Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

TOPIC :: 10 อันดับคณะเศรษฐศาสตร์

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เครดิต :: http://www.toptenthailand.com/display.php?id=1319

อันดับที่ 10

มหาวิทยาลัยนเรศวร

มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นมหาวิทยาลัยของรัฐ ตั้งอยู่ในจังหวัดพิษณุโลก ก่อตั้งเมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2533 ภายหลังจากการยกฐานะขึ้นจากวิทยาเขตของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยชื่อ "มหาวิทยาลัยนเรศวร" นั้น ได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เพื่อสดุดีและเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช วีรกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา เนื่องด้วยพระองค์ประสูติที่เมืองพิษณุโลก และทรงเคยดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระมหาอุปราชครองเมืองพิษณุโลกมาก่อน ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยนเรศวรเป็นศูนย์กลางการศึกษาในภูมิภาคภาคเหนือตอนล่างและภาคกลางตอนบนของประเทศไทย โดยมีการเรียนการสอนครอบคลุมครบทุกสาขาวิชาทั้งสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ รวมทุกระดับการศึกษาทั้งสิ้น 208 หลักสูตร มีนิสิตศึกษาอยู่ในคณะและวิทยาลัยต่างๆ รวมแล้วไม่ต่ำกว่า 30,000 คน และมีอาจารย์ประจำกว่า 1,400 คน มหาวิทยาลัยนเรศวรได้รับการจัดอันดับในด้านการวิจัยให้เป็นมหาวิทยาลัยระดับดีเยี่ยมและเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 9 ของประเทศไทย จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา เมื่อปี พ.ศ. 2549

อันดับที่ 9

มหาวิทยาลัยขอนแก่น

มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งอยู่ที่ถนนมิตรภาพ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่นเป็นมหาวิทยาลัยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช โปรดเกล้าฯ ให้ก่อตั้งขึ้นและสถาปนาเป็นมหาวิทยาลัย โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้การศึกษาชั้นสูงขยายออกไปถึงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งภูมิภาคที่สำคัญที่สุดส่วนหนึ่งของประเทศ ซึ่งต่อไปจะเป็นผลดีต่อการพัฒนายกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนในภูมิภาคนี้ พระองค์เสด็จฯมาทรงประกอบพิธีเปิดมหาวิทยาลัยเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2510 และได้รับการสถาปนาขึ้นเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2509 ซึ่งถือเป็นวันสถาปนามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีอธิการบดีดำรงตำแหน่งมาแล้ว 15 คน อธิการบดีคนปัจจุบัน คือ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ.ดร.สุมนต์ สกลไชย

อันดับที่ 8

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกในภาคใต้ของประเทศไทย[ต้องการอ้างอิง] ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2510 ต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานชื่อเมื่อวันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2510 จึงถือว่าวันที่ 22 กันยายนของทุกปี เป็นวันสงขลานครินทร์ ในระยะแรกของการก่อตั้ง ได้รับนักศึกษาเข้าศึกษาครั้งแรกในคณะวิศวกรรมศาสตร์ โดยใช้อาคารเรียนของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (ปัจจุบันคือมหาวิทยาลัยมหิดล) เป็นสถานที่ศึกษา และปีต่อมา พ.ศ. 2511 ก็เริ่มย้ายนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์มาเรียนที่จังหวัดปัตตานี ในปี พ.ศ. 2514 ย้ายนักศึกษาของคณะวิศวกรรมศาสตร์มาเรียนที่ วิทยาเขตหาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันเป็นวิทยาเขตที่ใหญ่ที่สุด พ.ศ. 2520 เปิดวิทยาเขตภูเก็ต พ.ศ. 2533 เปิดวิทยาเขตสุราษฎร์ธานี และ พ.ศ. 2534 เปิดวิทยาเขตตรัง

อันดับที่ 7

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นสถาบันอุดมศึกษาเอกชน เริ่มแรกนั้นได้รับการก่อตั้งในชื่อ "โรงเรียนไทยเทคนิค" เมื่อปี พ.ศ. 2505 โดยอาจารย์สุรัตน์ และอาจารย์ปองทิพย์ โอสถานุเคราะห์ ต่อมาจึงเปลี่ยนชื่อเป็น "วิทยาลัยกรุงเทพ" และได้รับการยกฐานะขึ้นเป็น "มหาวิทยาลัยกรุงเทพ" ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2527 โดยจัดการเรียนการสอนใน 9 คณะ รวมทั้ง วิทยาลัยนานาชาติ และบัณฑิตวิทยาลัย ครอบคลุมสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ ปัจจุบัน เปิดดำเนินการสอน ใน 2 วิทยาเขต ได้แก่ วิทยาเขตกล้วยน้ำไท กรุงเทพมหานคร และวิทยาเขตรังสิต จังหวัดปทุมธานี

อันดับที่ 6

มหาวิทยาลัยหอการค้า

ในปี พ.ศ. 2486 สำนักงานหอการค้าไทย ได้จัดตั้ง "วิทยาลัยการค้า" ขึ้น แต่เนื่องจากเกิดสงครามมหาเอเชียบูรพา จึงจำเป็นต้องปิดวิทยาลัยลง ต่อมา วิทยาลัยการค้าได้เปิดทำการสอนในระดับประกาศนียบัตรการค้าชั้นสูงอีกครั้งในปี พ.ศ. 2506 และได้เปลี่ยนชื่อเป็น "วิทยาลัยการพาณิชย์" ในวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2513 หลังจากนั้น วิทยาลัยได้เปิดสอนในระดับปริญญาตรี และได้กลับมาใช้ชื่อ "วิทยาลัยการค้า" อีกครั้ง ต่อมา วันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2517 วิทยาลัยการค้าได้โอนมาสังกัดทบวงมหาวิทยาลัย และได้รับการยกฐานะเป็น "มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย" ตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2527

อันดับที่ 5

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

มื่อปี พ.ศ. 2492 ศาสตราจารย์ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ได้ผลักดันให้มีการสถาปนา "โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง" สังกัดกระทรวงศึกษาธิการ เพื่อผลิตวิชาชีพครูซึ่งกำลังประสบปัญหาขาดแคลนเป็นจำนวนมากในขณะนั้น นับว่าเป็นการเริ่มต้นการศึกษาในระดับวุฒิประกาศนียบัตรครูประถมศึกษา และประกาศนียบัตรครูมัธยมศึกษา โดยมีหลวงสวัสดิสารศาสตรพุทธิ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง ต่อมา พ.ศ. 2496 ศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี ได้เสนอต่อกระทรวงศึกษาธิการให้ก่อตั้ง "วิทยาลัยวิชาการศึกษา " (College of Education) ขึ้น เพื่อพัฒนาความรู้ทางด้านการศึกษาให้เป็นวิชาชีพที่มีระบบแบบแผนมากขึ้น พร้อมทั้งได้เปิดการเรียนการสอนครอบครุมทั้งในระดับบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต โดยมี ศาสตราจารย์ ม.ล.ปิ่น มาลากุล ดำรงตำแหน่งอธิการบดี และศาสตราจารย์ ดร.สาโรช บัวศรี ดำรงตำแหน่งหัวหน้าคณะวิชาการศึกษา หลังจากนั้น จึงได้ดำรงตำแหน่งอธิการบดีวิทยาลัยวิชาการศึกษา ในระยะนี้ได้มีการตั้งโรงเรียนสาธิต (Demonstration School) เพื่อให้เป็นแปลงทดลองค้นคว้า ในระบบการศึกษาพื้นฐานสมัยใหม่

อันดับที่ 4

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทยที่ตั้งขึ้นในส่วน ภูมิภาค และเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกที่เรียกชื่อตามชื่อเมือง ปัจจุบันมหาวิทยาลัยนี้ตั้งอยู่เชิงดอยสุเทพ อำเภอเมือง เชียงใหม่ ขนาบข้างด้วยถนนห้วยแก้ว และถนนสุเทพ ห่างจากตัวเมืองประมาณ 4 ก.ม. และมีเนื้อที่ประมาณ 2,000 ไร่เศษ เปิดทำการสอน เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2507

อันดับที่ 3

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนหลักสูตรทางด้านการเกษตรแห่งแรกของประเทศไทย และเป็นมหาวิทยาลัยที่ก่อตั้งขึ้นในประเทศ ลำดับที่ 3 นับจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมีปณิธาณในการก่อตั้งเพื่อเป็นคุณประโยชน์แก่การกสิกรรมและการเศรษฐกิจของประเทศ

อันดับที่ 2

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย ตั้งอยู่ที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ถือกำเนิดจาก "โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน" ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อปี พ.ศ. 2442 พร้อมทั้งพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญ "พระเกี้ยว" มาเป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน การดำเนินงานของโรงเรียนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 (ขณะนั้นนับวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ นับอย่างใหม่ต้องเข้าปี พ.ศ. 2460) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงประดิษฐานขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย และพระราชทานนามว่า "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติแห่งพระบาทสมเด็จพระจุล จอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมชนกนาถของพระองค์ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2460 ถึงปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีผู้บัญชาการและอธิการบดีดำรงตำแหน่งมาแล้ว 16 คน อธิการบดีคนปัจจุบัน คือ ศาสตราจารย์ นายแพทย์ภิรมย์ กมลรัตนกุล

อันดับที่ 1

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (อังกฤษ: Thammasat University; ชื่อย่อ: มธ. - TU) เป็นมหาวิทยาลัยในประเทศไทย ก่อตั้งเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2477 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นตลาดวิชา เพื่อการศึกษาด้านกฎหมายและการเมือง สำหรับประชาชนทั่วไป เมื่อเริ่มก่อตั้งใช้ชื่อว่า มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (อังกฤษ: University of Moral and Political Sciences; ชื่อย่อ: มธก. - UMPS) เป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่เป็นอันดับ 2 ของประเทศไทย และมีประวัติศาสตร์ผูกพันกับพัฒนาการทางการเมืองและความเป็นไปของชาติ ตลอดจนเรื่องของรัฐธรรมนูญและประชาธิปไตยตลอดมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลา 2519 นับตั้งแต่ พ.ศ. 2477 มีนักศึกษากว่า 240,000 คน เข้าศึกษาในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในจำนวนนี้ได้รวมถึงผู้ที่เข้ามาบทบาททางการเมืองในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ นายกรัฐมนตรี, ประธานศาล, ประธานรัฐสภา, นักการเมืองและเจ้าหน้าที่ระดับสูง, ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ตลอดจนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญทางวิชาการทุกสาขา มหาวิทยาลัยเป็นสมาชิกของเครือข่าย LAOTSE ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยในเอเชียและยุโรป ตามกรอบความร่วมมืออาเซม รวมทั้งเป็นสมาชิกของเครือข่ายการศึกษาและวิจัยในลุ่มแม่น้ำโขง (GMSARN) อีกด้วย



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 6 พฤศจิกายน 2553 / 07:12

PS. �ไม่มีที่ไหนสุขใจเท่าบ้านเรา

แสดงความคิดเห็น

>

6 ความคิดเห็น

นวสวยว 19 ต.ค. 58 เวลา 21:27 น. 6

3 ที่แรกครับคอนเฟิร์ม ด้วยความยาวนาน บุคคลากรในวงการ ชื่อเสียงอาจารย์ ผลงานด้านต่างๆฯลฯ

0