Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

กำแพงเบอร์ลิน!

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

เพิ่งผ่านวันรำลึกทำลายกำแพงเบอร์ลินครบยี่สิบปีมา ...
คือ อยากรู้ว่า คำพูดที่เพสซิเดนท์ ของ สหรัฐ พูดในตอนนั้น แล้ว ทำให้เยอรมันทุบกแพงเบอร์ลินทิ้งคืออะไรหรือคะ ?


ขอบคุณค่ะ ๆ :PP


PS.  พัมคิน อยากเป็นเพื่อนกับคุณ ! 55

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น

Klein Prinz Schweini 12 พ.ย. 52 เวลา 22:05 น. 2

ผมก็ไม่รู้ครับ แต่หยิบเกร็ดมาให้อ่านเล็กๆดีกว่า

การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน

ในปี ค.ศ. 1989 ตรงกับยุคที่ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ เป็นประธานาธิบดีของสหภาพโซเวียต ได้มีการทดลองการปฏิรูปการปกครองไปสู่ระบอบประชาธิปไตย ในเยอรมันตะวันออก ได้มีการชุมนุมประท้วงใหญ่อย่างสงบขึ้นโดยเฉพาะในเมืองโพสต์ดัม ไลพ์ซิก และเดรสเดน เริ่มต้นในวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1989 และดำเนินเรื่อยมา เป็นเหตุให้รัฐบาลเยอรมันตะวันออกได้รับความกดดันเป็นอย่างมาก กระทั่งได้มีการประกาศว่า จะเปิดพรมแดนให้ชาวเยอรมันสามารถเดินทางผ่านแดนได้อย่างอิสระ ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989) ในวันดังกล่าวชาวเยอรมันตะวันออกจำนวนมากได้มารวมตัวกัน ณ กำแพงเบอร์ลิน เพื่อข้ามผ่านแดนไปยังเบอร์ลินตะวันตกครั้งแรกในรอบ 28 ปี จึงถือเอาวันดังกล่าว เป็นวันล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน
มีบางแหล่งข้อมูลอ้างว่า ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 นาย Günter Schabowski รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโฆษณาการ (Minister of Propaganda) ของเยอรมนีตะวันออกได้แถลงข่าว (ซึ่งภายหลังพบว่าเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของเขาเอง) ว่าทางการจะอนุญาตให้ชาวเบอร์ลินตะวันออก ผ่านเข้าออกเขตแดนได้อย่างเสรีอีกครั้ง ทันใดนั้นเอง ผู้คนนับหมื่นที่ได้ทราบข่าวก็ได้หลั่งไหลไปยังด่านต่าง ๆ ของกำแพง. หลังจากความโกลาหลอยู่ช่วงหนึ่ง เนื่องจากทางเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยังไม่ได้รับคำสั่งใด ๆ จากทางการ ในที่สุดเจ้าหน้าที่ก็ต้องยอมปล่อยให้ฝูงชนผ่านเขตแดนไปอย่างไม่มีทางเลือก ชาวเบอร์ลินตะวันตกออกมาต้อนรับชาวเบอร์ลินตะวันออก บรรยากาศในเช้ามืดวันนั้นเหมือนงานเฉลิมฉลอง
ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน]] พ.ศ. 2532 กำแพงเบอร์ลินได้ถูกทุบทำลายบางส่วนโดยชาวเยอรมัน และชาวยุโรป แต่การทำลายกำแพงเบอร์ลินอย่างเป็นทางการ เริ่มเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2533 แต่กระนั้นยังคงอนุรักษ์กำแพงบางช่วงไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ นอกจากนี้ ยังมีการประมูลจำหน่ายชิ้นส่วนกำแพงเบอร์ลิน และได้มีการมอบชิ้นส่วนของกำแพงเบอร์ลินไปไว้ในพิพิธภัณฑ์ และสถานที่สำคัญ ๆ อีกหลายแห่ง อาทิ ด้านหน้าสภายุโรป ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม พิพิธภัณฑ์นิวเซียม กรุงวอชิงตันดีซี ประเทศสหรัฐอมริกา พิพิธภัณฑ์จอห์น เอฟ เคนเนดี และพิพิธภัณฑ์โรแนล เรแกน ในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

0