[…] ข้ารู้สึกถึงงานศพอยู่ในหัว ผู้ร่วมอาลัยอาวรณ์วนเวียน ย่ำก้าวแล้วเก้าเล่ากระทั้งรู้สึกได้ ว่าบรรยากาศนั้นแทรกผ่านเข้ามา จนเมื่อพวกเขาทั้งหลายพากันนั่งลง พิธีกรรมดั่งเสียงกลอง กระหน่ำซ้ำตี ครั้งแล้วครั้งเล่า กระทั่งใจข้าด้านชาไร้ความรู้สึก จากนั้นข้าได้ยินเสียงพวกเขายกโลงศพกรีดผ่านวิญญาณข้า ด้วยรองเท้าตะกั่วคู่เดิมนั้น และแล้วความว่างเปล่าก็เริ่มครางเสียง ราวกับสวรรค์เป็นดั่งระฆัง และชีวิตเปรียบดั่งโสตประสาท ตัวข้าและความเงียบงัน การแข่งขันอันแปลกพิกล หักพัง เปลี่ยวเหงา ที่แห่งนี้
เมื่อนั้น พื้นที่แห่งเหตุผลก็แตกสลาย ปล่อยข้าให้จมดิ่งลง กระแทกกระทบโลกในทุกระดับ จนกระทั้งสิ้นสูญความรู้สึกใด ๆ […] (จาก I felt a funeral in my brain)
นี่เป็นกวีที่แผงการอุปมาภาวะซึมเศร้า ออกมาทางภาษา ของ เอมิลี่ ดิ๊กคินสัน และมีศิลปินอีกหลายคนที่ถ่ายทอดออกมาทางภาพวาด เช่น แวนโก๊ะ, เอ็ดเวิร์ด มุงค์, ฟรานซิสโก โกยา, ฯลฯ
ภาพ Saturn Devouring His Son ของ Francisco Goya
นักเขียนเป็นอาชีพที่เสี่ยงเกิดภาวะซึมเศร้า และเป็นกลุ่มที่อยู่ในเรทมีโอกาสเกิดภาวะซึมเศร้าสูง และสไตล์การเขียนสามารถเชื่อมโยงกับการเสี่ยงฆ่าตัวตายได้ ความคิดสร้างสรรค์ อาการซึมเศร้า และการฆ่าตัวตายเป็นสิ่งเชื่อมโยงกัน เราจะเห็นได้ว่ามีนักสร้างสรรค์หลายคนที่มีอาการเจ็บป่วยทางกาย และความซึมเศร้าจะมีผลกระทบต่อความคิดพวกเขา เช่น Ernest Hemingway, Sylvia Plath, John Keats เป็นต้น ซึ่งนักเขียนเหล่านี้ได้มีบางอย่างที่แอบแผงในงานเขียนของเขา ที่ถูกเล่าผ่านบุคคลหนึ่ง ซึ่งมันมีการแฝงอยู่ของภาวะซึมเศร้า และสัญญาณของการฆ่าตัวตาย
ภาวะซึมเศร้านั้นอาจเกิดจากพันธุกรรมรุ่นสู่รุ่น ถ้าคนในครอบครัว ปู่ ย่า ตา ยาย ใครมีประวัติโรคซึมเศร้า หรือการฆ่าตัวตาย ก็มีโอกาสที่คนรุ่นต่อมาจะเกิดภาวะเช่นนี้ และแน่นอน ภาวะซึมเศร้าก็เกิดจากสภาพชีวิตที่ผู้ป่วยได้พบเจอด้วยเช่นกัน
โดยคนที่เป็นโรคซึมเศร้านี้ ไม่ได้หมายความว่า พวกเขาเป็นคนอ่อนแอ ไม่สู้ปัญหา หรือเป็นคนคิดมาก เอาแต่ท้อแท้ หากแต่เขาเป็นเพราะตัวโรคที่เขาเป็น แม้โรคซึมเศร้าจะเป็นโรคทางอารมณ์ แต่ผู้ป่วยก็ต้องการ การบำบัด รักษา ดูแลเอาใจใส่ (ต้องดูแลเอาใจใส่อย่างถูกวิธีด้วย เพราะไม่อย่างนั้น ผู้ป่วยอาจคิดว่าเป็นการไปซ้ำเติม) และภาวะนี้มีผลกระทบทางด้านการสร้างสรรค์ ทางด้านอารมณ์ ความคิด และพฤติกรรมไปพอสมควร อีกทั้งยังทำให้การทำงานของนักเขียนแย่ลงไปด้วย
นักเขียน รวมถึงนักสร้างสรรค์แทบทุกแขนง มักมีประวัติอาการซึมเศร้า คลุ้มคลั่ง และติดยา และขึ้นชื่อในเรื่องสุขภาพจิตที่ผิดปกติ
เหตุผลอาการซึมเศร้าของนักเขียน ก็เป็นเหตุผลปกติทั่วไป เช่น เหตุผลทางเคมีในร่างกาย ประสบการณ์ชีวิตวัยเด็ก สภาพความเป็นอยู่ สิ่งแวดล้อม ฯลฯ
โดยอาชีพนักเขียนเป็นอาชีพที่มีปัจจัยร่วมหลายอย่างของภาวะซึมเศร้า เช่น อาชีพนักเขียนเป็นอาชีพที่เปลี่ยวเหงา และอยู่กับการครุ่นคิด การทำงานในเวลาที่ผิดปกติ อาหารการกิน และไปจนถึงอาการ writer’s block หรืออาการตัน ที่ค่อนข้างเป็นเอกลักษณ์ของอาชีพนักเขียน ซึ่งอาชีพอื่นมักไม่ค่อยเกิดอาการแบบนี้ ถ้าหมอเกิดอาการ doctor’s block แล้วไม่รู้จะให้ยาผู้ป่วยยังไงนี่ซวยมากๆนะ (หัวเราะ)
และแม้จะเป็นนักเขียนที่ประสบความสำเร็จ ก็ล้วนมีอาการกลัวด้วยเช่นกัน กลัวว่าตนจะไม่สามารถเขียนได้สำเร็จเท่างานที่เคยเขียนมาครั้งก่อน และอาจถึงขนาดคิดไปว่า ‘ไม่ว่าจะเขียนงานมากขนาดไหน แต่เขาจะไม่สามารถทำได้เท่างานก่อน ที่ตนเองเคยสำเร็จได้อีกแล้ว’ และมันก็กลายเป็นภาวะกดดัน จนกลายเป็นอาการซึมเศร้า (โดนเฉพาะนักเขียนในประเทศที่แวดวงวรรณกรรมกว้าง มีผู้กลุ่มผู้อ่าน นักวิจารณ์มากมายและกว้างขวาง ที่จริงแล้วก็รวมถึงในวงการที่ขนาดเล็กด้วยเช่นกัน เอาเข้าจริง ๆ แล้ว)
ทำไม? มีเหตุผลหรือไม่? สมควรหรือไม่ที่ใครสักคนจะถูกคาดหวัง ให้กลัวในสิ่งที่เขารู้ว่าเกิดมาเพื่อทำ แล้วงานสร้างสรรค์มีอะไรกัน ที่ทำให้เราต้องกังวลถึงสุขภาพจิตของกันและกัน ในแบบที่สาขาอาชีพอื่นไม่เป็นกัน
มีนักสร้างสรรค์ดี ๆหลายคน ในศตวรรษที่ 20 ที่ตายตั้งแต่อายุยังน้อย และตายด้วยน้ำมือของตัวเอง แม้แต่คนที่ไม่ได้ฆ่าตัวตายก็ดูจะเพี้ยน ๆ จากพรสวรรค์ที่มีอยู่ในตัว
อย่างเช่น นอร์มัน เมลเลอร์ นักเขียนชาวอเมริกัน ที่เคยได้รางวัล Pulitzer Prizes สองครั้ง และเป็นหนึ่งในนักเขียนที่ริเริ่มการเขียนด้วยวิธีใช้ ‘การบรรยายสารคดี’ (narrative nonfiction) ซึ่งเป็นประเภทงานเขียนที่เรียกว่า ‘การเขียนข่าวแนวใหม่’ (New Journalism) ที่ใช้ไปตั้งแต่บทความไปจนถึง ‘นวนิยายเชิงสารคดี’ (Nonfiction novel) ก่อนจะเสียชีวิต เขาเคยให้สัมภาษณ์ครั้งสุดท้ายว่า “หนังสือทุกเล่มของผม ปลิดชีวิตผมไปทีละนิด”
เราได้ยินคำจำเภทนี้มานานมาก นานจนเราเองอาจฝังความเชื่อ หรือยอมรับว่า ความคิดสร้างสวรรค์และความทุกข์ระกำเป็นของคู่กัน และงานศิลปะจะนำไปสู่ความตรอมตรมและหมองเศร้า
ถ้าคุณอยากให้บรรดานักสร้างสรรค์มีชีวิตยืนยาวขึ้น แล้วคุณรับได้ไหม กับความคิดแบบนี้?
เครดิต ข้อมูล :
http://en.wikipedia.org/wiki/Black_Paintings
http://www.elizabethmoon.com/writing-depression.html
https://www.ted.com/talks/andrew_solomon_depression_the_secret_we_share
https://www.ted.com/talks/elizabeth_gilbert_on_genius
http://en.wikipedia.org/wiki/Emily_-inson
http://en.wikipedia.org/wiki/Norman_Mailer
ยอดถูกใจสูงสุด
เราว่าก็จริงนะคะ เหมือนเราก็จะเป็น 555
แต่สภาพของเราตอนนี้คงต้องใช้ว่า "นักเขียนกับภาวะติดเกม"