Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

อักษรล้านนา

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
อักษรที่ปรากฏในการบันทึกเอกสารนานาชนิดในเขตล้านนานี้อาจพบได้ว่ามีถึง 3 ระบบ คือ

1. อักษรธรรมล้านนา คือ อักษรที่นิยมใช้จารคัมภีร์พุทธศาสนาทั่วไป

2. อักษรไทนิเทศ หรือ อักษรขอมเมือง นิยมใช้บันทึกกวีนิพนธ์ประเภทโคลง และจารในใบลาน

3. อักษรฝักขาม คืออักษรที่ปรับปรุงจากอักษรสุโขทัย นิยมใช้ในงานประเภทศิลาจารึก แต่ในที่นี้จะขอกล่าวเพียงอักษรธรรมล้านนาเท่านั้น

อักษรธรรมล้านนานี้เป็นชื่อนิยมใช้เรียกในเชิงวิชาการ แต่ในหมู่ประชาชนทั่วไปอาจเรียกว่า ตัวเมือง หรือ อักขระเมือง จากการศึกษาของผู้รู้หลายท่านก็อาจกล่าวโดยสรุปได้ว่า อักษรชนิดนี้พัฒนาขึ้นจากอักษรมอญโบราณแห่งอาณาจักรหริกุญชัยในช่วงประมาณ พ.ศ. 1600 และก็อาจสืบโยงต้นเค้าไปถึงอักษรพราหมี ของพระเจ้าอโศกแห่งอินเดียได้ด้วย

อักษรธรรมล้านนานี้ นิยมใช้ในการจารคัมภีร์ใบลานซึ่งเป็นคัมภีร์ทางพุทธศาสนา ซึ่งมีคัมภีร์ชื่อต่าง ๆ ประมาณ 2000 ชื่อ นอกจากนี้ยังนิยมใช้บันทึกความรู้ต่าง ๆ ในรูปของสมุดที่ทำขึ้นจากเปลือกของ ไม้สา เรียกว่า พับสา หรือ พับหนังสา ซึ่งเป็นเสมือนตำราหรือคู่มือของนักวิชาการพื้นบ้านล้านนาได้เป็นอย่างดี

ในการเสนอแนวการเรียนอักขระชนิดนี้ ใคร่จะเสนอว่าน่าจะเรียนการเขียนภาษาล้านนาหรือล้านนาไทยเสียก่อนพอให้เข้าใจ จากนั้นจึงจะเรียนการใช้อักษรนี้ในการบันทึกภาษาอื่น เช่น ภาษาบาลีสันสกฤต เป็นต้น

พยัญชนะ

แม้อักษรธรรมล้านนาและอักษรไทยมาตรฐานจะพัฒนาขึ้นจากต้นตอเดียวกัน แต่อักษรธรรมล้านนามีลักษณะพิเศษที่แตกต่างไปจากลักษณะของอักษรไทยมาตรฐานที่เห็นได้ชัดคือ สัญฐานของอักษรธรรมล้านนาจะวาดเป็นเส้นโค้ง ซึ่งเห็นว่าสอดคล้องกับความเคลื่อนไหวของมนุษย์ในการเขียนอักษร โดยที่ในการเขียนอักษรแต่ละตัวนั้น ผู้เขียนจะวางมือคว่ำบนวัสดุที่ใช้เป็นพื้นแล้วจึงใช้นิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้และนิ้วกลางประคองเครื่องเขียนและวาดอักษรเป็นเส้นโค้ง อักษรล้านนาหรือ ตัวเมือง จึงมีลักษณะโค้งและอ่อนไหว อักษรธรรมล้านนาส่วนใหญ่จะมีส่วนกว้างมากกว่า ส่วนสูง

พยัญชนะที่ใช้ในการเขียนภาษาล้านนาซึ่งจัดเรียงตามลำดับ มีดังนี้




อักษรดังกล่าวสามารถจัดเรียงเข้าตามแบบพยัญชนะวรรคได้ ดังนี้

สระ

สระต่าง ๆ ในระบบการเขียนอักษรล้านนามีรายการดังต่อไปนี้


อักษรพิเศษ

ในระบบที่เขียนด้วยอักษรธรรมล้านนานั้น มีอักษรบางตัวที่มีลักษณะเฉพาะ เช่น

ตัวเลข

ตัวเลขที่ใช้ในการเขียนอักษรล้านนามีอยู่ 2 ระบบ คือ เลขโหรา ใช้ในการเขียนบอกจำนวนในเอกสารต่าง ๆ ทั่วไป ส่วนเลขในธัมม์นิยมใช้เขียนกับเรื่องราวทางศาสนา ซึ่งมักจะเป็นเอกสารประเภทใบลาน


PS.  ถ้าคนมันน่ารักซะอย่าง!! จะไปสนทำไมฟ่ะ!! ว่าเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย!!

แสดงความคิดเห็น

>

6 ความคิดเห็น