Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ประวัติมหาวิทยาลัยมหิดล

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
มหาวิทยาลัยมหิดล
Mahidol Symbol.jpg

อตฺตนนํ อุปมํ กเร

พึงปฏิบัติต่อผู้อื่น เหมือนดังปฏิบัติต่อตนเอง

Wisdom of the Land


ปัญญาของแผ่นดิน ” มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา
ถนนพุทธมณฑล สาย 4 ตำบลศาลายา
อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

วิทยาเขตกาญจนบุรี
ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี
วิทยาเขตนครสวรรค์
ตำบลบึงเสนาท อำเภอเมืองนครสวรรค์
จังหวัดนครสวรรค์

มหาวิทยาลัยมหิดล มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่การเป็นโรงเรียนแพทย์ ณ โรงศิริราชพยาบาล ชื่อว่า "โรงเรียนแพทยากร" ซึ่งตั้งขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากนั้นในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 จึงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ และเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนาม "มหิดล" อันเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ให้เป็นชื่อมหาวิทยาลัยว่าแทนชื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เดิม

เมื่อปี พ.ศ. 2549 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยระดับดีเลิศและเป็น มหาวิทยาลัยอันดับ 1 ทั้งในด้านการเรียนการสอนและการวิจัย จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของไทย โดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา [1] นอกจากนี้ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ยังรับรองมาตรฐานของสถาบันในระดับดีมากให้กับมหาวิทยาลัยมหิดล[2] ในปี 2009 มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทยและเป็นอันดับที่ 30 ของเอเชีย จากการจัดอันดับของ QS Asian Universities Ranking 2009[3]

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหิดลจัดการเรียนการสอนใน 15 คณะ บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัย และสถาบันต่าง ๆ รวมทั้งหมด 551 หลักสูตร โดยแบ่งออกเป็น 6 วิทยาเขต คือ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา วิทยาเขตพญาไท วิทยาเขตบางกอกน้อย วิทยาเขตกาญจนบุรี วิทยาเขตนครสวรรค์ และ วิทยาเขตอำนาจเจริญ


ตราประจำมหาวิทยาลัยแพทย์ศาสตร์

มหาวิทยาลัยมหิดล มีความเป็นมาจาก โรงศิริราชพยาบาล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างขึ้นบริเวณพระราชวังบวรสถานพิมุข หรือที่เรียกว่า วังหลัง[4] ต่อมา จึงมีพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งโรงเรียนแพทย์ ณ โรงศิริราชพยาบาล และตั้งชื่อโรงเรียนแพทย์ว่า "โรงเรียนแพทยากร"[5] จัดการเรียนการสอนในระดับประกาศนียบัตร 3 ปี หลังจากนั้น เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินเปิดตึกของโรงเรียนแพทย์ จึงได้พระราชทานนามโรงเรียนแพทยากรใหม่ว่า "โรงเรียนราชแพทยาลัย"

พระราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระบรมราชชนก ณ โรงพยาบาลศิริราช

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็น "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" จึงได้รวมโรงเรียนราชแพทยาลัยเข้าเป็นคณะหนึ่งของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2460[6] โดยใช้ชื่อว่า "คณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" ต่อมา จึงเปลี่ยนชื่อเป็น "คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล"

เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2486 ได้แยก คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และ คณะสัตวแพทยศาสตร์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งเป็น "มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์"[7] สังกัดกระทรวงการสาธารณสุข โดยได้จัดตั้งคณะต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยมากมาย เช่น คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะทันตแพทยศาสตร์ พญาไท คณะเภสัชศาสตร์ นอกจากนี้ ยังมีการโอนคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ไปเป็น คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลนครเชียงใหม่ ไปเป็น คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ต่อมา ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ให้เป็นมหาวิทยาลัยที่สมบูรณ์แบบ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามมหาวิทยาลัยว่า มหาวิทยาลัยมหิดล อันเป็นพระนามของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนกเป็นชื่อมหาวิทยาลัยแทนชื่อมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์เดิม[8]

ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยมหิดลจัดการเรียนการสอนภายในคณะ สถาบัน วิทยาลัยต่าง ๆ ครอบคลุมทั้งในสาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ และเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2550 ที่ผ่านมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมลงพระปรมาภิไธย ในพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยมหิดล พ.ศ. 2550[9] และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว เป็นผลทำให้มหาวิทยาลัยได้เปลี่ยนรูปแบบการบริหารงานเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ


สัญลักษณ์ประจำมหาวิทยาลัย

[แก้] สถาบันสมทบ

[แก้] วิทยาเขต

  • วิทยาเขตกาญจนบุรี[10] เปิดสอน
    • หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และสาขาการจัดการทั่วไป
    • หลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาวิชาบัญชี
    • หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีการอาหาร สาขาชีววิทยาเชิงอนุรักษ์ สาขาวิทยาศาสตร์การเกษตร และสาขาธรณีศาสตร์ โดยศึกษาวิชาพื้นฐานที่คณะวิทยาศาสตร์ (ศาลายา) 1 ปี และศึกษาที่วิทยาเขตกาญจนบุรี อีก 3 ปี
  • วิทยาเขตนครสวรรค์[11] เปิดสอน
    • หลักสูตรการจัดการบัณฑิต สาขาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ และสาขาการจัดการทั่วไป
    • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย

[แก้] วิทยาเขตและสถานที่ตั้ง

อาคารสำนักงานอธิการบดี ณ ศาลายา จังหวัดนครปฐม

มหาวิทยาลัยมหิดล ตั้งอยู่บนพื้นที่ 4 แห่ง ได้แก่

  • พื้นที่บริเวณกรุงเทพมหานคร โดยแบ่งออกได้ 4 บริเวณ[17] ได้แก่
    • พื้นที่เขตบางกอกน้อย บริเวณโรงพยาบาลศิริราช เป็นที่ตั้งของคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล คณะพยาบาลศาสตร์ และคณะเทคนิคการแพทย์
    • พื้นที่เขตบางพลัด บริเวณเชิงสะพานพระปิ่นเกล้าฝั่งธนบุรี เป็นที่ตั้งของคณะกายภาพบำบัดและวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวประยุกต์
    • พื้นที่เขตราชเทวี (นิยมเรียกว่า พญาไท) แบ่งเป็น 4 บริเวณ ได้แก่
      • บริเวณถนนพระรามที่ 6 เป็นที่ตั้งของคณะวิทยาศาสตร์ และคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี
      • บริเวณถนนราชวิถี เป็นที่ตั้งของคณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะเวชศาสตร์เขตร้อน
      • บริเวณถนนศรีอยุธยา เป็นที่ตั้งของคณะเภสัชศาสตร์
      • บริเวณถนนโยธี เป็นที่ตั้งของคณะทันตแพทยศาสตร์
    • บริเวณถนนวิภาวดีรังสิต เป็นที่ตั้งของวิทยาลัยการจัดการ
  • พื้นที่บริเวณจังหวัดนครปฐม ตั้งอยู่ ณ ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ซึ่งเป็นที่ตั้งของคณะเทคนิคการแพทย์ (อาคารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการแพทย์) คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี (ภาควิชาพยาบาลศาสตร์) คณะวิทยาศาสตร์ (สถานที่สอนนักศึกษาชั้นปีที่ 1-2 ในทุกสาขาวิชาทางวิทยาศาสตร์แสะเทคโนโลยี) คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ คณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ วิทยาลัยนานาชาติ วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา วิทยาลัยราชสุดา วิทยาลัยศาสนศึกษา และศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก[12]
  • พื้นที่บริเวณจังหวัดกาญจนบุรี ตั้งอยู่ ณ ตำบลลุ่มสุ่ม อำเภอไทรโยค จังหวัดกาญจนบุรี เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตกาญจนบุรี
  • พื้นที่บริเวณจังหวัดนครสวรรค์ ตั้งอยู่ ณ ตำบลบึงเสนาท อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาเขตนครสวรรค์

[แก้] งานวิจัย

มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการยอมรับว่าเป็นมหาวิทยาลัยที่ให้ความสำคัญกับ งานวิจัย โดยอาจจะแบ่งกลุ่มงานวิจัยออกเป็น 5 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มวิทยาศาสตร์การแพทย์และคลินิก กลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพและสาธารณสุข กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กลุ่มมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ การจัดการ และศิลปศาสตร์ และกลุ่มภาษาและวัฒนธรรม[18] เมื่อพิจารณาจากจำนวนผลงานทางวิชาการระดับนานาชาตินั้น พบว่า มหาวิทยาลัยมหิดลมีจำนวนผลงานทางวิชาการที่ตีพิมพ์ในระดับนานาชาติบนฐาน ข้อมูลของ ISI databases เป็นอันดับ 1 ติดต่อกันตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 - 2549 [19] โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในปี พ.ศ. 2548 คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นั้น มีจำนวนผลงานวิจัยเป็นอันดับ 1 เมื่อเทียบกับคณะวิทยาศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในประเทศ[20] และเมื่อพิจารณาจากจำนวนงบประมาณที่ได้รับนั้น มหาวิทยาลัยได้รับเงินทุนสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชนมากที่สุดในประเทศด้วย[21]

[แก้] อันดับและมาตรฐานการศึกษา

ดูบทความหลักที่ อันดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทย

ในปี พ.ศ. 2549 มหาวิทยาลัยมหิดลได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยระดับดีเลิศ และเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ทั้งในด้านการเรียนการสอนและการวิจัย จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยของไทย โดย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา[1] นอกจากนี้ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ซึ่งได้ประเมินคุณภาพผลงานวิจัยเชิงวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2550 ยังจัดให้หน่วยงานของมหาวิทยาลัย ได้แก่ สถาบันอณูชีววิทยาและพันธุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน และคณะเทคนิคการแพทย์ อยู่ในระดับดีมากด้วย[22] ในปี 2009 มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับการจัดอันดับให้เป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทยและเป็นอันดับที่ 30 ของเอเชีย จากการจัดอันดับของ QS Asian Universities Ranking 2009

นอกจากนี้ สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) ยังได้รับรองมาตรฐานการศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดลในระดับดีมาก โดบกลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพ/ชีวภาพ กลุ่มวิชาวิศวกรรมศาสตร์ กลุ่มวิชาบริหารธุรกิจ พาณิชยศาสตร์ บัญชี การจัดการ การท่องเที่ยว และเศรษฐศาสตร์ กลุ่มวิชาศิลปกรรม วิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์ และกลุ่มวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ได้รับการรับรองมาตรฐานในระดับดีขึ้นไปทั้งหมด เมื่อปี พ.ศ. 2550[2]

[แก้] ชีวิตในมหาวิทยาลัย

นักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยมหิดล จะต้องศึกษา ณ มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา จากนั้นถึงมีการแยกย้ายไปตามคณะของตน บรรยากาศในการใช้ชีวิตของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล จะมีความหลากหลายเพราะนักศึกษาแต่ละคน มาจากต่างคณะกัน เช่น แพทยศาสตร์ ดุริยางคศิลป์ วิทยาศาสตร์ ศาสนศึกษา กีฬา เป็นต้น การจัดกิจกรรมนั้น ก็มีหลายอย่าง เช่น รับน้อง การเชียร์แสตนด์ งานอำลาศาลายา งานวันมหิดล เป็นต้น ในเรื่องของการกีฬานั้น ในศาลายาจะมีสถานที่ออกกำลังกายให้นักศึกษาซึ่งก็แล้วแต่ใครจะชอบแบบใด บรรยากาศในศาลายา จะมีจุดเด่นคือ การขี่จักรยานสัญจรของนักศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล ไป ณ สถานที่ต่างๆ ของมหาวิทยาลัย และเมื่อถึงการสอบในแต่ละภาคเรียน จะพบนักศึกษาจำนวนมากที่นั่งอ่านหนังสือตามสถานที่ต่างๆ รอบมหาวิทยาลัย

[แก้] วันสำคัญของมหาวิทยาลัยมหิดล

[แก้] บุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยมหิดล

ดูบทความหลักที่ รายนามบุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัยมหิดล

คณาจารย์และบุคคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดลนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นของไทยมากที่สุด และเป็นมหาวิทยาลัยที่มีผู้ดำรงตำแหน่งศาสตราจารย์ มากที่สุดในประเทศไทย [23] โดยมีรายพระนาม และรายนามบุคคลสำคัญจากมหาวิทยาลัย เช่น



PS.  ~Mahidol University......Wisdom of The Land~

แสดงความคิดเห็น

>

2 ความคิดเห็น

จุ๊บจ๊วบ 26 ธ.ค. 52 เวลา 01:06 น. 1

มหิดลอยากเรียนเหมือนกันจร้า.............แต่มหิดลดังสายแพทย์ สายวิทย์อ่ะ...........เราอยากเรียนสายสังคมอ่ะ
เรียนสายสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ ด้านบัญชีไปธรรมศาสตร์ จุฬา จร้า...............แต่ไงก็รักมหิดลนะ ถ้าเราอยากเรียนหมอเราจะเลือกที่นี่เป็นอันดับแรกจร้า

0