Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม เปิดรับนักศึกษาได้ในปีการศึกษา 2556

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
โรงเรียนแพทย์ในประเทศที่แพทยสภารับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
ที่มา/ผู้ประกาศ : webmaster
วันที่ : 29 ส.ค. 2554


โรงเรียนแพทย์ในประเทศ  ที่แพทยสภารับรองหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
มีทั้งหมด   20  แห่ง ดังนี้


โรงเรียนแพทย์ของรัฐ
1. คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล
2. คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
3. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
4. คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี
5. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
6. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
7. วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
8. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
9. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
10. คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยกรุงเทพมหานคร (เดิมใช้ชื่อ วิทยาลัยแพทยศาสตร์ กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล)
11. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
12. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
13. สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
14. วิทยาลัยแพทยศาสตร์และการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
15. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
16. สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
17. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
18. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา


โรงเรียนแพทย์เอกชน
1. วิทยาลัยแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
2. คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม (เปิดรับนักศึกษาได้ในปีการศึกษา 2556)


ที่มา: http://www.tmc.or.th/detail_news.php?news_id=588&id=4

แสดงความคิดเห็น

>

21 ความคิดเห็น

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

มีเนื้อหาไม่เหมาะสม

เด็กจบมาหลายปี 5 ก.ย. 55 เวลา 14:04 น. 3

ขอให้ปีนี้สอบติดด้วยเทอญ........ที่ไหนผมเรียนหมด เพราะจบมาเป็นหมอเหมือนกัน ไม่รังสิต ก็ ม.สยามก็ได้ สู็ๆๆเพื่ออนาคตใหม่ที่ดีกว่า

0
PP555 5 ก.ย. 55 เวลา 15:49 น. 4

คห1 ครับ กว่าเขาจะรับรองหลักสูตรได้เขาก็ต้องมีการตรวจสอบหลัดสูตรและพิจารณาดีแล้วแหละครับ
ฉะนั้น แพทย์ของมหาวิทยาลัยไหนถ้าผ่านการตรวจสอบหลักสูตรของแพทยสภาแล้วล่ะก็ดีหมดแหละครับ
เรียนแพทย์ที่ไหนก็ได้ปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิตเหมือนกัน ออกมาเป็นแพทย์เหมือนกัน มีคำนำหน้าว่านายแพทย์/แพทย์หญิงเหมือนกันแหละครับ

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

มีเนื้อหาไม่เหมาะสม

OSK 6 ก.ย. 55 เวลา 00:56 น. 7

คห.6 OSK? คราวหลังแสดงความเห็นกากๆแบบนี้อย่าบอกเลยคับว่าศิษย์เก่าที่ไหน
อายแทนสถาบัน :)

0
ppkaew 7 ก.ย. 55 เวลา 19:42 น. 9

เป็นอีกช่องทางหนึ่ง ที่ให้คนที่อยากเรียนแพทย์ ไม่ต้องดิ้นรนไปเรียนต่างประเทศ&nbsp  แพทย์ประเทศไทยเก่งเป็นที่ยอมรับของนานาชาติ&nbsp เรียนเอกชนเมืองไทยเครดิตดีกว่าไปเรียนแพทย์ในกลุ่มอาเซียนหลายๆประเทศ

0
MDnews 7 ก.ย. 55 เวลา 23:24 น. 10

รายงานการประชุมสภามหาวิทยาลัยสยาม
ครั้งที่ ๓/๒๕๕๕
วันพุธที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๕
ณ ห้องประชุมสภามหาวิทยาลัย ชั้น ๑๙ อาคารเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยสยาม

๓.๒ รายงานความคืบหน้าหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต

&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. นิ่มนวล ศรีจาด รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ นาเสนอความ
คืบหน้าการขอเปิดดาเนินการหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตว่า ตามที่สภามหาวิทยาลัยสยาม
อนุมัติหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ในการประชุมครั้งที่ ๒/๒๕๕๓ วันที่ ๒๑ เมษายน ๒๕๕๓
และคณะผู้ประเมินหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ตรวจความพ ร้อมครั้งที่ ๑ เมื่อวันที่
๒๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔ ผลการประเมิน “ผ่าน” โดยมีเงื่อนไขให้ปรับแก้ไขหลักสูตรบางส่วน และ
จะมีการตรวจความพร้อม ครั้งที่ ๒ โดยคณะผู้ประเมินหลักสูตรได้มาตรวจเยื่ยม ครั้งที่ ๒ เมื่อ
วันที่ ๒๔ ตุลาคม ๒๕๕๔
&nbsp &nbsp &nbsp  จากนั้น มหาวิทยาลัยสยามนาเสนอข้อมูลความพร้อมต่อคณะอนุกรรมการกลั่นกรอง
วิชาการแพทยสภา วันที่ ๒๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕ คณะอนุกรรมการกลั่นกรองวิชาการแพทยสภามีข้อเสนอแนะให้ปรับปรุงหลักสูตรในส่วนของรายวิชาในระดับปรีคลีนิค ให้จัดการเรียนการสอน
โดยใช้ System based approach และให้พัฒนาการจัดหาแหล่งฝึกปฏิบัติในชุมชนให้เพียงพอ
&nbsp &nbsp &nbsp  มหาวิทยาลัยสยามได้มีการดาเนินการ ดังต่อไปนี้
&nbsp &nbsp &nbsp  ๑. ปรับปรุงหลักสูตร ฯ ตามข้อเสนอแนะ ปรากฎรายละเอียดในหลักสูตร ฯ ที่แนบ และ
ตารางเปรียบเทียบรายวิชาในหมวดวิชาเฉพาะ ทั้งนี้ หลักสูตรปรับปรุงได้มีการวิพากษ์หลักสูตร
โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และเป็นหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนในลักษณะบูรณาการ ของ Organ
System Based สอนโดยคณาจารย์เป็นทีม ซึ่งจะมีการประชุมก่อน-หลัง การสอนเพื่อเตรียม
เนื้อหา วิธีการสอน การวัดประเมินผลร่วมกัน
&nbsp &nbsp &nbsp ๒. เพิ่มแหล่งฝึกประสบการณ์ภาคสนาม ได้แก่ โรงพยาบาลดารารัศมี โรงพยาบาลนวุฒิ
สมเด็จย่า โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงมหาดไทย เช่น โรงพยาบาลเมืองพัทยา ศูนย์สุขภาพ
และ/หรือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพระดับตาบลทั้งในเขตกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด
ในการนี้ คณะอนุกรรมการกลั่นกรองวิชาการแพทยสภา กาหนดให้นาเสนอหลักสูตรที่
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยสยาม ในวันที่ ๒๒ มิถุนายน ๒๕๕๕
มติ ที่ประชุมพิจารณาแล้วมีมติ ดังนี้
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  ๑. รับรองการปรับปรุงหลักสูตรตามข้อเสนอแนะของคณะอนุกรรมการวิชาการ
แพทยสภา เพื่อเสนอต่อคณะอนุกรรมการ ฯ และแพทยสภาตามลาดับ
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  ๒. หากได้รับการอนุมัติหลักสูตรจากแพทยสภา ขอให้มหาวิทยาลัยจัดเตรียมข้อมูล
ต่าง ๆ นาเสนอสภามหาวิทยาลัยพิจารณา ก่อนการรับนักศึกษา ดังนี้
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  ๑) เงื่อนไขต่าง ๆ จากแพทยสภา และการดาเนินการของมหาวิทยาลัยเพื่อให้
เป็นไปตามเงื่อนไขต่าง ๆ เหล่านั้น
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  ๒) รายชื่อคณะผู้บริหารคณะแพทยศาสตร์
&nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp &nbsp  ๓) แผนการเตรียมความพร้อม โดยเฉพาะในการสอนระดับปรีคลีนิค

0
สสส 12 ก.ย. 55 เวลา 06:45 น. 13

ตอนจบ GP เหมือนกันหมดครับ แต่จะต่างตรงต่อเป็นresident

ลูกหม้อจะมีโอกาสมากกว่าครับ

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

มีเนื้อหาไม่เหมาะสม

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

มีเนื้อหาไม่เหมาะสม

wowwww 2 ธ.ค. 55 เวลา 02:45 น. 16

คุณภาพพการผลิตก็ยังเป็นปัญหา บางมหาลัยเปิดสอนมา 10 ปี แต่ใช้วิธีผลักภาระให้ รพ จังหวัดจัดการเรียนการสอน คุณภาพก็ตามนั้น แถมถ้าเด็กไม่ผ่านศูนย์แพทย์ ก็พยายามดันให้ผ่าน .......เพลีย

0
เด็ก มข นะ555 8 ก.พ. 56 เวลา 14:00 น. 18

เพิ่มเติมนะครับ ตอนนี้ม.แม่ฟ้าหลวงก็เป็นคณะแพทย์ที่ 21 ของประเทศแล้วครับ
อันนี้ไม่เกี่ยวกับม.สยามนะ แค่เพิ่มข้อมูลเฉยๆ55555

ก็อยากให้รู้ง่ะ

0
Charadsri Kee 10 ก.พ. 56 เวลา 11:34 น. 19

การก่อตั้งสถาบันแพทย์ศาสตร์ศึกษาของประเทศไทยมีประวัติที่แตกต่างกันมาด้วยเหตุปัจจัยของยุคสมัย
หากทบทวนว่าเมื่อประมาณ๕๐ปีก่อน กว่าจะมี ร รแพทย์ที่สองในม มหิดล ก็ยากยิ่ง มีความเห็นหลากหลายมากมาย และหากว่า ไม่มีการก่อตั้ง รร แพทญ์ใหม่ๆแล้ว ประชาชน ที่เพิ่มขึ้น จาก สามสิบล้านเป็นหกสิบล้าน จะไปรับการบริการที่ไหน ภาระงานมาก ทำให้กระทบต่อระดับคุณภาพ โรงเรียนแพทย์นั้น สามารถ ปิดรับผู้ป่วยได้ แต่ รพ กระทรวงสาธารณสุขและสังกัดอื่นๆ ทำไม่ได้
&nbsp &nbsp &nbsp  หลักการสำคัญ คือการคัดเลือกคณาจารย์แพทย์ที่มีอุดมการณ์ หลักการ ด้านแพทย์ศาสตร์ศึกษา โดยเฉพาะด้านจริยธรรม คุณธรรม ของแพทย์อาชีพท่ามกลางกระแสวัตถุนิยม น่าจะพิจารณาให้เข้มงวดจะดีกว่าไหม เพราะการเรียนรู้วิชาชีพด้วยตำรามีมากหลายช่องทางแต่การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง จากครูแพทย์มืออาชีพที่จะถ่ายทอด ทุกด้านโดยเฉพาะแนวคิดหลักปฏิบัติทีอิงจริยธรรมคุณธรรมนั้นเราจะแสวงหามาอย่างไร และใช้เกณฑ์อะไรวัด คงมิใช่ชื่อเสียง ฐานะสังคม ขอให้ช่วยกันคิดแสดงความเห็นประเด็นนี้ กันดีไหมจ้ะ ขอบคุณที่อ่าน

0
จักร 13 ก.พ. 56 เวลา 23:15 น. 20

ทุกอย่างต้องเริ่มจาก 1 เสมอแล้วพัฒนาขึ้นเรื่อย&nbsp จะก้าวกระโดดหรอคลานเป็นเต่าแต่เดินหน้าตลอดและสถาบัญนี้ได้พิสูตรให้เห็นแล้วในช่วงเวลา 10 ปีนี้ได้พัฒนาอย่างก้าวกระโดด&nbsp จะเห็นได้จากคณะวิศวะสาชา โยธา ได้มาตราฐานอย่างดียิ่ง&nbsp ผมพูดในฐานะที่เป็นผู้จ้างงานและเป็นครูบาอาจารย์สายนี้ ได้สัมผัสกับเด็กที่จบจากที่นี้แล้วถือว่า ใช้ได้และคิดว่า&nbsp งานสายหมอน่าจะไปได้ดีเช่นกัน&nbsp จะให้ลูกเข้าไปสมัครเรียนด้วย

0