Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

มหากษัตริย์ผู้ให้.......โครงการพระราชดำริด้านการแพทย์และสาธารณสุขไทย

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
มหากษัตริย์ผู้ให้.......โครงการพระราชดำริด้านการแพทย์และสาธารณสุขไทย



เนื่องในวโรกาสมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 85 พรรษา 5 ธ.ค.2555

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้รวบรวมพระราชกรณียกิจ ที่พระองค์ทรงเป็นมหากษัตริย์ผู้ให้ เพื่อพสกนิกรชาวไทย โดยเฉพาะด้านการแพทย์และสาธารณสุข



“…ถ้าคนเรามีสุขภาพเสื่อมโทรม ก็จะไม่สามารถพัฒนาชาติได้ เพราะทรัพยากรที่สำคัญของประเทศชาติ ก็คือพลเมืองนั่นเอง…” พระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่แสดงให้เห็นถึงความห่วงใย และเอื้ออาทรต่อทุกข์สุขของพสกนิกร โดยเฉพาะในด้านสุขภาพอนามัย ที่พระองค์ทรงให้ความสำคัญมาก ดังจะเห็นว่าโครงการที่พระราชทานให้กับประชาชนในระยะแรกๆ ล้วนแต่เป็นโครงการพัฒนาสุขภาพอนามัยให้แก่ประชาชน และเห็นว่าประชาชนมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงจะนำไปสู่สุขภาพจิตที่ดี และส่งผลให้การพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมดีตามไปด้วย ดังพระราชดำรัสตอนหนึ่งว่า

“... การรักษาความสมบูรณ์แข็งแรงของร่างกายเป็นปัจจัยของเศรษฐกิจที่ดี และสังคมที่มั่นคงเพราะร่างกายที่แข็งแรงนั้น โดยปกติจะอำนวยผลให้สุขภาพจิตใจสมบูรณ์ด้วย และเมื่อมีสุขภาพสมบูรณ์ดี พร้อมทั้งร่ายกายและจิตใจแล้ว ย่อมมีกำลังทำประโยชน์สร้างสรรค์เศรษฐกิจและสังคมของบ้านเมืองได้เต็มที่ ทั้งไม่เป็นภาระแก่สังคมด้วย คือเป็นแต่ผู้สร้างมิใช่ผู้ถ่วงความเจริญ...”


สำหรับโครงการในพระราชดำริด้านการแพทย์และสาธารณสุข อาทิ



โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน

ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้แพทย์ประจำพระองค์ที่ตามเสด็จฯ ตรวจและรักษาคนไข้ ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2512 เมื่อเสด็จ พระราชดำเนินทอดพระเนตรโครงการชาวเขา และทรงพบว่าราษฎรที่มารอรับเสด็จป่วยเป็นไข้กันมาก

โครงการดังกล่าว ประกอบด้วยการบำบัดรักษาจากคณะแพทย์พระราชทาน และอบรมหมอหมู่บ้าน เป็นการช่วยแก้ไขปัญหาด้านสุข ภาพอนามัยของราษฎร ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล และมีอุปสรรคที่ ระบบปกติยากจะดูแลได้ทั่วถึง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ราษฎรส่วนใหญ่ มีฐานะยากจน และขาดความรู้ในการดูแลรักษาตนเอง การมีคณะแพทย์ พระราชทานออกไปบำบัดรักษา ผู้ป่วยจะทำให้ราษฎรมีโอกาสได้รับ การรักษาอย่างถูกต้อง โดยไม่ต้องเสียทุนทรัพย์ใดๆ และสำหรับการ อบรมหมอหมู่บ้านนั้น จะช่วยให้ราษฎรมีความรู้เกี่ยวกับการป้อง กัน รู้จักวิธีรักษาพยาบาลแบบปัจจุบัน และรู้จักวิธีติดต่อกับ หน่วยราชการ ในกรณีที่เกินขีด ความสามารถที่จะดูแลรักษาตน เองได้อันเป็นการช่วยแก้ปัญหาในระยะยาว ซึ่งอาจกล่าวสรุปได้ว่า โครงการหน่วยแพทย์พระราชทาน จะแก้ไขปัญหา ในด้านต่างๆ ดังนี้

1. ทางด้านสุขภาพอนามัย ซึ่งเป็นผลที่ได้รับโดยตรง จะช่วยแก้ ปัญหาการเจ็บป่วย หรือทุพพลภาพได้ปีหนึ่งๆ เป็นจำนวนมาก จำนวน ราษฎรทั้งหมดหรือเกือบ ทั้งหมด ที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณในการ บำบัดรักษาจากหน่วยแพทย์เคลื่อนที่พระราชทาน จะเป็นชาวชนบทที่ยากจน ที่มีอาชีพเป็นเกษตรกร อันเป็นประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ จากจำนวนตัว เลขที่ปรากฎในแต่ละปี จะมีราษฎรที่เจ็บป่วยจากทุกภาคที่ได้รับ พระมหากรุณาธิคุณรับไว้เป็นคนไข้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ทั้งที่เป็นคนไข้ ในโรงพยาบาลและผู้ที่มาขอรับการตรวจ ตลอดจนถึงการ ที่หน่วยแพทย์เคลื่อนที่ตามเสด็จฯ ไปตามหมู่บ้านต่างๆ มีจำนวนมาก มายนับหมื่นนับแสนคน

2. ทางด้านเศรษฐกิจ การที่ราษฎรเจ็บป่วยจะเป็นปัญหาในการประกอบอาชีพของราษฎร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเกษตรกร ที่จะต้องใช้กำลังภายในการทำงาน ดังนั้น เมื่อได้รับการบำบัดรักษาให้มีสุขภาพพลามัย ที่ดีแล้วราษฎรเหล่านั้นก็สามารถมีร่างกายที่สามารถต่อ สู้กับงานหนักในการประกอบอาชีพได้ ซึ่งจะได้ยังผลให้ เศรษฐกิจส่วนรวมของสังคมดีขึ้นอย่างแน่นอน



โครงการแพทย์หลวงเคลื่อนที่พระราชทาน



เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2510เพื่อ ตรวจรักษาราษฎรในท้องถิ่นทุรกันดาร โดยไม่คิดมูลค่า และถ้าจำเป็นก็จัดส่งไปยังโรงพยาบาลในจังหวัดต่างๆ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จแปรพระราชฐานประทับแรม และในท้องถิ่น ต่างๆ ที่ห่างไกลตัวเมืองมาก ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้จัดเจ้าหน้าที่แพทย์ พยาบาล เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนยารักษาโรค ออกทำการตรวจรักษาและพยาบาลราษฎรโดยไม่คิดมูลค้าในท้องถิ่นกันดารในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี ราชบุรีและประจวบคีรีขันธ์ โครงการหน่วยแพทย์พระราชทานประกอบด้วยการบำบัดรักษาจากคณะแพทย์พระราชทาน และการอบรมหมอหมู่บ้านเพื่อเป็นการช่วยแก้ไขปัญหาด้านสุขภาพอนามัยของราษฎรที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล



โครงการแพทย์พิเศษตามพระราชประสงค์
โครงการตามพระราชประสงค์ หมายถึง โครงการที่ทรงศึกษาปฏิบัติส่วนพระองค์กับผู้เชี่ยวชาญในศาสตร์สาขาต่างๆ เมื่อได้ผลดีแล้วจึงทรงนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชน

โดยโครงการแพทย์พิเศษตามพระราชประสงค์ เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2517เพื่อบรรเทาความเจ็บปวดของราษฎรที่นิคม สร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส นิคมนี้มีสถานีอนามัย เพียงแห่งเดียว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงสาธารณสุขจัดแพทย์ หมุนเวียนเข้าไปบริการตรวจรักษา แพทย์และเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาล นราธิวาส และโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ออกไปปฏิบัติการสัปดาห์ละ ๒ ครั้ง เป็นประจำ



หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่พระราชทาน

ในปี พ.ศ.2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชปรารภว่า "เวลาพระองค์มีปัญหาเกี่ยวกับฟันก็มีทันตแพทย์ดูแลรักษาแล้วเวลาราษฎรที่อยู่ห่างไกล จะมีทันตแพทย์ช่วยรักษาหรือเปล่า"

ในเวลาต่อมา ทรงทราบว่าทันตแพทย์นั้นมีน้อยและมีอยู่ตามโรงพยาบาลประจำจังหวัดเท่านั้น บางจังหวัดก็ไม่มี พระองค์ทรงรับสั่งว่า "การที่จะให้ราษฎรที่ยากจนที่มีปัญหาเรื่องฟัน หยุดการทำนาทำไร่ เดินทางไปหาแพทย์นั้น เป็นสิ่งที่ยากยิ่ง ในทางตรงกันข้าม หากเป็นการให้บริการเคลื่อนที่ไปสู่ประชาชน ก็จะเป็นการแก้ปัญหาได้ทางหนึ่ง"

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจึงทรงตรัสว่า “ฉันต้องการให้หมอช่วยไปดูแลบำบัดทุกข์ให้แก่นักเรียนและประชาชนที่อยู่ในท้องถิ่นกันดารห่างไกล หมอและจะออกค่าใช้จ่ายให้ทั้งหมดตามความจำเป็นโดยให้จัดหน่วยเคลื่อนที่ไปโดยรถยนต์และตระเวนไปตามถนนหนทาง ตามหมู่บ้าน ที่อยู่ ห่างไกล ชนบท"

หน่วยทันตกรรมพระราชทานจึงก่อกำเนิดขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานทรัพย์ส่วน พระองค์ จัดซื้อรถยนต์ พร้อมอุปกรณ์และเครื่องมือทำฟัน มีทันตแพทย์อาสาออก ปฏิบัติงานโดยเริ่มครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๑๒ โดยมี ทันตแพทย์ สี สิริสิงห์ เป็นหัวหน้าทีม เพื่อส่งทันตแพทย์อาสาสมัครออกช่วยเหลือ บำบัดโรคเกี่ยวกับฟัน ตลอดจนสอนการรักษาอนามัยของปากและฟันแก่เด็ก นักเรียนและประชาชนที่อยู่ในท้องที่ทุรกันดารโดยไม่คิดมูลค่า ได้รับความ ร่วมมือจากทันตแพทย์โรงพยาบาลต่างๆ ในการออกปฏิบัติการภาคสนาม



โครงการศัลยแพทย์อาสาราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย

ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2518 หลังจากที่เปิดโครงการแพทย์พิเศษตามพระราช ประสงค์ใน พ.ศ. 2517 แพทย์ ที่อาสาสมัครซึ่งเป็นแพทย์อาวุโสและมีประสบการณ์มาก เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นที่จะต้องมีศัลยแพทย์อาสาไปช่วยปฏิบัติงาน ณ โรงพยาบาลประจำจังหวัดสกลนคร ในช่วงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จ แปรพระราชฐาน ประทับที่พระตำหนักภูพานราชนิเวศน์ จึงได้มีการศึกษาหาข้อมูล และความต้องการของโรงพยาบาลและหน่วยงานต่างๆ ในด้านศัลยกรรม และ รวบรวมจัดทำทำเนียบศัลยแพทย์อาสา แล้วก่อตั้งวิทยาลัยศัลยแพทย์ขึ้น ภายหลัง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับวิทยาลัยศัลยแพทย์ไว้ในพระบรมราชูปถัมภ์ และ เปลี่ยนชื่อเป็น ราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย



โครงการแพทย์ หู คอ จมูก และโรคภูมิแพ้พระราชทาน

เริ่มเมื่อ พ.ศ. 2522 เนื่องจากมีราษฎรเป็นจำนวนมากที่เจ็บป่วยด้วยโรคหู คอ จมูก และโรคภูมิแพ้ ซึ่งจำเป็นต้องรับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในสาขาเหล่านี้ จึงโปรกเกล้าฯให้จัดหน่วยแพทย์อาสาสมัครในโรคดังกล่าว ผลัดดันออกไปปฏิบัติหน้าที่ประจำโรงพยาบาลประจำจังหวัด ที่เสด็จแปรพระราชฐานโดย อาศัยแพทย์หู คอ จมูกอาสาสมัครจาก โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลประจำจังหวัดนครราชสีมา และโรงพยาบาลประจำจังหวัดนครพนม ผลัดเปลี่ยนกันมาปฏิบัติราชการชุดละ 2 สัปดาห์เริ่มที่จังหวัดนราธิวาสก่อน ต่อมาขยายการปฏิบัติงานไปที่จังหวัดสกนนคร และที่โรงพยาบาลค่ายกาวิละ จังหวัดเชียงใหม่



· โครงการอบรมหมอหมู่บ้านในพระราชประสงค์

ความเจ็บป่วยของราษฎรเกิดจากการไม่ได้รับการรักษาพยาบาลที่ถูกต้อง ประกอบกับไม่มีสถานพยาบาลอยู่ใกล้ บ้างก็เกิดจากการบริโภคอาหารไม่ถูกสุขลักษณะจึงมีพระราชดำริจัดตั้งโครงการอบรมหมอหมู่บ้านในพระราชประสงค์โดยคัดเลือกคนในหมู่บ้านรับการฝึกอบรม การรักษาพยาบาลเบื้อต้น การรักษาโรคอย่างง่าย เพื่อสามารถช่วยเหลือเพื่อนร่วมหมู่บ้านได้ โดยในปี พ.ศ. 2517เริ่มบรรเทาความเจ็บปวดของราษฎรที่นิคม สร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ อำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส ด้วยนิคมนี้มีสถานีอนามัยเพียงแห่งเดียว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงสาธารณสุขจัดแพทย์ หมุนเวียนเข้าไปบริการตรวจรักษา แพทย์และเจ้าหน้าที่จากโรงพยาบาล นราธิวาส และโรงพยาบาลสุไหงโก-ลก ออกไปปฏิบัติการสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เป็นประจำ



นอกจากนี้ทางด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ในระยะหลังซึ่งมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะผู้ป่วยฉุกเฉิน แม้แต่นาทีเดียวก็ส่งผลต่อชีวิต จึงได้เกิดอีกหลายโครงการ อาทิ



โครงการอบรมปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการช่วยคลอดฉุกเฉินโครงการพระราชดำริ สำหรับตำรวจจราจร





โครงการดังกล่าว เกิดขึ้นเนื่องจากสภาพปัญหาการจราจรในกรุงเทพมหานครและเมืองใหญ่ๆ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงมีโครงการแก้ไขปัญหาจราจรตามแนวพระราชดำริขึ้น เพื่อช่วยเหลือประชาชน และแก้ปัญหาจราจรในชั่วโมงเร่งด่วน ตามแนวทางพระราชดำริ 5ประการ คือ

1.แสวงหาแนวทางให้ผู้ใช้รถใช้ถนน เคารพกฎจราจร และมีมารยาท

2.ใช้รถจักรยานยนต์ เป็นหน่วยเคลื่อนที่เร็วแก้ปัญหาจุดที่รถติด เสมือน "รถนำขบวน" โดยรถจักรยานยนต์จะเข้าไปแก้ไขปัญหาทำให้ขบวนรถเคลื่อนที่ไปได้

3.ใช้รถจักรยานยนต์ดูแลการจราจรบนถนน ให้รถเคลื่อนตัวไปได้เรื่อยๆ ตามความเหมาะสม

4.ถนนที่เป็น "คอขวด" ให้รถจักรยานยนต์เข้าไปแก้ไขให้เคลื่อนตัวได้เรื่อยๆ เสมือนเทน้ำออกจากขวด

5.ให้ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนให้ความร่วมมือในการแก้ไขปัญหาการจราจร



และนอกจากปัญหาที่เกิดจากสภาพการจราจรแล้ว ยังพบความเดือดร้อนของประชาชนซึ่งต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน เช่น การนำผู้ป่วย ผู้บาดเจ็บ หญิงใกล้คลอดส่งโรงพยาบาล รวมถึงการคลอดฉุกเฉิน ดังนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจรต้องได้รับการฝึกอบรมให้เกิดทักษะ ความรู้ ความชำนาญเกี่ยวกับการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและการทำคลอดฉุกเฉิน เพื่อนำไปช่วยเหลือบรรเทาความเดือดร้อนให้กับประชาชน สำหรับการฝึกอบรม จะฝึกปฏิบัติการช่วยเหลือฉุกเฉินเบื้องต้น การช่วยชีวิตพื้นฐาน การฝึกและทดสอบปฏิบัติการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน การป้องกันการแพร่กระจายเชื้อโรค การช่วยเหลือการคลอดในสถานการณ์ต่างๆ และการดูแลทารกแรกคลอดก่อนนำส่งโรงพยาบาล


แสดงความคิดเห็น

>

1 ความคิดเห็น