Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เซลล์ไฟฟ้าเคมี

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
เซลล์ไฟฟ้าเคมี
            
            เซลล์ไฟฟ้าเคมี(Electrochemical cell) คือ เครื่องมืออุปกรณ์ทางเคมีที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงพลังงานเคมีเป็นไฟฟ้า หรือไฟฟ้าเป็นเคมี
            เซลล์ไฟฟ้าเคมีแบ่งออกเป็น 2 ประเภท
1.เซลล์กัลวานิก (Galvanic cell) คือ เซลล์ไฟฟ้าเคมีเปลี่ยนจากพลังงานเคมีเป็นพลังงานไฟฟ้า เกิดจากสารเคมีทำปฏิกิริยากันในเซลล์

2.เซลล์อิเล็กโทรไลต์ (Electrolytic cell) คือ เซลล์ไฟฟ้าเคมีที่เปลี่ยนจากพลังงานไฟฟ้าเป็นพลังงานเคมี เกิดจากการผ่านกระแสไฟฟ้าลงไปในสารเคมีที่อยู่ในเซลล์
    
           ส่วนประกอบของเซลล์ไฟฟ้าเคมี  
1.ขั้วไฟฟ้ามี 2 ชนิด
             ก. ขั้วว่องไว (Active electrode) ได้แก่ ขั่วโลหะทั่วไป เช่น Zn, Cu, Pb ขั้วพวกนี้บางโอกาสจะเข้าไปมีส่วนร่วมในการเกิดปฏกิริยาด้วย
             ข. ขั้วเฉื่อย (Inert electrode) คือ ขั้วที่ไม่มีส่วนร่วมใดๆ ในการเกิดปฏิกิริยาเคมี เช่น Pt, C (แกรไฟต์)

2. อิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte)
             อิเล็กโทรไลต์ (Electrolyte) คือ สารที่มีสถานะเป็นของเหลว นำไฟฟ้าได้ เพราะมีไอออนบวกและลบเคลื่อนที่ไปมา อิเล็กโทรไลต์มี 2 ชนิดคือ
             ก.สารประกอบ ไอออนิกหลอมเหลว เช่น NaCl(s) ---> Na+(l) + Cl-(l)
             ข.สารละลายอิเล็กโทรไลต์ เช่น สารละลายกรด-เบส-เกลือ
                
           สรุปสาระสำคัญของเซลล์ไฟฟ้าเคมี
1.ปฏิกิริยาเคมีเป็นปฏิกิริยารีดอกซ์ และกระแสไฟฟ้าเป็นกระแสตรงหรือกระแสอิเล็กตรอน

2.สรุปเซลล์ไฟฟ้าเคมี
          พลังงานเคมี(ปฏิกิริยาเคมี) ---> พลังงานไฟฟ้า (กระแสไฟฟ้า) เป็น เซลล์กัลวานิก
          พลังงานไฟฟ้า(กระแสไฟฟ้า) ---> พลังงานเคมี(ปฏิกิริยาเคมี) เป็น เซลล์อิเล็กโทรไลต์

เซลล์กัลวานิก(สรุป)
1.กระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเป็นกระแสตรง (กระแสอิเล็กตรอน)

2.อิเล็กตรอนไหลจากศักย์ไฟฟ้าต่ำไปสูง

3.เซลล์กัลวานิกต่างชนิดกัน จะมีค่าศักย์ไฟฟ้าของเซลล์ต่างกันขึ้นอยู่กับครึ่งเซลล์ที่นำมาต่อ

4.เซลล์กัลวานิกที่มีขั้วว่องไวที่ขั้วแอโนด โลหะนั้นจะสึกกร่อน มวลลด เพราะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน  ให้อิเล็กตรอนเกิดไอออนบวก ส่วนขั้วแคโทดมีมวลเพิ่มขึ้นเพราะเกิดปฏิกิริยารีดักชัน

5.ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดในเซลล์กัลวานิกมีการถ่ายโอนอิเล็กตรอนเป็นปฏิกิริยารีดอกซ์

6.เมื่อเกิดอิเล็กตรอนไหลนานๆในวงจรของเซลล์กัลวานิก จะเกิดการสะสมประจุในครึ่งเซลล์ กล่าวคือ ครึ่งเซลล์แอโนดที่เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชันจะเกิดการสะสมประจุบวก และครึ่งเซลล์ที่แคโทดเกิดปฏิกิริยารีดักชัน จะเกิดการสะสมประจุลบ ทำให้สะพานเกลือไม่สามารถรักษาภาวะสมดุลได้ทัน ทำให้อิเล็กตรอนในวงจรลดลง เป็นผลทำให้ศักย์ไฟฟ้าของเซลล์ลดลงด้วย และเมื่อแต่ละครึ่งเซลล์สะสมประจุจนถึงขีดหนึ่งจะไม่มีอิเล็กตรอนไหลออกนอกวงจร ขณะนั้นเข็มโวลต์มิเตอร์จะชี้เลขศูนย์ ทั้งนี้เพราะขณะนั้นเกิดภาวะสมดุลเคมีในแต่ละครึ่งเซลล์นั้น

อิเล็กโทรไลซิส(สรุป)
1.กระแสไฟฟ้าที่ผ่านลงไปในเซลล์ ต้องเป็นกระแสตรง(D.C.) คือ กระแสอิเล็กตรอน

2.ปฏิกิริยาเคมีที่เกิดขึ้น เป็นปฏิกิริยารีดอกซ์

3.ขั้วที่ใช้ในเซลล์นี้นิยมใช้ขั้วเฉื่อย แต่ถ้าใช้ขั้วว่องไว(Active electrode) ขั้วอาจจะมีส่วนร่วมในการเกิดปฏิกิริยาเคมีด้วยก็ได้

4.ในการแยกสารอิเล็กโทรไลต์ชนิดหนึ่งด้วยไฟฟ้า ถ้าในทางทฤษฎีต้องใช้ศักย์ไฟฟ้าของเซลล์ค่าหนึ่ง แต่ในทางปฏิบัติต้องใช้มากกว่านี้ จึงจะทำให้เกิดปฏิกิริยาได้ เรียกค่าศักย์ไฟฟ้าของเซลล์นี้ว่าOvervoltage

5.มีค่า E&deg; < 0 มีเครื่องหมายเป็น ติดลบ

แสดงความคิดเห็น

>

23 ความคิดเห็น

pln 15 ก.พ. 54 เวลา 19:51 น. 2

เนื้อหาสรุปได้ใจความสาระสำคัญดี ไม่ต้องมาย่ออ่านเอาเอง
แต่ควรจะมีรูปภาพประกอบเพื่อให้เข้าใจมากขึ้น
จาก พธร

0
เชสเชียร 18 ก.พ. 54 เวลา 22:05 น. 10

ขอบคุณ. จขกท มากค่ะ
เข้าใจง่าย เนื้อหาครอบคุมหมดเลย
รู้สึกดีที่มีคนอย่างคุณช่วยพัฒนาประเทศ ดีมากเลยค่ะ

0