Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ศึกษาศาสตร์ กับ ครุศาสตร์ แตกต่างกันอย่างไรค่ะ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
อยากทราบว่าเรียนคณะศึกษาศาสตร์จะเหมือนกับครุศาสตร์มั้ยค่ะ แล้วยังไงมันดีกว่ากันอ่าค่ะ

แสดงความคิดเห็น

>

15 ความคิดเห็น

001 8 เม.ย. 54 เวลา 22:00 น. 3

ปัจจุบัน มีเพียง 2 สถาบันที่ใช้ "ครุศาสตร์"

คือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ มหาวิทยาลัยราชภัฎ

เนื่องจาก 2 สถาบันนี้ เปิดมาก่อนสถาบันอื่น(ประมาณว่าเก่าแก่)

และที่สำคัญ มหาวิทยาัลัยราชภัฏในอดีต คือ "วิทยาลัยครู" ผลิต ครู โดยเฉพาะ

จึงให้คงไว้ เพียง 2 สถาบันนี้ ครับ ส่วนที่อื่นเปิดขึ้นมาภายหลังจึงใช้ "ศึกษาศาสตร์"

0
001 8 เม.ย. 54 เวลา 22:04 น. 4

**ต่อจากความเห็น 3 (พิมพ์ตก ขออภัย)

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในอดีตถือกำเนิดมาจาก "โรงเรียนฝึกหัดครู"

เฉกเช่นเดียวกับ มหาวิทยาลัยราชภัฎ นั่นเอง เพราะสมัยก่อน ผลิตเฉพาะ "ครู" เท่านั้น

0
$@tojung 8 เม.ย. 54 เวลา 22:16 น. 5

เราว่ามัน ก็ เหมือนกันนะค่ะ จบมาเป็นครูได้เหมือนกัน ^^
เเต่เคยอ่านเจอมานะ ว่า ครุศาสตร์ จะเน้นไปทางการสอนมากกว่าศึกษาที่เน้นการบริหารการศึกษาอ่ะจ่ะ


PS.  ครุศาสตร์ ปราชญ์จุฬาฯ
0
Leen_Zaa 8 เม.ย. 54 เวลา 23:07 น. 7

แต่ละมหาวิทยาลัย เรียกไม่เหมือนกัน แต่จบออกมาแล้ว ก็ปฎิบัติตามสาขาหรือวิชาเอกที่น้องจบ ครับ
เรียกได้ว่า น้องจะเรียนที่ไหน ทางด้านศึกษาศาสตร์ ครุศาสตร์ ก็คือย่างเดียวกัน ครับ

0
esu 8 เม.ย. 54 เวลา 23:49 น. 8

ลอง search หาเลยครับ ในเด็กดีก็มีกระทู้เก่าๆ

ความเห็นทุกคนที่แสดงมาไม่ผิดครับ

แต่ยังไม่ตรงประเด็น ความแตกต่างอยู่ที่ปรัซญาที่ใช้ครับ

0
koppersquib 9 เม.ย. 54 เวลา 00:24 น. 9

ปริญญาทางการศึกษาในประเทศไทยมี 4 วุฒิ แตกต่างตามต้นกำเนิดของสถาบัน แต่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน คือ เพื่อฝึกหัดครูที่มีคุณภาพสู่การพัฒนาการศึกษาของแผ่นดิน

1. ครุศาสตรบัณฑิต --> โรงเรียนฝึกหัดครูแห่งสยาม
    - พ.ศ.2435 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์พระนครขึ้นเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูแห่งแรกของประเทศ
    - พ.ศ.2446 สมเด็จพระบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงธรรมการ ในขณะนั้น ได้สถาปนาโรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตก
    - โรงเรียนฝึกหัดครูฝั่งตะวันตกได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นโรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 
    - พ.ศ.2456 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ ให้รวมโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์พระนคร และโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์บ้านสมเด็จเจ้าพระยาย้ายไปสังกัดเป็นแผนกคุรุศึกษาของโรงเรียนข้าราชการพลเรือนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
    - พ.ศ.2460 พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ พัฒนาโรงเรียนข้าราชการพลเรือนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประดิษฐานเป็นจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และให้แผนกคุรุศึกษาเดิมเป็นแผนกวิชาฝึกหัดครู คณะอักษรศาสตร์และวิทยาศาสตร์
    - พ.ศ.2477 โรงเรียนฝึกหัดครูพระนครได้รับการฟื้นฟูอีกครั้ง โดยพัฒนาจากโรงเรียนฝึกหัดครูประถมพระราชวังสนามจันทร์ ที่ตั้งในปี พ.ศ.2461
    - พ.ศ.2484 โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้รับการฟื้นฟูอีกครั้ง 
    - พ.ศ.2500 แผนกวิชาครุศาสตร์ (ฝึกหัดครู) แยกตั้งเป็นคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    - พ.ศ.2501 โรงเรียนฝึกหัดครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยาได้รับการพัฒนาเป็นวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา จนกลายเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในปัจจุบัน
    - พ.ศ.2509 โรงเรียนฝึกหัดครูพระนครได้รับการพัฒนาเป็นวิทยาลัยครูพระนคร จนกลายเป็นมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  
    ดังนั้น ทั้งคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยราชภัฏ เป็นสถาบันฝึกหัดครูที่มีจุดร่ยวมเหมือนกันและเก่าแก่ที่สุดของประเทศ สถาบันเหล่านี้จึงใช้วุฒิการศึกษาเป็น ครุศาสตรบัณฑิต


2. การศึกษาบัณฑิต --> วิทยาลัยวิชาการศึกษาของประเทศไทย
    - พ.ศ.2492 กระทรวงศึกษาธิการสถาปนา โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง  ณ ถนนประสานมิตร กรุงเทพมหานคร
    - พ.ศ.2497 โรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง พัฒนาเป็นวิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร และพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒในปี พ.ศ.2517
    - พ.ศ.2498 สถาปนาวิทยาลัยวิชาการศึกษา วิทยาเขตบางแสน และพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยบูรพาในปี พ.ศ.2533
    - พ.ศ.2510 สถาปนาวิทยาลัยวิชาการศึกษา วิทยาเขตพิษณุโลก และพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยนเรศวร พ.ศ.2533
    - พ.ศ.2511 สถาปนาวิทยาลัยวิชาการศึกษา วิทยาเขตมหาสารคาม และพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยมหาสารคามในปี พ.ศ.2537

    - พ.ศ.2511 สถาปนาวิทยาลัยวิชาการศึกษา วิทยาเขตสงขลา และพัฒนาเป็นมหาวิทยาลัยทักษิณในปี พ.ศ.2539

ดังนั้น ทุกสถาบันที่มีจุดร่วมมาจากโรงเรียนฝึกหัดครูชั้นสูง จึงมีวุฒิการศึกษาเป็น การศึกษาบัณฑิต


3. ศึกษาศาสตรบัณฑิต --> มหาวิทยาลัยของรัฐตามภูมิภาค
    - พ.ศ.2511 สถาปนาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นสถาบันฝึกหัดครูในภาคเหนือ ซึ่งมีโครงการตั้งแต่ปี พ.ศ.2508 โดยได้รับการช่วยเหลือจาก UNESCO
    - พ.ศ.2511 สถาปนาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เป็นสถาบันฝึกหัดครูในภาคใต้
    - พ.ศ.2512 สถาปนาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นสถาบันฝึกหัดครูในกรุงเทพมหานคร
    - พ.ศ.2513 สถาปนาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นสถาบันฝึกหัดครูในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีโครงการตั้งปี พ.ศ.2511
    - พ.ศ.2513 สถาปนาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นสถาบันฝึกหัดครูในภาคกลาง

    สถาบันเหล่านี้เป็นแหล่งฝึกหัดครูจากการก่อตั้งมหาวิทยาลัยในแต่ละภูมิภาคควบคู่กับวิทยาลัยวิชาการศึกษาและวิทยาลัยครู จึงมีวุฒิการศึกษาเป็น ศึกษาศาสตร์บัณฑิต


4. ครุศาสตร์อุตสาหกรรมบัณฑิต --> สถาบันฝึกหัดครูทางเทคโนโลยีและอุตสาหกรรม
    - พ.ศ.2517 สถาปนาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งมีรากฐานจากคณะฝึกหัดครูเทคนิคชั้นสูงของวิทยาลัยเทคนิคธนบุรี ในปี พ.ศ.2509
    - พ.ศ.2517 สถาปนาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าพระนครเหนือ ซึ่งมีรากฐานจากแผนกวิชาหนึ่งของวิทยาลัยเทคนิคพระนครเหนือ
    - พ.ศ.2520 สถาปนาคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระเจ้าเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

    ดังนั้นสถาบันทางเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมที่มีการฝึกหัดครู จึงมีวุฒิการศึกษาเป็น ครุศาสตรอุตสาหกรรมบัณฑิต



PS.  ข้อมูลแนะแนวและปรึกษาการศึกษาต่อคณะครุศาสตร์ จุฬาฯ 1. Writer เปิดรั้วโรงเรียนครู : http://writer.dek-d.com/dek-d/writer/view.php?id=567449 2. Page Facebook : http://www.facebook.com/EduChulalongkorn
0
เอ็มมมม 21 มี.ค. 55 เวลา 21:13 น. 10

แล้วเราควรจะเลือกเรียนอันไหนอ่าครับ
ราชภัฏ ค่าเทอมถูกกว่า จบมาก็เป็นครูเหมือนกัน
ใช่ไหมครับ

0
L' Narisa Messi Passaboot 18 ต.ค. 55 เวลา 20:45 น. 11

ขอบคุณมากๆๆ ค่ะ ^^&nbsp  อีก 2 ปีได้เจอแน่!! -0-
แล้วเกณฑ์การรับสอบเข้า พวก O-NET + GAT PAT หรือ เกรด ละคะ เป็นอย่างไรบ้าง???? อยากรู้มากค่ะ จะเตรียมพร้อมแล้วค่ะ!

0