Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ประวัติจังหวัดสุรินทร์ + ช้างสุรินทร์ จ้า

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ประวัติ

      สุรินทร์ เป็นจังหวัดที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานมากจังหวัดหนึ่ง โดยสันนิษฐานว่าดินแดนจังหวัดสุรินทร์แห่งนี้
ถูกสร้างขึ้นมาเมื่อประมาณ 2,000 ปีมาแล้ว ในสมัยที่พวกขอมมามีอำนาจเหนือพื้นที่แห่งนี้ เมื่อขอมเสื่อมอำนาจลง
เมืองสุรินทร์ได้ถูกทิ้งร้างจนเกิดกลายเป็นดงขึ้นมา จนกระทั่งถึงปี พุทธศักราช 2306 จึงปรากฎหลักฐานว่า
หลวงสุรินภักดี(เชียงปุม)ซึ่งเดิมเป็นหัวหน้าหมู่บ้านเมืองทีได้ขอให้เจ้าเมืองพิมายกราบบังคมทูลขอพระกรุณาโปรดเกล้า
จากพระเจ้าอยู่หัวพระที่นั่งสุริยามรินทร์ย้ายหมู่บ้านจากบ้านเมืองทีมาอยู่ที่บริเวณบ้านคูประทาย ซึ่งก็คือบริเวณที่ตั้ง
ของจังหวัดสุรินทร์ในปัจจุบันเนืองจากเห็นว่าบริเวณดังกล่าวเป็นชัยภูมิที่เหมาะสมอย่างยิ่งมีกำแพงล้อมรอบถึง 2 ชั้น
มีน้ำอุดมสมบูรณ์เหมาะแก่การเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ต่อมาหลวงสุรินทร์ภักดีได้กระทำความดีความชอบเป็นที่โปรดปราน
จึงได้ทรงกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกบ้านคูประทายเป็น" เมืองประทายสมันต์ " และเลื่อนบรรดาศักดิ์หลวงสุรินทร์ภักดีเป็น
พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง
       ในปี พุทรศักราช 2329 พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้เปลี่ยนชื่อ " เมืองประทายสมันต์ " เป็น " เมืองสุรินทร์ " ตามบรรดาศักดิ์ของเจาเมือง
ที่ตั้งของจังหวัด



   จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ของประเทศไทย ระหว่างเส้นแวงที่ 103 องศา และ 105 องศาตะวันออก
และระหว่างเส้นรุ้งที่ 15 องศา และ องศาเหนือ ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 450 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อกับจังหวัดใกล้เคียง ดังนี้

                                                                    ทิศเหนือ            ติดต่อกับจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดมหาสารคาม
                                                                    ทิศตะวันออก      ติดต่อกับจังหวัดศรีสะเกษ
                                                                    ทิศใต้                 ติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา
                                                                    ทิศตะวันตก        ติดต่อกับจังหวัดบุรีรัมย์

.............ลักษณะภูมิประเทศ จังหวัดสุรินทร์มีเนื้อที่ประมาณ 8,124 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 5,077,535 ไร่คิดเป็นร้อยละ 4.8 ของพื้นที่ภาคตะ วันออกเฉียงเหนือทั้งหมด ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปมีลักษณะดังนี้คือบริเวณซึ่งติดต่อกับราชอาณาจักรกัมพูชา มีป่าทึบและภูเขาสลับซับซ้อน ถัดจากบริเวณภูเขา จะเป็นที่ราบสูงลุ่มๆ ดอนๆ ลักษณะลูกคลื่นลอนลาดบริเวณตอนกลาง ของจังหวัด จะเป็นที่ราบลุ่มเป็นส่วนใหญ่ มีที่ราบสูงอยู่บางตอน ด้านเหนือของจังหวัดเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำไหลผ่าน
จังหวัดสุรินทร์มีลำน้ำธรรมชาติที่สำคัญ 8 สายดังนี้คือ แม่นำมูล ลำน้ำชี ห้วยเสนง ลำห้วยพลับพลา ลำห้วยระวี ลำห้วยทับทัน ลำห้วยระหารและลำห้วยแก้ว เป็นลำน้ำที่ทำประโยชน์ให้แก่จังหวัดสุรินทร์ นอกจาก 8 แห่งนี้แล้ว ยังมีลำน้ำและหนองนำอีกมากมายกระจัดกระจายอยู่ในอำเภอต่างๆแต่แหล่งน้ำต่างๆดังกล่าวไม่สามารถอำนวยประโยชน์ให้แก่เกษตรกรได้มากนัก ในฤดูแล้งส่วนใหญ่น้ำจะแห้ง เว้นแต่ลำน้ำมูลซึ่งมีน้ำไหลตลอดปี
จังหวัดสุรินทร์ มีพื้นที่ที่ได้รับการประกาศเป็นเขตป่าจำนวน 1,382,625 ไร่หรือคิดเป็นร้อยละ 27.23 ของพื้นที่จังหวัดไม่มีอุทยานแห่งชาติมีวนอุทยานจำนวน 2 แห่ง คือวนอุทยานพนมสวาย อำเภอเมืองสุรินทร์ เนื้อที่ 2,500 ไร่ และวนอุทยานป่าสนหนองคู อำเภอสังขะ เนื้อที่ 625 ไร่และมีเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่า 1 แห่งคือเขตรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยสำราญ - ห้วยทับทัน อยู่ในพื้นที่กิ่งอำเภอพนมดงรัก, อำเภอกาบเชิง, อำเภอสังขะ และอำเภอบัวเชด เนื้อที่ 313,750 ไร่

ข้อมูลเกี่ยวกับช้างสุรินทร์
             สุรินทร์จังหวัดใหญ่แห่งลุ่มน้ำมูล เป็นจังหวัดที่คนทั่วไปทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ต่างรู้จักกันดีว่าเป็นเมืองช้างกิตติศัพท์ชื่อเสียงความยิ่งใหญ่ ความน่ารัก ความแสนรู้ของช้างจังหวัดสุรินทร์ เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่โดดเด่นไม่มีใครเหมือน ช้างสามารถสร้างชื่อเสียงให้กับทางจังหวัด และดึงดูดนักท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี นักท่องเที่ยวจะพบเห็นช้างตามร้านอาหาร ช้างเดินอยู่ข้างถนนปะปนกับประชาชนได้อย่างปกติธรรมดาเหมือนสัตว์เลี้ยงทั่วไป แสดงให้เห็นถึงความผูกพันระหว่างช้างกับคนมาช้านาน ชาวสุรินทร์ถือว่าช้างเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมาแต่โบราณ กล่าวได้ว่าช้างเป็นสัตว์คู่บ้านคู่เมืองสุรินทร์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังคำขวัญของจังหวัดที่ว่า “สุรินทร์ถิ่นช้างใหญ่ ผ้าไหมงาม ประคำสวย ร่ำรวยปราสาท ผักกาดหวาน ข้าวสารหอม งามพร้อมวัฒนธรรม”



         เมื่อปี พ.ศ.2498 มีการรวมช้างทั้งหมดในจังหวัดสุรินทร์ขึ้นเป็นครั้งแรก มีช้างรวมกันประมาณ 200 เชือก ที่อำเภอท่าตูม โดยมีนายอำเภอท่าตูมคือ นายวินัย สุวรรณกาศ เป็นผู้จัดขึ้น ประชาชนทั่วไปให้ความสนใจมาก นายอำเภอจึงดำริจัดงานช้างขึ้นครั้งแรกในเวลาต่อมาเมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ.2503 เป็นการฉลองที่ว่าการอำเภอใหม่ โดยจัดที่บริเวณสนามบินเก่าอำเภอท่าตูม (ปัจจุบันคือที่ตั้งโรงเรียนท่าตูมประชาเสริมวิทย์) การจัดงานครั้งนั้นมีรายการแสดง การเดินขบวนแห่ช้าง การคล้องช้าง การแข่งขันช้างวิ่งเร็วและยังมีการแสดงรื่นเริงอื่นๆ ประกอบอีกด้วย เช่น การแข่งเรือ แข่งขันกีฬาอำเภอ งานครั้งนี้ประสบความสำเร็จด้วยดี เพราะได้การส่งเสริมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (อ.ส.ท. ปัจจุบันคือ การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ททท.) จึงเสนอกระทรวงมหาดไทย ให้สนับสนุนจัดการแสดงเกี่ยวกับช้างของจังหวัดสุรินทร์เป็นงานประเพณีและงานประจำปี โดยวางแผนประชาสัมพันธ์ทั้งในและนอกประเทศให้ดี งานนี้ส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัดสุรินทร์ได้เป็นอย่างดี

              ดังนั้น อ.ส.ท. จึงได้ร่วมมือกับจังหวัดจัดเจ้าหน้าที่มาฝึกช้าง กำหนดรูปแบบเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว กำหนดงานเมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ.2504 เป็นปีที่ 2 จัดที่อำเภอท่าตูมเช่นเดิม งานช้างปีที่ 2 ประสบผลสำเร็จด้วยดี การแสดงของช้างในปีต่อๆ มาได้ปรับปรุงรูปแบบให้สวยงาม น่าตื่นเต้นมากขึ้นเป็นลำดับ โดยเฉพาะในรายการแสดงของช้าง ประกอบด้วยรายการต่างๆ ได้แก่ขบวนช้างพาเหรด ช้างปฏิบัติตามคำสั่ง ช้างแสนรู้ ช้างวิ่งเร็ว ช้างวิ่งข้ามคน ช้างเตะฟุตบอล และขบวนช้างศึก และต่อมาก็มีการแสดงช้างต่อเนื่องมาทุกปีทำให้คนทั้งในประเทศและต่างประเทศรู้จักช้างสุรินทร์เป็นอย่างดีว่าเป็นจังหวัดที่มีช้างแสนรู้มากที่สุด ต่อมาทางคณะกรรมการเห็นว่าควรย้ายสถานที่แสดงจากอำเภอท่าตูมมายังสถานที่แสดงจากอำเภอท่าตูม มายังสถานที่ใกล้ไปมาสะดวกเพื่อความเหมาะสมจึงได้มาจัดการแสดงช้างที่สนามกีฬาจังหวัด ตั้งแต่ พ.ศ.2505 สมัยนายคำรณ สังขกร เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดขณะนั้นสืบมาจนถึงปัจจุบัน



           เมืองสุรินทร์ ได้ชื่อว่าเป็นถิ่นเมืองช้าง แต่ไม่ได้หมายความว่าจะมีคนเลี้ยงช้างอยู่ทุกแห่ง ในสุรินทร์จะมีชาวกูยเพียงไม่กี่หมู่บ้านเท่านั้นที่เป็น “กูยอะเจียง” หรือคนที่อยู่กับช้าง หมู่บ้านตากลาง หมู่บ้านตากลาง ตำบลกะโพ อำเภอท่าตูม นับเป็นหมู่บ้านชาวกูยเก่าแก่ที่เลี้ยงช้างกันมาหลายร้อยปี ตั้งแต่เมื่อครั้งที่บรรพบุรษของเขาเลือกพื้นที่ที่ลำน้ำซีมาสบกับลำน้ำมูลซึ่งเป็นป่าดงดิบริมน้ำกว้างใหญ่ มีอาหารเพียงพอศึกที่ปลดระวางจากสงคราม เพื่อนำมาส่งเป็นส่วย แทนการเกณฑ์ทหารมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แทบทุกปีในสมัยก่อน ปะชิหมอช้างใหญ่ คุมคนและช้างเป็นขบวนใหญ่ เพื่อไปคล้องช้างป่าในแผ่นดินเขมร แต่เมื่อเกิดปัญหาทางการเมืองระหว่างประเทศ การคล้องช้างก็เลิกไป แต่ก็ยังมีการเลี้ยงช้างสืบต่อกันมา เพราะมีลูกช้างสืบต่อกันมา เพราะมีลูกช้างเกิดใหม่ทุกปี การเลี้ยงช้างของชาวกูย ไม่ได้เลี้ยงไว้เพื่อการทำงานหนักหรือใช้ลากไม้แบบทางเหนือ พวกเขาเลี้ยงช้างเหมือนเพื่อน ลูกชายชาวกูยบางคนก็เติบโตมาพร้อมกับช้างจึงเป็นเรื่องราวที่แยกจากกันไม่ออก แม้จะไม่มีการออกไปจับช้างอีกแล้ว แต่ช้างบ้านหลายรุ่น ก็ตกลูกช้างมาอย่างสม่ำเสมอ เมื่อช้างโตอายุสักปีสองปีก็ต้องมีการฝึก เพื่อรับคำสั่งต่าง ๆ ทั้งการส่งควาญขึ้นหลัง เดินซ้าย ขวา หน้า หลัง สมัยก่อนการฝึกช้างก็ทำกันเองทั่วไป แต่ปัจจุบันมีสนามฝึกช้างใกล้กับอาคารศูนย์คชศึกษาซึ่งจะทำการฝึกช้างวัยรุ่น ช้างนั้นมีความจำดีสามารถทำอะไรได้หลายๆ อย่างแล้วแต่ควาญจะฝึกให้ทำอะไรแต่ก็ต้องฝึกอยู่เสมอๆ



              ภายใต้ศูนย์มีนิทรรศการประวัติความเป็นมาของหมู่บ้าน รวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการคล้องช้าง เช่น ทำจากเชือกประกำ เชือกคล้องช้างที่ทำจากหนังควาย ฯลฯ โดยเฉพาะวันเสาร์จะมีการจัดแสดงการฝึกช้างให้ชมกันเป็นประจำ แต่เพียงวันละรอบเท่านั้นเริ่มประมาณ 9 โมงเช้าถึง 11โมง ในหมู่บ้านมีบ้านทอผ้าไหม ซึ่งมีลวดลายสวยงามไม่แพ้ที่อื่น ส่วนใหญ่สาวชาวกูยจะทอผ้ากันหลังจากเกี่ยวข้าวเสร็จแล้วประมาณเดือนธันวาคมถึงมกราคม ตอนบ่ายอาจนั่งช้างเที่ยวไปตามป่าละเมาะริมลำน้ำมูลเพื่อรอเวลาให้ถึงช่วงเย็นที่ควาญจะพาช้างไปอาบน้ำที่วังทะลุรื่นรมณย์กับบรรยากาศยามเย็น ชื่นชมแสงสีสุดท้ายของวัน



                ช่วงที่น่าไปเยี่ยมหมู่บ้านมากที่สุดคือ ช่วงเดือนพฤศจิกายน ถึงเดือนธันวาคมเพราะควาญช้างจะกลับมาเก็บเกี่ยวข้าว และนำช้างมาร่วมงานแสดงของจังหวัด ซึ่งจะมีช้างกลับมาอยู่บ้านเป็นจำนวนมาก กรณีที่เดินทางกันมาเป็นกลุ่ม และต้องการให้ช้างมาแสดงให้ดูในวันธรรมดาสามารถติดต่อล่วงหน้าได้ที่ผู้ใหญ่บ้านประกิต กลางพัฒนา ผู้ใหญ่บ้านตากลาง ตำบลกระโพ อำเภอท่าตูม โทร. 0-1999-1910, 0-1967-5015 หรือที่ว่าการอำเภอท่าตูม โทร.0-4459-1141, 0-4459-1058 ค่าเข้าชมชาวไทย คนละ 50 บาท ชาวต่างประเทศ 100 บาท ส่วนการนั่งช้างเที่ยวชมหมู่บ้านหรือลัดเลาะแม่น้ำนั้นก็แล้วแต่จะตกลงราคากันเอง

เพิ่มเติม
เชือกที่ใช้จับช้างหนึ่งเส้นต้องใช้หนังควายถึงสามตัวเชียวนะ !!!!
คนที่นั่นน่ารักใจดีมากๆ

เครดิต http://www.surinrelations.org/index.php?lay=show&ac=article&Id=373626
www.welcometosurin.4t.com/psurin.htm

แสดงความคิดเห็น

>