Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

นักเรียนนักเลง

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

นักเรียน นักเลง
เหตุผลที่อยากทำ
ดิฉันและเพื่อนๆได้ไปคอนเสิร์ต 25ปี ของพงษ์สิทธิ์ คัมภีร์ ที่เมืองทองแล้วได้พบกับเด็กช่างต่างสถาบันมากมาย พอคอนเสิร์ตเริ่มได้ไม่กี่เพลง ก็เกิดการตีกันขึ้น ซึ่งภาพที่เห็นนั้น เป็นนักเรียนที่คิดว่าอายุไม่เกิน 18 ปี จึงทำให้เกิดการตั้งประเด็นปัญหานี้ขึ้นมา
สาเหตุของการยกพวกตีกัน
 1. สภาพร่างกายและจิตใจของกลุ่มวัยรุ่นมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านฮอร์โมน ทางกายวิภาคของสมอง ในช่วงวัยรุ่น สมองส่วนหน้าสุด หรือ prefrontal lobe ที่เกี่ยวข้องกับทางด้านวิจารณญาณ และการตัดสินใจต่าง ๆ ซึ่งต้องอาศัยช่วงเวลาที่ยาวนานเป็น 10 ปี ในการพัฒนาอย่างเต็มที่ และในระยะนี้ ก็เป็นช่วงเดียวกันกับที่สมองส่วนอยาก (Limbic system) มีการเปลี่ยนแปลงจากการได้รับฮอร์โมนเพศ ทำให้มีความต้องการทางเพศ การแสวงหาความตื่นเต้น ตลอดจนความรุนแรง จึงเป็นลักษณะที่โดดเด่นของวัยรุ่น และนั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมเด็กวัยรุ่นจึงมักหุนหันพลันแล่น และขาดความยับยั้งชั่งใจ เพราะสมองส่วนหน้าจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาที่ดี ที่ต้องอาศัยการเรียนรู้ ประสบการณ์ จนกว่าจะบรรลุวุฒิภาวะ ซึ่งต้องอาศัยการเรียนรู้อีกยาวไกล
       
       2. เป็นเรื่องต่อเนื่องจากข้อแรก เพราะเด็กส่วนใหญ่ที่มีพฤติกรรมเหล่านี้ มักจะมีปัญหาเรื่องครอบครัวแตกแยก หรือไม่ได้ใกล้ชิดกับครอบครัว การโหยหาความรัก การขาดการอบรมสั่งสอน หรือเลี้ยงดูอย่างใกล้ชิดและถูกต้อง รวมไปถึงการเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น เพราะตัวเองขาด จึงต้องการโหยหา และทำให้เลือกทำในสิ่งที่ไม่ถูกต้อง และไม่เหมาะสม
       
       3. พฤติกรรมเลียนแบบ ต้องยอมรับว่ายุคสมัยที่เปลี่ยนไป โลกแห่งข้อมูลข่าวสารที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็ว ทำให้สภาพปัญหานี้ถูกตีแผ่มากขึ้น แต่ก็เหมือนดาบสองคมด้วยเช่นกัน เพราะก็มีเด็กจำนวนไม่น้อยที่แห่กันทำตามข่าวที่ได้พบเห็น เพราะจะได้เป็นข่าวบ้าง เคยมีเด็กบางคนได้ลงสื่อ กลับรู้สึกว่าตัวเองเจ๋งก็มีไม่น้อย ยิ่งพฤติกรรมความรุนแรงของผู้ใหญ่ในสังคมในช่วง 2-3 ปี ที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ปัญหาทางการเมืองยิ่งเป็นตัวเร่งเร้าให้เกิดความรุนแรง ทั้งเรื่องการใช้อาวุธอย่างโจ่งครึ่มเกิดขึ้นแทบรายวัน เดี๋ยวเกิดระเบิด เดี๋ยวมีการยิงกัน หรือแม้แต่ข่าวคราวเรื่องสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ก็เป็นความรุนแรงรายวันที่เกิดขึ้นจนอารมณ์ความรู้สึกของเด็กเริ่มชาชินกับ ความรุนแรง

       
4. ขาดความภาคภูมิใจในตัวเอง ยิ่งถ้ามาจากครอบครัวที่แตกแยก ขาดความรักความใส่ใจ ก็มักจะไปเรียกร้องเอากับผู้อื่น จากเพื่อน จากสังคม เพื่อต้องการการยอมรับจากผู้อื่น แต่การกระทำกลับเป็นการเรียกร้องในรูปแบบที่ไม่ถูกต้อง และกลายเป็นปัญหาสังคมในที่สุด
       
          
       5. ศักดิ์ศรี ของสถาบันที่ถูกปลูกฝังจากรุ่นสู่รุ่น คนที่เรียนโรงเรียนอาชีวะที่เคยมีเรื่องกับสถาบันอื่นมาก่อน เมื่อเข้าไปเรียนแล้วมักจะได้รับการปลูกฝัง ในท่วงทำนองให้ทำเพื่อสถาบัน
       
       6. ค่านิยมที่เมื่อได้ทำร้ายโรงเรียนคู่อริ จะได้รับการยอมรับจากเพื่อน ได้รับคำชมว่าเจ๋ง จากสถาบันของตัวเอง
       
       7. คุณครูและผู้บริหารโรงเรียนขาดการเอาจริงเอาจังกับปัญหาเรื่องนี้อย่างจริง จัง ทั้งที่ปัญหานี้เกิดขึ้นมายาวนาน เรื่องเด็กแสบในโรงเรียนเป็นเรื่องที่เด็กนักเรียนด้วยกัน หรือโรงเรียนย่อมรู้อยู่แล้ว แต่ไม่ได้จัดการอย่างจริงจัง ด้วยหลากหลายเหตุผล แต่เหตุผลที่น่าเศร้าที่สุด ก็คือ กลัวลูกศิษย์ทำร้าย
       
       8. โครงสร้างการศึกษาในบ้านเรามีปัญหา แต่ไหนแต่ไรมา เรามักมองว่าเด็กอาชีวะเป็นเด็กที่ไม่สามารถเรียนสายสามัญได้ เด็กเรียนไม่ดี เด็กเกเร ทั้งที่จริงเด็กเหล่านี้จำนวนมากเป็นเด็กเรียนดี มีความคิดสร้างสรรค์ ตั้งใจและรู้ว่าตัวเองชอบอะไรก็มุ่งมั่นเรียนในสายอาชีพ แต่เราไปสร้างค่านิยมผิดๆ มาโดยตลอด
ตรงกันข้าม ถ้าเรายกระดับการศึกษาอาชีวะให้มีคุณค่า พัฒนาอย่างจริงจังในทุกด้าน ก็จะทำให้เด็กรู้สึกมีคุณในตัวเอง เป็นเด็กที่มีศักยภาพ และมีตัวตนในสังคม มีพื้นที่และโอกาสให้เด็กเหล่านี้เพื่อพัฒนาตัวเองได้อย่างทัดเทียมผู้อื่น เราจะได้เด็กนักเรียนที่มีความสามารถมากมายที่พร้อมจะพัฒนาประเทศชาติ
 
 
 
อ้างอิง
อาวุธที่มักได้ยินก็จำพวกไม้หน้าสาม เหล็กฟุต ปืนปากกา แต่ปัจจุบันอาวุธจะเป็นพวกมีด ดาบ ปืน ที่พกกันโจ่งครึ่มในที่สาธารณะ  ขณะที่บรรดาพวกนักเรียนนักเลงส่วนใหญ่ที่เรามักจะได้ยิน ส่วนใหญ่จะเป็นพวกเด็กช่างกล หรือกลุ่มเด็กสายอาชีวะ แต่ยุคนี้นับวันเด็กนุ่งกางเกงขาสั้นในโรงเรียนสายสามัญก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไป กว่ากันเลย ตัวเลขที่เด็กทะเลาะกัน ยกพวกตีกัน โดยเรื่องถึงสถานีตำรวจเมื่อปีที่แล้วมีสูงถึงกว่า 2,000 ครั้ง สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทะเลาะกัน มักเป็นเรื่องของสถาบันที่เป็นคู่อริ เรื่องส่วนตัวจัดว่าน้อยมาก แล้วอะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เด็กเหล่านี้ทะเลาะกันไม่รู้จบสิ้น เป็นเรื่องที่ถึงเวลาแล้วจริงๆ ที่ต้องเอาจริงเอาจังกันทุกฝ่าย มิใช่เกิดปัญหาครั้งหนึ่ง แล้วก็ลุกขึ้นมาทำท่าเอาจริงเอาจัง แล้วก็เงียบหายเข้ากลีบเมฆ สุดท้ายคนที่รับเคราะห์และมักเป็นผู้สูญเสียบ่อยๆ ก็คือ คนบริสุทธิ์ที่ต้องโดนลูกหลงของสถานการณ์
 
แนวทางการแก้ปัญหา
แนวทางแก้ปัญหา 4 มาตรการ คือ ให้คัดแยกกลุ่มเสี่ยง 130 คน ไปเรียนร่วมกันนอกสถานที่ และพักค้างคืนเป็นเวลา 3 เดือน ทำกิจกรรมเชิงระเบียบวินัยทหาร และกิจกรรมทางศาสนา วางมาตรการพัฒนาจิตใจนักเรียนที่เหลืออีกราว 32,000 คน และกำหนดมาตรการกลาง ปรับปรุงระบบการสื่อสาร รายงานเหตุ
 
 
 
 
 
 
 
สรุป
แล้ว จะเห็นได้ว่า ปัญหาเด็กนักเรียนตีกันนั้น มีจุดเริ่มต้น มาจากหลายสาเหตุ  (โดยเฉพาะต้องใช้หลักวิชาธรรมชาติของวัยรุ่น และจิตวิทยาวัยรุ่นประกอบ ) แต่เชื่อมโยงและบานปลายจนเหมือนเป็นภาพเดียวกันจากสาเหตุเดียว คือ เรื่องของสถาบัน ซึ่งเมื่อลึกลงไปแล้ว เป็นเพียงภาพลวงตา หรือเป็นเพียงข้ออ้าง  และเป็นเพียงผลพวงของปัญหาที่สะสมมานาน เด็กที่ตีกัน บางคนไม่ได้รักสถาบันที่ตัวเองเรียนอยู่ด้วยซ้ำ เพราะสถาบันแสนจะเอาเปรียบก็มี แต่ภาพจากสังคมภายนอก ไม่ชัดเจน เพราะความหลากหลายของสาเหตุ และการทับถมของปัญหาที่เกิดขึ้น จากสาเหตุของเด็กตีกันทั้งหมดที่กล่าวมา จะเห็นว่า → บางเรื่องหายไปได้ โดยครอบครัว ที่เลี้ยงดูเด็กมาอย่างเหมาะสมกับธรรมชาติของแต่ละคน → บางเรื่องหายไปได้ ถ้าสถาบันการศึกษาและครู ทำหน้าที่โดยสุจริตและรับผิดชอบ → บางเรื่องหายไปได้  ถ้ารัฐจัดการกับระบบการศึกษาในภาพรวมได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และเป็นธรรมแก่เยาวชนที่จะเลือกรับการศึกษา → บางเรื่องหายไปได้ ถ้าสังคมยื่นมือเข้ามาช่วยกันรับผิดชอบ ถ้าครอบครัวรักเด็กของสังคม ( ซึ่งจะกลายเป็นสิ่งแวดล้อมของครอบครัว ) เท่ากับรักเด็กในครอบครัว
 

แสดงความคิดเห็น

>

11 ความคิดเห็น