Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

หลอดฟลูออเรสเซนต์

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
            หลอดฟลูออเรสเซนต์ที่หมดอายุการใช้งาน กำลังสร้างปัญหาให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้ง เทศบาล และ อบต. ซึ่งมีหน้าที่ จัดเก็บขยะ และดูแลสิ่งแวดล้อมใน แต่ละท้องถิ่น ปกติเทศบาล และ อบต. จะใช้วิธีการเก็บรวบรวมหลอดฟลูออเรสเซนต์ที่ทิ้งจากบ้านเรือน มารวมไว้ เพื่อรอการขนส่งไปกำจัด ที่ถูกต้อง แต่ปัญหาที่ตามมาก็คือ เทศบาล และ อบต. ส่วนใหญ่ไม่มีพื้นที่ในการจัดเก็บขยะที่เป็นอันตรายเหล่านี้ เสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุและส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนในชุมชนอีกด้วย

            ผศ.ดร.สมศักดิ์ พิทักษานุรัตน์ อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาศาสตร์อนามัยและสิ่งแวดล้อม คณะสาธารณสุขศาสตร์ จึงได้ร่วมกับ รศ.ดร.วันเพ็ญ วิโรจนกูฎ ผู้อำนวยการศูนย์การจัดการสิ่งแวดล้อมและสารอันตราย และนายวรวิทย์ อินทร์ชม นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทำการศึกษาพัฒนาต้นแบบเครื่องบดย่อยหลอดฟลูออเรสเซนต์พร้อมด้วยการควบคุมการแพร่กระจายของสารปรอท เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้นำไปใช้ประโยชน์ แก้ไขปัญหาการจัดเก็บขยะอันตรายจากชุมชน

            ผศ.ดร.สมศักดิ์ เผยว่า เครื่องบดย่อยหลอดฟลูออเรสเซนต์ ประกอบด้วยถังพลาสติกอย่างหนา (HDPE) ขนาด 230 ลิตรและชุดบดย่อยที่มีใบมีด และช่องสำหรับใส่หลอดฟลูออเรสเซนต์ติดตั้งอยู่ด้านบนของถัง สามารถรองรับหลอดฟลูออเรสเซนต์ได้ 1,300-1,400 หลอด ที่บดย่อยแล้ว มีอัตราการบดย่อย 4-6 หลอด ต่อนาที 

            การควบคุมการแพร่กระจายของไอปรอท ใช้วิธีฉีดพ่นโซเดียมซัลไฟด์ลงบนหลอดที่ถูกบดย่อย จากนั้นผสมปูนซีเมนต์เข้ากับเศษหลอดฟูลออเรสเซนต์ ทดสอบการ ชะล้างของสารปรอท และนำไปฝังกลบให้ถูกต้องต่อไป

            ปัจจุบันต้นแบบเครื่องบดย่อยหลอดฟลูออเรสเซนต์ได้ถูกนำไปทดลองใช้งานจริง ที่เทศบาลตำบลพังโคน จังหวัดสกล นคร ภายใต้การดำเนินงานโครงการของเครือข่ายสกลนคร คลีน กรีน แอนด์ เน็ตเวิร์ก (Sakonnakorn Clean GreenNetwork) ซึ่งเป็นความร่วมมือกันระหว่าง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม สำนักงานสาธารณสุข และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัด สกลนคร

            เครื่องบดย่อยหลอดฟลูออเรสเซนต์ เมื่อเทียบต้นทุนการผลิตกับเครื่องบดย่อยหลอดฟลูออเรสเซนต์ ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ถือว่ามีราคาถูกกว่ากันมาก เพราะมีต้นทุนเพียง 7,000 บาท เท่านั้น 

            ผศ.ดร.สมศักดิ์ บอกว่า ยัง คงต้องพัฒนาต่อไปในเรื่องของรูปแบบเพื่อให้สะดวกต่อการติดตั้งและเคลื่อนย้าย และจะทดลองออกแบบติดตั้งบนรถเก็บขยะเพื่อให้สะดวกต่อการใช้งานให้มากยิ่งขึ้น

credit; youngmea.com

ฝากกระทู้ด้วยนะคะ ;']]

มาดูกันว่า... ปากกาเกิดมาได้ไง
http://www.dek-d.com/board/view.php?id=1717066

PS.  http://rillzm.hi5.com

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น