Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

การศึกษาไทย ที่หลักสูตรไร้หัวใจให้นักเรียน

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

การศึกษาของไทยที่บังคับ นักเรียนให้เรียนอย่างเยอะ

จขกท เป็นนักเรียนน่ะครับ ก็ได้ลองไปศึกษาการเรียนของต่างประเทศดูเขาเป็นยังไง สิ่งที่แตกต่างคือ
     นักเรียนต่างชาติเรียนเท่าที่ได้ใช้ แต่นักเรียนไทยเรียนเพื่ออะไร ข้อนี้สำคัญลองมาดูกัน วิชาคณิตศาสตร์เช่น เหตุผลรูปสามเหลี่ยมสี่เหลี่ยม พหุนามการ บวก ลบ คูณ หาร พหุนาม รากที่ต่างๆ สมการ อสมการ เศษส่วนพหุนาม วงกลม คอร์ดต่างๆ พาลาโบลา ทฤษฎีปีทาโกรัส คุณเอามาใช้อะไรบ้าง นี้คือประเด็น หลายคนบอกเรียนไปเพื่อประดับความรู้ ถามก่อนน่ะครับมีใครถามคุณบ้างว่า หนูพหุนามข้อนี้ตอบยังไง? ไม่มีใครถามแบบนี้หรอก มีแต่เขาจะถาม หนูเล่นไวโอลินเป็นไหม(สมมุติ)? เล่นได้ อ่าเก่งจัง . . . มันจะอย่างนี้มากกว่าไหม ปีทาโกรัสเรียนไปใช้อะไร? เรียนไปใช้หาส่วนหลังคาบ้านค่ะ/ครับ ถามอย่าง วิศวะกรมีไว้อะไร ทำไมไม่ให้เรียนตอนที่เขาได้ใช้ในทางอาชีพล่ะ วิทยาศาสตร์บ้าง ความเร็ว อัตราเร็ว เซลล์ โคมโมโซม อะไรบลาๆๆ เรียนไปเพื่อ? เอาไว้ให้ตอนที่เขาเรียนมหาลัยแล้วได้ใช้ในอาชีพไม่ดีกว่าเหรอ ความจริงทุกวันนี้น่ะ บวก ลบ คุณ หาร ได้ก็เอาตัวให้รอดในชีวิตประจำวันได้แล้ว ถ้ามันไม่เกะกะวิชาที่เรียนอ่ะน่ะ นักเรียนไทยเรียนเครียดและมากไปไหม ครูคนเดียวยังสอนให้ทุกวิชาไม่ได้ แล้วประสาอะไรกับนักเรียน อยากถามใครคิดหลักสูตรการสอน อยากทราบว่าคนคิดถึงหัวอกคนที่เรียนบ้างไหม ไอ่พหุนามเนี้ย ในชีวิตกรูได้ใช้อะไรเนี้ยและอื่นๆด้วย บอกเลยน่ะถ้ายังเป็นอย่างนี้อยู่น่ะจ้าง 1000 ชาตินักเรียนไทยไม่เก่งเท่าเขาหรอก เพราะ

1.คุณตัดอิสระตัวนักเรียน
2.เรียนแต่ทฤษฎี(คณิต ฯลฯฉ
3.นักเรียนไม่มีเวลาว่างในการใช้ชีวิต เพราะต้องทำการบ้าน เรียนกวดเพิ่มทั้งนี้เพราะเนื้อหาสอบเข้าที่ต่างๆมันเยอะตามที่เรียน ต้องเก่งไว้ก่อน
4.ยอแต่พวกเรียนเก่ง พวกไม่เก่งคุณไม่แลแม้แต่หางตา
5.เรียนไปใช้ในชีวิตประจำวันไม่ได้ เรียนไปแค่ใช้สอบบบบบ แล้วก็จบบที่สอบ ไม่ได้ใช้ในชีวิตเท่าไร เมื่อไรจะเปลี่ยนสักที หลักสูตรแบบนี้
ฯลฯ

 

แสดงความคิดเห็น

>

90 ความคิดเห็น

OverOzone 13 ม.ค. 58 เวลา 18:37 น. 1

เขาคงมีเหตุผลว่าให้ปูพื้นฐาน(แต่ไม่แน่ใจว่านี่คือปู?)เพราะถ้าเราไปเรียนถมกันที่มหาลัยมันจะหนักนะ
แต่ก็นั้นแหละมันก็ทำให้ตัดอิสระของนักเรียน ไม่สามารถให้ตัวนักเรียนได้ออกไปหาสิ่งที่ใช่กับตัวเอง ยกยอคนที่เก่งแค่ในตำราและการสอบ

0
.... 14 ม.ค. 58 เวลา 01:15 น. 2

ความรู้เรียนกันได้ แต่การนำความรู้มาใช้ต้องฝึกฝนด้วยตัวเอง และครูที่ยิ่งใหญ่ที่สุดก็คือธรรมชาติ

0
4thjt4jnh 14 ม.ค. 58 เวลา 05:49 น. 3

ไม่น่ะคงเข้าใจว่า มันเรียนไปบางอย่างมันใช้ไม่ได้ จริงเลยน่ะ ลองคิดดูสิครับ คุณเอาตัวประกอบของพหุนามไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้อะไรบ้าง มันมองไม้เป็นทางเลยน่ะครับ

0
.... 14 ม.ค. 58 เวลา 10:12 น. 5

คณิตศาสตร์เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง เหมือนกับคุณจะขันน็อตสักตัว คุณไม่รู้หรอกว่าถึงเวลาใช้จริงต้องใช้อะไรไปขัน ต้องใช้ไขควงหัวแฉก(มีหลายขนาด) ไขควงหัวแบน(มีหลายขนาด) ประแจแหวน(มีหลายเบอร์) หรือประแจหกเหลี่ยม(มีหลายเบอร์) คุณทำได้แค่เตรียมเครื่องมือให้พร้อม คือไม่จำเป็นต้องเก่งทุกอย่าง แต่ถึงเวลาใช้คุณมีเครื่องมือให้เลือกใช้เยอะย่อมดีกว่ามีเครื่องมือให้เลือกใช้อย่างจำกัด การศึกษาตามหลักสูตรไม่ใช่จุดสิ้นสุด แต่เป็นจุดเริ่มต้น ยิ่งเรียนยิ่งแคบลง เหมือนรูปทรงปิรามิด เจาะลึกไปเฉพาะทาง

0
incognito 14 ม.ค. 58 เวลา 13:37 น. 6

มีทั้งส่วนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยนะ
ถามว่าทำไมไม่ไปเรียนตอนเข้ามหาลัย
คิดว่าน่าจะเป็นเพราะอยากให้ค้นหาตัวเองเจอ
แม้แต่ตอนนี้เอง เด็กม.6 สายวิทย์เรียนมาทุกอย่างตามที่ว่ามา
หลายคนยังเลือกไม่ถูกเลยว่าจะเข้าคณะอะไร
แต่ก็เห็นด้วยที่ว่าเรียนเยอะเกินไป และทำให้ไม่ได้ใช้
ก็รกสมองอยู่อย่างนั้น น่าจะปรับให้เรียนเนื้อหาน้อยลงบ้าง
1.คุณตัดอิสระตัวนักเรียน
นั่นก็เพราะถ้าให้อิสระเกินไปจะเจอแบบนี้
ต่างประเทศไม่ต้องใส่เครื่องแบบนร. แต่เขาก็รู้ว่าควรใส่ชุดสุภาพ
ถ้าเป็นเด็กไทยก็จะมีใส่เสื้อกล้าม ขาสั้น รองเท้าแตะฟองน้ำมาเรียน
ต่างประเทศให้เวลาว่างตอนบ่าย เขาก็หางานอดิเรกทำ เล่นกีฬา อ่านหนังสือ
เด็กไทยไม่เล่นเกมเป็นบ้าเป็นหลัง ก็แว๊น สก๊อย ดูดหรี่ ติดยา ยกพวกตีกัน
อย่าคิดว่าไม่เยอะนะ มันยังมีอยู่ แต่ไม่ค่อยเป็นข่าวแล้ว (เป็นเรื่องธรรมดาไปแล้วมั้ง)
2.เรียนแต่ทฤษฎี
สายสามัญต้องเน้นทฤษฎีไว้ก่อน เพราะต้องใช้ในการเรียนต่อ อยากปฏิบัติหนักๆเชิญต่อสายอาชีพ
3.นักเรียนไม่มีเวลาว่างในการใช้ชีวิต เพราะต้องทำการบ้าน เรียนกวดเพิ่มทั้งนี้เพราะเนื้อหาสอบเข้าที่ต่างๆมันเยอะตามที่เรียน ต้องเก่งไว้ก่อน
การบ้านเยอะนี่ไม่เถียง 555 แต่เรื่องเนื้อหาเยอะนี่ ถ้ารู้ว่าจะเข้าคณะอะไร เวลาอ่านก็อ่านแค่วิชาที่ใช้สอบ ก็ไม่หนักมากนะ
4.ยอแต่พวกเรียนเก่ง พวกไม่เก่งคุณไม่แลแม้แต่หางตา
เขาคงมองว่าถ้าเรียนให้ดียังทำไม่ได้ แล้วอย่างอื่นจะไปทำอะไรได้
แม้คุณจะชอบหรือเก่งดนตรีกีฬา จะฝึกให้สุดโต่งเลยก็ได้
แต่อย่างน้อยคุณก็ควรจะมีปริญญาสักใบ มันบ่งบอกอะไรได้มากกว่าแค่ความรู้
5.เรียนไปใช้ในชีวิตประจำวันไม่ได้ เรียนไปแค่ใช้สอบบบบบ แล้วก็จบบที่สอบ ไม่ได้ใช้ในชีวิตเท่าไร
เพราะเอาไปใช้ในวิชาชีพที่สูงกว่านี้ ถ้าคุณคิดว่าไม่ได้ใช้ ก็ลาออกไปทำอาชีพที่ไม่ได้ใช้ครับ มีเยอะแยะ

0
sss555 14 ม.ค. 58 เวลา 17:07 น. 7

ถ้าตัดพวกวิชาที่ว่ามา จะให้เรียนอะไรกันล่ะครับ สิ่งที่เราจะได้มาจากการเรียนหนังสือไม่ใช่แค่ความรู้นะครับแต่สิ่งที่เราจะได้มากกว่าคือ ความพยายาม ความขยัน ความมีระเบียบวินัย เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมในการเรียนมหาลัย การที่เค้าชื่นชมคนที่เรียนเก่ง ก็เป็นเรื่องที่ไม่แปลกอะไรเพราะการที่เค้าจะเรียนเก่งได้ก็มาจากความขยัน ประเทศที่เรียนหนักกว่าเราก็มี เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี แต่ละประเทศก็มีมีวิธีพัฒนาการศึกษาที่แตกต่างกันไป ไม่ใช่ว่าผมชอบระบบการศึกษาไทยนะ ผมเองก็รอการเปลี่ยนแปลงอยู่ แต่เหตุผลของ จขกท ก็เกินไปหน่อย

ปล.ผมก็เรียนไม่เก่งนะ

0
chanyeol_lala 14 ม.ค. 58 เวลา 18:55 น. 9

คิดเหมือนจขกท.เหมือนกัน555เคยสงสัยน่ะว่าเวลาซื้อข้าวนี่เค้าจะบอกว่า4x-3y+Xกำลังสองเมื่อxเท่ากับด้านที่ยาวที่สุดของรูปสามเหลื่อมมุมฉากเมื่อด้านประกอบมุมฉากเป็น2และ3ตามลำดับ หรอ? สูตรต่างๆที่ท่องจำเข้าห้องสอบพอสอบเสร็จก็ลืมหมดแล้ว

0
ฉันติ่งเกิร์ลกรุ๊ป 14 ม.ค. 58 เวลา 19:11 น. 10

ตอนนี้เรียนม.4 สายวิทย์-คณิต เท่าที่เรียนมาก็คิดว่ามันต้องได้ใช้หมดเลยนะเนื้อหาแต่ละวิชาที่เรียนมันก็ต่างมีประโยชน์ทั้งนั้น ถึงมันจะเอาไปใช้ในชีวิตประจำวันไม่ได้ แต่ก็ต้องเอาไปใช้ในสายอาชีพของเราในอนาคตเหมือนกัน เช่นหมอ ก็ต้องเก่งเรื่องคำนวณ เรื่องทฤษฎีแบบละเอียดยิบมากๆ ถ้าไม่รู้เรื่องก็จะไปรักษาคนไข้ได้ยังไง จะไปรับผิดชอบชีวิตคนอื่นได้ยังไง ใช่ไหม? การศึกษาไทยก็ไม่ได้แย่มากนะ แต่เรื่องสอบวัดผมอะไรมันเยอะไปหน่อย ทุกวันนี้เหมือนเรียนไปเพื่อสอบยังไงไม่รู้ = = สอบกลางภาค สอบไฟนอล เดี๋ยวขึ้นม.5 ม.6 ก็เจอ 7วิชาสามัญที่ตอนนี้เพิ่มขึ้นเป็น 9 แล้ว ไหนจะ gat-pat o-net บลาๆ ไม่เข้าใจว่าจะเยอะไปไหน แล้วก็วันหนึ่งนี่เรียนวันละ 8 คาบเลย เกือบเอาตัวเองไม่รอดอยู่แล้ว กลัวจะจำที่เรียนมาไม่ได้ พยายามทบทวนอยู่ตลอด TT

0
apblocdy 14 ม.ค. 58 เวลา 19:21 น. 11
เรียนเนื้อหาที่ไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน เอาไปทำมาหากินไม่ได้...นี่แหละการศึกษาไทย
0
Felinonajang 14 ม.ค. 58 เวลา 19:47 น. 13

ถ้าเข้ามหาลัยแล้วไม่ได้อยู่คณะพวกที่ต้องเรียนสังคม เช่น อยู่วิศวะ ก็ควรตัดๆออกไป พวกสังคม พละ อะไรแบบนี้ เพราะมันไม่ได้ใช้ ถ้าแต่ถ้าไม่มีพื้นฐานพวก คณิต ฟิสิกส์ เคมี เลย ไปเริ่มตอนมหาลัย พี่ว่าไม่ทันแน่ๆ ตายก่อนพอดี ขนาดมีพื้นฐานกันมาก่อน ยังเกือบหวุดหวิดเอฟกันหลายชีวิตเลย 
พวกวิทย์ คณิต ภาษา ยังไงก็ตัดไม่ได้หรอกมันสำคัญ 

0
MaMa SuJu 14 ม.ค. 58 เวลา 21:22 น. 14
เราเป็น นักเรียน ม.6 
ที่ตอนนี้จะเป็น นักสอบ อยู่แล้ว
ถามว่าเรียนเก่งไหมก็ไม่ได้เก่งอะไรมากมาย แต่ต้องทนเรียนๆๆๆๆ ในแต่ละวันต้องทำการบ้านๆๆๆๆ ทำงานส่งๆๆๆๆ 
เวลาใช้ชิวิตเหมือนเพื่อนคนอื่นที่เขาไม่ค่อยสนใจเรื่องเรียนก็ไม่ค่อยมี ต้องทำงานบ้านแล้วก็อ่านหนังสือ เจียดเวลานอนมาทำสิ่งที่อยากทำ หนึ่งอาทิตย์ทำงานเจ็ดวันเหมือนคนได้เงินเดือนเลย - -" 
ที่ต้องดิ้นรนขนาดนี้เพราะอะไรรู้ไหม?

"....เพราะค่านิยมที่ว่าการเรียนต่อในมหาลัยดีๆ คือเครื่องยืนยันการรันตีว่าจบออกมาแล้วจะมีงานทำแน่ๆ...."

ซึ่งมันก็ไม่ได้จริงเสมอไป หรือคิดว่ายังไงกันบ้าง??

0
Bubble prim 14 ม.ค. 58 เวลา 22:22 น. 16

เห็นด้วยนะ ยิ่งคณิตพีทาโกรัสเนี่ย อื้อหืออออ #จะให้นักเรียนสร้างบ้านเหรอ?




0
Black_Pheonix 14 ม.ค. 58 เวลา 22:30 น. 17

ที่จขกท. พูดมาก็มีส่วนถูกนะ การศึกษาไทยไม่สนใจคนที่เรียนไม่เก่ง กลับแต่จะ

ปัดไสไล่ส่ง แทนที่ครูจะต้องเป็นฝ่ายช่วยนักเรียนกลับปัด(บางคน) บอกว่าเด็กมัน

เลว บางครั้งเด็กอาจมีปัญหาส่วนตัวก็ได้ เช่น ครอบครัวมีปัญหา


ส่วนเรื่องเรียนหนักอ่ะ ไม่เถียงเลย แต่เรียนไปแล้วไม่ใช้ดิ น่าคิด โดยเฉพาะ

ม.ปลายซึ่งเป็นช่วงที่ต้องเตรียมศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัย อยากเป็นหมอ อยาก

เป็นวิศวะกร ฯลฯ ก็ต้องเรียนสายวิทย์ใช่ป่ะ

แต่ทำไมต้องท่องบทอาขยาน ต้องจำผังกลอนชนิดต่างๆ ต้องอ่านวรรณคดี

วิเคราะห์วรรณคดี ต้องมานั่งสมาสคำ สนธิคำ ต้องอ่านประวัติศาสตร์

ไทยสากล เศรษฐศาสตร์ หน้าที่พลเมือง การเมืองการปกครอง ภูมิศาสตร์ ในวิชา

สังคม ทั้งหมดนี้เป็นวิชาทางศิลป์ทั้งสิ้น

สายวิทย์จะต้องเรียนมันถึง 3 ปี เลยหรอ ??? ผมว่ารวบๆ มันเหลือซักปีนึงก็มาก

แล้วนะ แล้วอีก 2 ปี ก็หนักไปทางฟิสิกส์ เคมี ชีวะ เลย และเรียนภาษาอังกฤษ

ควบคู่ไป (ก็เลยไม่แปลกไงที่มหาวิทยาลัยรับคนเรียนสายวิทย์เข้ามาเรียนสาย

ศิลป์ได้)

แม้แต่เย็บปักถักร้อย ขายของ ในวิชาการงานฯ หรือกระทั่งเล่นดนตรี

ไทย สากล วาดภาพ ในวิชาศิลปะ สุขะ+พละด้วย

ทั้งหมดนี้ไม่ใช่วิชาการเลย เป็นวิชาปฏิบัติ

ควรเรียนถึง 3 ปีหรอ ??? มหาวิทยาลัยยิ่งไม่ได้ใช้หนักเลย (ถ้าไม่ใช่คนเรียนสาย

ศิลปกรรม) ผมว่าเปลี่ยนเป็นเลือกเสรีจะดีกว่าไหม ??? เพราะทั้งหมดนี้ต้องขึ้นอยู่

กับความสนใจของผู้เรียน



ปล. ทั้งหมดนี้ คหสต.

0
ABCDEF 15 ม.ค. 58 เวลา 00:56 น. 18

เราไม่เห็นด้วยกับการเรียนไปแล้วไม่ใช้น่ะ คือ เรามองว่าความรู้ถ้าเราไม่ติดตัวไว้เราก็ไม่มีวันได้ใช้มันแต่ถ้าเรามีเราก็จะได้ใช้มันเอง

สมมติเราเป็น นร ม4 ถามว่าถ้าเราไม่ได้เรียน เลข ไม่ได้เรียน ฟิสิกส์ เราก็จะไม่รู้ว่าเรื่องพวกนี้มันเป็นยังไงเราก็จะไม่เลือกที่จะเอาความรู้ไปใช้ต่อยอดในการเรียนพวกสายวิศวะไรแบบนี้ใช่ป่ะ แต่ถ้าเรารู้ว่าเรื่องพวกนี้เป็นยังไง อย่างน้อยเราก็มีข้อมูลไว้เอาไปต่อยอดเพิ่มขึ้น ก็ได้เปรียบกว่าคนที่ไม่รู้ใช่ป่ะ แล้วไหนจะเรียนเพื่อเป็นความรู้ทั่วไปติดตัวในการดำรงชีวิต เรียนไปเพื่อพัฒนากระบวนการคิดอย่างเป็นเหตุเป็นผลอีกล่ะ คนเราบางทีเจอสถานการณ์ที่เราต้องประยุกต์ใช้ความรู้พวกนี้สักวันใครจะรู้

แต่ข้ออื่นเราเห็นด้วยน่ะว่า -การเรียนรู้มันต้องอยู่ที่ นร.เองว่า อยากจะเเสวงหา อยากจะจัดระบบว่าจะสนใจสิ่งนี้สิ่งนั้นไม่ใช้ยัดๆให้จน นร.เกลียดการเเสวงหาความรู้แบบที่เป็นอยู่

0
ABCDEF 15 ม.ค. 58 เวลา 01:07 น. 19

เสริมนิดนึงว่าเรามักจะให้สิทธิพิเศษกับวิชา"สายศิลป์"ว่าได้ใช้ใน ชีวิตประจำวันมากกว่า แบบ เราควรจะรู้สิทธิขั้นพื้นฐาน, ควรจะรู้เศรษฐศาสตร์, ควรจะรู้ศิลปะ, ควรจะรู้สถานการณ์ปัจจุบัน แต่เราไม่ค่อยมองวิชา"สายวิทย์"ในฐานะเดียวกัน ซึ่งเรา จากมุมมองเด็กสายวิทย์มองว่า เห้ย มันก็สำคัญไม่ต่างกันน่ะ การที่เรามองสิ่งต่างๆอย่างเป็นระบบ มองสิ่งต่างๆว่ามันเป็นกลไกลแบบวิทยาศาสตร์ว่ามันมีที่มาที่ไปยังไงมันก็จำเป็นในการดำรงชีวิตน่ะ แล้วความรู้พวกนี้มันก็ไม่ได้ว่าจะถูกทิ้งไว้ไม่ได้ใช้เลย เช่น เราเคยเห็นคนที่ออกข่าวไปใช้ยาขายใน net อ้างสรรพคุณเวอร์แล้วแพ้ ถ้าเขามีความเข้าใจในกลไกลการทำงานของร่างกายมนุษย์สักนิดนึงเขาก็อาจจะไม่ต้องมาเจ็บตัวเพราะถูกหลอกก็ได้ ตอนนี้ จขกท อาจจะบอกว่าก็เรื่องพวกนี้มันได้ใช้ในชีวิตประจำวันก็ใส่ให้เรียนสิ นั่นก็เพราะ เรารู้เเล้วว่ามันมีประโยชน์ยังไง แต่ถ้าเราไม่รู้มาก่อนเราก็อาจจะปฏิเสธการสอนเรื่องพวกนี้ใน รร. ด้วยเหตุผลว่าไม่ได้ใช้เหมือนกันก็ได้ จริงป่ะ

0
Meisa 15 ม.ค. 58 เวลา 08:22 น. 20

เคยอ่านบทความของอาจารย์คนหนึ่งนะว่าหลักสูตรที่ให้เรียนครบทุกวิชาน่ะ เพราะเขาให้ฝึกคิดรอบด้าน ไม่ได้เรียนไว้เพื่อสอบอย่างเดียว ศาสตร์แต่ละศาสตร์มันมีการคิดที่แตกต่างกัน วิชาที่เรียนมันทำให้ได้ใช้สมองทุกส่วนทั้งศาสตร์และศิลป์ และอีกแง่หนึ่งคือสำรวจตัวเองด้วยว่าชอบศาสตร์ไหนเพื่อจะได้ต่อยอดต่อไป

ที่การศึกษาไทยยังสู้ชาติอื่นไม่ได้เราว่ามันอยู่ที่ระบบการจัดการทั้งการจัดการเรียนการสอนของครูการวัดผลประเมิน
ผล ค่านิยมของคนสังคม การเมืองคือเยอะน่ะมันเกี่ยวข้องกับการศึกษาทั้งนั้น

ต่างประเทศก็เรียนเยอะนะโดยเฉพาะประเทศในเอเชียแต่การจัดการเรียนการสอนน่ะจะมีความน่าสนใจในขณะที่ไทยเน้นการสอนแบบบรรยาย แล้วต่างประเทศจะมีการวัดผลในเนื้อหาเท่าที่ครูสอนไปแต่ของไทยคือเน้นข้อสอบยากโดยบางทีมันก็เกินกว่าที่ครูสอน รวมทั้งระบบการจัดการมีประสิทธิภาพกว่าด้วย

0