Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

สถาปัตย์ผังเมือง จุฬาเปิดบ้าน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
สถาปัตย์ผังเมือง จุฬา เปิดบ้าน

ภาคนี้เขาเีรียนอะไรกันอยากรู้ต้องมา







แสดงความคิดเห็น

>

6 ความคิดเห็น

รุ่นพี่ 28 มี.ค. 53 เวลา 10:45 น. 1

สถาปัตยกรรม ผังเมืองคืออะไร?

“สถาปัตยกรรมผังเมือง” เรียนเกี่ยวกับอะไร ?
สถาปัตยกรรมผังเมือง เป็นการศึกษาเกี่ยวกับหลักการ แนวความคิด และวิธีการในการพัฒนาและการอนุรักษ์ฟื้นฟูชุมชนเมือง โดยการสร้างสรรค์สภาพความน่าอยู่ ความสะดวกสบาย ความปลอดภัย และความงดงาม การส่งเสริมสภาพทางเศรษฐกิจ และสังคม และการดำรงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
-----------------------------------------------------------------------

มีการสอนด้านผังเมืองในมหาวิทยา ลัยไหนบ้าง ?
ระดับปริญญาตรีมีที่จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
ระดับปริญญาโทมีที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าฯลาดกระบัง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ส่วนระดับปริญญาเอกมีเฉพาะแต่ท ี่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
-----------------------------------------------------------------------

การสอนด้านผังเมืองในแต่ละมหา วิทยาลัยแตกต่างกันอย่างไร ?
มีความแตกต่างที่จำแนกเป็นการวาง แผน (Planning) และการออกแบบ (Design)
ระดับปริญญาตรีโดยส่วนใหญ่จะเป็น การออกแบบ ระดับปริญญาโทจะมีทั้งที่เป็นการ วางแผนและการออกแบบ ส่วนระดับปริญญาเอกจะเป็นการวางแผน
-----------------------------------------------------------------------

ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการ สอนด้านผังเมืองในหลักสูตรอะไร บ้าง ?
ระดับปริญญาตรีมีหลักสูตรสาขา วิชาสถาปัตยกรรมผังเมือง ระดับปริญญาโทมีหลักสูตรสาขาวิชาการวางแผนภาคและเมือง และสาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือ ง ส่วนระดับปริญญาเอกมีหลักสูตรสาขา วิชาการวางแผนภาคและเมือง

0
รุ่นพี่ 28 มี.ค. 53 เวลา 10:47 น. 2

ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการ สอนด้านผังเมืองอย่างไร ?
ใน 2 ปีการศึกษาแรกจะเป็นการเรียนเกี่ยว กับการออกแบบขั้นพื้นฐาน และการออกแบบสิ่งแวดล้อม
และในปีการศึกษาที่ 3 และ 4 จะเป็นการเรียนเกี่ยวกับการออกแบบสถาปัตยกรรมผังเมือง
ซึ่งจะประกอบด้วยการพัฒนาและกา รอนุรักษ์ฟื้นฟูเมืองในเงื่อ นไข รูปแบบ และวิธีการต่างๆ
ส่วนในปีการศึกษาที่ 5 จะเป็นการเรียนเกี่ยวกับการวางแผนภาคและเมือง และการทำวิทยานิพนธ์
ซึ่งจะเป็นการประมวลความรู้ความ เข้าใจ และการประยุกต์ใช้ในการออกแบบสถาปัตยกรรม ผังเมืองอย่างเหมาะสม

ในการศึกษาตลอดหลักสูตรจะมุ่งเน้น ให้นิสิตได้มีความรู้ทั้ง ทางทฤษฎีจากการบรรยายและการอ ภิปราย ตลอดจนการศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร ทางวิชาการต่างๆ และให้นิสิตได้มีประสบการณ์จากการปฏิบัติงานออกแบบ ในสถานที่จริง การไปทัศนศึกษาทั้งในและต่างประเทศ และการฝึกงานในหน่วยงานราชการหรือ บริษัทเอกชนโดยมีการติดตาม และประเมินผลอย่างใกล้ชิด
-----------------------------------------------------------------------

นิสิตที่สำเร็จการศึกษาในระดับ ปริญญาตรีจะได้วุฒิอะไร ?
นิสิตที่สำเร็จการศึกษาในระดับ ปริญญาตรีซึ่งมีระยะเวลาการ ศึกษา 5 ปี จะได้รับปริญญาการวางผังเมืองบัณฑิต
สาขาวิชาสถาปัตยกรรมผังเมือง (Bachelor of Urban Planning Program in Urban Architecture)
-----------------------------------------------------------------------

สถาปัตยกรรมผังเมืองและภูมิสถาปัตยกรรม มีความแตกต่างกันอย่างไร ?
สถาปัตยกรรมผังเมืองเป็นการออก แบบสิ่งแวดล้อมทางกายภาพของ ชุมชนเมือง ซึ่งประกอบด้วยสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของมนุษย์ ซึ่งได้แก่สถาปัตยกรรม ภูมิสถาปัตยกรรม
และวิศวกรรมด้านการคมนาคมขนส่ง และสาธารณูปโภค ส่วนภูมิสถาปัตยกรรมเป็นการออกแบบ การวางแผน และการจัดการผืนแผ่นดิน จึงมุ่งเน้นพื้นที่โล่งหรือพื้นที่ ทางธรรมชาติในชุมชนเมือง
และพื้นที่นันทนาการเช่นสวนสาธารณะ และวนอุทยานเป็นต้น

0
รุ่นพี่ 28 มี.ค. 53 เวลา 10:48 น. 3

เมื่อสำเร็จการศึกษาจะสามารถทำ งานอะไรได้บ้าง ?
ผู้ที่สำเร็จการศึกษาจะสามารถ ปฏิบัติวิชาชีพสาขาสถาปัตยก รรมผังเมืองตามพระราชบัญญัติ สถาปนิก พ.ศ.2543 ซึ่งครอบคลุมถึงการจัดสรรที่ดิน การจัดรูปที่ดิน การวางผังเมืองเฉพาะ การอนุรักษ์ศิลปกรรมและสิ่งแวด ล้อม การวางผังนิคมอุตสาหกรรม การวางผังพื้นที่เพลิงไหม้หรือพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายจากอุบัติภัยหรือภัยพิบัติ และการวางผังโครงการที่ประกอบด้วยกลุ่มอาคารสูง อาคารขนาดใหญ่ และอาคารสาธารณะ
-----------------------------------------------------------------------

เมื่อสำเร็จการศึกษาจะสามารถทำ งานที่ไหนได้บ้าง ?
ในภาครัฐสามารถเข้าทำงานได้ที่ กรมโยธาธิการและผังเมือง และองค์กรท้องถิ่น ซึ่งได้แก่กรุงเทพมหานครและเทศบาล นอกจากนี้ยังอาจเข้าทำงานในองค์กรที่เป็นรัฐวิสาหกิจ ซึ่งได้แก่การเคหะแห่งชาติ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นต้น ส่วนในภาคเอกชนสามารถเข้าทำงานได้ในบริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และบริษัทที่ปรึกษาด้านการวางผังและออกแบบชุมชนเมือง
-----------------------------------------------------------------------

เมื่อสำเร็จการศึกษาจะสามารถศึกษา ต่อที่ไหนได้บ้าง ?
เมื่อสำเร็จการศึกษาสามารถศึกษา ต่อในระดับปริญญาโทได้ทั้ง ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและ มหาวิทยาลัยชั้นนำอื่นๆใน ต่างประเทศ สำหรับที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยสามารถศึกษาต่อในระดับปริญญาโทได้ในสาขาวิชาการวางแผนภาคและเมือง หรือสาขาวิชาการออกแบบชุมชนเมือง หรือสาขาวิชาอื่นๆได้แก่ เคหพัฒนศาสตร์ เป็นต้น และเมื่อสำเร็จการศึกษาในระดับ ปริญญาโทแล้วสามารถศึกษาต่อ ในระดับปิญญาเอกได้ในสาขาวิชา การวางแผนภาคและเมือง

สู้ๆๆกันนะครับน้องๆๆ

0
hamanawin 12 มี.ค. 58 เวลา 02:54 น. 5

ส่วนตัวผมจบจากสาขานี้มาครับ ขออนุญาตแชร์ข้อมูลให้น้องๆที่สนใจ
ลองนำไปพิจารณาดูครับ

เรื่องหลักสูตร

ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่าการเรียน ศาสตร์ผังเมือง ในระดับปริญญาตรี
แบ่งออกเป็น 2 หลักสูตรครับ คือ
1. urban and regional planning การวางผังเมืองและผังภาค
2. urban design การออกแบบชุมชนเมือง
ที่ จุฬา เป็นหลักสูตร urban design หรือ ออกแบบชุมชนเมืองครับ ในขณะที่ป.ตรีที่อื่นๆ เรียน urban planning 

จริงๆถ้าจะให้อธิบายในรายละเอียดคงใช้เวลานานมากกกกก
เลยขอสรุปความแตกต่างของทั้ง 2 ส่วนง่ายๆ คือ
urban planning คือการวางผังระดับเมือง กำหนดรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน ถนน โครงสร้างพื้นฐาน ประชากร สาธารณูปโภค/ปการ และอื่นๆ 

urban design คือการวางผังระดับโครงการ เช่นการวางผังกลุ่มอาคารขนาดใหญ่ ที่มีขนาดมากกว่า 30,000 ตร.ม. ผังโครงการสถานบันศึกษา ผังพัฒนาพื้นที่ริมน้ำ เป็นต้น 

นอกเหนือจากวิชาการออกแบบที่เป็นวิชาหลักในหลักสูตร ป.ตรี แล้ว
ยังมีวิชาสหศาสตร์อีกหลายวิชา เช่น การจัดการเมือง เศรษฐศาสตร์เมือง
สังคมวิทยาเมือง การบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมเมือง ฯ รวมถึงในชั้นปีห้าก่อนทำวิทยานิพนธ์ จะต้องเรียนวิชา urban & regional planning หนึ่งเทอม 
ซึ่งน้องๆสามารถหารายละเอียดจากเว็บภาคได้ครับ cuurp 

สรุปก็คือ จบมาได้ทั้งดีไซน์ผังโครงการ ได้ทั้งวางผังเมือง ถ้าอยากเก่งเฉพาะทางก็ไปต่อโทได้ตามความสนใจครับ

ข้อดีของหลักสูตร

1.) กลุ่มอาจารย์ที่สอนอยู่ปัจจุบันดีมากครับ ใจกว้าง
แต่ละท่านจบมหาวิทยาลัยระดับโลกทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น MIT, UofTokyo, UCL (London) และมหาลัยชั้นนำในเยอรมันและฝรั่งเศส
ลองหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ในเว็บครับ หาชื่ออาจารย์ แล้วเสิชหาข้อมูลได้เลย 
ไม่มีประเภทเรียนเก่งแต่พูดไม่รู้เรื่อง ทุกคนผ่านงานจริงระดับชาติและนานาชาติมาแล้ว เป็นที่ปรึกษารัฐบาล หน่วยงานระดับสูงของไทย 
ฉะนั้นประสบการณ์เเน่นปึ๊ก

2.) สหสาขา พี่ว่าถ้าตั้งใจเรียนหลักสูตรตอนเข้าภาคแล้วจริงๆ นอกเหนือจากดีไซน์แล้ว จะมีความรู้หลายด้านและเป็นคนที่คิดในภาพรวม ซึ่งเป็นข้อดีที่เป็นที่ต้องการอย่างมากในประเทศนี้

3.) คอนเนคชั่นกับมหาวิทยาลัยต่างชาติ 
(สำหรับพี่คิดว่ามันสำคัญมาก ทั้งกับการเรียน และโอกาสในการเรียนต่อ)
ส่วนตัวแล้วตลอดห้าปี พี่ได้ร่วมทำงานกับนิสิตนักศึกษาจากหลายประเทศ ทั้งในไทย และเดินทางไปต่างประเทศ ด้วยทุนสนับสนุนของภาควิชาและมหาวิทยาลัยต่างชาติ พี่ได้โอกาสไปร่วม workshop ออกแบบตลาดปลา tsukiji ที่ญี่ปุ่นกับนักเรียน urban engineering ที่โตได หรือ UofTokyo มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของญี่ปุ่นและอันดับสองของเอเชีย (ฟรีตลอดโปรแกรม) 
อาจารย์หลายๆท่านจบมาจากที่ดีๆ ฉะนั้นคอนเนคชั่นระหว่างมหาวิทยาลัยค่อนข้างดีมากครับ

4.) ทริปดูงานต่างประเทศ และโอกาสในการฝึกงานที่ต่างๆ
ในช่วงปีสี่ขึ้นปีห้า ภาควิชาจะสนับสนุนเงินทุนให้นิสิตคนละ 20,000 บาท
เพื่อเข้าร่วมทริปดูงานประจำปี เนื่องจากในไทยไม่มีตัวอย่างการพัฒนาเมืองดีๆเท่าไหร่ เลยต้องลงทุนไปดูของจริง ที่เป็นผลผลิตจากวิชาชีพของเราที่ต่างประเทศ 
ที่ผ่านมาได้ไป ญี่ปุ่น (โตเกียว+โยโกฮาม่า) / มาเลเซีย+สิงคโปร์ / เกาหลี / ฮ่องกง 

ต้องขอบอกว่าสนุกโคตรๆ ฮ่าๆๆ (ส่วนตัวไปหน่อย)
อาจารย์จะตามไปดูแลสองท่าน พาเดินเมือง ดูเมืองกันอย่างเมามัน 
ความรู้แน่นปึ๊กแน่นอน

5.) คนน้อย  อาจจะฟังดูแย่ แต่พี่คิดว่า เป็นสิ่งที่ดีมากๆสำหรับการเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัย
-ส่วนอาจารย์ต่อนิสิต กำลังพอดีครับ รุ่นพี่มีกัน 16 คนน้อยกว่ารุ่นอื่นๆ ส่วนใหญ่มีประมาณ 20-30 คน วิชาสตูดิโอ คนที่ได้ประโยชน์เต็มๆคือคนเรียน



ข้อเสียของหลักสูตร

1.) ไม่เหมาะสำหรับคนที่ตั้งใจจะเรียนออกแบบ แบบ 100% 
หลักสูตรไม่ได้เน้นหนักไปที่การออกแบบเพียงอย่างเดียว
แต่มี coursework ค่อนข้างเยอะและ comprehensive มากๆ 

2.) ความรู้เรื่องโครงสร้างต่ำ 
จากการที่ได้เรียนกับเพื่อนๆภาคอื่นน้อย ปีสองก็เข้ามาเรียนวิชาในภาคแล้ว
ทำให้มีความรู้เรื่องโครงสร้างและสถาปัตยกรรมไม่มากนัก 

3.) ความเปลี่ยนแปลงและความไม่แน่นอนของหลักสูตร
เนื่องจากเพิ่งตั้งมาได้ 10 ปี อาจจะยังมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนในบางครั้ง 

เรื่องงาน เส้นทางอาชีพ ค่าตอบแทน

ต้องบอกก่อนว่าที่บอกว่าผังเมืองไม่ค่อยมีงาน เงินน้อย อาจจะดูไม่เป็นธรรมสักเท่าไหร่นะครับ จริงๆแล้วตลาดแรงงานมีความต้องการนักผังเมือง นักออกแบบชุมชนเมืองค่อนข้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับตอนที่เปิดภาคใหม่ๆ เรื่องค่าตอบแทนก็ไม่ได้แตกต่างมากนัก

พี่ๆที่จบไปที่ยังทำงานสายนี้อยู่ก็เจริญเติบโตไปตามลำดับขั้นและประสบการณ์

เพื่อนๆในรุ่นที่เพิ่งจบเริ่มทำงานกันหมดแล้วครับ แบ่งได้คร่าวๆ 3 กลุ่มครับ

กลุ่มที่ 1 ทำงานในบริษัทอสังหาริมทรัพย์ขนาดใหญ่ 
ไม่ว่าจะเป็น บริษัทในเครือ TCC land (เบียร์ช้าง) สยามภิวัฒน์ พฤกษา 
โนเบล land&house ฯ
เนื่องจากบริษัทเหล่านี้มีที่ดินและโครงการพัฒนาจำนวนมากครับ 
เลยต้องการนักผังเมืองเข้าไปช่วยในส่วนของการวิเคราะห์โครงการ 
คิดโปรแกรมการพัฒนาและวางผังออกแบบบ้างบางส่วน

กลุ่มที่ 2 เข้าทำงานในบริษัทออกแบบและบริษัทที่ปรึกษา ทั้งในและต่างประเทศ 
เช่น A7 , ฉมา SHMA (landscape), โชติจินดา มูเซล, AECOM singapore, belt collins international (thailand) co. ltd ฯ

กลุ่มนี้จะได้ทำงานตรงสายพอสมควรครับ ได้ออกแบบวางผัง+ลงชุมชน จัดงานต่างๆ งานหนักเหมือน สถาปัตย์หลัก สน. แลนด์สเคปครับ 

กลุ่มที่ 3 คือเรียนต่อและทำงานภาคการศึกษาครับ
มีจำนวนไม่น้อยที่ไปต่อต่างประเทศหรือต่อโทที่จุฬาฯ ในสายการวางผังเมือง urban planning หรือ housing & real estate ภาคเคหะการ เรียนเรื่องการพัฒนาที่อยู่อาศัย หรือออกแบบชุมชนเมือง urban design 

ถ้าเรียนต่อที่จุฬาฯ ต่อ urban design จะต่อปีเดียวครับ เป็นหลักสูตร 5+1 ได้โทเลย แต่ถ้าสาขาอื่นก็สองปีตามปกติ

ระหว่างเรียนต่อก็จะมีงานพิเศษเข้ามาต่อเนื่องครับ ไม่ว่าจะเป็นผู้ช่วยสอน
ผู้ช่วยวิจัย ช่วยงานพิเศษกับอาจารย์หลายๆท่านที่มีงานข้างนอกเข้ามา
นอกจากนี้ ที่ภาคเพิ่งตั้ง "ศูนย์ออกแบบและพัฒนาเมือง" หรือ Urban design and development center ขึ้นเพื่อเป็นศูนย์การพัฒนาเมืองตัวอย่างขึ้นครับ
โครงการดีๆเยอะแยะมากมาย มีรุ่นพี่เข้าไปทำงานหลายคน กำลังขยายหน่วยงาน นี่ก็เป็นอีกที่นึงที่รองรับบัณฑิตที่จบจากภาคผังเมืองครับ

ทั้งสามกลุ่มมีค่าตอบแทนใกล้เคียงกันครับ เงินเดือนก็มาตราฐานใกล้เคียงกับสาขาอื่นๆของถาปัด บริษัทอสังหาฯ ก็อาจจะมีแนวโน้มว่าจะได้โบนัสมากกว่าส่วนอื่นๆ ถ้าเก่งและขยันไม่แย่แน่นอนครับ 


สรุปก็คือ มันขึ้นอยู่กับสิ่งที่น้องๆต้องการว่าอยากได้แบบไหน
พี่อธิบายรายละเอียดและเล่าประสบการณ์อย่างตรงไปตรงมาครับ 
ไม่ได้เชียร์สาขาตัวเอง ถ้าสนใจเมลมาสอบถามเพิ่มเติมได้ครับ
anawin_c@yahoo.com 

ถ้าสนใจอันไหนพยายามหาข้อมูลครับ อย่าทึกทักเอาเองว่าดีไม่ดี
เราควรจะรู้ก่อนว่าอะไรดีไม่ดี "อย่างไร" 
แล้วค่อยตัดสินใจ

อยากจะฝากข้อคิดให้กับคนที่อยากเรียนถาปัดว่า 
ถ้ารู้สึกว่าสาขาไหนมันตรงกับจริตและความเป็นตัวตนของเรา
อยากให้เลือกสาขานั้น จบมาถ้าทำได้ดี มีงานรออยู่แล้ว ไม่ต้องกลัวตกงาน
พูดตรงๆคือคนที่ตกงานคือคนที่ไม่ได้ตั้งใจมากพอในตอนเรียน
ก็ต้องรับผลของการกระทำ

ปล. ได้ชื่อว่าเรียนถาปัดแล้ว หนักเหมือนกันทุกสาขาครับ
คำแนะนำก็คือถ้าอยากมาเรียน ยังไงก็ต้องทนครับ ความรักความชอบอาจจะไม่พอ ฮ่าๆๆ

0