้อ 2 สัญญาจะซื้อจะขาย
หลัก เสนอ-สนองต้องตรงกันระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขายถือว่าสัญญาเกิดทันทีที่ตกลง
จากโจทย์การใช้โทรศัพท์เป็นการก่อนิติสัมพันธ์ทางกฏหมาย
ทางกฎหมายถือว่าเป็นการเสนอ-สนองเฉพาะหน้าถึงแม้จะอยู่ห่างระยะทาง
เพราะการคุยโทรศํพท์สามารถเสนอ(ขาย) สนอง(ซื้อ)ได้ทันที
สรุป สัญญาเกิดฉะนั้นผู้ายมีหน้าที่ส่งมอบรถ และผู้ซื้อมี หน้าที่ส่งมอบเงิน ตามสัญญา
ประเด็นที่สอง การที่เกิดฟ้าผ่ารถนั้น ไม่อาจสามารถส่งรถได้ทางกฏหมายเรียกว่า&nbsp พ้นวิสัย
ผลคือโมฆะ
สรุป สัญญามีผลเป็นโมฆะ

0
FaBorY 28 ก.พ. 52 เวลา 20:37 น. 8

ข้อสอง
สัญญาไม่โมฆะ เพราะสัญญาเกิดแล้วและสมบูรณ์ และจะพิจารณาว่านิติกรรมเป็นโมฆะหรือไม่ ต้องพิจารณาในขณะทำนิติกรรม แต่การส่งมอบรถยนต์ซึ่งตกเป็นพ้นวิสัยนั้น เกิดขึ้นหลังการเกิดสัญญา จึงเป็นเรื่องของภัยพิบัติ

สัญญาซิ้อขายเมื่อเกิดขึ้นแล้ว กรรมสิทธิ์ย่อมโอนไปทันที ภัยพิบัตินั้นจึงตกแก่ผู้ซิ้อซึ่งเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ตามนัย ม.370

0
นิติสตร์ ม.นเรศวร 28 ก.พ. 52 เวลา 21:50 น. 9

ตอบ&nbsp นาย ก อยู่เชียงใหม่คุยโทรศัพท์กับนาย ข ที่อยู่ กทม. เรื่องการซื้อขายรถยนต์ โดยพูดคุยกันทางโทรศัพท์ว่านาย ก ตกลงขายรถคันเดียวที่ตนมีอยู่ให้นาย ข ราคา 5ล้านบาท นาย ข ตกลงซื้อ&nbsp การตกลงซื้อรถยนต์คันดังกล่าว จึงเกิดสัญญาซื้อขายขึ้นและเป็นสัญญาซื้อขายเส็ดขาด ตามมาตรา 458&nbsp ตามระบบสัญญเดี่ยว ที่กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินย่อมโอนไปยังผุซื้อทันทีเมื่อสัญญาเกิดขึ้น นั่นก้อคือเวลาที่ตกลงทำการซื้อขายนั่นเอง จากโจทย์กรรมสิทธิ์ในรถยนต์จึงโอนมายังนายข ผู้ซื้อทันทีตั้งแต่ขณที่ตกลงทำสญญา และ กำหนดจะส่งมอบกันอีก 5 วัน หลังจากนั้นก็วางสายกันไป ปรากฏว่าเกิดฝนตกหนักที่เชียงใหม่ฟ้าผ่าลงมาที่รถคันนั้นไม่เหลือซาก ความเสียหาย คือการทีรถยนต์ถูกฟ้าผ่าดังกล่าวจึงตกเป็นพับแก่นาย ข เจ้าของซึ่งเป็นผู้ซื้อ เพราะกรรมสิทธิ์ในรถยนต์ได้โอนมายังนาย ข แร้ว&nbsp แม้ว่าจะยังไม่ได้ส่งมอบรถยนต์กันก้อตาม การส่งมอบเป็นแต่เพียงหน้าที่ของผู้ขายที่จะต้องจัดการส่งมอบทรัพย์สินเท่านั้น&nbsp ดังนั้นเมื่อกรรมสิทธิ์โอนมายังนาย ข แล้ว นายข จึงเป็นเจ้าของรถยนต์ ยอมต้องรับเอาทั้งสิทธิและหน้าที่ในรถยนต์คันนั้นรวมทั้งภัยพิบัติที่เกิดกับทรัพย์สินของตน&nbsp เมื่อรถยนต์ถูกฟ้าผ่าใช้การไม่ได้ ความเสียหายนี้ตกเป็นพับแก่นาย ข&nbsp ตกเป็นพับ คือ&nbsp การที่เจ้าของต้องจำยอมรับผลที่เกิดกับทรัพย์สินของตนไม่ว่าจะเป็นความเสียหายที่ไม่ได้เกิดจากกระทำของตน&nbsp นาย ข จะเรียกร้องงให้นาย ก รับผิดในความเสียหายในรถยนต์อีกก้อไม่ได้ เพราะความเสียหายไม่ได้เป็นความผิดของนาย ก แต่เกิดจากเหตุสุดวิสัย&nbsp เพราะฟ้าผ่า&nbsp ดังนั้นนาย ข จึงหลุดพ้นจากความรับผิดทั้งไม่ต้องส่งมอบรถยนต์ซึ่งเปนหน้าที่ของผู้ขาย ตามมาตรา 461 เพราะขณะนั้นไม่มีวัตถุแห่งหนี้ เพราะรถยนต์พังไม่เหลือซาก แต่นาย ข ผู้ซื้อ ต้องชำระราคารถยนต์ให้นาย ก ผู้ขาย&nbsp เพราะเป็นหนี้ของผู้ซื้อที่ต้องชำระราคา&nbsp เพราะสัญญาซื้อขายเกิดขึ้นแล้ว&nbsp แม้ว่าขณะนัน้จะไม่มีรถยนต์อยู่ก้อตาม

1
นิติศาสตร์ ม.นเรศวร 28 ก.พ. 52 เวลา 21:51 น. 10

ตอบ&nbsp การที่นายหน่งต้องการฆ่านายสามจึงไปหลอกนายสอง ว่าปืนไม่มีลูกแล้วให้นายสองลองเอาไปยิงนายสาม การหลอกของนายหนึ่งดังกล่าวจึงเป็นการใช้หรือหลอกให้นายสองกระทำความผิด โดยผู้ถูกใช้หรือผู้ถูกหลอกไม่ต้องรับผิดฐานกระทำโดยเจตนา&nbsp เพราะถูกหลอกไม่มีเจตนาที่จะกระทำความผิด คือไม่รู้ว่าเปนการฆ่าเพราะเข้าใจว่าปืนไม่มีลูก นายสองผูถูกหลอก จึงเป็นผู้กระทำความผิดโดยทางอ้อม หรือ Innocent&nbsp Agent แต่ทั้งนี้การที่นายสองผู้ถูกหลอกใช้ปืนที่ตนเข้าใจว่าไม่มีลูกยิงนั้น การกระทำของนายสองเป็นการกระทำโดยประมาท เพราะไม่ใช้ความระมัดระวังตามสมควรอันวิญญูชนทั้วไปพึงมี คือนายสองน่าจะลองยิงปืนก่อนเพื่อพิสูจน์ว่าแท้ที่จริงแร้วปืนมีลูกหรือไม่ นายสองจึงต้องรับผิดฐานฆ่าคนโดยประมาท ส่วนนายหนึ่งผู้ใช้รับผิดตาม มาตรา 288 ฐานฆ่าคนตายโดยเจตนา เพราะผู้ถูกใช้ คือนายสองได้กระทำความผิดลงแล้ว ความผิดจึงสำเร็จทันทีเมื่อนายสองตายผู้ใช้คือ นายหนึ่งจึงต้องรับผิดทันทีเมื่อความผิดสำเร็จ

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  เมื่อนายสามเสียชีวิต และ กระสุนนั้นก็เลยไปถูกนายสี่ได้รับบาดเจ็บ ไม่ถือว่าเป็นการกระทำโดยพลาด ตามมาตรา 60&nbsp เพราะจะเป็นการกระทำโดยพลาดได้ผู้กระทำความผิด คือนายสองต้องมีเจตนากระทำความผิด ต่อนายสาม&nbsp การกระทำโดยประมาทจึงเป็นการกระทำโดยพลาดไม่ได้ และจะโอนความรับผิดต่อนายนายสามมายังนายสี่ไม่ได้ เพราะประมาทโอนไม่ได้&nbsp แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น นายสองอาจต้องรับผิดฐานฆ่าคนตายโดยประมาทอีกกระทงนึง

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp ต่อมานายสองรู้ว่านายหนึ่งหลอกตนจึงโกรธแค้นแล้วเอาปืนกระบอกนั้นทุบไปที่นายหนึ่งเพื่อเป็นการสั่งสอน 1 ที นายสองมีเจตนาทำร้ายนายหนึง่ตามมาตรา 295&nbsp ปรากฎว่ากระสุนลั่นออกมาตัดขั้วหัวใจนายหนึ่งตายคาที่นายสองจึงผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตายตามมาตรา290&nbsp เพราะขณที่นายสองเอาปืนทุบหัวนายหนึ่งนั้น นายสองไม่ได้มีเจตนาฆ่านายหนึ่งเลย ต้องการเพียงทำร้ายเท่านั้น&nbsp แต่เมื่อการทำร้ายดังกล่าวเป็นเหตุให้นายหนึ่งถึงแก่ความตาย&nbsp ความตายของนายหนึ่งเป็นผลโดยตรง ตามหลักทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างการกระทำและผล คือถ้านายสองไม่ใช้ปืนทุบหัวนายหนึ่งก้อจะไม่ตายและเป็นผลธรรมดา นายสองจึงต้องรับโทษหนักขึ้น ตามมาตรา 290&nbsp แล้วกระสุนนั้นก็เลยไปถูกนายห้าที่อยู่ใกล้ๆได้รับบาดเจ็บสาหัส การกระทำของนาสองเป็นการกระทำโดยพลาด ตามาตรา 60&nbsp เพราะกระสุนได้พลาดมาถูกนายห้า ตามหลักเรื่องการกระทำผิดโยพลาดที่กระทำต่อผู้ถูกกระทำ แต่ผลแห่งการกระทำนั้นพลาดมายังบุคคลที่ 3 เมื่อเป็นการกระทำโดยพลาดการกระทำที่ทำต่อนายหนึ่ง คือการใช้ปืนทุบหัวซึ่งเป็นการทำร้ายร่างกาย จึงโอนมายังนายห้า ตามหลักเรื่อง เจตนาโอน เมื่อความผิดต่อนายหนึ่งเป็นการทำร้ายร่างกายนี้จึงโอนมายังนายห้าด้วย ตามมาตรา 60 ดังน้นนายสองจึงต้องรับผิดต่อนายห้าฐานทำร้ายร่างกายตามามตรา 295&nbsp แต่เมื่อการทำร้ายร่างกายดังกล่าวทำให้นายห้าได้รับอันตรายสาหัส นายสองจึงต้องรับโทษหนักขึ้นคือต้องรับผิดฐานทำร้ายร่างกายจนเปนเหตุให้ผู้อื่นได้รับอันตรายสาหัส&nbsp ตามมาตรา 297 อันเป็นผลฉกรรจ์ของมาตรา 295

0
55+ 30 เม.ย. 52 เวลา 23:30 น. 11

เห็นพุดกันมาทั้งหมด นิติศาสตร์ ม.นเรศวร คุณเป็นของจริงอยู่แค่คนเดียว&nbsp ประเทศต้องการคนอย่างคุณนะครับ

0