Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

คำว่าเด็กสาว, เด็กหนุ่ม, หญิงสาว และชายหนุ่ม ควรมีช่วงอายุเท่าไร?

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ถ้าเอาแบบจริงจังไปสืบมาได้ว่า 
  • ความหมายในระดับสากล โดย สหประชาชาติ ระบุว่า เยาวชน หมายถึง คนในวัยหนุ่มสาว คือ ผู้มีอายุระหว่าง ๑๕ - ๒๕ ปี หรือเป็นช่วงวัยหนุ่มสาว. เป็นช่วงหัวเลี้ยวหัวตอกระหว่างการเป็นเด็กและผู้ใหญ่. เป็นช่วงที่กังวลเกี่ยวกับรูปลักษณ์และสิ่งรอบตัวมากเป็นพิเศษ. ISBN 1-59033-727-1

ส่วนคำว่าเด็กหญิงเด็กชายก็คงใช้กับ เด็กอายุตั้งแต่ 14 ลงไป

แต่ในวงวรรณกรรมต่างๆ ควรใช่ เด็กสาว เด็กหนุ่ม ในช่วงวัยไหนกันแน่

เพราะเคยเห็นมีคนคอมเมนท์ว่า อายุ 20 ทำไมบรรยายว่า "เด็กสาว"

ควรใช้ "ชายหนุ่ม" "หญิงสาว" 

จึงอยากทราบคำจำกัดความของคำว่า เด็กสาว, เด็กหนุ่ม, หญิงสาว และชายหนุ่ม

ว่าควรมีช่วงอายุในวัยไหนกันแน่?

..................

ปล. เห็นกระทู้น้อยเลยแอบมาปั้มกระทู้เล่น 55555 (แอบสะใจเล็กๆ)

แสดงความคิดเห็น

>

17 ความคิดเห็น

Lenestria 28 ส.ค. 56 เวลา 21:41 น. 1

อืม....สำหรับผมนะครับ

เด็กชาย/เด็กหญิง ผมจะใช้กับอายุ 5 - 10 ปี

เด็กหนุ่ม/เด็กสาว ผมจะใช้กับอายุ 11 - 18 ปี

ชายหนุ่ม/หญิงสาว ผมจะใช้กับอายุ 19 - 35 ปี

ชายวัยกลางคน/หญิงวัยกลางคน ผมจะใช้กับอายุ 40 - 60 ปี

แล้วก็ ชายชรา/หญิงชรา ผมจะใช้กับอายุ 60 ปีขึ้นไปครับ


ป.ล. คหสต. นะครับ 

0
Lenestria 28 ส.ค. 56 เวลา 21:43 น. 2

ป.ล. จขกท. ถามแค่ เด็กหนุ่ม เด็กสาว ชายหนุ่ม หญิงสาว แต่ผมก็ขอแถมให้ละกันครับ

0
HIYU 29 ส.ค. 56 เวลา 01:33 น. 6

แล้วถ้าเด็กสาว ม.ปลายอายุ 16 แต่หน้าตารูปร่างโลลิเหมือนเด็กประถมล่ะคะ?

0
Kuroi 29 ส.ค. 56 เวลา 09:54 น. 7
สำหรับผมนะครับ
เด็กชาย/เด็กหญิง = 5-13 (พ้นคุกเมื่อไหร่ก็ไม่ต้องเรียก)
เด็กหนุ่ม/เด็กสาว = 13-18 (ช่วงวัยรุ่น)
ชายหนุ่ม/หญิงสาว = >18 (ไม่รู้ลิมิตเพราะยังไม่เคยใช้มากกว่านั้น)
ถึงอย่างนี้ก็อาจจะมีหยวนได้ปีสองปี ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของตัวละครว่าเหมาะจะเรียกแบบไหนมากกว่า (ยกตัวอย่าง 14 เรียกเด็กหญิงเพราะนิสัยเด็กมาก)
0
Anemone2526 29 ส.ค. 56 เวลา 11:16 น. 9

ต้องถามว่าเราเขียนนิยายย้อนยุคหรือปัจจุบัน

ถ้าหากเขียนปัจจุบัน อายุ 20 ก็ถือว่าบรรลุนิติภาวะ ทำธุรกรรมทางการเงิน เข้าเธค(ไม่ใช่แระ) ก็ถือว่าเป็นผู้ใหญ่ ไม่มีกฎหมายอะไรมาควบคุม

แต่ถ้าประเด็นเรื่องเด็กสาว เด็กหญิงเนี่ย มันก่ำกึ่งทางอายุและสรีระ ถ้าเอาบรรทัดฐานตามกฎหมาย ห้ามมีการจับเด็กหญิงแต่งงานไม่เกินอายุ 17 แต่ถ้าอายุ 17 อยากแต่งแล้ว พ่อแม่เด็กสาวต้องยินยอม ต่อให้ลูกว้อนอยากแต่งแค่ไหนก็ไม่ได้ ไม่งั้นอิเจ้าบ่าวโดนงับ(โดนจับในภาษาเหนือ) แต่พออายุ 20 ทีนี่สาวเจ้าอยากแต่ง ถึงพ่อแม่ไม่อนุญาตก็ทำได้ เพราะถือว่าเจ้าตัวเป็นผู้ใหญ่

สรุปคือถ้าเอามาตรฐานอายุแบบกฎหมาย 20 = บรรลุนิติภาวะ เรียก ชายหนุ่ม หญิงสาว

17 ปีขึ้นไป = เด็กหนุ่ม เด็กสาว
17 ปีลงไป = เด็กชาย เด็กหญิง

...แต่ถ้าเอาตามร่างกายว่า คือการฝันเปียกครั้งแรก หรือมีประจำเดือน ทีนี้อายุแต่ละคนเวลามันมายังไม่เท่ากันเลย ขนาดอิฉันมาครั้งแรกตอนอายุ 11 ปี

ถ้าเขียนแบบย้อนยุค นับเอาคนสมัยโบราณ เขามากำหนดอายุกันยาก ส่วนใหญ่คือถ้าเด็กหญิงเสียเลือดครั้งแรก(ประจำเดือน)พร้อมที่จะเป็นแม่พันธุ์(พูดจริงนะ)ได้แล้ว ก็ถือว่าเป็นผู้ใหญ่แล้ว

เคยอ่านเรื่องราชวงศ์ญี่ปุ่นสมัยเฮอันเมื่อพันปีที่แล้ว มีการทำพิธีเก็มปุคุ คือเปลี่ยนจากเด็กชาย คือตัดมวยผมแกละยาวออกเหลือเพียงมวยผมไว้ท้ายทอยเป็นผู้ชาย ตอนวัย 12 พอเปลี่ยนแล้ว จะไม่มีสิทธิ์พบหน้าผู้หญิงชนชั้นสูงที่ไม่ใช่ญาติตัวเองได้อีก (แต่ผู้หญิงชนชั้นล่าง อย่างคนรับใช้ โสเภณีก็ได้ เพราะสังคมผู้ชายเอื้อเรื่องแบบนั้น)

เช่นเดียวกับเด็กหญิง ก็มีพิธีโมงิ เปลี่ยนตัวเองจากเด็กหญิงเป็นหญิงสาว คือตัดผมหน้าม้าออก เลิกไว้ผมแกละ บางคนทำตอนอายุ 15 แต่บางคนก็ทำตอนอายุ 10 ขวบก็มี และเช่นเดียวกันคือไม่มีสิทธิ์พบหน้าผู้ชายทุกคน ยกเว้นญาติตัวเอง

พวกที่ผ่านพิธีเก็มปุคุและโมงิ มักเป็นลูกหลานชนชั้นสูง และแทบจะถูกจับแต่งงานกันทันที ไม่ค่อยมีเอ่อระเหยลอยชายเป็นหนุ่มสาวคนโสดนัก เพราะสังคมยุคนั้น การแพทย์ไม่ทันสมัย คนหนุ่มสาวบางทีก็ตายเร็ว จึงต้องรีบแต่งเพื่อรีบมีทายาท

แม้ญี่ปุ่นยุคหลังระบบโชกุนล่มสลาย หนุ่มสาวก็แต่งงานกันเร็วขึ้น อายุ 15 ก็ถือว่าแต่งเร็วแล้ว ส่วนอายุ 22 ปีนี่ถือว่าโอกาสแต่งงานช่างลางเลือน

ยังดีว่าทางฝรั่งไม่ค่อยจะจับลูกหลานแต่งงานตอนอายุไม่เกิน 15 ส่วนใหญ่จะรีบแต่งก่อนอายุ 20 เพราะสมัยวิคตอเรียนเนี่ย ผู้หญิงอายุ 20 ถือว่ารถด่วนขบวนสุดท้ายแล้ว (โชคดีที่เราเกิดในปัจจุบันเพิ่มจาก 30 เป็น 35 แล้ว)

...ส่วนนิยายโรแมนต์ มักจะเอาการเข้าพระเข้านางเป็นตัวตัดสินอายุได้เช่นกัน กรณีพวกพระเอกนักรัก นอนกับคนอื่นไปทั่ว มักจะใช้ฉากที่พระเอกได้เสียกับผู้หญิงอื่นเป็นครั้งแรก ว่านั้นเป็นการเปลี่ยนตัวเองจากเด็กหนุ่มเป็นผู้ชาย

เช่นเดียวกับนางเอก(ที่ซิง) ก็จะมีบทว่าเข้าฉากเลิฟซีนกับพระเอก มักบรรยายว่าพระเอกเป็นคนเปลี่ยนให้นางเอกจากเด็กสาวเป็นผู้หญิง (ผ่านการเสียเยื่อพรหมจรรย์)

1
leodragon 29 ส.ค. 56 เวลา 11:26 น. 10

ล้ำลึกมากพะยะคะ

ไม่เคยนึกถึงเรื่องประจำเดือนเลย

ขอคาราเมล เย้ย คาราวะ 1 จอก

ขอบคุณที่ให้ความรู้มากๆเลย

ซึ้ง

0
นลินรักษ์ 29 ส.ค. 56 เวลา 17:15 น. 11
โดยส่วนตัวเคยอ่านนิยายมา
ส่วนมากเห็นใช้คำนี้ไปตามการทำบัตรประชชาชนเลย
คือ
อายุ 15 ปีขึ้นไปเป็นเด็กสาว พอ   20 ขึ้นไปก็เรียกหญิงสาว
อายุ 14 ปีลงมาเรียกเด็กหญิง หรือถ้าดูเป็นสาวก็เรียกเด็กสาวก็ได้
ใช้กฏนี้กับผู้ชายเหมือนกัน หักลบการเรียก แก่อ่อนไม่เกิน 2-3  ปี
แต่ถ้าอายุ 20 ปีมาเรียก เด็กสาว อันนี้ใช้ในกรณี แอ๊บแบ๊ว (แต่ถ้าเห็นใครบรรยายแบบนี้ในฉากบรรยายถือว่าคนบรรยายคิดว่ายี่สิบปียังเด็ก แต่ตามหลักความจริงแล้วไม่ใช่ จะต้องใช้เกณฑ์แบบข้างต้นที่บอกมา จึงอ่านแล้วไม่ขัดความรู้สึก)
ทั้งนี้ทั้งนั้น ไม่เกี่ยวว่าจะหน้าอ่อนหรือหน้าแก่ เพราะการบรรยายลักษณะตัวละครในบริบทเพื่อสื่อถึงความจริงก็ต้องใช้หลักนี้ แต่ถ้าจะบรรยายเพิ่มเติมให้คนอ่านรู้ว่าชีแก่แล้วแต่หน้าเด็กก็ต้องขยายความไปอีกทีหนึ่งเช่น
หญิงสาวอายุราวยี่สิบปีต้นๆ คนหนึ่งกำลังยืนมองเด็กหนุ่ม(ซึ่งโดยนัยยะปกติคือหมายถึงผู้ชายที่อายุระหว่าง 13-19 ปี)คนหนึ่งที่พายเรืออยู่ในคลอง พอเขาหันมาก็ตะลึงเพราะความสวยน่ารักของเธอและคิดว่าเด็กสาว(หรือเด็กหญิงก็ได้ถ้าในความคิดพระเอกคิดว่าอย่างนั้น)คนนี้หน้าตาน่าเอ็นดูเหลือเกิน ทั้งสวย ทั้งน่ารักปนกันแต่ก็ดูเหมือนจะมีบุคลิกของผู้ใหญ่แฝงอยู่ด้วย (แน่ล่ะ ชีอายุยี่สิบสามแล้ว บลาๆๆ)
ประมาณนี้จ้ะ
0
นลินรักษ์ 29 ส.ค. 56 เวลา 17:23 น. 12

ลืมบอกประเด็นเรื่องถ้าเป็นนิยายย้อนยุค
ไม่ต้องไปสนใจว่าจะยุคไหน เพราะเกณฑ์นี้คือมาตรฐานในการกำหนดการใช้คำเรียกจำพวกนี้แบบเป็นกึ่งกลางอยู่แล้ว (หมายความว่าเราแต่งนิยายในยุคที่ใช้เกณฑ์นี้เป็นหลัก ส่วนถ้าไปอยู่ยุคอื่นก็ต้องขยายความให้คนอ่านรู้อีกทีหนึ่งว่าช่วงเกณฑ์อายุของคนที่นั่นเรียกว่าเป็นหนุ่มเป็นสาวกันเมื่อไหร่อีกทีหนึ่ง)
ซึ่งหมายความว่าผู้แต่งต้องทำการบ้านเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว

โดยส่วนตัวแต่งนิยายย้อนยุคอยู่จึงชินและค่อนข้างมั่นใจว่าเป๊ะในการแยกแยะการใช้คำจำพวกนี้ในระดับหนึ่งเลยอยากมาแชร์ (เคยคิดจะทำบทความให้ความรู้เรื่องนี้อยู่เหมือนกันแต่ขี้เกียจซะก่อนค่ะ)

0
leodragon 29 ส.ค. 56 เวลา 17:50 น. 13

ขอบคุณมากคะ

เชียรให้ทำบทความเลยคะ เพราะเชื่อว่ามีหลายคนที่ยังไม่รู้

เห็นตามคอมเมนท์นิยายท่านอื่นๆ ตินั้นตินี้ ในสิ่งที่ไม่รู้ว่าความรู้ที่มีนั้นจริงเท็จแค่ไหน

ว้าว

0
โว้มันมือ 29 ส.ค. 56 เวลา 20:00 น. 14

คำนี้ ถ้าจะเอาในหนังในนิยายและการ์ตูนมาเปรียบเทียบว่าทำไม ทำไมถึงพูดแบบนั้น เพราะว่าคำนั้นมัน

เป็นได้ทั้งคำ ยกย่องเชิดชูไห้เกียรติและ เป็นได้ทั้งคำเสียดสีดูถูกเหยียบหยามนั่นเอง อย่างเช่นตัวละคร

ที่เป็นเด็กแต่เก่งกาจสู้กับคนหลายๆคนได้ในเวลาเดียวกัน แล้วทีนี้ก็จะมีคนพูดขึ้นมาว่า โอ้ฝีมือไช้ได้เลย

นี่ เจ้าเด็กหนุ่ม มันเป็นคำยกย่องว่า ตัวเล็กเป็นเด็ก แต่มีกำลังและเก่งเหมือนผู้ใหญ่นั่นเอง ส่วนคำที่เรียกคนหนุ่มว่า เจ้าเด็กน้อยนั้น มันเป็นคำดูถูกหยาม ว่าตัวโตแต่มีกำลังและความสามารถเหมือนเด็กเมื่อ

เทียบกับความสามารถของตัวเองยังไงหล่า มันเป็นคำที่ยกย่องและหยามนั่นเอง อย่าไปด่าในใจ กับคนทำหนังคนพากย์คนเขียนการ์ตูนนิยายหล่าว่า แม่งโง่หว่าตัวละครตัวนั้น ตัวโตแล้วยังเรียกว่า เด็กน้อยอยู่

อีกนะ และคำว่าเด็กน้อยเด็กหนุ่มนั้นก็เป็นคำที่คนแก่อายุ70-80-90 เรียกคนที่อายุ20-30-40ได้เหมือนกันเพาะในสายตาของพวกเขาแล้วคนที่อายุน้อยกว่าหลายสิบปี ยังคงเป็นเด็กอยู่เหมือนเดิมดังนั้น

คนที่อายุ70-80เรียกคนที่อายุ20-30ได้เหมือนกันไม่จำเป็นต้องไช้กับคนที่อายุ10ขวบ+อย่างเดียว ถ้าจะเอาคำพวกนั้นไปเขียนนิยาย ก็ไช้ไห้ถูกกาลเทศะด้วยหล่าอย่าเอาไปไช้พ่ำเพื่อ เพื่อไห้ดูแท่อย่างเดียว

สรูปเลยก็คือเวลาไปเจอคำพวกนี้ในหนังนิยายการ์ตูนก็อย่าเพิ่งด่วนด่าเขาว่าเขาโง่ไช้คำผิดนะ

0
KimRN1326 2 ส.ค. 60 เวลา 08:44 น. 15

เราคิดว่าช่วงประมาณ 17-24 น่าจะเรียกว่าเด็กสาว 25ปี ขึ้นไปน่าจะเป็นหญิงสาวแล้ว เพราะว่าผ่านเบจเพศมาแล้ว5555 แต่อันนี้เราก็ยังไม่ชัวร์ อยู่ๆมันก็ผุดขึ้นมาเอง อาจจะเป็นไปได้หรืออาจจะเป็นไปไม่ได้555

0
นํ้ามนต์ 8 มี.ค. 64 เวลา 20:05 น. 16

สำหรับหนูนะค่ะถ้าอายุ 5-12 หนูจะเรียกว่า เด็กหญิง-เด็กชาย ถ้าอายุ 13-18 หนูจะเรียกว่าเด็กสาว-เด็กหนุ่มถ้าอายุ 19-41หนูจะเรียกว่าหญิงสาว-ชายหนุ่มถ้าอายุ 42-65 หนูจะเรียกว่า หญิงวัยกลางคน-ชายวัยกลางคนถ้าอายุ 65+ หนูจะเรียกว่า หญิงชรา-ชายชราค่ะ







0
ชื่อของคุณ 27 พ.ค. 66 เวลา 14:00 น. 17

ฉันคิดว่า มันอาจจะแล้วแต่มุมมองของผู้เขียนนะคะ ส่วนสำคัญคือ ระบุอายุตอนแนะนำตัวละคร แบบคร่าว ๆ ประกอบ ก็จะเข้าใจตัวเลข ถ้าเป็นฉันตอนเขียนนิยาย จะยึดตามนี้คือ เพราะตอนสมัยเรียนหนังสือ ม.1-3 ก็ยังเขียนบนปกสมุดว่า เด็กหญิงชื่อ... ส่วน ม.4-6 ปี 1 นางสาว แบบยังต้องมีผู้ปกครองเซ็นรับรองทุกอย่าง ปี 2 อายุ 20 ปี ขึ้นไป ก็ นางสาว ยาว ๆ แบบสามารถเซ็นเองได้หมด อายุ 1-15 ปี ม.3 = เด็กหญิง เด็กชาย (เด็กน้อย โชตะ โลลิ)

อายุ 16-19 ปี เฟรชชี่ = เด็กสาว เด็กหนุ่ม (วัยรุ่น)

อายุ 20-39 ปี วัยทำงาน = หญิงสาว ชายหนุ่ม (ช่วงเวลาทองของชีวิต)

อายุ 40-59 ปี ผู้อาวุโส = หญิงวัยกลางคน ชายวัยกลางคน (ครึ่งชีวิต)

อายุ 60+ ปี เกษียณ = หญิงชรา ชายชรา (บั่นปลายชีวิต) ฉันรู้สึกสะดวกใจกับการใช้คำรูปแบบนี้ค่ะ แต่ก็ไม่เคยไปเช็กตำราว่า แบบนี้ถูกหรือไม่หรอกนะ

0