Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

ขอบ่นหน่อย ทำไมเด็กไทยเดี๋ยวนี้ไม่รู้จักขวนขวายเลย + บทความที่ทุกคนควรอ่าน!!

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
ภาษาอังกฤษตัวเองไม่ดี สู้คนอื่นเค้าไม่ได้ อย่ามัวแต่โทษคนอื่น หันมามองตัวเองดูบ้างว่าทุกวันนี้เราได้พยายามมากพอหรือยัง ครูไม่เก่ง ไม่มีที่เรียนพิเศษ แต่ความรู้ไม่ได้มีอยู๋แค่จากสองที่นั้น เด็กไทยทุกวันนี้ขาดคุณสมบัติการ "ขวนขวาย"ค่ะ ใช้ปากอย่าง เดียว ไม่คิดจะใช้สมองคิดหรือใช้ตาอ่านเลย เอาง่ายๆแค่ในเพจของพี่มีคนถามพี่หลายคนมากว่าชื่ออะไร อยู่ที่ไหน ยังเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนอยู๋หรือเปล่า ทั้งๆที่เขียนรายละเอียดส่วนตัวไว้หมดแล้วในหน้า About เจอแบบนี้แล้วมันทั้งเศร้า ทั้งรำคาญทั้งหดหู่ใจอธิบายไม่ถูก

ลองคิดดูนะคะ คนที่เค้าประสบความสำเร็จทุกวันนี้เค้าโตมาในสมัยที่ยังไม่มีคอมพิวเตอร์ ไม่มีอินเตอร์เนต จะทำรายงานต้องไปนั่งอ่านหนังสือในห้องสมุด แล้วเขียนทีละหน้า เราสบายเกินไปจนหลงลืมไปแล้วไหมว่าความรู้น่ะมันหาได้แค่ปลายนิ้วมือ?!

หยุดเถอะค่ะ -พฤติกรรมปากบ่นว่าคนอื่นแต่ตัวเองไม่ทำอะไรเลยเนี่ย น้องโทษคนได้ทั้งโลกแหละตั้งแต่คุณพ่อคุณแม่ คุณครู ระบบการศึกษาไทย นายกปู แต่ไม่มีใครที่จะมอบ "การรู้จักขวนขวายหาความรู้" ให้กับน้องได้ เลิกบ่นแล้วเริ่มปฏิบัติกันนะคะ คิดให้มากขึ้น อ่านให้มากขึ้น ฟังให้มากขึ้น

ฝากไว้ให้คิดนะ
P'Zeem


Facebook : Dek Thai Klai Baan เด็กไทยไกลบ้าน
Blog  : http://dekthaiklaibaan.blogspot.com/
YouTube : https://www.youtube.com/user/dekthaiklaibaan

Email: dekthaiklaibaan@gmail.com



ป.ล. บทความข้างล่างนี้ทุกคนควรอ่านแล้วคิดตาม


- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

‘สุรินทร์’ ชี้ รัฐฯต้องเร่งปฏิรูปการศึกษาก่อนสายเกินกู้กลับ

รัฐบาลต้องให้ความสำคัญกับดัชนีชี้วัดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยที่ลดลงเกือบทุกด้าน ในขณะที่ทุกประเทศในอาเซียนต่างมุ่งมั่นเสริมสร้างสมรรถนะของตนเองก่อนเข้าสู่ประชาคมฯในปี 2558, ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียนกล่าวแสดงความคิดเห็น

จากการที่องค์กร เวิลด์ อีโคโนมิค ฟอรัม (WEF) ได้เสนอรายงานผลการศึกษา ความสามารถในการแข่งขันโลก (Global Competitiveness Report 2013-2014) เมื่อเร็วๆนี้ โดยชี้ว่าคุณภาพการศึกษาทั้งระดับพื้นฐานมัธยมและอุดมศึกษาของไทยอยู่ในระดับรั้งท้ายหลายประเทศในภูมิภาคอาเซียน โดยใช้คำว่า “คุณภาพต่ำอย่างผิดปกติ” ดร. สุรินทร์กล่าวว่า “นับเป็นเรื่องที่น่าห่วงกังวลยิ่ง เพราะมันสะท้อนถึงความไม่เชื่อถือยอมรับในคุณภาพการศึกษาไทยโดยรวม และจะส่งผลให้ความเชื่อมั่นในประเทศด้านอื่นๆในอนาคตต้องถูกกระทบกระเทือนไปด้วย”

สิ่งที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งอีกประการหนึ่งคือการที่รายงานฉบับนี้กล่าวว่า “ความไม่มีเสถียรภาพทางการเมือง ความไม่ต่อเนื่องทางด้านนโยบาย ระบบราชการที่ซับซ้อนไร้ประสิทธิภาพ การทุจริตคอรั่ปชั้นที่แพร่หลาย ระบบพรรคพวกเส้นสาย” ทำให้ความเชื่อมั่นในสถาบันสาธารณะของไทยต่ำลง มีผลกระทบโดยตรงต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

ดร. สุรินทร์กล่าวว่า ทางออกสำหรับประเทศไทยคือการรีบเร่งปฏิรูปการศึกษาอย่างจริงจัง ทั้งในด้านการจัดระบบองค์กร คุณภาพการเรียนการสอนและทรัพยากรด้านสื่อ ห้องสมุดและแล็บทดลองต้องครบครั

“เราใช้งบประมาณด้านการศึกษาปีละกว่า 5 แสนล้านบาท (งบประมาณ 2556) คิดเป็นกว่าร้อยละ 20 ของงบประมาณแผ่นดิน มีบุคลากรเฉพาะในกระทรวงศึกษาธิการเกือบ 5 แสนคน มีอาจารย์ระดับอุดมศึกษา 56,180 คน ถึงกระนั้นรายงานของ WEF ยังกล่าวว่าการศึกษาของไทยมีคุณภาพต่ำอย่างผิดปกติ อย่างนี้ต้องรีบเร่งแก้ไขแน่,” ดร. สุรินทร์กล่าว

อีกประเด็นหนึ่งที่รัฐบาลต้องเร่งรีบให้ความสำคัญคือการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัย และ นวัตกรรม ซึ่งจะเป็นปัจจัยเพิ่มพูนความสามารถในการแข่งขันของประเทศในระยะยาว แต่กลับได้รับงบประมาณน้อยมากเพียง 19,636 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 0.8 ของงบประมาณแผ่นดิน หรือ 300 บาทต่อหัวประชากรประเทศ

รายงานของ WEF กล่าวว่า “ตัวถ่วงความสามารถในการแข่งขันด้านนวัตกรรมของประเทศไทยคือ การที่รัฐบาลลงทุนในด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมขั้นสูง น้อยมากๆ (เมื่อเทียบกับประเทศอื่น) อีกทั้งจำนวนสิทธิบัตรที่นักวิทยาศาตร์และนักประดิษฐ์ไทยจดทะเบียนทั้งในและนอกประเทศก็อยู่ในอันดับท้ายๆของโลก”

“ประกอบกับนักธุรกิจและนักลงทุนมีความเชื่อมั่นในการพัฒนานวัตกรรมองค์กรธุรกิจ และสถาบันอุดมศึกษาของไทยในระดับต่ำมาก,” ดร. สุรินทร์อ้างบทสรุปจากรายงานของ WEF

มีบทวิเคราะห์หลายฉบับที่ตั้งข้อสังเกตุว่า หลายประเทศในอาเซียน รวมทั้งประเทศไทย จำเป็นต้องยกระดับเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม กระบวนการผลิตและการบริการจากการใช้แรงงานถูก เข้าสู่การใช้วิทยาศาตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมใหม่ๆ มิเช่นนั้นจะติดอยู่ในบ่วงที่เรียกว่า “กับดักรายได้ปานกลาง” (Middle Income Trap) จะไม่มีวันเข้าสู่กลุ่มประเทศที่มีรายได้สูง

และยังมีผลสำรวจทักษะความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษของคนไทยหลายต่อหลายครั้งพบว่ายังรั้งท้ายด้านภาษาซึ่งเป็นเครื่องมือสำหรับการแข่งขันบนเวทีภูมิภาคอาเซียนและในตลาดโลก เช่นในปี 2555 ดัชนีวัดระดับความรู้ทางภาษาอังกฤษ ของ Education First (EF English Proficiency Index- EPI) ของคนไทยอยู่ในลำดับ 53 ของ 54 ประเทศที่ได้รับการสำรวจ ดีกว่าประเทศลิเบียซึ่งอยู่ในภาวะสงครามการเมือง
“อันนี้ เป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งเพราะกฎบัตรอาเซียนกำหนดว่าภาษาอังกฤษคือภาษาใช้งานของอาเซียน เอกสารทุกชิ้น การประชุมทุกครั้ง การต่อรองทุกเรื่อง จะต้องใช้ภาษาอังกฤษเท่านั้น และเราจะสื่อกับใครด้วยภาษาอะไรในประชาคมอาเซียน”

ดร. สุรินทร์อธิบายประกอบว่าเยาวชนไทยมีเครื่องมือไอทีและโทรศัพท์มือถือกันเกือบทุกคน เพียงแต่ว่าไม่ได้ใช้ค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มพูนปัญญาจากขุมความรู้ไซเบอร์ เอาแต่ใช้เพื่อความสนุก เล่นเกมส์ และติดตามข่าวบันเทิง มากกว่า จึงมีสถิติออกมาว่าคนไทยใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อหาข้อมูลน้อยเมื่อเทียบกับจำนวนเครื่องมือไอทีที่มีอยู่
ทักษะภาษาอังกฤษที่สูงขึ้นในทุกประเทศได้นำไปสู่การยกระดับคุณภาพของการศึกษาในห้องเรียน จะเปลี่ยนพลวัตร และปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนไปโดยปริยาย เพราะนักเรียนจะมีข้อมูลมากขึ้นจากแหล่งข้อมูลไซเบอร์ ซึ่งจะมีผลบังคับให้ครูผู้สอนต้องเตรียมการสอนมากขึ้นเพื่อรับมือกับเด็กที่ค้นหาข้อมูลมาล่วงหน้า


“จะเห็นได้ว่าภาษาอังกฤษจะเป็นกุญแจที่สำคัญนำไปสู่การปฏิรูปการศึกษาที่ประเทศไทยพยายามมานานแล้ว เพราะเด็กจะมีข้อมูลมากขึ้น จะตั้งคำถามมากขึ้น จะสามารถวิเคราะห์ปัญหา แลกเปลี่ยนความเห็นกับครูได้ดีขึ้น บรรยากาศในห้องเรียนจะเปลี่ยนไป ไม่เป็นแต่เพียงการบรรยายของครู และการท่องจำของนักเรียนอีกต่อไป” ดร. สุรินทร์กล่าว

แต่ทั้งหมดนี้จะไม่เกิดขึ้นถ้าไม่ปฏิรูปการบริหารจัดการกระบวนการศึกษาของประเทศเสียใหม่

ดร. สุรินทร์กล่าวให้ความเห็นเพิ่มเติมว่าจำเป็นต้องผ่าตัดกระทรวงศึกษาธิ การออกเป็นสามองค์กร แยกออกจากกันคือ ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระดับมัธยมและอาชีวะศึกษา และระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้เพราะภารกิจทางด้านการศึกษา จำนวนบุคลากร และงบประมาณ ยิ่งใหญ่ สำคัญ และซับซ้อน เกินกว่ากระทรวงเดียวจะดูแลบริหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ความอยู่รอดของไทยในประชาคมอาเซียนและประชาคมโลกขึ้นอยู่กับความสามารถในการแข่งขันของคนไทย การศึกษาที่มีคุณภาพเท่านั้นที่จะประกันความเชื่อมั่นของชาวโลกต่อบทบาทของไทยในอนาคตได้

หวังว่ารายงานของ WEF ในปีหน้าจะปราณีประเทศไทยมากกว่าปีนี้ และจะสะท้อนความเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้นของระบบการศึกษาไทย

แสดงความคิดเห็น

>

48 ความคิดเห็น

pat14134 12 ก.ย. 56 เวลา 15:15 น. 1

คือ..ประเทศไทยมีความภาคภูมิใจมากนะ กับการที่ไม่เป็นประเทศภายใต้การปกครองของชาติล่าอาณานิคม .... แต่พึ่งระลึกถึงอีกด้านนะค่ะ การที่เราจะตกเป็นประเทศของชาติล่าอาณานิคมก็มีข้อดีนะค่ ตัวอย่าเช่น เวียดนาม ที่ตกเป็นประเทศของชาติล่าอาณานิคม เขาพูดภาษาอังกฤษได้ดีกว่าเราอีก
ป.ล. ถ้าข้อมูลใดผิดพลาดก็ขออภัย
และอีกอย่าหนึ่ง ขนาดภาษาไทยเด็กสมัยนี้ยังพูด เขียน หรือแทบจะอ่านไม่ได้ ใช้ข้ออ้างแค่ว่าใช้คุยกับเพื่อนเท่านั้น
แต่เด็กก็ติดเป็นนิสัย ขนาดเขียนการบ้านสงอาจารย์ยังเขียนเป็นภาษาพูด..นี้แหละ คำว่า มักง่าย ความสดวก สบาย เด็กไทย 

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

เว็บไซต์ Dek-D.com ขอสงวนสิทธิ์ในการงด โพสต์ข้อความซื้อ/ขาย/แลกเปลี่ยน/โฆษณา สินค้าทุกชนิดในเว็บบอร์ด เพื่อไม่ให้เป็นการรบกวนผู้ใช้งานท่านอื่น

เด็กไทย 12 ก.ย. 56 เวลา 22:18 น. 4

พอดีหนูเรียนรู้ภาษาอังกฤษจากประสบการณ์จริงค่ะ คือฟังเพลง ดูหนังต่างประเทศ ไม่ใช่นั่งเรียน

พอดีอาจารย์ที่โรงเรียนสั่งงานประมาณว่าจะไม่ให้นักเรียนทำอะไรเลยอ่ะคะนอกจากการบ้าน ตั้งแต่ขึ้นมัธยมมากลับถึงบ้าน 2 ทุ่มค่ะ นอนเที่ยงคืนคะ อยากถามเหมือนกันว่าวิชาเสริมนี่เอาเพิ่มให้นักเรียน หรือเอามาขังนักเรียนหรอค่ะ แทนที่จะเอาเวลานั้นให้นักเรียนว่าง คลายเคลียด บางคนก็จะได้เอาเวลานี้แหล่ะค่ะหาความรู้ที่ควรจะรู้ หรืออยากรู้ ถ้าผู้ใหญ่กำหนดว่าเด็กควรจะรู้อะไร เด็กไม่อยากรู้จริงๆหรอกค่ะ ทำพอส่งๆ ส่งได้คะแนน เคยมีครูคนนึงเม้นในเฟสบุ๊คนะคะ แล้วสะดุดกับประโยค(ประมาณ)นี้ค่ะ 'ผู้ใหญ่มีแต่บอกให้เด็กทำนู่นทำนี่ กำหนดกรอบความคิดของเด็ก สอนเด็กว่าเดินตามผู้ใหญ่หมาไม่กัด แล้วแบบนี้เด็กจะรู้มั้ยค่ะว่าหมาตัวไหนกัด หมาตัวไหนไม่กัด'

ณ จุดจุดนี้ ยังไม่รู้เลยค่ะว่าพวกวิชาเสริมเนี่ย เอามาให้่เด็กมีความรู้เพิ่มขึ้นหรือเอามาลดเวลานอนของเด็ก

#ลองคิดดูนะคะ คนที่เค้าประสบความสำเร็จทุกวันนี้เค้าโตมาในสมัยที่ยังไม่มีคอมพิวเตอร์ ไม่มีอินเตอร์เนต จะทำรายงานต้องไปนั่งอ่านหนังสือในห้องสมุด แล้วเขียนทีละหน้า#
แล้วการศึกษาสมัยก่อนเหมือนกับสมัยนี้หรอค่ะ ?? สมัยนี้มีหรอค่ะ เรียนร้อยพวงมาลัย เรียนหุงข้าว (อ้างอิงจากแค้นสเน่หาค่ะ) เรียนเครื่องดนตรีไทยนี่ก็เริ่มจะหายไปแล้ว อยากเรียนอะไรที่ตัวเองรักที่ตัวเองชอบก็ไม่ได้เรียน ความจริงเด็กไทยเก่งไม่แพ้ชาติใดในโลกหรอกค่ะ แต่เด็กไทยแค่ไม่ได้ทำในสิ่งที่ตัวเองรัก อย่างน้อยก็หนูคนนึงค่ะ ยอมรับค่ะว่าติ่งดารานักร้อง แล้วก็อยากเป็นนักร้องนักแสดง แต่ทางบ้านอยากให้เราเรียนมากกว่า ตอนนี้อยู่ห้องกิฟค่ะ เรียนน่ะไม่เท่าไหร่ แต่งานนี่สิ สั่งมาอย่างกับเรียนวิชาเดียว อยากให้ความสุขตัวเองไม่เต็มที่ คอยพะวง หนังสือก็ยังไม่อ่านสอบ งานก็ยังไม่ทำ หรือทำไม่เต็มที่ นี่แหล่ะคะเด็กไทยถึงชอบลอกกัน

ความจริงมันไม่ดีทุกฝ่ายค่ะ จริงค่ะที่คุณบอกเด็กไทยไม่ชอบขวนขวาย แต่มันก็แล้วแต่คน คิดเอานะคะถ้าเด็กไทยเก่งทุกคนจะเป็นอย่างไร มากไปก็ไม่ใช่ น้อยไปก็ไม่ดี

#ขอบคุณที่อ่านค่ะ บ่นนิดบ่นหน่อยอย่าว่ากัน ของขวัญ

0
*++จOมวิปลาสกร:หาย nรัwE !!++* 12 ก.ย. 56 เวลา 22:31 น. 5

สรุปว่าเด็กไทยชอบขวนขวายแต่ไม่มีเวลาขวนขวายเพราะงานที่โรงเรียนให้มาทำเยอะไปจนไม่มีเวลาหาความรู้อย่างอื่นใส่ตัว?

0
*++จOมวิปลาสกร:หาย nรัwE !!++* 12 ก.ย. 56 เวลา 22:36 น. 7

อันนี้ก็เข้าใจนะ เพราะตอนพี่เรียนก็เป็นแบบนั้น แต่บางทีอะไรง่ายๆแบบใช้ commonsense อย่างตัวอย่างเรื่องการถามชื่อที่บอกไปข้างต้นมันก็ทำให้เห็นว่าไม่ใช่แค่ประเด็นไม่มีเวลาอย่างเดียว แต่ไม่สนใจด้วย

พูดตรงๆตอนนี้พยายามทำทุกวิธีทางให้น้องๆหันมาสนใจสิ่งรอบข้างมากขึ้น อ่านให้มากขึ้น พออาเซียนเปิดแล้วเราจะปรับตัวไม่ทันแน่ๆถ้ายังคิดกันแบบนี้ ตั้งใจเรียน ตั้งใจขวนขวายหาความรู็นะคะ สู้ๆ

0
Ping Swifties 12 ก.ย. 56 เวลา 22:47 น. 9
เห็นด้วยค่ะ เด็กไทยสมัยนี้ไม่ขวนขวายอะไรเยนอกจากเรื่องไร้สาระ เรื่องการเรียน ความรู้รอบตัวมีน้อยคนที่จะขวนขวายหา บางคนทำไม่ยอมทำการบ้านเองเยค่ะ มัวแต่มาลอกเพื่อน ซึ่งหนูคดว่าไม่ยุตธรรมค่ะ คนที่เต้าทำมาเค้าก้ใช้สมองของเค้าในการคดคำนวณออกมา ถ้าอกด้วยความจำเป็นจรงๆก็พอรับไหวค่ะ แต่นี่อะไรเ่นอกตอดทั้งๆที่การบ้านมันไม่ได้ยากเลย ส่วนภาษาอังกฤษน่ะ หนูว่า คนไทยใจแคบกับภาษาอังกฤษมาก คือคนที่ไม่ชอบไม่เก่ง ก็จะบอกว่าตัวเองไม่เก่ง ไม่มีความสามารถด้านนี้ ซึ่งเจ้าตัวคดว่า ทักษะทางภาษาไม่ได้ขึ้นอยู่กับความสามารถค่ะ มันขึ้นกับการขวนขวาย ฝึกฝนพยายามค่ะ คือเมื่อก่อนหนูก้ไม่ได้เก่งภาษาอังกฤษนะคะ ตอนประถมไม่รู้เลยว่า is am are ใช้ยังไง แต่พอขึ้นมัธยมก้เร่มเรียนรู้ค่ะ เพราะเรียนอัสสัมต้องเรียนกับครูต่างชาต ทำให้เราต้องปรับตัว แต่เพื่อนบางคนถึงจะเรียนอับครูต่างชาตก็ยังไม่ปรับตัวค่ะ เพราะถือทัศนคตว่า "ฉันไม่ชอบภาษาอังกฤษ" "ฉันเกลียดภาษาอังกฤษ" เราก็ระอาใจอ่ะค่ะ คือมันไม่ได้อยากอะไรเยค่ เราขวนขวาย หาคาวมรู้ ฝึกฝน ภาษาอังกฤษเราดีขึ้นไม่ใช่เพราะที่โรงเรียนอย่างเดียว ต่ส่วนมากเป็นเพราะเราพยายามชวนชวายมันอ่ะค่ะ จากหนัง จากเพลงต่างประเทศ มันมีเยอะแยะค่ะ ย่งเรามอนเทอร์เน็ตด้วย้ว ย่งง่ายต่อการหาความรู้ค่ะ อย่าใช้อนเทอร์เน็ตแต่แค่การัพนู่นอัพนี่้ยคะ มันไร้ประโยชน์ 
ยาวไปนะบางที 5555 ประมาณว่าเก็บกด 
0
เด็กไทย 12 ก.ย. 56 เวลา 22:52 น. 10

ค่ะ นักเรียนไทยหลายคนก็กำลังปรับตัวเข้าอาเซียนอยู่ค่ะ แต่พี่ก็ต้องยอมรับว่าเด็กไทยไม่ได้คิดแบบนี้ทุกคน สก๊อยในประเทศไทยมันเยอะคะ บางคนก็คิดว่า 'อาเซียน โอ้ย ไร้สาระ พูดอยู่นั่นแหล่ะ' ค่ะ ผู้ใหญ่ก็ตื่นตัวดีคะ แล้วผู้ใหญ่ทำอะไรบ้างค่ะ จัดงานอาเซียน ให้นักเรียนแต่งกายชุดประจำชาติแต่ละประเทศ แล้วมาบอกสวัสดีเป็นภาษาประเทศอาเซียน นักเรียนคงจะฟังอ่ะคะ

จุดประสงค์ของพี่ คือต้องการจะให้นักเรียนไทยหันมาหาความรู้กันใช่ไหมค่ะ ต่างประเทศเค้าไม่ได้เรียนหนักเหมือนเราไงค่ะ เขาเลยมีเวลาว่าง ไปทำสิ่งที่เขารัก ที่นี้ ประเทศเขาก็พัฒนาทุกด้าน ผู้ใหญ่ก็ยึดติดแต่กับเกรด เกรดลดก็ด่า สอบตกก็ว่าเครียดค่ะ

ในฐานะที่หนูเป็นเด็กไทยคนหนึ่ง หนูขอเเค่ "เวลาค่ะ" ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลาว่างให้หน่อยได้มั้ย

ในฐานะที่หนูเป็นเด็กไทยคนนึง หนูขอแค่"เวลา"ค่ะ ให้หนูได้ทำสิ่งที่รักบ้าง ให้หนูได้พักบ้าง

0
*++จOมวิปลาสกร:หาย nรัwE !!++* 12 ก.ย. 56 เวลา 22:55 น. 11

ใช่ๆ เมื่อก่อนพี่ก็เคยคิดแบนี้นะ โดยเฉพาะตอนเรียนมอปลาย เอาจริงๆแทบไม่ได้นอน ขนาดไม่ได้เรียนสายวิทย์ 5555

สู้ๆนะ น้องเป็นเด็กที่คิดดีมากๆคนหนึ่ง รู้ตัวว่าปัญหาที่ตัวเองมีคืออะไร สู้ๆนะคะ
พอมีเวลาแล้วอย่าลืมชวนเพื่อนขวนขวายนะ :)

0
เด็กไทย 12 ก.ย. 56 เวลา 23:01 น. 12

ขอบคุณค่ะ หนูก็ต้องขอบคุณพี่เหมือนกันค่ะ ที่ออกมาพูดแบบนี้ ทำให้หนูได้คิดอะไรๆหลายๆอย่างเพิ่มอีก ขอบคุณมากจริงๆนะคะ เยี่ยม อ้อ ตอนนี้หนูอยู่ ม.2 นะคะ อาจจะพูดอะไรที่ไม่ใช่เด็กไปบ้าง แต่หนูบอกเลยคะว่าประสบการณ์ตัวเองโชกโชนมาก 55555555 แต่อาจจะยังไม่เท่าพี่ :)

0
เด็กไทย 12 ก.ย. 56 เวลา 23:04 น. 13

บางทีหนูก็อยากไปแลกเปลี่ยน ตปท. เหมือนคนอื่น อยากหาประสบการณ์ใหม่ๆ แต่ฐานะทางบ้านไม่อำนวยค่ะ เสียใจที่สุดใน 3 โลก ได้แต่นั่งอ่านกระทู้ที่เขามาแชร์ประสบการณ์กัน

0
Blackcat~Paw 13 ก.ย. 56 เวลา 00:05 น. 14

ขอพูด(บ่น+ระบาย+คห.นี้เก็บกด)มั่งนะเออ ในมุมมองเด็กไทยตาดำๆขี้ตาแฉะคนนึง

   ย้ำก่อนว่าขี้ตาแฉะ! เพราะอดนอน! การบ้านมันเยอะมาก บางครั้งมันกลายเป็นภาระ ยกตัวอย่างจากชีวิตจริง ครูสั่งชิ้นงานกลุ่มพร้อมกัน 3 ท่าน(มีคำว่าฝึกไว้ชีวิตจริงเธอจะเจอมากกว่านี้..ยอมรับว่าจริงอยู่ แต่มัน"เยอะ"เกินไปมั้ย) ให้เวลาแค่สัปดาห์เดียว.... ใครจะไปทำทัน! งานที่ส่งไม่ใช่ทำชุ่ยๆแล้วส่ง มันเลยกลายเป็นแต่ละคนในกลุ่มรับงานไปคนละชิ้นสองชิ้นแล้วมาทำ....เป็นงานเดี่ยว เรื่องลอกอันนี้มันแน่นอน เพื่อที่จะเอาชีวิตรอดในโรงเรียนแต่ละคนทำวิชาที่ตัวเองถนัดแล้วมาจับกลุ่มลอกกันตอนเช้าเพราะถ้าจะนั่งทำทุกวิชา....โต้รุ่งสิคะ อันนี้ยังพอรับได้ แต่บางคนที่ไม่ทำ---อะไรเลย--- แล้วมาลอกคนอื่นอันนี้"ทุเรศ" รายงานก๊อปแปะมันเป็นอะไรที่ทำกับจนชิน เป็นนิสัยคนไทยไปแล้ว มีเพื่อเคยทำรายงานชนกัน ทำเรื่องเดียวกัน เว็บหลักในการหาเว็บเดียวกัน เพื่อนA copy-paste ในขณะที่เพื่อนB นั่งอ่าน+หา ผลออกมาคะแนนเพื่อน A มากกว่าเพราะรายงานหนากว่า ต่อไปเรื่องคะแนน "สังคมไทยยึดติดกับเกรด"มากๆ คือ มีการแข่งขันกันเรียน(แบบเรียนพิเศษโรคจิด ทุกวันเลิก 3 ทุ่ม-ชีวิตเพื่อนสนิทคนหนึ่ง) มีข่าวโครมครามเด็กเรียนได้เกรดไม่ดีผูกคอตาย ไม่ดีทำร้ายตัวเอา อันนั้นไกลไป เอาใกล้ๆ มีเพื่อนคนนึง สอบไป 99 ปรากฎว่าโดนด่าว่าทำไมอีก 1 คะแนนทำไม่ได้ ฟังดูโรคจิตดีมั้ยละท่านทั้งหลาย หรือบางคนได้คะแนนไม่ดีเท่าพี่หรือน้องหรือเพื่อนก็โดนด่า หลายๆคนที่ชอบArt ไรพวกนี้ก็ไม่ได้ดึงศักยภาพของตัวเองออกมาหมด เพราะว่า คณิตวิทย์สำคัญกว่า... การเรียน...มันยังคงเป็นแบบท่องจำ หน้าชั้นครูพูดไป เด็กนั่งฟังไป ถามครู ครูตอบกลับมาว่าทำไมครูพูดเธอไม่ฟัง...เด็กไม่มีอารมณ์้เรียน และสุดท้าย...เด็กไทยขี้เกียจฮะ ขี้เกียจที่จะหาความรู้ มีเวลาทำการบ้านก็เอามาเล่นบอร์ดเหมือนเรา เรานี่เลวจริงๆ...
------------------------------------------------------------------------
ออกทะเลไปไกล ขอขอบคุณที่ฟังเราบ่น(แอบเมื่อยเล็กน้อย)

0
ใจใส 13 ก.ย. 56 เวลา 15:40 น. 15

อ่านไปมาเลยสงสัยเลย ทำไมบางประเทศที่เวลาเรียนน้อยกว่าเรา เช่น อเมริกาเงี้ย(ค้นgoogleมา) ทำไมเค้าเรียนน้อยกว่าเราแต่ดูเค้ามีคุณภาพกว่าเราอะ

0
ผู้หวังดี 13 ก.ย. 56 เวลา 16:32 น. 16

เรื่องบางเรื่องก้อต้องยอมปล่อยมันไปค่ะ เก็บเอามาคิดก็เครียดเปล่าๆ ยิ้มเข้าไว้ ทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุดก็พอแล้ว สู้สู้

0
Herahestia Amai 13 ก.ย. 56 เวลา 19:08 น. 17
เรื่องบางอย่างก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน งานที่โรงเรียนก็เยอะทำไม่ทันใช่ว่าสักแต่ว่าจะส่งก็ต้องดูงานอีก ให้เวลาถือว่าเหมาะกับงานที่สั่งนะ แต่ขอโทษไม่ใช่งานชิ้นสองชิ้น มาเป็นแผงยิ่งถ้าใกล้สอบ ยิ่งแล้วใหญ่ปั่นจนไม่ทัน และยิ่งกว่านั้นครูสั่งหนึ่งอาทิตย์เราทำเกือบทุกวัน(เหนื่อย...!) เพื่อนเราทำแค่วันเดียว รีบปั่นๆ ทำแค่ส่ง กลับได้คะแนนเท่ากัน อันนี้แหละไม่เข้าใจ
    555 ขอโทษนะไม่เข้าประเด็นเท่าไหร่ เก็บกดจ้า
0
ธิ'นัน 13 ก.ย. 56 เวลา 19:37 น. 18

คือถ้าหากจะหาความรู้อะไรจริงๆ แต่ละคนก็ย่อมอยากหาแต่เรื่องที่ตัวเองสนใจถูกต้องมั้ยคะ..?

ทีนี้อีกประเด็นก็คือ การเรียนที่ผิดจากความต้องการ ทุกสิ่งมันก็เลยออกมาผิดรูป 

ก็ต้องโทษตัวเองด้วยแหละเนอะ แต่เหตุผลหลักๆมันคือ เราไม่รู้ว่าเราชอบอะไร 

ไม่มีเป้าหมาย ไม่มีความคิดของตัวเอง เพราะ หลายๆสิ่งหลายๆอย่าง ก็เลยเป็นอารมณ์ที่ว่าไม่อยากจะรับไม่อยากจะรู้ รู้ไปก็เท่านั้น สุดท้ายก็ทำอะไรไม่ได้

ก็นะ..
0
arefc-ice 13 ก.ย. 56 เวลา 20:52 น. 19
ทำไมหลายคนชอบคิดว่า ประเทศไทยนี่น่าจะไปเป็นเมืองขึ้นเค้าเนอะ จะได้พูดภาษาอื่นได้เก่งภาษาอังกฤษ

เราอยากถามว่า
ถ้าไม่ไปเป็นเมืองขึ้นเค้า เราจะไม่เก่งอังกฤษหรอ ขวนขวายเองไม่ได้หรอ ต้องสืบทอดวัฒนธรรมมาจากสมัยก่อนเท่านั้นหรอ??
เราคิดว่าถ้าอยากจะขวนขวาย อยากจะทำให้ได้ ก็ทำได้อยู่แล้ว
ทุกอย่างมันก็อยู่ที่ตัวเองมากกว่านะ
อย่างนี้เหมือนตัวเองไม่ขวนขวายเองแล้วมาโทษนู่นนี่นั้น
ทำไม ทำไม ทำไม บลาๆๆ
0
kidsinlove 13 ก.ย. 56 เวลา 21:21 น. 20
ระบายด้วย
ประเทศไทยเรียนหนักจริงๆแหล่ะแล้วแบบยิ่งม.6ด้วย
เรียนถึง4โมงเย็นไม่พอ ยังจะมาบังคับให้เรียนพิเศษที่ร.รจัดให้ต่ออีกถึง5โมงเย็น
มีเรียนเสริมที่ร.ร.จัดให้อีกถึง6โมงเย็น โอ้พระเจ้าาา ชีวิตกูมีแค่เรียนๆๆๆๆๆๆ
แล้วยังจะนัดให้เด็กไปติวอีกวันเสาร์  กว่าจะกลับถึงบ้านอาบน้ำกินข้าว?

เวลาพักแทบไม่มีมันเหนื่อยมาก รู้ว่าครูหวังดีกับเด็กแต่บางครั้งก็มากเกินไป
หัวสมองเด็กมันรับได้ไม่เท่ากันหรอก ที่บังคับทุกวันนี้เพื่ออะไร
เพื่อแค่เอาไปสอบแกท แพท โอเน็ต แล้วไงต่อ ?  

ทั้งยังสั่งการบ้านเป็นชุด เอาจริงๆโรงเรียนอื่นเค้าสอบแล้วก็ปิดภาคเรียน
แต่ร.ร.เราไม่เลยเรียนต่ออีกทั้งๆที่สอบเสร็จแล้ว   เหนื่อยมาก



-เรื่องขวนขวาย อยากจะบอกว่าเรื่องจริงนะถ้าเราสนใจจะขวนขวายหาความรู้
ยังไงมันก็ได้ความรู้ติดตัวแน่ๆ
แล้วภาษาอังกฤาบอกตามตรงเรียนมาไม่เข้าใจ
เพราะครูสอนรีบมาก พอจะทำความเข้าใจก็บอกให้เราจดตาม
จดไม่ทันเสร็จ ยังไม่ทันรู้เรื่องก็กดเลื่อนสไลด์  หนี   บอกว่าจะเรียนไม่ทัน ?
สุดท้ายต้องสละเวลาหาความรู้นอกห้องเอา เริ่มจากไปซื้อหนังสือจากร้านขายหนังสือ หาความรู้ทางเน้ต สุดท้ายภาษาอังกฤษที่เราได้มา ก็มาจากนอกห้อง

ขอบคุณพี่มากๆที่นำความรู้ สาระ และประโยชน์มากมายให้พวกเรานะคะ
ถ้าทุกคนใส่ใจตื่นตัวกับอาเซียนแบบพี่จะดีมาก และนำเคล็ดลับมาบอกต่อ
ติดตามทุกคลิปของพี่หมดนะ แต่ไม่ค่อยเม้นเท่าไรนะ แต่จะกดไลค์ให้ :)

และจะนำใช้ในสิ่งที่พี่แนะนำมา ขอบคุณค่ะ 

0