Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

เทิดทูนพ่อหลวงของไทย 65

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่
- รักพ่อหลวงเป็นพ่อแผ่นดินของชาติไทย
- รักพ่อหลวงอย่าเอามาล้อเล่นดูหมิ่นเบื้องบน
- สถาบันเป็นที่สูงอย่าดึงมายุ่งกับการเมือง
- สิ่งต่างๆที่พ่อทำลูกจะสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ
- ลูกเป็นทหารขอทำตามทิศทางที่ชาติต้องการเพื่อพ่อหลวง
- พ่อหลวงทรงเป็นพ่อของแผ่นดิน

แสดงความคิดเห็น

>

334 ความคิดเห็น

อินทร 6 ม.ค. 58 เวลา 08:54 น. 1

บ้านเมืองของเรากำลังต้องการการปรับปรุงและการพัฒนาที่มีประสิทธิภาพ ทางที่เราจะช่วยกันได้ก็คือ การที่ทำความคิดให้ถูกและแน่วแน่ ในอันที่จะยึดถือประโยชน์ของบ้านเมืองเป็นที่หมาย ต้องเพลาการคิดถึงประโยชน์เฉพาะตัว และความขัดแย้งกันในสิ่งที่มิใช่สาระลง
พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทยในโอกาสขึ้นปีใหม่ 2543)

0
อินทร 15 ม.ค. 58 เวลา 09:05 น. 2

ในการปฏิบัติราชการนั้น ขอให้ทำหน้าที่เพื่อหน้าที่ อย่านึกถึงบำเหน็จรางวัลหรือผลประโยชน์ให้มาก ขอให้ถือว่าการทำหน้าที่ได้สมบูรณ์ เป็นทั้งรางวัลและประโยชน์อย่างประเสริฐ จะทำให้บ้านเมืองไทยของเราอยู่เย็นเป็นสุขและมั่นคง
พระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(เนื่องในโอกาสวันข้าราชการพลเรือน 1 เมษายน 2533)

0
สากล 28 ม.ค. 58 เวลา 11:18 น. 3

การปิดทองหลังพระนั้น เมื่อถึงคราวจำเป็นก็ต้องปิด ว่าที่จริงแล้วคนโดยมาก ไม่ค่อยชอบปิดทองหลังพระกันนัก เพราะนึกว่าไม่มีใครเห็น แต่ถ้าทุกคนพากันปิดทองแต่ข้างหน้า ไม่มีใครปิดทองหลังพระเลย พระจะเป็นพระที่งามบริบูรณ์ไม่ได้
พระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 25 กรกฎาคม 2506)

0
อินทร 29 ม.ค. 58 เวลา 14:15 น. 4

สามัคคีหรือการปรองดองกัน ไม่ได้หมายความว่าคนหนึ่งพูดอย่างหนึ่ง คนอื่นต้องพูดเหมือนกันหมด ลงท้ายชีวิตก็ไม่มีความหมาย ต้องมีความแตกต่างกัน แต่ต้องทำงานให้สอดคล้องกัน แม้จะขัดกันบ้างก็ต้องสอดคล้องกัน
พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(พระราชทานแก่ คณะบุคคลต่างๆในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2536)

0
อินทร 17 ก.พ. 58 เวลา 09:28 น. 5

ความสามัคคีและความถือตัวว่าเป็นไทยนี้ เป็นสิ่งที่มีค่าสูงสุด เพราะเป็นมรดกที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษของเรา และเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เรารวมกันอยู่ได้ ให้เราดำรงชาติประเทศและเอกราชสืบมาได้ ทุกคนควรจะได้พยายามรักษาความเป็นไทย และความสามัคคีนี้ไว้ให้มั่นคงในที่ทุกแห่ง อย่ายอมให้สิ่งหนึ่งสิ่งใดมาทำลายได้
พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(พระราชทานเพื่อเชิญไปอ่านในงานชุมนุมประจำปี ของสมาคมนักเรียนไทยในสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมัน 1 ก.ย.2526)

0
สากล 20 ก.พ. 58 เวลา 10:01 น. 6

คนเราอยู่คนเดียวไม่ได้ จะต้องอยู่เป็นหมู่คณะ และถ้าหมู่คณะนั้นมีความสามัคคี คือเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือในทุกเมื่อ ช่วยกันคิดว่าสิ่งใดสมควร สิ่งใดไม่สมควร สิ่งใดที่จะทำให้นำมาสู่ความเจริญ ความมั่นคง ความสุขก็ทำ สิ่งใดที่นำมาซึ่งหายนะหรือเสียหายก็เว้น และช่วยกันปฏิบัติหน้าที่ทางกายทั้งหน้าที่ทางใจ
พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว.
(พระราชทานในพิธีพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้าน จ.สระบุรี วันศุกร์ที่ 16 เม.ย.2519)

0
อินทร 25 ก.พ. 58 เวลา 09:13 น. 7

การจะพัฒนาทุกสิ่งทุกอย่างให้เจริญนั้นจะต้องสร้างและเสริมขึ้นจากพื้นฐานเดิมที่มีอยู่ก่อนทั้งสิ้น ถ้าพื้นฐานไม่ดีหรือคลอนแคลนบกพร่องแล้ว ที่จะเพิ่มเติมเสริมต่อให้เจริญขึ้นไปอีกนั้น ยากนักที่จะทำได้ จึงควรจะเข้าใจให้แจ้งชัดว่า นอกจากจะมุ่งสร้างความเจริญแล้ว ยังต้องพยายามรักษาพื้นฐานให้มั่นคง ไม่บกพร่อง พร้อมๆ กันไปด้วย
พระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรแก่นิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ณ จุฬาฯ 10 ก.ค.2523)

0
เเมน 26 ก.พ. 58 เวลา 10:18 น. 8

การมีเสรีภาพนั้นเป็นของดีอย่างยิ่ง แต่เมื่อจะใช้ จำเป็นจะต้องใช้ด้วยความระมัดระวังและความรับผิดชอบ มิให้ล่วงละเมิดเสรีภาพของผู้อื่น ที่เขามีอยู่เท่าเทียมกัน ทั้งมิให้กระทบกระเทือนถึงสวัสดิภาพและความเป็นปกติสุขของส่วนรวมด้วย มิฉะนั้น จะทำให้มีความยุ่งยาก จะทำให้สังคมและชาติประเทศต้องแตกสลายจนสิ้นเชิง
พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(แถลงการณ์ สภาการวิทยุและโทรทัศน์แห่งชาติตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพีง (สวชพ.) เรื่อง “การใช้เสรีภาพเพื่อความปรองดองสมานฉันท์” เนื่องในวันนักข่าว 5 มีนาคม

0
สากล 2 มี.ค. 58 เวลา 10:27 น. 10

คุณธรรมข้อหนึ่งที่ยังมีอยู่อย่างบริบูรณ์ในจิตใจของคนไทยก็คือ การให้ การให้นี้ไม่ว่าจะให้สิ่งใด แก่ผู้ใด โดยสถานใดก็ตาม เป็นสิ่งที่พึงประสงค์อย่างยิ่ง เพราะเป็นเครื่องประสานไมตรีอย่างสำคัญระหว่างบุคคลกับบุคคล และให้สังคมมีความมั่นคงเป็นปึกแผ่นด้วยสามัคคีธรรม
พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(เนื่องในโอกาสวันขึ้นปีใหม่ 31 ธ.ค.2545)

0
เเมน 3 มี.ค. 58 เวลา 09:44 น. 11

ขอให้ทุกคนระลึกว่าปัญหาทุกอย่างมีทางที่จะแก้ไขได้ ถ้าแก้คนเดียวไม่ได้ก็ช่วยกันคิดช่วยกันแก้หลายๆคน หลายๆ ทางด้วยความร่วมมือปรองดองกัน ปัญหาที่เกิดขึ้นนั้นจักได้ไม่กลายเป็นอุปสรรคขัดขวาง และบั่นทอนทำลายความเจริญและความสำเร็จของการงาน
พระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 13 กรกฎาคม 2533)

0
สากล 6 มี.ค. 58 เวลา 09:15 น. 12

ชาติบ้านเมือง คือ ชีวิต เลือดเนื้อ และสมบัติของเราทุกคน และการดำรงรักษาชาติประเทศนั้น มิใช่หน้าที่ของบุคคลผู้ใดหมู่ใด โดยเฉพาะ หากแต่เป็นหน้าที่ของทุกๆ ฝ่ายทุกๆคน ที่จะต้องร่วมมือกระทำ พร้อมกันไปโดยสอดคล้องเกื้อกูลกัน
พระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(ในพิธีตรวจพลสวนสนาม เนื่องในโอกาสพระราชพิธีรัชดาภิเษก 8 มิ.ย.2514)

0
อินทร 9 มี.ค. 58 เวลา 08:47 น. 13

คนเราอยู่คนเดียวไม่ได้ จะต้องอยู่เป็นหมู่คณะ และถ้าหมู่คณะนั้นมีความสามัคคี คือเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือในทุกเมื่อ ช่วยกันคิดว่าสิ่งใดสมควร สิ่งใดไม่สมควร สิ่งใดที่จะทำให้นำมาสู่ความเจริญ ความมั่นคง ความสุขก็ทำ สิ่งใดที่นำมาซึ่งหายนะหรือเสียหายก็เว้น และช่วยกันปฏิบัติหน้าที่ทางกายทั้งหน้าที่ทางใจ
พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(พระราชทานในพิธีพระราชทานธงประจำรุ่นลูกเสือชาวบ้าน จ.สระบุรี วันศุกร์ที่ 16 เม.ย.2519)

0
สากล 10 มี.ค. 58 เวลา 09:27 น. 14

ความสามัคคีปรองดองเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน กับความรักใคร่เผื่อแผ่ช่วยเหลือกันฉันญาติพี่น้อง สองประการนี้ คือคุณลักษณะสำคัญของไทย ที่ช่วยให้ชาติบ้าน เมืองอยู่รอดเป็นอิสระ และเจริญมั่นคง มาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย เนื่องในวันขึ้นปีใหม่ 2532)

0
เเมน 11 มี.ค. 58 เวลา 09:36 น. 15

คุณธรรม 4 ประการ ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย ประกอบด้วย
ประการแรก คือการรักษาความสัจ ความจริงใจต่อตัวเอง รู้จักสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง ประพฤติแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม
ประการที่สอง คือการรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเอง ให้ประพฤติปฏิบัติอยู่ในความสัจ ความดี
ประการที่สาม คือการอดทน อดกลั้น และอดออม ไม่ประพฤติล่วงความสัจสุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด
ประการที่สี่ คือการรู้จักและวางความชั่ว ความทุจริต
คุณธรรม 4 ประการนี้ ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝังและบำรุงให้เจริญงอกงามขึ้นโดยทั่วกันแล้ว จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุข ความร่มเย็น และมีโอกาสที่จะปรับปรุงพัฒนาให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไปได้ดังประสงค์

0
เเมน 16 มี.ค. 58 เวลา 08:50 น. 16

สัจจวาจา นั้นเป็นรากฐานของการทำงาน หรือการดำรงชีวิตที่ดีที่งามที่มีความก้าวหน้า มีความสำเร็จ “สัจ” เป็นการตั้งใจ ตั้งจิตใจ “วาจา” เป็นคำพูดออกมา แสดงถึงคำพูดนั้นต้องออกมาจากใจ คือเป็นการตั้งใจที่จะทำอะไรเพื่อความสำเร็จในงานนั้น
พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(ในโอกาสที่ผู้พิพากษาประจำกระทรวงยุติธรรมเฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับหน้าที่ 18 มีนาคม 2525)

0
สากล 17 มี.ค. 58 เวลา 09:29 น. 17

การดำรงชีวิตที่ดีจะต้องปรับปรุงตัวตลอดเวลา การปรับปรุงตัวจะต้องมีความเพียรและความอดทนเป็นที่ตั้ง ถ้าคนเราไม่หมั่นเพียร ไม่มีความอดทน ก็อาจจะท้อใจไปโดยง่าย เมื่อท้อใจไปแล้ว ไม่มีทางที่จะมีชีวิตเจริญรุ่งเรืองแน่ๆ
พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(พระราชทานแก่ครูและนักเรียน โรงเรียนจิตรลดา 27 มีนาคม 2523)

0
สากล 19 มี.ค. 58 เวลา 08:55 น. 18

ต่างคนต่างมีหน้าที่ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าทำเฉพาะหน้าที่นั้น เพราะว่าถ้าคนใดทำหน้าที่เฉพาะของตัวโดยไม่มองไม่แลคนอื่น งานก็ดำเนินไปไม่ได้ เพราะเหตุว่างานทุกงานจะต้องพาดพิงกันจะต้องเกี่ยวโยงกัน ฉะนั้นแต่ละคนจะต้องมีความรู้ถึงงานของผู้อื่นแล้วช่วยกันทำ
พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(พระราชทานแก่ คณะบุคคลต่างๆที่เข้าเฝ้าฯเนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 4 ธันวาคม 2533)

0
เเมน 23 มี.ค. 58 เวลา 10:18 น. 19

สามัคคี คือการเป็นแก่บ้านเมือง และช่วยกันทุกวิธีทาง เพื่อที่จะสร้างบ้านเมืองให้เข้มแข็ง ด้วยการเห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน ทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตแย่งตรงไปตรงมา นึกถึงประโยชน์ส่วนรวมนั้นคือความมั่นคงของบ้านเมือง
พระราชดำรัสของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(ในพิธีประดับยศนายตำรวจชั้นนายพล 15 มกราคม 2519)

0
อินทร 25 มี.ค. 58 เวลา 09:16 น. 20

งานด้านการศึกษาศิลปะและวัฒนธรรมนั้น คืองานสร้างสรรค์ความเจริญทางปัญญาและทางจิตใจ ซึ่งเป็นทั้งต้นเหตุทั้งองค์ประกอบที่ขาดไม่ได้ของความเจริญด้านอื่นๆทั้งหมด และเป็นปัจจัยที่จะช่วยให้เรารักษาและดำรงความเป็นไทยไว้ได้สืบไป
พระบรมราโชวาทของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
(ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของมหาวิทยาลัยศิลปากร 12 ตุลาคม 2513)

0