Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

{ทุกข์ของชาวนาในบทกวี} เข้ามาแล้วคุณจะรู้คุณค่าของข้าวแล้วความเหนื่อยยากของชาวนากว่าจะได้ข้าวแต่ละเม็ดมาให้เราได้กินกัน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเพื่อสอบถามถึงความทุกข์ของชาวนา
โดยการสอบถามครั้งนี้เพื่อจะได้ทราบถึงว่าชาวนานั้นได้รับผลกระทบในด้านใดบ้างในการทำนาให้แต่ละครั้ง

****ซึ่งการสอบถามนี้สัมภาษณ์โดย****
 นางสาวสุวรรณี บุญผาย 
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/2
โรงเรียนสระแก้ว อำเภอเมืองสระแก้ว จ.สระแก้ว
ซึ่งการสืบค้นนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา การเขียนความเรียงขั้นสูง

***คุณครูผู้สอน***
นางภัคนันท์ ชลารักษ์

***************************************

แบบสอบถามชาวนา

จากการที่ข้าพเจ้าได้มีโอกาสไปสอบถามชาวนา ข้าพเจ้าได้ข้อมูลจากการสอบถามชาวนา  ดังนี้


ประวัติชาวนา

 

ชื่อ  นายสุรินทร์    นามสกุล    บุญผาย

อายุ   ๔๕    ปี

ที่อยู่   ๕๔   หมู่   ๑๒     ตำบลโคกปี่ฆ้อง    อำเภอเมืองสระแก้ว   จังหวัดสระแก้ว

ที่ตั้งบริเวณที่ทำนา    หมู่  ๑๖   ตำบลโคกปี่ฆ้อง    อำเภอเมืองสระแก้ว   จังหวัดสระแก้ว

ระยะเวลาในการทำนา   ๒๐   ปี   จำนวนพื้นที่   ๔๐     ไร่

เบอร์โทร   ๐๘๖-๑๕๔๖๙๒๒

 

 คำถามที่สอบถามชาวนา

.ในการทำนาของชาวนาในแต่ละปี ชาวนาพบปัญหาอะไรบ้างในการทำนา

คำตอบ   ปัญหาที่พบในการทำนา  นั้นก็คือ

               .ปํญหาความแห้งแล้ง   ฝนไม่ตกตามฤดูกาล

               .ปํญหา  เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  

               .ปัญหาดินเค็ม

               .ปัญหาข้าววัชพืช ที่ขึ้นในนาข้าว

.ปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบอย่างไรบ้าง

คำตอบ  .ปํญหาความแห้งแล้ง ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ก็ทำให้มีน้ำไม่เพียงพอในการทำนา

.ปํญหา เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล   ทำให้ต้นข้าวมีอาการใบเหลืองแห้งลักษณะคล้ายถูกน้ำร้อนลวก        แห้งตายเป็นหย่อมๆเรียกว่า " อาการไหม้ " สร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก

.ปัญหาดินเค็ม มีผลกระทบต่อการเจริญเติบโตและผลิตผลของพืช เนื่องจากทำให้พืชเกิดอาการ ขาดน้ำ และมีการสะสมไอออนที่เป็นพิษในพืชมากเกินไป นอกจากนี้ยังทำให้เกิดความไม่สมดุลของธาตุอาหารพืชด้วย

.ปัญหาข้าววัชพืช ที่ขึ้นในนาข้าว ข้าววัชพืชมีการเจริญเติบโตเร็วกว่าข้าวปลูก ทำให้มีการแย่งอาหารและคลุมพื้นที่ ทำให้ข้าวปลูกไม่เจริญเติบโต หรือตาย หรือไม่ให้ผลผลิต

. ปัญหาที่เกิดขึ้นชาวนามีวิธีแก้ไขปัญหาอย่างไรบ้าง

คำตอบ   .ปํญหาความแห้งแล้ง   ฝนไม่ตกต้องตามฤดูกาล ทำให้มีน้ำไม่เพียงพอในการทำนา มีวิธีแก้ไขคือ

               -  การสูบน้ำเข้านา  เพื่อให้มีน้ำในการหล่อเลี้ยงต้นข้าว จึงจะทำให้ต้นข้าวมีการเจริญเติบโต

           

 

                  .ปํญหา เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล มีวิธีแก้ไขคือ

- ปลูกข้าวพันธุ์ต้านทานเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น สุพรรณบุรี ๑ สุพรรณบุรี ๒ และไม่ควรปลูกพันธุ์เดียวติดต่อกันเกิน ๔ ฤดูปลูก ควรปลูกสลับกันระหว่างพันธุ์ เพื่อลดความเสียหายเมื่อเกิดการระบาด

 - ให้ใช้สารฆ่าแมลง อีโทเฟนพรอกซ์ (ทรีบอน ๑๐% อีซี) อัตรา ๒๐มิลลิลิตรต่อน้ำ ๒๐ พ่นเมื่อพบแมลงส่วนใหญ่เป็นตัวเต็มวัยจำนวนมากกว่า ๑ ตัวต่อต้น ในระยะข้าวตั้งท้องถึงออกรวง

 -ไม่ควรใช้สารฆ่าแมลงที่ทำให้เกิดการเพิ่มระบาดของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล  เช่น   เดคาเมทริน  

                .ปัญหาดินเค็ม วิธีแก้ไข คือ

              -การชะล้างโดยน้ำ การใช้น้ำสำหรับล้างดินต้องใช้ปริมาณน้ำมาก  เพื่อลดความเค็มของดิน                                   

             .ปัญหาข้าววัชพืช ที่ขึ้นในนาข้าว มีวิธีแก้ไข คือ

-หันมาทำนาดำ แทนนาหว่าน เพื่อป้องกัน การระบาดของ ข้าววัชพืช หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ข้าวดีด         ข้าวเด้ง

-หากมีการระบาดน้อยควรถอนต้นทิ้ง

             -ควรเว้นปลูกข้าว ถ้ามีการระบาดรุนแรง

. การทำนาในสมัยก่อนกับการทำนาในปัจจุบันแตกต่างกันหรือไม่  เพราะเหตุใด

คำตอบ   แตกต่าง เพราะสมัยก่อน สิ่งแวดล้อมดี อากาศไม่เป็นพิษ ฝนตกตามฤดูกาล  ทำให้ไม่ค่อยมีปัญหาในการทำนา แต่สมัยนี้  เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น  ภาวะโลกร้อน  ทำให้เกิดความแห้งแล้ง ส่งผลทำให้มีน้ำไม่เพียงพอในการทำนา และเกิดปัญหาอื่นๆอีกมากมาย

. ในความรู้สึกของการเป็นชาวนา  อยากจะบอกอะไรบ้าง กับคนในสมัยนี้

คำตอบ  สิ่งที่อยากจะบอกกับคนในสมัยนี้ คือ อยากให้เห็นความสำคัญของชาวนา เพราะบางคนอาจคิดว่าอาชีพชาวนา เป็นอาชีพที่ต้อยต่ำ  แต่ถ้าไม่มีชาวนาใครจะมาปลูกข้าวให้ทุกคนได้กิน   บางคนกินข้าวแบบกินทิ้งกินขวาง  อยากให้เห็นคุณค่าของข้าวด้วยเช่นกัน เพราะข้าวแต่ละเม็ดกว่าจะได้มา มันยากลำบาก

ถูกใจกด ซึ้งจัง ด้วยคับ

ต่อไปนี้คนไทยจะได้เห็นถึงคุณค่าของข้าวมากขึ้น
จงอย่าดูถูกชาวนา ถ้าไม่มีชาวนาก็อย่าหวังว่าคุณจะมีข้าวกิน



แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 13 กุมภาพันธ์ 2554 / 13:51

แสดงความคิดเห็น

>