Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

พระพุทธเจ้าในทัศนะของนิกายมหายานและเถรวาท

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
พระพุทธศาสนามีนิกายใหญ่ๆ อยู่ 2 นิกายคือมหายานและเถรวาท ทั้งสองนิกายมีความเห็นแตกต่างกันในบางเรื่อง เหมือนกันบางเรื่อง โดยเฉพาะเรื่องของพระพุทธเจ้าผู้ก่อตั้งพระพุทธศาสนา จึงทำให้เกิดแนวคิดเรื่องตรีกายซึ่งประกอบด้วย
1. นิรมานกาย (กายเนื้อ) เถรวาทมองว่าพระพุทธเจ้ามีกายเหมือนมนุษย์ทั่วไป ถือกำเนิดในศากยสกุล ออกบรรพชา บำเพ็ญทุกรกิริยาและบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ก่อตั้งพระพุทธศาสนาและนิพพานเมื่อพระชนมายุได้ 80 พรรษา ส่วนมหายานมองว่าพระพุทธเจ้าเป็นบุคคลผู้สูงสุดไม่เหมือนมนุษย์ทั่วไป พระองค์จึงอยู่ในรูปกายของพระโพธิสัตว์
2. ธรรมกาย (กายธรรม) เถรวาทหมายถึงคำสอนต่างๆที่พระพุทธเจ้าทรงสอนสาวกทั้งหลายอันได้แก่พระปัญญา คุณ พระวิสุทธิคุณ และพระมหากรุณาธิคุณ ส่วนมหายานมองว่าธรรมกายคือองค์ปฐมพุทธซึ่งเป็นอมตะไม่ตาย
3. สัมโภคกาย (กายทิพย์) เถรวาทเห็นว่าคือรัศมีอันรุ่งเรืองที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงออก แต่มหายานกลับหมายถึงเทพเจ้าที่แสดงนิรมิตกายมาเพื่อช่วยเหลือสัตวโลกให้พ้น ทุกข์ แสดงให้เห็นเฉพาะหมู่พระโพธิสัตว์ เป็นทิพยภาวะมีรัศมีรุ่งเรือง
ความเห็นเรื่องพระพุทธเจ้า
นิกายเถรวาทเห็นว่าพระพุทธเจ้าเคยมีในอดีตหลายพระองค์ และจะมาตรัสรู้ในอนาคตอีก แต่ตรัสรู้ทีละองค์ในยุคหนึ่งๆ ไม่ตรัสรู้พร้อมกันในภัทรกัปนี้คือพระโคตรมพุทธเจ้า แต่นิกายมหายานมีความเห็นว่าพระพุทธเจ้ามี 3 ประการคือ
1. อาทิพุทธ หมายถึงปฐมพุทธเป็นผู้สร้างโลก สร้างสรรพสิ่ง รวมทั้งเป็นผู้ให้กำเนิดพระพุทธเจ้าทั้งหลาย สถิตอยู่ที่อกนิษฐพรหม เป็นทิพยสถานอมตะ
2. มานุสสพุทธะ หมายถึงการอวตารอุบัติมาในรูปของพระพุทธเจ้าเช่นพระทีปังกร พุทธเจ้า พระกัสสปะพุทธเจ้า พระโคตมพุทธเจ้า เป็นต้น เป็นมนุษย์ธรรมดาบำเพ็ญตนจนตรัสรู้ธรรมเป็นพระพุทธเจ้า
3. ธยานิพุทธะ คือพระพุทธเจ้าที่อวตารมาจากอาทิพุทธะเช่นเดียวกับมานุสพุทธะ แต่สำเร็จเป็นพุทธเจ้าได้ก็เพราะอำนาจฌานของพระอาทิพุทธะ ธยานิพุทธมี 5 องค์คือพระไวโรจนะ,พระอักโษภยะ,พระรัตนสัมภวะ,พระอมิตาภะและพระอโมฆสิทธิ
ในส่วนของผู้บำเพ็ญตนตามวงศ์ของพระธยานิพุทธะแต่ละองค์ก็จะกลายเป็นพระธยานิ โพธิสัตว์ตามธยานิพุทธแต่ละกลุ่มคือพระสมันตภัทร อยู่ในกลุ่มของพระไวโรจนะ,พระวัชรปาณี อยู่ในกลุ่มของพระอักโษภยะ,พระรัตนปาณีอยู่ในกลุ่มของพระรัตนสัมภวะ,พระอวโล กิเตศวรอยู่ในกลุ่มของพระอมิตาภะและพระวิศวปาณีอยู่ในกลุ่มของพระอโมฆ สิทธิ ในญี่ปุ่นยังเพิ่มเพิ่มเข้ามาอีกองค์คือพระวัชรสัตว์ ชื่อที่ชาวไทยกันมากที่สุดน่าจะเป็นพระพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์
พระโพธิสัตว์ตามความหมายของศาสนาพุทธฝ่ายเถรวาทเห็นว่า พระโพธิสัตว์เป็นพระผู้ยังตนให้บรรลุโพธิญาณแล้วจึงสั่งสอนโปรดผู้อื่นให้ บรรลุ คือบรรลุธรรมก่อนค่อยสอนผู้อื่นทีหลัง ส่วนฝ่ายมหายานบันทึกว่า พระโพธิสัตว์เป็นพระผู้บำเพ็ญบารมี ด้วยการขนสัตว์อื่นให้ล่วงพ้นกองทุกข์ จนเหลือตนเองเป็นคนสุดท้ายแล้วจึงจะขอบรรลุโพธิญาณ นั่นคือช่วยผู้อื่นให้พ้นทุกข์หมดก่อนตัวเองค่อยบรรลุทีหลัง

มหาจตุปณิธานหรือมหาจตุรปณิธาน
กระบวนการในการบำเพ็ญบารมีของพระโพธสัตว์เริ่มต้นขึ้นหลังจากที่พระ โพธิสัตว์ในนิกายเถรวาทเริ่มต้นจากการประกอบพร้อมด้วยคุณสมบัติ ๘ ประการ (อัฏฐธัมมสโมธาน) โดยบริบูรณ์แล้ว จากนั้นพระโพธิสัตว์จึงได้เริ่มตั้งปณิธานคือ ความมั่นคง แน่วแน่ ไม่เปลี่ยนแปลง หรือความมุ่งมั่นตั้งใจจริง บำเพ็ญบารมี 30 ทัศน์ให้บริบูรณ์ ก็จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า
แต่ในฝ่ายพุทธศาสนามหายานเรียกปณิธานของพระโพธิสัตว์ซึ่งทุกคนเริ่มตั้ง ปณิธานได้เหมือนกันเรียกว่า "มหาจตุรปณิธาน" มี ๔ ประการ คือ
๑. เราจะละกิเลสทั้งหลายให้หมดสิ้น
๒. เราจะตั้งใจศึกษาพระธรรมทั้งหลายให้เจนจบ
๓. เราจะโปรดสรรพสัตว์ทั้งหลายให้สิ้น
๔. เราจะบำเพ็ญตนให้บรรลุถึงอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ
ปณิธานทั้ง ๔ ข้อนี้ กล่าวได้ว่าอยู่ในฐานะเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระโพธิสัตว์ และเปรียบเสมือนสิ่งอันเป็นเครื่องกระตุ้นความมุ่งมั่นทะเยอทะยานอันแรงกล้า ในการบำเพ็ญบารมีธรรมของผู้เป็นพระโพธิสัตว์ในนิกายมหายาน


ส่วนเถรวาทพระโพธิสัตว์บ่งความถึงผู้ตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าใน อนาคต ส่วนชาวพุทธในปัจจุบันไม่เรียกว่าโพธิสัตว์แต่เรียกอนุพุทธะหรือสาวกพุทธะ คือผู้รู้ตามพระพุทธเจ้า จึงเป็นเพียงสาวกคือผู้ปฏิบัติตามคำสอนของพุทธเท่านั้น
เถรวาทและมหายานมีความเห็นเกี่ยวกับพระพุทธเจ้าแตกต่างกันอย่างนี้ จึงทำให้การตีความหลักคำสอนแตกต่างกันไปด้วย นอกจากนั้นสภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ สังคมวัฒนธรรมของแต่ละประเทศ ยังมีส่วนที่ทำให้พระพุทธศาสนามีแนวปฏิบัติที่แตกต่างกันไปด้วย แม้แต่ในประเทศไทยต่างภูมิภาคกันพระสงฆ์ก็ยังปฏิบัติแตกต่างกันบ้าง แต่เรามีองค์กรเดียวกันคอยควบคุมดูแล จึงทำให้แต่ละสำนักมีแนวทางในการปฏิบัติไม่แตกต่างกันมากนัก
ในส่วนของมหายาน ซึ่งกระจายอยู่ในหลายประเทศก็ย่อมมีแนวปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไปมาก เพราะหลักการแรกของมหายานคือ ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม เพราะพระพุทธเจ้าตรัสสั่งพระอานนท์ก่อนปรินิพพานไว้ว่า “อานนท์ ในอนาคตกาล หากคณะสงฆ์ต้องการเปลี่ยนแปลงสิกขาบทเล็กๆ น้อย ๆ ก็สามารถทำได้” มหายานจึงตัด เพิ่ม ต่อเติมได้ตามสภาพกาลแวดล้อม ในขณะที่เถรวาทไม่เปลี่ยนไม่เพิ่มสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้แล้ว
สาธุชนลองคิดดูด้วยปัญญาเถิดว่า ทัศนะเบื้องต้นของสองนิกายนี้ใครคิดผิดคิดถูก เพราะทัศนะเบื้องต้นนำไปสู่การปฏิบัติ และการปฏิบัตินำไปสู่บทสรุป มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยสังกัดนิกายเถรวาท ร่วมกับพระพุทธศาสนามหายาน นิกายเนนบุทซูซุ ได้เป็นร่วมเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมพระพุทธศาสนาแห่งโลกครั้ง 4 ในช่วงวันที่ 1-5 พฤศจิกายน 2548 เพื่อหาแนวทางแห่งการประสานสามัคคีของพระพุทธศาสนาทั้งสองนิกายต่อไป

แสดงความคิดเห็น

>