Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

[What? ...ที่คุุณควรรู้ >< ] ประโยชน์ของผัก 10 อันดับผักที่เราคุ้นเคย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่




[What? ...ที่คุุณควรรู้ ><  ] ผักอ่ะ มีประโยชน์น้าา



ประโยชน์ของผัก 10 อันดับผักที่เราคุ้นเคย



1. กระเทียม 



         








          กระเทียมถึงแม้จะมีกลิ่นและรสจัด แต่ก้มีสรรพคุณในการรักษาและป้องกันโรคได้มากมายหลายชนิด  ได้แก่  โรคบิด  ท้องร่วง  ไส้ติ่งอักเสบเฉียบพลัน  ไแกรน  ปอดบวม  แก้หวัด เป็นต้น  

          นอกจากนี้การกินกระเทียมเป้นประจำจะสามารถป้องกันโรคเส้นเลือดหัวใจตีบตัน  และความดันโลหิตสูงได้อีกด้วย  แต่สำหรับผู้ที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารและโรคอ้วนไม่ควรกินมาก-0-





2. กะหล่ำปลี



          รู้มั้ยว่าน้ำคั่นจากกะหล่ำปลีสามมารถรักษาโรคกระเพาะหรือลำไส้เป็นแผลได้  โดยอุ่นให้ร้อนดื่มวันละ 2 ครั้ง  ติดต่อกัน 10 วัน  ก็เป็นการรักษาได้สักระยะนึง





3. กุยช่าย





          กุยช่ายเป็นผักที่กินได้ทั้งสุกแะดิบเป็นยาบำรุงไต  บำรุงกระดูก  ปวดเอว  ปัสสาวะบ่อย  เป็นต้น  และยังป้องกันอุจจาระแข็ง  ท้องผูกและถ้ากินเป็นประจำจะช่วยป้องกันมะเร็งในลำไส้ได้อีกด้วย





4. ขมิ้น





          สรรพคุณของขมิ้นยังรวมไปถึงการช่วยบำรุงสุขภาพของระบบทางเดินโลหิต เพราะได้มีการทดสอบแล้วพบว่าขมิ้นมีประโยชน์สามารถลดไขมันในเลือดได้อย่างดี และสารในขมิ้นยังช่วยคงระดับของน้ำตาลในเส้นเลือดได้อีกด้วย อาจจะเป็นเพราะสรรพคุณเหล่านี้ทำให้ขมิ้นนั้นเป็นสารประกอบใช้ในการควบคุมน้ำหนักสำหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วน เพราะขมิ้นจะช่วยกระตุ้นระบบการย่อยอาหารให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น สรรพคุณส่วนนี้ล้วนตรงเป้าของการป้องกันการรักษาการฟื้นฟูสมรรถภาพทางเพศโดยตรงก็คือ สามารถหาและรักษาสาเหตุของเส้นเลือดแข็งตัว ช่วยให้มีการไหลเวียนของเลือดดีทำให้ชาวอินเดียถึงมีพลังทางเพศแข็งแรงมากชาติหนึ่งของโลก 






5. ข่า




          ข่าเป็นอีกชนิดหนึ่งในพืชผักสมุนไพรที่ครัวไทยบ้านเราขาดมิได้ เพราะนอกจากสรรพคูณด้านยาแล้ว ข่ายังประกอบด้วยไวตามินหลากหลายทั้งไวตามิน B1,B2 และไวตามิน C มีแคลเซี่ยมและฟอสฟอรัส เหล็ก และเบตาแคโรทีนซึ่งเป็นตัวสำคัญในการป้องกันโรคมะเร็ง 
นอกจากนี้ข่ายังช่วยขับลมแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่น จุกเสียด ขับเสมหะหลอดลมอักเสบ ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อเรียบ ต้านวัณโรค





6. ขิง




          ขิงมีฤทธิ์อุ่น ช่วยขับเหงื่อ ไล่ความเย็น ขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ช่วยให้เจริญอาหาร และทำให้ร่างกายอบอุ่น ในทางยานิยมใช้ขิงแก่ เพราะขิงยิ่งแก่จะยิ่งเผ็ดร้อนและจะมีใยอาหารมาก

          1. รักษาอาการคลื่นไส้อาเจียนโดยนำขิงแก่สด ประมาณ 2-3 เหง้ามาทุบพอแตกต้มกับน้ำ

          2. รักษาไข้หวัด โดยนำขิงแก่สด 7 กรัม และขิงแห้ง 2 กรัม ต้มกับน้ำตาลทรายแดง ดื่มเพื่อรักษาอาการ หรือใช้ขิงแก่ 2-3 เหง้า นำมาทุบให้ละเอียดต้มกับน้ำอาบเพื่อขับเหงื่อลดอาการไข้เนื่องจากหวัด

          3. รักษาอาการไอ ขับเสมหะ โดยนำขิงสดมาคั้นน้ำให้ได้ประมาณครึ่งถ้าวย ผสมน้ำผึ้งประมาณ 1 ช้อนชา ต้มกับน้ำ 2 ถ้วย ดื่มวันละ 3 ครั้ง หรือใช้ขิงสดฝนกับมะนาวเติมเกลือเล็กน้อย ใช้กวาดคอหรือจิบบ่อยๆ

          4. รักษาอาการปวดประจำเดือนในช่วงก่อนหรือระหว่างมีประจำเดือน โดยนำขิงแห้งประมาณ 30 กรัม ต้มกับน้ำ ดื่มบ่อยๆ

          5. แก้อาการท้องเสีย ท้องร่วง โดยใช้ขิงแห้งบดชงกับน้ำอุ่น ดื่มวันละ 1 ครั้ง

          6. รักษาแผลที่เกิดจากไฟไหม้หรือถูกน้ำร้อนลวก โดยตำขิงสดให้ละเอียด นำกากมาพอกที่แผลเพื่อบรรเทาอาการอักเสบเป็นหนอง

          7. รักษาอาการปวดฟัน โดยนำขิงแก่ทุบให้ละเอียดคั่วกับน้ำสารส้มจนเกรียม แล้วบดจนเป็นผง พอกบริเวณ 





7. คึ่นช่าย





สรรพคุณทางยาของคึ่นช่ายเหล่านี้ชาวยุโรปรู้จักกันดี 

ถ้าไปค้นในประวัติศาสตร์โบราณของยุโรปก็จะพบว่ามีการใช้สมุนไพรชนิดนี้อย่างกว้างขวาง 

รวมไปถึงมีการแนะนำให้ใช้คึ่นช่ายเพื่อรักษาโรคนอนไม่หลับ โรคอ้วน โรคประสาท มะเร็งหลายชนิด 

ใช้ขับประจำเดือน และกินแล้วทำให้เกิดการแท้งลูกได้ 

รวมทั้งยังเชื่อว่าคึ่นช่ายยังมีฤทธิ์ในการกระตุ้นกำหนัดและบำรุงประสาทอีก ด้วย

ชาวกรีกโบราณมีการทำไวน์คึ่นช่ายเพื่อให้นักกีฬากิน และใช้เป็นยาสมุนไพรมาอย่างยาวนาน 

ชาวเอเชียรู้จักใช้คึ่นช่ายเป็นยาลดความดันมาประมาณ 2000 ปี 

ชาวจีน ชาวเวียดนามแนะนำให้รับประทานคึ่นช่ายวันละ 4 ต้น 

เพื่อรักษาความดันให้เป็นปกติ แพทย์อายุรเวทในอินเดียจะสั่งจ่ายเมล็ดคึ่นช่ายเพื่อขับปัสสาวะสำหรับผู้ป่วยที่บวมน้ำ

- ราก แก้จุกเสียด ขับน้ำเหลืองเสีย ขับปัสสาวะ ต้น ขับระดู แก้ความดันโลหิตสูง ขับปัสสาวะ แก้อาการเมา เหล้า แก้อาเจียน รับประทานมากทำให้เป็นหมันได้ 

- ใบ แก้โรคความดันโลหิตสูง แก้อาการตกเลือด แก้โรคลมพิษ เมล็ด ขับลม ขับระดู ขับปัสสาวะ แก้อาการเกร็งของกล้ามเนื้อเป็นยาบำรุง บำรุงหัวใจ ทั้งต้น ลดความดันโลหิต ขับระดู เป็นต้น





8.  บวบ





           คุณค่าอาหารในส่วนที่รับประทานได้ 100 กรัมประกอบด้วย พลังงาน 18 กิโลแคลอรี น้ำ 95.4 กรัม โปรตีน 0.7 กรัม ไขมัน 0.2 กรัม คาร์โบไฮเดรต 3.3 กรัม แคลเซียม 5 มิลลิกรัม ฟอสฟอรัส 24 มิลลิกรัม เหล็ก 0.7 มิลลิกรัม วิตามินเอ 5 ไมโครกรัม และวิตามินซี 15 มิลลิกรัม ใบบวบเหลี่ยมใช้ต้มดื่ม ขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเป็นเลือด ขับเสมหะ ถอนพิษไข้ แก้ริดสีดวงทวาร ถอนพิษแมลงกัดต่อย แก้คัน ผลบวบบำรุงร่างกาย ลดไข้ แก้ร้อนใน ระบายท้อง ขับเสมหะทำให้ชุ่มคอ รากใช้ต้มดื่มแก้อาการบวมน้ำ ระบายท้อง





9. ใบเตย





            เตยมีประโยชน์หลายส่วน เช่น ใบเตยนิยมนำมาต้มเป็นเครื่องดื่มเพื่อบำรุงหัวใจ ดื่มแล้วรู้สึกชุ่มชื่น ดับกระหาย ในกลุ่มผู้ป่วยดื่มเพื่อบำรุงกำลัง หรือนำใบเตยมาตำและพอกรักษาโรคผิวหนัง ลำต้นและรากนิยมใช้เป็นยาขับปัสสาวะ แก้น้ำเบาพิการ โดยการนำรากจำนวนครึ่งกำมือมาต้มดื่มเป็นต้น

           นอกจากนี้สีเขียวและกลิ่นหอมของใบเตยยังทำให้ผู้คนนิยมนำมาคั้นน้ำเพื่อเป็นสีผสมอาหาร ช่วยให้อาหารมีสีเขียวสวยและหอมน่าทานมากยิ่งขึ้น





10. ถั่วฝักยาว





- ใบ ใช้สด 60-100 กรัม ต้มกับน้ำเป็นยารักษาโรคหนองในและปัสสาวะเป็นหนอง

- เปลือกฝัก ใช้สด 100-150 กรัม ต้มกิน ใช้ภายนอกโดยการพอกตำ จะเป็นยารักษาอาการปวดบวม ปวดตามเอว และแผลที่เต้านม

- เมล็ด ใช้แห้งหรือสดต้มกินกับน้ำหรือคั้นสดจะมีรสชุ่มชื่นเป็นยาบำรุงม้ามและไต แก้กระหายน้ำ อาเจียน ปัสสาวะกระปริบปรอย และตกขาว

- ราก ใช้สดต้มกับน้ำหรือตุ๋นกินเนื้อใช้รักษาภายนอกโดยการพอกหรือนำมาเผาแล้วบดให้เป็นผงละเอียดผสมกับน้ำทาใช้เป็นยารักษาโรคหนองในที่มีหนองไหล บำรุงม้าม ส่วนการใช้ภายนอกนั้น ใช้รักษาฝีเนื้อร้ายและช่วยให้เนื้อเจริญเร็วขึ้น








ฮะฮ่า ผักอ่ะไม่อร่อยก็จริงบางคนยังไม่กินเลย  แต่ประโชนย์ของมันเนี่ยดีต่อร่างกายน้าา





แสดงความคิดเห็น

>

3 ความคิดเห็น