Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

คำว่า "ช่าง" กับ "ชั่ง" ใช้คำไหนดี?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
 อยากจะถามว่า เวลาใช้ "ช่าง" กับ "ชั่ง" มันต่างกันยังไงอ่ะคะ?

ส่วนพวกความหมายก็พอจะรู้อยู่แล้วอ่ะค่ะ

ช่าง = ใช้กับอาชีพ

ชั่ง = ใช้กับการตวงการวัด

แต่ถ้าจะบอกว่า ช่าง/ชั่งมันเถอะ อะไรก็ช่าง/ชั่ง จะใช้ตัวไหนอ่ะคะ

เพราะว่าเจอในงานเขียนของนักเขียนแต่ละคนมันมักจะไม่เหมือนกันน่ะค่ะ

เลยสับสนในการใช้ตลอดเลย   ขอบคุณค่ะ


แก้ไขครั้งที่ 1 เมื่อ 21 ตุลาคม 2554 / 13:25
แก้ไขครั้งที่ 2 เมื่อ 21 ตุลาคม 2554 / 13:26

PS.  ท้องฟ้ายามค่ำคืนนี้ มักจะเสียงคลืน คลืน~ มาด้วยเสมอ..

แสดงความคิดเห็น

>

10 ความคิดเห็น

bloodyhana 21 ต.ค. 54 เวลา 13:58 น. 2
"ช่าง" นอกจากจะแปลตามที่ จขกท. ได้กล่าวแล้ว ยังมีอีกความหมายหนึ่ง ที่แปลว่า
"ปล่อย,วางธุระ เช่น ช่างเถิด ช่างมัน"-"ช่างปะไร แปลว่า ปล่อยตามเรื่องตามราว ไม่เอาธุระ"

ส่วนคำว่า "ชั่ง" เห็นแต่ความหมายประเภทเดียวคือที่เกี่ยวกับการตวงวัด และมาตรเงินเงินแบบไทย

เพราะฉะนั้น ใช้คำว่า "ช่าง" จะถูกต้องกว่า

credit : พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน

PS.  gracias, por tu amistad
0
Ⓛunar♐ 21 ต.ค. 54 เวลา 14:09 น. 4

ใช้ช่างครับ

สาเหตุที่ในนิยายบางเรื่องใช้ชั่งคงเป็นเพราะว่ามันเป็นภาษาพูด.. เอิ่ม.. รีบพูด (รีบพูดจนมันผิดเพี้ยน)
จาก ช่าง ซึ่งออกเสียงยาวกว่า รวบรัดเป็น ชั่ง ซึ่งสั้นกว่า
แต่จริงๆ แล้วมันคือช่างนั่นแหละ


PS.  I <3 Axis Powers Hetalia UsUK <3 DenNor <3 Romania <3
0
.fog 21 ต.ค. 54 เวลา 18:17 น. 5

 ขอบคุณทุก คห ค่า   ตอนนี้เข้าใจแจ่มแจ้งแล้ว ^^


PS.  ท้องฟ้ายามค่ำคืนนี้ มักจะเสียงคลืน คลืน~ มาด้วยเสมอ..
0
คริส 7 ม.ค. 56 เวลา 19:09 น. 7

แต่ผมเองเห็นว่า คำว่า "ชั่ง" ไม่ได้หมายความว่าตวงวัดอย่างเดียวนะครับ
พอดีค้นหาในพจนานุกรมออนไลน์ ของราชบัณฑิตยสถาน แล้วปรากฏว่าคำว่า "ชั่ง" ก็ใช้เป็นการบอกการแสดงออกทางอารมณ์ด้วยเช่นกันครับ

==========================
ชั่งใจ&nbsp&nbsp&nbsp ก. คิดให้แน่ก่อนที่จะตัดสินใจ.
ยับยั้งชั่งใจ&nbsp&nbsp&nbsp ก. คิดทบทวนดูผลดีผลเสียให้รอบคอบก่อนที่จะทำอะไรลงไป.
==========================

ผมเองก็สับสนกับคำว่า "ชั่ง" และ "ช่าง" เหมือนกัน ถ้าอย่างไรมีความรู้เกี่ยวกับสองคำนี้เพิ่มเติมก็ส่งมาเล่าทางอีเมล์บ้างนะครับ...

คริส
ข้อมูลจาก
http://rirs3.royin.go.th/dictionary.asp

0
honeybee 28 มี.ค. 61 เวลา 15:07 น. 9

จริงๆคำว่า ช่างมันเถอะ ช่างเถิด คำนี้ต้องใช้กับ ช่าง ไม่ใช่ ชั่ง

คิดว่า เกิดจากโครงการพระราชดำริของในหลวง ร.9 โครงการชั่งหัวมัน ซึ่งคำมาจากการ

ชั่งน้ำหนักของหัวมันเทศ แล้วมีพระราชดำริแบบขำๆ ว่า ชั่งหัวมัน ก็เลยเกิดเป็นโครงการนี้

คงมีหลายคนเข้าใจผิดว่าต้องเขียนอย่างนี้

แต่จริงๆ ถ้าหมายถึง ไม่ต้องไปสนใจอะไร ก็ต้องเขียนว่า ช่างหัวมัน


ส่วนคำว่่า "ชั่ง" ใช้กับ ชั่งน้ำหนัก ตาชั่ง

หรือใช้กับคำว่า ยับยั่งชั่งใจ


0