Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

มาเพิ่มเติมความรู้เกี่ยวกับตดกันเถอะ

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
 ตด มาจากไหน?
         ทุกคนล้วนเคยตด การตดเมื่ออยู่คนเดียวดูจะเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ แต่เมื่อตดต่อหน้าธารกำนัลจะกลายเป็นเรื่องที่ผิดกาลเทศะ คนส่วนใหญ่จึงมักอายที่จะตดอย่างเปิดเผย  และไม่ต้องการให้เสียงหรือกลิ่นล่วงรู้ไปถึงบุคคลอื่น มีนักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องนี้อย่างจริงจัง และให้คำแนะนำเราได้ว่าทำอย่างไรจึงจะตดให้น้อยและไม่เหม็น
          การผายลม คือการสร้างลมผาซึ่งเป็นแก๊สที่สร้างมาจากแบคทีเรียและยีสต์ที่อาศัยอยู่ในท่อทางเดินอาหารของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม แก๊สลมผายจะถูกปล่อยจากความดันผ่านทางทวารหนัก ซึ่งมักจะมีเสียงและกลิ่นออกมาด้วย การปล่อยแก๊สออกมาเราเรียกว่า การตด

          คนเราจะปล่อยลมผาย เฉลี่ย 0.5-1.5 ลิตรต่อวันโดยผ่านการผายลม 12-25 ครั้ง องค์ประกอบของลมผายหลัก ๆ จะเป็นแก๊สที่ไม่มีกลิ่นคือ ไนโตรเจน (รับเข้ามา) คาร์บอนไดออกไซด์ (สร้างมาจากแบคทีเรียหรือรับเข้ามา) และไฮโดรเจน (สร้างมาจากจุลินทรีย์บางชนิดแล้วถูกกินโดยจุลินทรีย์อื่นๆ) กับออกซิเจน (รับเข้ามา) และแก๊สมีเธน (สร้างจากจุลินทรีย์พวก anaerobic) ในปริมาณที่น้อยกว่า กลิ่นที่เกิดขึ้นมาจากองค์ประกอบอื่น ๆ (ซึ่งมักจะเป็นสารประกอบกำมะถัน)
องค์ประกอบของตด

          ไนโตรเจน  ถือเป็นแก๊สหลักที่ถูกปลดปล่อยออกมา รองลงมาคือ มีเธนและไฮโดรเจน ซึ่งเป็นแก๊สที่สามารถติดไฟได้ ดังนั้น การผายลมจึงสามารถติดไฟได้  แต่คนเราทุกคนไม่ได้สร้างลมผายที่มีมีเธนเสมอไป
          ตัวอย่างเช่น ในการศึกษาหนึ่งได้ทำการศึกษาอุจจาระของคน 9 คนพบว่า มีตัวอย่างเพียง 5 ตัวอย่างเท่านั้นที่มีแบคทีเรียที่สามารถสร้างแก๊สมีเธนขึ้นมาได้ ผลการทดลองที่คล้ายคลึงกันพบในตัวอย่างที่ได้มาจากภายในไส้ตรง  แก๊สที่ปล่อยออกมาในช่วงผายลมมักจะมีกลิ่นเหม็น ซึ่งเป็นผลมาจากกรดไขมันที่มีน้ำหนักโมเลกุลน้อย  เช่น กรดบิวไทริก (ให้กลิ่นเหมือนกลิ่นหืนของเนย) และสารประกอบกำมะถัน  เช่น ไฮโดรเจนซัลไฟด์ หรือแก๊สไขเน่า และคาร์โบนิลซัลไฟด์ที่เกิดมาจากการสลายตัวของโปรตีน
          กลิ่นที่เกิดขึ้นจะทวีความรุนแรงขึ้นจากสัตว์กินพืชเป็นอาหาร (เช่น วัวควาย) จนถึงสัตว์ที่กินทั้งพืชและเนื้อสัตว์เป็นอาหารไปจนถึงสัตว์ที่กินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร (เช่น แมว) กลิ่นจากการผายลมยังสามารถเกิดขึ้นเมื่อมีแบคทีเรียหรืออุจจาระอยู่ในทวารหนักจำนวนหนึ่งขณะที่กำลังปล่อยออกได้เช่นกัน เศษของแข็งหรือเศษวัตถุในละอองลอย อาจจะถูกพ่นออกมาพร้อมกับการผายลมได้

สาเหตุ

          แก๊สในลำไส้ประกอบไปด้วยแก๊สจากภายนอก ซึ่งเป็นอากาศที่รับเข้ามาผ่านทางปากและจมูก 90% และแก๊สที่เกิดขึ้นภายในหลอดอาหาร  อีก 10% แก๊สจากภายนอกจะถูกรับเข้ามา  เมื่อมีการกินและการดื่มหรือในช่วงมีการหลั่งน้ำลายในปริมาณมาก (ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นเมื่อมีอาการคลื่นเ-ยนหรือเป็นผลมาจากโรคกรดในกระเพาะไหลย้อน  ส่วนแก๊สที่เกิดขึ้นภายในหลอดอาหารจะมาจากการย่อยอาหารชนิดหนึ่งๆ

         การผายลมที่เกิดมาจากอาหารมักจะมีพอลิแซ็กคาไรด์ปริมาณสูง  (โดยเฉพาะโอลิโกแซ็กคาไรด์เช่น อินูลิน (inulin)) และรวมถึงถั่วเม็ดแบน, ถั่วแขก, นม, หัวหอมใหญ่, มันเทศ, ชีส,เม็ดมะม่วงหิมพานต์ , บร็อคโคลี , กะหล่ำปลี, ข้าวโอ็ต, ยีสต์ในขนมปัง และอื่นๆ

         ในถั่วนั้น แก๊สภายในหลอดอาหารมาจากโอลิโกแซ็กคาไรด์และคาร์โบไฮเดรตต่าง ๆ ที่ย่อยยาก อาหารเหล่านี้จะผ่านเข้าไปในลำไส้ตอนบนโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงและเมื่อพวกมันมาถึงลำไส้ตอนล่าง แบคทีเรียจะทำการย่อยสลายพวกมันและสร้างแก๊สในกระเพาะออกมามากมาย   ในกรณีของอาหารที่มีแลคโตส เมื่อเราบริโภคนมหรืออาหารที่มีแลคโตสเป็นส่วนประกอบ แบคทีเรียในลำไส้ที่ย่อยสลายแลคโตสสามารถสร้างแก๊สปริมาณมากได้

กลไกการเกิด

          เสียงดังที่เกิดพร้อมกับการผายลมเกิดมาจากการสั่นสะเทือนของทวารหนัก เสียงจะแตกต่างกันไปตามความแน่นของกล้ามเนื้อหูรูด  และความเร็วของแก๊สที่ถูกปล่อยออกมา รวมถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น ความชื้น หรือไขมันสะสมในร่างกาย ระดับเสียงของตดที่ออกมาเป็นผลมาจากช่องทวารหนัก ในคนนั้น บางครั้งการตดอาจจะเกิดขึ้นโดยบังเอิญ  เช่น เกิดมาจากการไอหรือจาม และในบางครั้ง การตดแบบตั้งใจจะเกิดผ่านทางการบีบตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อหูรูด

          เรามักคิดว่าผู้ชายตดบ่อยกว่าผู้หญิง แต่ที่จริงแล้วทั้งชายและหญิงตดบ่อยพอ ๆ กัน เพียงแต่ตดของผู้หญิงมีปริมาตรน้อยกว่าผู้ชาย เพราะร่างกายเล็กกว่า และไม่ว่าจะหญิงหรือชายก็ตดเหม็นได้พอ ๆ กัน

          และจากการศึกษาพบว่า กลิ่นตดกับเสียงตดก็ไม่สัมพันธ์กัน  นั่นหมายถึงตดที่ดังสนั่นไม่ได้มีกลิ่นเหม็นเสมอไป หรือคุณอาจตดเบา ๆ ไม่มีใครได้ยิน แต่อาจส่งกลิ่นเหม็นอย่างร้ายกาจก็เป็นได้ 
       
ข้อแนะนำเพื่อให้ตดแต่น้อยและไม่มีกลิ่น

  อาหารบางประเภทไม่ควรกินมากเกินไป เช่น ไข่ เนื้อ และผักตระกูลกะหล่ำ เช่น กะหล่ำปลี บร็อกโคลี่ เนื่องจากอาหารเหล่านี้มีกำมะถันเป็นส่วนประกอบ แบคทีเรียในลำไส้จะย่อยให้เป็นแก๊สที่มีกลิ่นเหม็น

  ถั่วและผักสดบางชนิดมีน้ำตาลที่ร่างกายย่อยไม่ได้   ซึ่งจะถูกส่งผ่านไปหมักหมมอยู่ในลำไส้ใหญ่ แบคทีเรียในลำไส้จะย่อยน้ำตาลพวกนี้แทน และทำให้เกิดแก๊สขึ้น

           บางข้อมูลแนะนำให้กินถั่วและผักที่ปรุงสุกแล้ว หรือให้นำถั่วไปแช่น้ำ ให้น้ำท่วมถั่วสัก 2 นิ้ว คัดเมล็ดถั่วที่เสียหรือลอยน้ำทิ้งไป แช่ทิ้งไว้ประมาณ 4 ชั่วโมง หรือทิ้งไว้ข้ามคืนเลยก็ได้ ถ้ามีเวลาน้อยหรือรอไม่ไหว ให้นำถั่วไปแช่ในน้ำร้อน 10-15 นาทีขึ้นไป แล้วล้างน้ำออกก่อนนำไปปรุงอาหาร หรืออีกวิธีก็คือ นำถั่วไปล้างน้ำ ต้ม 3 นาที แล้วปิดฝาทิ้งไว้ 1 ชั่วโมง ก่อนนำไปปรุงอาหารจะช่วยลดปัญหาผายลมจากการกินถั่วได้ แต่บางข้อมูลก็บอกว่าถึงแม้จะนำถั่วมาต้ม
ให้สุกหรือแช่น้ำอย่างไร ก็ยังคงตดมากและเหม็นเหมือนเดิม ยกเว้นว่าจะทำตามวิธีที่นักวิจัยทดลองทำ นั่นก็คือนำถั่วมาต้มนาน 3 นาที แล้วปล่อยทิ้งไว้ให้เย็นนาน 2 ชั่วโมง จากนั้นเทน้ำทิ้ง แล้วนำไปแช่ในน้ำเย็นใหม่อีก 2 ชั่วโมง เทน้ำทิ้งแล้วแช่อีก 2 ชั่วโมง แล้วสะเด็ดน้ำทิ้งเป็นครั้งสุดท้าย น้ำตาลในถั่ว 90% จะถูกกำจัดออกไป คราวนี้ตดจะไม่เหม็นมาก แต่ปริมาตรตดยังคงเท่าเดิม (ถ้าต้องทำถึงขนาดนี้ คงหายอยากหรือไม่ก็ยอมตด)
  างคนอาจผายลมเมื่อดื่มนมเข้าไป เพราะขาดเอนไซม์บางอย่าง เช่น แลคเตส ซึ่งช่วยย่อยน้ำตาลในนม
 หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มสำเร็จรูปที่มีส่วนผสมของน้ำเชื่อมฟรัคโทส เช่น เครื่องดื่มกระป๋อง น้ำผลไม้กระป๋อง บางคนอาจดูดซึมน้ำตาลชนิดนี้ได้น้อย ทำให้ท้องอืดหรือผายลมมากขึ้น
  หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มเติมแก๊ส เช่น น้ำอัดลม เบียร์ โซดา เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้จะไปเพิ่มปริมาณลมหรือแก๊ส ทำให้เรอและผายลมมากขึ้น
  ลดอาหารไขมันสูง เพราะอาหารประเภทไขมันจะใช้เวลาย่อยนานกว่าอาหารประเภทอื่น จึงอาจอยู่ในกระเพาะได้นานถึง 2 ชั่วโมง แบคทีเรียมีเวลาเหลือเฟือในการสร้างแก๊สตด แต่ถ้ากินไขมันน้อยลง ลำไส้จะบีบตัวให้อาหารผ่านไปยังลำไส้ใหญ่ได้เร็วขึ้น แบคทีเรียสร้างแก๊สในลำไส้ได้ลดลง ก็จะช่วยป้องกันอาการท้องอืดและผายลมได้
  อาหารค้างคืนที่นำออกจากตู้เย็นมาอุ่น ก็สามารถกระตุ้นให้แบคทีเรียในอาหารผลิตแก๊สได้การกินอาหารที่อุ่นซ้ำแล้วซ้ำอีก จึงมีส่วนทำให้ตดบ่อย
  อย่ากินอาหารหรือดื่มน้ำเร็วเกินไป เพราะระหว่างนั้นเราจะกลืนลมเข้าไปด้วย การกินช้าๆ เคี้ยวให้ละเอียด จะช่วยให้กลืนอากาศเข้าไปน้อยลง
  การอมลูกอม เคี้ยวหมากฝรั่ง หรือสูบบุหรี่ ก็เช่นเดียวกัน เวลาที่เรากลืนน้ำลายหรือสูบบุหรี่ ก็จะกลืนอากาศเข้าไปด้วย
  การพูดมาก ๆ ก็อาจทำให้กลืนลมเข้าไปมากเช่นกัน
  กินขิง อบเชย หรือเปปเปอร์มินท์ อาจช่วยลดแก๊สในกระเพาะได้
  กินอาหารเครื่องดื่มที่มีจุลินทรีย์ชนิดดี (probiotic) เป็นประจำ เช่น แลคโตบาซิลลัสในโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยว เพื่อให้จุลินทรีย์ชนิดดีไปแย่งอาหาร และลดจุลินทรีย์กลุ่มที่ชอบสร้างแก๊ส โดยเลือกโยเกิร์ตหรือนมเปรี้ยวที่มีน้ำตาลและไขมันต่ำ
  กินมื้อเล็กๆ แต่บ่อยขึ้น วันละ 5-6 มื้อ แต่ละมื้อกินไม่ต้องมาก หรือแค่เกือบอิ่ม
  ดื่มน้ำให้มากขึ้น โดยดื่มคราวละน้อยๆ แต่ดื่มบ่อยๆ ตลอดวัน
  การเดินหลังอาหารช้าๆ ประมาณ 10-15 นาที มีส่วนช่วยให้ลำไส้บีบตัวให้อาหารผ่านไปยังลำไส้ใหญ่ได้เร็วขึ้น แบคทีเรียมีเวลาสร้างแก๊สในลำไส้น้อยลง จึงช่วยลดการผายลมได้ การออกกำลังกายหรือเคลื่อนไหวให้มากเป็นประจำยังทำให้ลำไส้และระบบย่อยทำงานได้ดีอีกด้วย
          ในขณะที่คนส่วนใหญ่ถูกสอนให้กระมิดกระเมี้ยนตด แพทย์ชาวฝรั่งเศส กลับบอกว่า อย่าอั้นมันไว้   “คนเราควรจะผายลมเพื่อกำจัดแก๊สที่เกิดขึ้นในตัวให้หมดในแต่ละวัน เพราะมันเป็นไปตามขบวนการตามธรรมชาติ การกลั้นเอาไว้อาจเป็นอันตรายกับลำไส้ อย่าได้อายในการระบายกลิ่นอายของร่างกายออกไป เพราะจะเป็นการรักษาสุขภาพของตนเองให้อยู่ดี” 

 http://www.vcharkarn.com/varticle/44229

แสดงความคิดเห็น

>