Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

"""" เฉลย ข้อสอบข้อสอบ ภาษาไทย จุฬา มาแล้วววว """""""

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เศร้าได้อีกอ่ะ 30คะแนน ไปแล้ว
ตอบผิดหมดเลยอ๊า

แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น ต้องระลึกเสมอว่าแผนที่ ภาพถ่าย หรืออะไรก็ตามที่เกี่ยวกับสภาพแวดล้อมนั้น ไม่สามารถจะเข้าถึงความเป็นจริงธรรมชาติที่เป็นธรรมได้ เพราะเป็นการมองผ่านสิ่งที่เป็นเครื่องมือแต่อย่างเดียว ดุจการมองแบบนก (Bird-eye’s view)ที่ไม่อาจมองลึกลงไปยังความสัมพันธ์ระหว่างสรรพสิ่งที่มีชีวิต ไม่ว่าคน สัตว์ พืช และทรัพยากรในพื้นที่อันเป็นนิเวศวัฒนธรรมได้

แผนที่ภาพถ่ายเป็นแต่เพียงเครื่องมือเพื่ออำนวยความสะดวกสบายให้เท่านั้น หาใช่เป็นข้อมูลอันเป็นข้อเท็จจริงไม่ การเข้าถึงข้อมูลอย่างแท้จริงจะต้องลงไปในพื้นที่ ศึกษางานภาคสนาม อันเป็นประสบการณ์จากการแลเห็น สัมผัส และรู้สึก

ความอาภัพของคนไทยในความล้าหลังทางวัฒนธรรมของรัฐบาลและนักวิชาการไทยที่บ้าแต่เรื่องเทคโนโลยีก็คือ คนไทยและเด็กไทยส่วนใหญ่อ่านแผนที่ไม่เป็น ใช้แผนที่ก็ไม่เป็น อย่างเช่นการเรียนรู้ตามโรงเรียน สถาบันการศึกษา และหน่วยราชการทั่วไป ก็ได้เห็นและเรียนรู้แต่แผนที่มาตราส่วนใหญ่ๆ เช่น ๑: ๒๐๐,๐๐๐ ขึ้นไป แทบไม่มีโอกาสได้เห็นหรือเรียนรู้แผนที่มาตราส่วนที่ใกล้ความเป็นจริงในท้องถิ่น เช่น มาตราส่วน ๑: ๕๐,๐๐๐ แต่อย่างใด เพราะแผนที่มาตราส่วนนี้ ทางราชการโดยเฉพาะทางทหาร ถือว่าเป็นความลับที่เกี่ยวกับความมั่นคง ใครมีไว้ในครอบครอง ถ้าหากไม่ใช่หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง ก็ถือว่าเป็นความผิด ซึ่งเด็กเลยไม่ได้เรียน ผู้ใหญ่ก็ไม่ได้รู้ นอกจากแผนที่ซึ่งทำจากประสบการณ์ในการสังเกตและสัมผัส ที่บรรดานักวิชาการมักเรียกว่า Mind Map เท่านั้นเอง

การไม่รู้จักแผนที่และอ่านแผนที่ไม่เป็นในทุกวันนี้ นับเป็นความล้าหลังทางวัฒนธรรม (Culture lag) อย่างยิ่งของประเทศไทย ที่มักอ้างตนว่าทันสมัย เป็นสมัยใหม่ หรือเป็นยุคหลังสมัยใหม่ในความคิดของนักวิชาการสติเฟื่องรุ่นใหม่ๆ บางกลุ่มในขณะนี้ โดยเฉพาะบรรดานักวิชาการทางแผนที่และภาพถ่ายที่ทำงานอยู่ตามสถาบันที่เกี่ยวข้อง ก็ยังมองเห็นการใช้แผนที่และภาพถ่ายในลักษณะเป็นข้อมูลและข้อเท็จจริงมากกว่าเป็นเพียงเครื่องมือ ดังเห็นได้จากการวงแผนการดำเนินโครงการเพื่อการพัฒนาต่างๆ ที่เป็นโครงการของความเป็นไปได้ (Feasibility Study) และโครงการศึกษาผลกระทบ (E I A) ที่มักทำให้เกิดความขัดแย้งกับผู้คนในท้องถิ่นในเรื่องคุกคามสภาพแวดล้อมด้านทรัพยากรธรรมชาติ และละเมิดสิทธิมนุษยชนของคนท้องถิ่นอยู่เสมอ

ปัจจุบัน บรรดาแผนที่ ภาพถ่ายทางอากาศ และอะไรต่างๆ นานาในเรื่องการสำรวจระยะไกล (Remote Sensing) ที่มีลักษณะเป็นเพียงเครื่องมือเหล่านี้ ไม่ควรที่ทางราชการ โดยเฉพาะฝ่ายความมั่นคงที่แสนล้าหลังและเชยจะเห็นว่าเป็นของต้องห้าม, เป็นความลับ หรือถูกผูกขาดโดยฝ่ายรัฐและราชการอีกต่อไป ควรเปิดโอกาสและส่งเสริมอย่างเต็มที่ให้คนทั่วไปได้รู้ได้ใช้ โดยเฉพาะฝึกเด็กและเยาวชนให้ได้เรียนรู้เพื่อนำไปสู่การศึกษาค้นคว้า และรับรู้ข้อมูลอันเป็นข้อเท็จจริงด้วยตนเอง


ในสุดท้ายนี้ ใคร่ขอยกตัวอย่างความล้าหลังและความเชยของรัฐมาตบท้ายว่า ทุกครั้งที่ข้าพเจ้าขึ้นเครื่องบิน TG ไปยังจังหวัดอุบลราชธานี สกลนคร นครราชสีมา และพิษณุโลก มักจะมีแอร์โฮสเตส สาวๆ แต่หน้าตาเ้ยมเกรียมมาเตือนและห้ามแบบดุดันเสมอว่า ไม่ให้ใช้กล้องถ่ายภาพบ้านเมืองขณะที่เครื่องบินกำลังบินลงสู่สนามบิน ข้าพเจ้าก็ร่ำๆ ที่จะด่าเอาบ้างว่า ถ้าจะคิดทำจารกรรมทำลายอะไรแล้ว ไม่เห็นจะต้องมาถ่ายภาพจากเครื่องบินให้เมื่อย เพราะคนทั่วไปอาจใช้ภาพจากกูเกิ้ลเอิร์ธ ยิง ตอร์ปิโด ไปถึงเตียงนอนคุณได้ทุกเมื่อ !!!!



























http://www.muangboranjournal.com/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=259

แสดงความคิดเห็น

>

3 ความคิดเห็น

pacha_Mc 28 ก.ค. 53 เวลา 01:43 น. 1
เ้ฮ้ยย    ไม่หรอก

เพราะข้างล่างบทความอ่ะ
เค้าเขียนว่าบทความของใครใช่ไหมล่ะ

แล้วคือเราเห็น คำว่า  ดัดแปลงมาจาก บทความของ..............เรื่อง..............  ด้วย

เพราะ ไม่งั้น เราต้องอ่านทุกตัวหนังสือทุกบทความที่มีอยู่บนโลกนี้เลยหรอ

มันไม่สมเหตุสมผล

ไม่น่าเรียงตามบทความเดิมนะ
ถ้าตามความสมเหตุสมผลแล้ว

จะให้มาเรียงบทความ ที่เขียนโดย ใช้อารมณืของผู้เขียนเป็นเอกได้ยังไง

น่าจะเรียงตามความเหมาะสมมากกว่า

PS.  "เราคนนึงหล่ะ ที่จะขอปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยต่อไป แม้มันจะเป็นเพียงหนึ่งพลังที่ เล็กน้อยก็ตาม"
0