Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

(กรมาศ&เก้าแต้ม)วางเครื่องมือแพทย์...มาเขียนหนังสือ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
จากมติชน




(ซ้าย) กรมาศ (ขวา) เก้าแต้ม

คงไม่แปลก ถ้าเห็นสองชื่อที่ระบุวิชาชีพชัดเจนนี้ ปรากฏอยู่ ณ หน้าห้องตรวจในโรงพยาบาล

แต่หลังจากเข็มนาฬิกาชี้ไปยังวินาทีของการวางเครื่องมือแพทย์ ทั้งคู่ถอดเสื้อกาวน์ และก้าวไปยังอีกโลกหนึ่ง

โลกแห่งจินตนาการที่ถ่ายทอดผ่านตัวอักษร

ณ เส้นขอบฟ้า, เลศลาวัณย์, กาลกัลป์, รักล้นใจ เป็นเพียงบางส่วนในผลงาน 9 เล่มของ "คุณหมอศมากร" หรือ "กรมาศ"

องครักษ์แดนทราย, เล่ห์กามเทพ, คิมหันต์มายา, กังหันรัก ลมปรารถนา ก็เป็นส่วนน้อยๆ จาก 15 เล่มของ "คุณหมอคัคนางค์" หรือ "เก้าแต้ม"

สองนามปากกาที่คอนวนิยายเคยคุ้นกันดี

ทั้งสองเป็นนักอ่านตัวฉกาจ ที่ไม่ใช่แค่งานวิชาการตามปกติ แต่รวมถึงหนังสือสารพัดประเภท โดยเฉพาะนวนิยาย

"ช่วงนั้นลาคลอด แล้วไม่ค่อยมีอะไรทำ ก็เลยนั่งดูซีรีส์แล้วชอบบอยส์ โอเวอร์ ฟลาวเวอร์ (เอฟโฟร์) รู้สึกน่ารัก พอเข้าไปในเว็บแฟนคลับก็เห็นแฟนฟิค อ่านดูแล้วคิดว่าตัวเองน่าจะเขียนได้ เลยลองเขียนในเว็บก่อนที่จะส่งสำนักพิมพ์

"เมื่อก่อนเวลาทำงานจะพาคนไข้กลับบ้านด้วย คิดเรื่องคนไข้ตลอดเวลา เพราะหมอทำคลอดมีความเสี่ยงสูงมากกับการถูกฟ้องร้อง ทุกอย่างต้องเป๊ะ แต่ตอนนี้พอหมดงานก็หันหาหน้าจอคอมพิวเตอร์เลย"
คัคนางค์กล่าวด้วยรอยยิ้ม ก่อนจะหันไปถามศมากรว่า ทำไมสาวน้อยถึงวางเครื่องกรอฟันมาเขียนนิยายสนุกๆ

"ก็พออ่านเยอะๆ แล้วรู้สึกว่าอยากมีสักเรื่องที่เราจะได้อ่านเป็นคนแรกของโลก ถ้าเราเขียนก็จะได้อ่านแน่ๆ เลยอยากเขียนเรื่องที่คนอ่านแฮป คนเขียนก็มีความสุข มีอำนาจในการสั่งให้ตัวละครหันซ้ายหันขวาได้ แล้วงานทันตแพทย์ละเอียดมาก หน่วยระยะทางเป็นมิลลิเมตร หน่วยเวลาเป็นวินาที พอเขียนนิยายแล้วรู้สึกว่าได้ไปอยู่ในที่กว้างๆ บ้าง" ว่าแล้วก็ยิ้มเขิน

http://c.static.fsanook.com/shopping/uploaded/large/2009/07/15/56/GOxxR1247572982-1.jpg

ในความเหมือนมีความต่าง นวนิยายของศมากรจะแปลกในพล็อตที่แม้ธีมของเรื่องจะเป็นนิยายรัก แต่ก็ไม่เคยมีซ้ำหรือช้ำเลยสักครั้ง

ศมากรอธิบายว่า นวนิยายของเธอล้อกับชีวิตจริงที่เธอเห็นจากคนรอบข้างหรือสิ่งรอบตัว เป็นการรับรู้ที่มาพร้อมกับการสะดุดใจว่า "เอ๊ะ! แล้วถ้าไม่เป็นอย่างนั้นล่ะ จะเป็นอย่างไร" ก่อนที่จะไปค้นข้อมูล ซึ่งเจ้าตัวมองว่าเป็นผลมาจากการเรียนวิทยาศาสตร์

"เหมือนเป็นการเติมเต็มความฝันในสิ่งที่เราคิดสงสัย ความสะดุดใจจะนำไปสู่การสร้างพล็อตที่ท้าทายคนเขียน อย่าง "กาลกัลป์" ที่ท้าทายมาก เป็นเรื่องที่ตั้งโจทย์กับตัวเอง หลังจากคิดถึง "โมสาร์ท" ซึ่งมีชื่อเสียงหลังจากที่ตัวเองตายไปหลายร้อยปีแล้ว แต่ตอนที่มีชีวิตอยู่กลับอนาถา เลยสงสัยว่าถ้านักวิทยาศาสตร์คนหนึ่งสร้างไทม์แมชชีนได้ แล้วเขาก็ได้รับความชื่นชมมากในอนาคต แต่ปัจจุบันเขาตกต่ำ ถ้าอย่างนั้นเขาจะกลับไปแก้ไขอดีตรึเปล่า หรือ "เลศลาวัลย์" ที่สร้างให้มีลักษณะของนิยายซ้อนนิยาย และคีย์เวิร์ดที่จะทำให้ทุกคนรอดก็อยู่ในนิยายที่นางเอกอ่าน"

ส่วนผลงานของคัคนางค์ที่เริ่มต้นจากในอินเตอร์เน็ตนั้น ให้อารมณ์ของโรมานซ์อย่างไม่รู้สึกหยาบคาย แต่เปี่ยมไปด้วยความหวาน-ไหวบนพื้นฐานของเหตุผล ซึ่งหาไม่ง่ายนักในวันนี้

"เพราะบทรักจะต้องมาจากความรัก ความเข้าใจกัน พื้นฐานชีวิตครอบครัวเป็นแบบนั้น ไม่ใช่เจอกันแล้วถูกใจเลยมีสัมพันธ์ทางกาย ทุกอย่างต้องเริ่มจากพล็อตกับเนื้อเรื่องที่เป็นเหตุเป็นผล"

ในมุมมองของคัคนางค์ น้องๆ หนูที่เขียนนิยายโรมานซ์ในอินเตอร์เน็ตได้เกินคำว่าหวาน-ไหวนั้น เกิดจากความอยากเพิ่มเรตติ้งในการคลิกอ่าน ยิ่งคลิกเยอะ ยิ่งดันตัวเองติดท็อปลิสต์ และนั่นก็ยิ่งหมายถึงการเข้าตาสำนักพิมพ์

"แต่จริงๆ นักอ่านต้องการอ่านบทที่ดี มากกว่าบทเลิฟซีน อย่างของกรมาศเองแทบไม่มีบทเลิฟซีน แต่อ่านแล้วรู้สึกน่ารักจัง ซึ่งเกิดจากความละเมียดละไมในตัวอักษร และสารที่ผู้เขียนต้องการจะสื่อมากกว่า"

คัคนางค์บอกว่า นี่ไม่ใช่ความผิดของคนเขียน เพราะอย่างหนึ่งต้องอย่าลืมว่าคนเขียนยังเด็ก การเรียนรู้และความเข้าใจโลกยังน้อยอยู่ เพราะงั้นต้องย้อนกลับไปสู่จุดเริ่มต้น นั่นก็คือการปลูกฝังจากครอบครัว ว่าความสัมพันธ์นั้นต้องเริ่มจากความรัก ก่อนที่ทุกอย่างจะเป็นไปตามวัยและสภาวะที่ถูกต้อง

"เมื่อเขาเข้าใจตรงนั้น ก็จะเข้าใจสิ่งที่ตัวเองเขียน"

ในความเป็นนิยายนั้น เส้นแบ่งระหว่างความเพ้อฝันกับเรื่องสมมุติที่ไม่ไร้สาระนั้น คาบเกี่ยวกันอยู่อย่างแทบจะทาบทับกัน คัคนางค์ว่า จะไม่ให้ทาบทับนั้น จะต้องให้ความสำคัญกับตัวเนื้อเรื่อง ถ้าสุขสุดสุดถึงจะสมใจผู้อ่านแต่ก็ไม่สมจริง เพราะชีวิตจริงไม่ได้เป็นเส้นตรง แต่มีขึ้นมีลงเสมอ ซึ่งศมากรก็พยักหน้าเห็นด้วย ก่อนบอกว่า...

"ถึงจะเขียนนิยายก็ต้องทำการบ้าน หาข้อมูล ข้อเท็จจริง เพราะว่าเราเขียนนิยายรักที่สะท้อนโลกความจริง"

แต่ในวันที่ตลาดนิยายมีนักเขียนสร้างงานมากมาย จนแทบจะจำทั้งชื่อคนเขียนและชื่อหนังสือไม่ได้อยู่แล้วนี้ จะทำยังไงล่ะ ให้คนอ่านจดจำ?

"ต้องมีสไตล์เป็นของตัวเอง เขียนนิยายไม่ใช่วิ่งแข่ง ไม่ต้องไปแข่งและไปตามใคร ให้คนอ่านชอบในแนวทางของเราก็พอ" ศมากรตอบรวดเร็ว

คัคนางค์ได้ยินก็เสริมพร้อมรอยยิ้มหวานว่า การเขียนหนังสือไม่ใช่การตามใจตลาด แต่ต้องเขียนในจังหวะที่อยากเขียนจริงๆ

"แล้วพยายามทำให้ดีกว่าเล่มที่ผ่านมา เมื่อคนอ่านชอบ ความสุขก็จะตามมา"

เหมือนที่สองคุณหมอนักเขียน ส่งความรู้สึกให้ได้สัมผัส ผ่านรอยยิ้มใสๆ ในแววตา


PS.  เป็นแฟนพันธุ์แท้เรา...ต้องอดทน!!!

แสดงความคิดเห็น

>

8 ความคิดเห็น

ทิตภากร : กันต์ระพี 29 พ.ย. 52 เวลา 18:51 น. 2

อิอิ..
คุณหมอคัคนางค์>>> เก้าแต้ม>>> ก็คือ ถาง_เหมียว นั่นเอง (นามปากกาเก่า)
ตัวจริงเป็นนักเขียนนิสัยดี ชอบให้กำลังผู้อื่นเสมอ 
พูดจาสุภาพ รู้จักรับฟังและให้ข้อแนะนำที่ดีเสมอ 
น่านับถือสุด ๆ สำหรับพี่สาวคนนี้


PS.  +++ โอกาสมาเยือนเสมอ ถ้าไม่เผลอหลับไปเสียก่อน! +++
0
14-HAKASE 29 พ.ย. 52 เวลา 19:00 น. 3

หาแนวที่ตนเองถนัดสินะครับ
ตอนแรกผมก็มีแรงบันดาลใจมาจากหนังเช่นกัน

แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 29 พฤศจิกายน 2552 / 19:16


PS.  ในที่แห่งนี้ผมเป็นเพียงอากาศธาตุที่ล่องลอยไปไม่รู้จักจบสิ้น ก็เท่านั้น...
0
" เหยี่ยวราตรี " 29 พ.ย. 52 เวลา 19:50 น. 4

อ่านแล้วสร้างกำลังใจได้เลยอ่ะ

ต้องมีสไตล์ เป็นของตัวเอง เขียนนิยายไม่ใช่วิ่งแข่ง

โอว๊ววว โดนใจ


PS.  จุด ที่ ต่ำ สุด ของ ชีวิต ที่ ทุกคน มี โอกาส ประสบ เป็น ได้ ทั้ง จุด จบ และ บท เรียน ที่ ดี !
0
Frankenstein 29 พ.ย. 52 เวลา 22:51 น. 5

โหวต!


เขาดูเข้าใจปัญหาจริงๆทั้งที่ยังไม่น่าจะเคยมาเจอเรื่องในเด็กดีเลย

ชื่นชมความคิดครับ!

0
sss 28 ส.ค. 53 เวลา 12:59 น. 6

มีไรที่หมอทำไม่ได้อีก.....
ชองกรมาศมากค่ะ นิยายหนุก อ่านแล้วอินทุกเรื่องเลย

0