Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

พระราชดำรัส ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
“…คุณธรรมห้าประการที่เป็นพละกำลังส่งเสริม และหนุนนำให้บุคคลประสบผลสำเร็จในการทำงาน…อย่างแรกคือ ความมีศรัทธาที่ถูกต้อง ได้แก่ ความเชื่อถืออันประกอบด้วยความเพ่งพินิจด้วยใจที่มั่นคง เป็นกลาง จนเกิดความกระจ่างแจ่มแจ้ง อย่างที่สองคือความอุตสาหะพากเพียรที่กล้าแข็งและไม่ขาดสาย ในอันที่จะกำจัดความเสื่อมและเสริมสร้างความดีความเจริญ อย่างที่สามคือ ความระลึกรู้เท่าทันระมัดระวังการกระทำของตัวเองอยู่ตลอดเวลา ไม่ให้ประมาทพลาดพลั้งจนการงานต้องบกพร่องเสียหาย อย่างที่สี่คือความตั้งใจมั่นคง ให้ความคิดอ่านเป็นระเบียบ รวมลงในการงานที่จะต้องกระทำ ไม่ฟุ้งซ่านไปในเรื่องอื่น ๆ ที่มิใช่จุดประสงค์ อย่างที่ห้าคือปัญญาความรู้ชัด หรือความรู้ตลอดแจ่มแจ้งในงาน และวิธีที่จะปฏิบัติบริหารงานโดยถูกต้องเที่ยงตรง…”


พระบรมราโชวาท ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

แสดงความคิดเห็น

>

19 ความคิดเห็น

ส.ไชยเฉลิม 20 มี.ค. 52 เวลา 08:52 น. 1

“…ทำหน้าที่ในทางที่ดีก็คือ ทำในทางที่จะให้ชาติบ้านเมืองมีความมั่นคง มีความเจริญ และมีความผาสุกสงบอันยั่งยืน ซึ่งจะต้องทำด้วยสัจจะคือความจริงใจ…”



พระบรมราโชวาท ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

0
ดำริ 20 มี.ค. 52 เวลา 08:53 น. 2

" รวมแผ่นดินสิ้นเลือดเนื้อเพื่อลูกหลาน จึงเป็นขวานทองอยู่รู้บ้างไหม ถึงวันนี้สถาบันอันเกรียงไกรอย่าให้ใครมาหยามหมิ่นสิ้นภักดี "

0
จ.วันชัย 20 มี.ค. 52 เวลา 08:54 น. 3

“…ข้าพเจ้าใคร่ขอให้ท่านทั้งหลาย จงมั่นอยู่ในความซื่อสัตย์สุจริต ถือเอาประโยชน์ส่วนรวมเป็นที่ตั้ง เพราะคุณธรรมอันนี้เป็นมูลฐานอันสำคัญที่จะยังความเจริญ และความเป็นปึกแผ่นแก่สังคม เป็นบ่อเกิดแห่งความสามัคคีกลมเกลียว ความซื่อสัตย์ที่ว่านี้ หมายถึงความสุจริตซื่อตรงต่อหน้าที่การงาน ต่อตนเอง และต่อผู้อื่นที่เกี่ยวข้อง มีเจตนาบริสุทธิ์ไม่เอารัดเอาเปรียบ สำหรับท่านที่ใช้วิชากฎหมาย ย่อมกินความถึงการรักษาความเป็นธรรม ไม่บิดเบือนความหมายของตัวบทกฎหมาย เพื่อประโยชน์ของตนเอง ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตจะเป็นเสมือนหนึ่งเกราะคุ้มภัยแก่ท่านตลอดไป ดังบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ว่า ‘สุจริตคือเกราะบัง สารทพ้อง’…”


พระบรมราโชวาท ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

0
บุญมา 20 มี.ค. 52 เวลา 08:55 น. 4

พระองค์ทรงมีความห่วงใยประชาชนชาวไทยในทุกด้าน โดยเฉพาะในด้านสุขภาพอนามัย เพราะว่าเป็นปัญหาสำคัญที่ต้องได้รับการแก้ไข พระองค์ทรงอยากเห็นคนไทยมีสุขภาพแข็งแรง

0
จ.ศรีหนุ 20 มี.ค. 52 เวลา 08:56 น. 5

“…ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง…”



พระบรมราโชวาท ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

0
จ.เม้ย 20 มี.ค. 52 เวลา 09:07 น. 6

“…ทุก ๆ สิ่งมีชีวิต และประเทศไทยก็เป็นประเทศที่มีชีวิต ระเบียบการอะไรก็เปลี่ยนแปลงได้ แล้วถ้าเปลี่ยนโดยวิธีพูดกันรู้เรื่อง คือเจรจากันอย่างถูกหลักวิชาที่แท้ ที่สูงกว่าหลักวิชาในตำรา ก็จะหมดปัญหา แต่ไม่ใช่ว่าเปลี่ยนไปแล้วก็เปลี่ยนอย่างตายตัวไปเลย เมื่อสถานการณ์ไม่อำนวย ก็เปลี่ยนต่อไปได้โดยไม่ต้องทะเลาะกันอย่างหนัก จนกระทั่งทำให้เสียหาย จนทำให้ประเทศไทยกลับเป็นประเทศที่ล้าหลัง…”


พระราชดำรัส ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

0
จ.วิชัย 20 มี.ค. 52 เวลา 09:09 น. 7

“…หากบุคคลใดมีความรู้สูงแต่ขาดหิริโอตตัปปะ คือไม่มีความละอายต่อบาป นำความรู้นั้นไปใช้ในทางมิชอบ ก็จะทำให้สังคมเดือดร้อน…”


พระบรมราโชวาท ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

0
จ.มงคล 20 มี.ค. 52 เวลา 09:14 น. 8

“…สิ่งใดที่เห็นว่าถูกต้องแล้ว ท่านจะต้องทำ เพราะถ้าไม่ทำ ก็จะพาให้เกิดความท้อถอย ทำให้มีคนทำงานจริงน้อยลง งานทุกอย่าง คุณธรรมทุกอย่าง จะเสื่อมทรามลงจนหมดสิ้น เมื่อท่านกล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง ก็จะเป็นตัวอย่าง ชักนำผู้มีความรู้สติปัญญาทั้งหลาย ให้มีกำลังใจและมีความเข้มแข็งที่จะปฏิบัติเช่นเดียวกัน…”



พระบรมราโชวาท ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

0
จ.สุเทพ 20 มี.ค. 52 เวลา 09:16 น. 9

“…การนำบทบัญญัติที่ปฏิบัติไม่ได้ตามสภาพที่เป็นจริงของชีวิตมาบังคับใช้ เป็นต้นเหตุแห่งความเดือดร้อนแตกแยกในชาติและประชาชน บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่จะยังความสงบเรียบร้อยให้เกิดขึ้นได้ ต้องตราขึ้นตามสภาพการณ์และสภาพชีวิตที่แท้จริงของบ้านเมืองและบุคคล…”


พระบรมราโชวาท ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

0
จ.เสนาะ 20 มี.ค. 52 เวลา 09:17 น. 10

“…การทำงานอย่างให้มีคุณภาพ ให้ได้ผลบริบูรณ์ จะทำอย่างไรเบื้องต้น ต้องทำความเห็นให้ถูกต้องในงานที่จะทำเสียก่อน โดยใช้ปัญญาไตร่ตรองให้เห็นเหตุที่แท้ ผลที่แท้ ที่ถูกต้องตรงตามเป้าหมายที่พึงมุ่งหวัง แล้ววางแผนการอันแน่นอนที่จะดำเนินการต่อไป ด้วยหลักวิชา ด้วยความร่วมมือปรองดองกัน และสำคัญที่สุด ต้องมีความพากเพียรไม่ย่อหย่อน ในอันที่จะกระทำต่อไปจนกว่าจะเป็นผลสำเร็จ…”


พระบรมราโชวาท ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

0
จ.สมพิศ 20 มี.ค. 52 เวลา 09:19 น. 11

“…งานพัฒนาบ้านเมืองนั้น ต้องอาศัยบุคคลสองประเภท คือนักวิชาการกับผู้ปฏิบัติ นักวิชาการเป็นผู้วางโครงการ เป็นผู้นำ เป็นผู้ชี้ทาง เป็นที่ปรึกษา ของผู้ปฏิบัติ ส่วนผู้ปฏิบัตินั้นเป็นผู้ลงมือลงแรงกระทำงาน งานจะได้ผลหรือไม่เพียงไรขึ้นอยู่กับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลสองฝ่ายนี้ ถ้ามีความเข้าใจและร่วมงานกัน ก็ไม่มีอุปสรรค ได้ผลงานเต็มเม็ดเต็มหน่วย…”


พระบรมราโชวาท ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

0
จ.ประจักษ์ 20 มี.ค. 52 เวลา 09:20 น. 12

“…ท่านทั้งหลายที่สำเร็จการศึกษาและจะได้ออกไปประกอบการงานเริ่มต้นชีวิตใหม่ของท่านนั้น ข้าพเจ้าขอฝากคติไว้เป็นเครื่องกำกับใจ มีคุณธรรมข้อหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งท่านต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัดอยู่เสมอ คือความสัตย์สุจริต ประเทศบ้านเมืองจะวัฒนาถาวรอยู่ได้ก็ย่อมอาศัยความสัตย์สุจริตเป็นพื้นฐาน ท่านทั้งหลายจะออกไปรับราชการก็ดี หรือประกอบกิจการงานส่วนตัวก็ดี ขอให้มั่นอยู่ในคุณธรรมทั้ง ๓ ประการ คือ สุจริตต่อบ้านเมือง สุจริตต่อประชาชน และ สุจริตต่อหน้าที่ ท่านจึงจะเป็นผู้ที่ควรแก่การสรรเสริญของมวลชนทั่วไป…”


พระราชดำรัส ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

0
จ.สมศักดิ์ 20 มี.ค. 52 เวลา 09:23 น. 13

“…เวลานี้ บ้านเมืองของเรากำลังต้องการการปรับปรุงและการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ ทางที่เราจะช่วยกันได้ ก็คือการที่ทำความคิดให้ถูกและแน่วแน่ในอันที่จะยึดถือประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นที่หมาย ต้องเพลาการคิดถึงประโยชน์เฉพาะตัวและความขัดแย้งกันในสิ่งที่มิใช่สาระลง ต้องหันหน้าปรึกษากันด้วยความรู้คิด ด้วยความเป็นญาติมิตร และเป็นไทยด้วยกัน…”


พระราชดำรัส ของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

0
ส.ธนากร 20 มี.ค. 52 เวลา 09:24 น. 14

"รักพ่อ ต้องพอเพียง" ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง นำมาประยุกต์ใช้ในครอบครัว ในชีวิตประจำวันจะเห็นประโยชน์มากมายจากคำของพ่อ เป็นผู้ชี้แนวทางการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง

0
ทองดี 20 มี.ค. 52 เวลา 13:05 น. 18

ความสามัคคีและความถือตัวว่าเป็นไทยนี้ เป็นสิ่งที่มีค่าสูงสุด เพราะเป็นมรดกที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษของเรา และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เรารวมกันอยู่ได้ ให้เราดำรงชาติประเทศและเอกราชสืบมาได้ ทุกคนควรจะได้พยายามรักษาความเป็นไทย และความสามัคคีนี้ไว้ให้มั่นคงในที่ทุกแห่ง อย่ายอมให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดมาทำลายได้
&nbsp&nbsp&nbsp (พระราชดำรัส ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่านในงานชุมนุมประจำปี ของสมาคมนักเรียนไทยในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน 1 ก.ย.2526)

0