Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

การใช้ทักษะกระบวนการ 9 ขั้น เพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนควนโดนวิทยา

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ (1)  เพื่อพัฒนาแผนการจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านที่ใช้ทักษะกระบวนการ 9  ขั้น  เป็นสื่อ  กระตุ้นการอ่านสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  1    (2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการใช้ห้องสมุดของนักเรียนก่อนทำกิจกรรม  ระหว่างทำกิจกรรมและหลังทำกิจกรรม  (3) เพื่อศึกษาความสนใจการอ่านหนังสือของนักเรียนก่อนทำกิจกรรม ระหว่างทำกิจกรรมและหลังทำกิจกรรม (4) เพื่อเปรียบเทียบทัศนคติด้านการอ่านของนักเรียนก่อนทำกิจกรรม และหลังทำกิจกรรม
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้  เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 จำนวน 31 คน    ภาคเรียนที่ 2   ปีการศึกษา  2552  โรงเรียนควนโดนวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสตูล ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง  ดำเนินการทดลองโดยใช้แผนการทดลองแบบ One  Group  Pretest  Posttest  Desing   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้ทักษะกระบวนการ 9  ขั้น
เพื่อพัฒนานิสัยรักการอ่าน จำนวน 5 แผน  แผนการจัดกิจกรรม จำนวน 1 แผน ใช้กิจกรรมส่งเสริม
การอ่าน 4  กิจกรรม ได้แก่  แนะนำหนังสือ  เล่านิทาน ประกวดยอดนักอ่าน  และหนังสือเล่มเล็ก (นิทาน)  (2) แบบสังเกตพฤติกรรมการใช้ห้องสมุดและการอ่านหนังสือ  
(3) แบบทดสอบวัดทัศนคติต่อการอ่าน  
    การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป  SPSS  for  Windows  (Statistical  Package  for  Social  Sciences) Version  16  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่  ค่าเฉลี่ย (Mean)  ร้อยละ (Percent)  และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน  (Standard  deviation)
    ผลการวิจัยพบว่า   แผนการจัดการเรียนรู้และแผนการจัดกิจกรรมเสริมการอ่านได้นำไปทำกิจกรรมส่งเสริมการอ่านแล้วพบว่า  กิจกรรมต่างๆ ในแผนการจัดการเรียนรู้ดังกล่าว มีส่วนช่วยกระตุ้นและส่งเสริมให้นักเรียนรู้จักใช้เวลาว่างในการแสวงหาความรู้ ความเพลิดเพลินจากการอ่านหนังสือเห็นความสำคัญของการทำบันทึกการอ่านซึ่งเป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างนิสัยรักการอ่านให้เกิดขึ้นแก่นักเรียน  นอกจากนั้น การได้อ่านงานเขียนของตนเองและของเพื่อนในกิจกรรมหนังสือเล่มเล็ก(นิทาน) ได้สร้างความภาคภูมิใจและแรงจูงใจ  ในการทำงานให้เกิดขึ้นแก่นักเรียน
    ผลการสังเกตพฤติกรรมการใช้ห้องสมุดและอ่านหนังสือของนักเรียนก่อนทำกิจกรรม
3  สัปดาห์   ระหว่างทำกิจกรรม  6  สัปดาห์และหลังทำกิจกรรม  3  สัปดาห์ มีประสิทธิภาพ 92.2/95.6 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์  80/80  ที่ตั้งไว้ นักเรียนมีพฤติกรรมการใช้ห้องสมุดและอ่านหนังสือหลังทำกิจกรรมดีขึ้นมากกว่าก่อนการทำกิจกรรมร้อยละ  66.6  
ผลจากการวัดทัศนคติการอ่าน หลังทำกิจกรรมส่งเสริมการอ่านโดยใช้ทักษะกระบวนการ  9  ขั้น  
นักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการอ่านสูงกว่าก่อนการทำกิจกรรร้อยละ  39.6   แสดงให้เห็นว่านักเรียนมีทัศนคติที่ดีต่อการอ่านสูงขึ้น

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น