Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ชายหญิงกับความต้องการที่แตกต่างกัน:::

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ชายหญิงกับความต้องการที่ต่างกัน

..............
foodtoday_magazineissue_men_women
............
ผู้หญิงกับกิจกรรมทำความสะอาดบ้าน เลี้ยงดูเด็กและดูแลคนชรา หรือทำงานนอกบ้านนั้น ล้วนมีอิทธิพลต่อสุขภาพกายและใจ สารอาหารที่ดีและไลฟ์สไตล์ที่เน้นด้านสุขภาพจะมีส่วนช่วยเสริมสุขภาพที่ดีของผู้หญิงได้ตลอดชีวิต
การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วงวัยรุ่น การมีประจำเดือน การตั้งครรภ์และการให้น้ำนม ทำให้ผู้หญิงสูญเสียสารอาหาร อาทิ ธาตุเหล็ก กรดโฟลิกและแคลเซียม การสำรวจทางโภชนาการบ่อยครั้งได้อธิบายถึงการขาดแคลนสารอาหารจำพวกนี้ไม่เพียงแต่พบในผู้หญิงที่มีอายุน้อยแต่ยังขยายไปถึงผู้มีอายุมากขึ้นด้วย อาหารที่ให้พลังงานต่ำ ช่วยกระชับส่วน การรับประทานที่ผิดปกติ และเทรนด์อาหารมังสวิรัติ ทำให้ผู้หญิงเสี่ยงต่อการขาดสารอาหารมากยิ่งขึ้น
ความสำคัญของธาตุเหล็ก
ผู้หญิงในช่วงที่มีประจำเดือนจะมีความต้องการธาตุเหล็กเพิ่มขึ้น จึงมีความเสี่ยงต่อโรคโลหิตจาง ซึ่งการรับประทานที่สิ่งสำคัญ ไม่เพียงแต่อาหารต้องอุดมไปด้วยธาตุเหล็กเท่านั้น ควรต้องคำนึงถึงปริมาณการรับประทานในระดับที่สามารถดูดซึมได้อย่างเหมาะสม ธาตุเหล็กที่อยู่ในรูปฮีม (Haem Iron) จากฮีโมโกลบินที่พบในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์ถูกดูดซึมได้ดี ส่วนแหล่งของธาตุเหล็กที่ไม่ได้อยู่ในรูปฮีม (Non-Heam Iron) พบในผักใบเขียว ถั่วอบ พีนัท และอาหารเช้าซีเรียลที่เสริมคุณค่า อีกทั้งอาหารที่เป็นแหล่งของวิตามินซีก็มีความสำคัญเนื่องจากช่วยในการดูดซึมของธาตุเหล็กที่ไม่ได้อยู่ในรูปฮีม กรดโฟลิกและภาวะมีบุตร ผู้หญิงในช่วงมีครรภ์ควรบริโภคอาหารที่มีกรดโฟลิกทุกวันเพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดความบกพร่องต่อกระดูกสันหลังและท่อระบบประสาทในเด็กที่จะเกิดมา ความต้องการโฟเลตเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาครรภ์ และโดยทั่วไปมักแนะนำให้ผู้หญิงในช่วงที่สามารถมีบุตร ควรบริโภคโฟเลตทุกวันวันละ 400 มิลลิกรัม จากอาหารเสริม หรืออาหารที่มีการเสริมคุณค่า หรือทั้งสองอย่าง นอกเหนือไปจากที่ได้จากอาหารที่รับประทานทั่วไปอย่างเครื่องในสัตว์และผักใบเขียวสดอีกด้วย
แคลเซียมเพื่อกระดูกที่แข็งแรง
แคลเซียมเป็นปัจจัยสำคัญในการสะสมแร่ธาตุของกระดูกและการเสริมสร้างโครงกระดูกระหว่างการเจริญเติบโต แหล่งของแคลเซียมหลัก ได้แก่ นม ชีส โยเกิร์ต และผักใบเขียว เห็นได้ชัดว่าในปัจจุบัน วัยเด็กและวัยรุ่นมักบริโภคแคลเซียมลดลง จึงส่งผลกระทบต่อความแข็งแรงของกระดูก ทำให้ไม่ยอมเคลื่อนไหวออกแรง นอกจากนี้ สารอาหารตัวอื่น เช่น กรดโฟลิก วิตามินบี 6 บี 12 วิตามินซีและวิตามินดี ซึ่งช่วยเสริมสร้างโครงกระดูกร่วมกับแคลเซียม ควรจะได้รับอย่างครบถ้วนด้วย โดยเฉพาะในวัยที่มีการสร้างกระดูก และในช่วงอายุก่อนและหลังการมีประจำเดือน เนื่องจากจะมีการผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงในสตรีวัยหมดประจำเดือน ซึ่งก่อให้เกิดการสูญเสียของกระดูกและโรคกระดูกพรุนในผู้หญิงช่วงอายุ 50 ปีขึ้นไป ซึ่งผู้หญิงจะสูญเสียมวลกระดูกเฉลี่ยประมาณ ร้อยละ 3 ต่อปี ด้วยอายุขัยเฉลี่ยที่มากขึ้นของผู้หญิงปัจจุบัน ซึ่งอาจมีอายุถึง 80 ปีขึ้นไป เรียกได้ว่ามีเวลาเกือบ 30 ปีหรือหนึ่งในสามของชีวิตหลังจากหมดประจำเดือน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่ให้คุณประโยชน์ เพื่อที่จะมีสุขภาพดีและแข็งแรงเช่นเดียวกับลูกของพวกเธอ
อาหารและสุขภาพสำหรับคุณผู้ชาย ในขณะที่ข้อจำกัดด้านสุขภาพของผู้หญิงมักเกี่ยวข้องกับการตั้งครรภ์และโรคกระดูกพรุน ผู้ชายก็มีข้อจำกัดนั้นเช่นเดียวกัน นี่คือปัญหาสามสิ่งที่เกิดขึ้นกับผู้ชายโดยทั่วไป พร้อมทั้งเคล็ดลับเกี่ยวกับสารอาหารที่ช่วยป้องกันปัญหาเหล่านี้
โรคหัวใจ
หนึ่งในโรคที่คร่าชีวิตบุรุษเพศในแถบตะวันตกมากที่สุด คิดเป็นหนึ่งในสามถึงครึ่งหนึ่งของอัตราการตายในผู้ชายทั้งหมด โดยมีสาเหตุมาจากการอุดตันของหลอดเลือดแดงที่อยู่รอบๆ หัวใจและการแข็งตัวของผนังหลอดเลือด ปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้อง อาทิ การสูบบุหรี่ ภาวะการควบคุมโรคเบาหวานบกพร่อง การขาดการออกกำลังกาย และกรรมพันธุ์ อีกทั้งการมีน้ำหนักที่มากเกินและการรับประทานไขมันสัตว์จำนวนมากก็มีโอกาสเสี่ยงได้เช่นกัน การแทนที่ไขมันอิ่มตัวจากสัตว์ด้วยน้ำมันพืชที่เป็นไขมันชนิดไม่อิ่มตัว การรับประทานอาหารพวกธัญพืชขัดสีน้อย น้ำมันปลา กระเทียมและผักผลไม้มากกว่า 5 หน่วยบริโภคต่อวัน จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจได้
ปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมาก
มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นหนึ่งในเนื้องอกที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตมากที่สุดในกลุ่มเพศชายที่มีอายุมากกว่า 55 ปีขึ้นไป ต่อมลูกหมากมีขนาดและรูปร่างคล้ายลูกเกาลัดห่อหุ้มรอบท่อทางเดินปัสสาวะ ซึ่งการรับประทานอาหารบางชนิด เช่น มะเขือเทศ ผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง และผลิตภัณฑ์จำพวกถั่วเหลืองเพิ่มขึ้น จะช่วยลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้
ความดันโลหิตสูง
ความดันโลหิตสูง นั้นเป็นการเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ อาการเจ็บบริเวณหัวใจและการอุดตันของเส้นโลหิตที่ไปเลี้ยงสมอง บางส่วนอาจเกิดจากกรรมพันธุ์อีกทั้งอาจเป็นผลมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต แม้ว่าทั้งชายและหญิงล้วนเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ได้ แต่ปัญหามักเกิดรุนแรงในผู้ชายมากกว่า ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควรลดน้ำหนักและลดการดื่มแอลกอฮอล์ ไม่ใส่เกลือในการปรุงอาหาร หรือเติมบนโต๊ะอาหาร และเลือกอาหารสะดวกซื้อที่มีการลดปริมาณเกลือด้วย
การลดความดันโลหิต ไม่เพียงแค่ตัดส่วนประกอบบางอย่างในอาหารที่รับประทานเท่านั้น แต่ยังควรรับประทานอาหารบางอย่างเพิ่มขึ้นด้วย โดยมีการประเมินว่าการเพิ่มปริมาณโพแทสเซียม จะช่วยลดอัตราการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับความดันโลหิตได้ด้วย ซึ่งโพแทสเซียมนี้สามารถพบในกล้วย น้ำส้มแก้วใหญ่ และมื้ออาหารที่เต็มไปด้วยผักผลไม้

ที่มา : http://www.foodindustrythailand.com/v17/index.php?option=com_content&view=article&id=1694:man-and-womens-diet-and-health&catid=69:food-nutrition&Itemid=88

แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น