Dek-D.com ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสบการณ์ของ
ผู้ใช้ให้ดียิ่งขึ้น เรียนรู้เพิ่มเติมที่นี่
ยอมรับ

วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง (0__0')

ตั้งกระทู้ใหม่
ตั้งกระทู้ใหม่

รรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง

ประเภทของวรรณธรรมท้องถิ่นภาคกลาง

จากลักษณะเด่นของวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางที่แพร่อยู่ในกลุ่มประชาชนทั่วไปเมื่อนำมาพิจรณาจัดแบ่งประเภทวรรณกรรมท้องถิ่นตามฉันทลักษณ์ของภาคกลางแล้ว แบ่งได้เป็น  ประเภทกลอนนิทาน และวรรณกรรมกลอนแหล่ 

. วรรณกรรมประเภทกลอนสวด

วรรณกรรมประเภทกลอนสวด คือวรรณกรรมที่ประพันธ์ด้วย กาพย์ยานี ฉบัง และสุรางคนางค์ สลับกันไปจนจบเรื่อง ซึ่งบองครั้งก็เรียกว่า ‘คำกาพย์’ ในอดีตประชาชนจะมาชุมนุมกันที่วัด ในวันอุโบสถศีล เมื่อเสร็จพิธี

การทางสงฆ์มักจะฟังการสวดหนังสือนิทาน

    การสวดหนังสือหรือการอ่านวรรณกรรมประเภทนิทานเป็นทำนอง เสนาะหูแล้ว ประชาชนยังได้เพลิดเพลินได้คติธรรมและแนวทางในการดำเนิน

ชีวิตที่เพลิดเพลิน ตามเนื้อเรื่อง และฟังไพเราะเสนาะหูแล้ว ประชาชน ในการดำเนินชีวิตที่ดี การสวดหนังสือนี้อาจจะให้ผู้อวุโสที่อ่านหนังสือได้และมีเสียงไพเราะเป็นผู้อ่าน บ้างครั้งก็ได้เด็กวัดที่เรียนหนังสือดีเป็นผู้อ่านให้ฟังวรรณกรรมประเภทกลอนสวดนี้มีการพบต้นฉบับที่พิมพ์เผยแพร่แล้วไม่กี่เรื่อง เช่น สังข์ศิลป์ชัย กลอนสวด สุบินกลอนสวด บางครั้งเรียกว่า สุบินคำกาพย์ ปลาบูทอง โสนน้อยเรือนงาม เป็นต้น

. วรรณกรรมประเภทบทละครนอก

มักเป็นตอนๆ เพื่อใช้ในการเล่นละคร การเล่นละครนอกนั้นเป็นการแสดงพื้นบ้านที่นิยมกันมากในสมัยยุธยาและรัตนโกสินทร์ตอนต้นแพร่กระจายอยู่ในหมู่ชาวบ้าน

. วรรณกรรมประเภทกลอนนิทาน

มักจะประพันธ์จนจบเรื่องบริบูรณ์ วรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลางที่แพร่หลายมากในสมัย .- เพราะกิจการโรงพิมพ์มีความเจริญรุ่งเรืองประจวบกับประชาชนชาวไทยจึงนิยมซื้อหนังสือกลอนนิทานมาอ่าน แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงการเรียนรู้วรรณกรรมท้องถิ่นจากการเล่านิทาน การดูมหรสพ หรือการฟังการอ่านหนังสือในที่ประชุม มาเปฌนการซื้อหนังสือกลอนนิทานมาอ่านเอง

. วรรณกรรมประเภทกลอนแหล่

เป็นเียงชนิดเดียวที่ยอมให้พระภิกษุขับลำโดยไม่ถือว่าผิดศิล การแหล่เป็นการอ่านทำนองเสนาะที่มีเสียงเอื้นขึ้นลง จึงดูเหมือนกับการร้องเพลง ส่วนใหญ่จำต่อกันมาไม่ได้จดบันทึก สามารถแหล่นอกเหนือจากที่สอนไว้ เพื่อเป็นการเปลี่ยนบรรยากาศและความบันเทิงใจของผู้ฟัง เช่น แหล่ให้พร

ปริทรรศน์วรรณกรรมประเภทกลอนสวดเรื่อง สังข์ศิลป์ชัย

ในภาคกลางปรากฎว่ามีผู้ประพันธ์เป็นหลายสำนวน คือประพับธ์เป็นกลอนบทละครนอก (ไม่จบเรื่องและสมเด็จเจ้าฟ้า กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงนิพนธ์เป็นกลอนบทละครดึกดำบรรพ์อีกสำนวนหนึ่ง



ต่อข้างล่าง

V
v
v

แสดงความคิดเห็น

>

6 ความคิดเห็น

Mikan_daisuki 10 ก.ย. 58 เวลา 10:19 น. 1

. เนื้อเรื่องย่อ

ที่นครเปงจาล พระยากุศราช เป็นเจ้าเมือง มีน้องสาวรูปงามชื่อนางสุมุณฑา วันหนึ่งนางไปชมสวน มียักษ์กุมภัณฑ์มาอุ้มเอานางไปยังเมืองอโนราช แล้วแต่งตั้งเป็นมเหสี พระยากุศราชเสียใจมาก จึงออกบวชติดตามไปถึงเมืองจำปา และได้พบธิดาทั้ง  ของนันทะเศรษฐี จึงสึกและขอนางเป็นมเหสี พระยากุศราชเรียกมเหสีทั้ง  มา ให้ทุกนางตั้งจิตอธิษฐานขอเอาลูกชายผู้มีบุญฤทธิ์มาเกิด เพื่อจะได้ติดตามเอานางสุมุณฑากลับคืนมา พระอินทร์ได้ส่งเทพ  องค์มาเกิดในท้องนางทั้งสอง องค์หนึ่งเกิดเป็นสีโห (หัวเป็นช้างเกิดในท้องเมียหลวง องค์สองศิลป์ชัย (เป็นคนและสังข์ทอง (หอยสังข์เกิดในท้องเมียน้อย เมียหกคนได้คนสามัญมาเกิด โหรหลวงได้ทำนายว่าลูกที่เกิดจากเมียน้อยและเมียหลวงจะเป็นผู้มีบุญ คำทำนายของโหร ไม่เป็นที่พอใจของมเหสีทั้งหก มเหสีทั้งหกจึงว่าจ้างให้โหรทำนายใหม่ โหรเห็นแก่อามิสสินจ้างจึงทำนายใหม่ว่าลูกที่เกิดจากมเหสีทั้ง  มีฤทธิ์เดชมาก ลูกที่เกิดจากนางจันทาและนางลุน เป็นทั้งคนทั้งสัตว์ เกิดมาอาภัพอัปปรีย์และ- เมื่อประสูติ พระยากุศราชจึงขับไล่นางจันทา นางลุน พร้อมพระโอรสออกจากเมือง พระอินทร์เล็งเห็นความทุกข์ยาก จึงมาเนรมิตเมืองไว้ต้อนรับให้ได้อยู่อาศัย ยังเมืองนครศิลป์แห่งนี้ พระยากุศราชเมื่อขับไล่เมียแล้วให้โอรสทั้งหกไปตามเอาน้องสาวของตนคืนจากยักษ์กุมภัณฑ์ โอรสทั้งหกหลงทางมายังเมืองนครศิลป์ และได้โกหกศิลป์ชัย ให้ส่งสัตว์ป่าเข้าเมืองด้วยเพื่อเป็นพยานว่าพวกของตนได้พบกับศิลป์ชัยแล้ว เมื่อถึงเมืองโอรสทั้งหกก็โอ้อวดกับบิดาว่า พวกเขามีอำนาจเรียกสัตว์ทุกชนิดเข้าเมืองได้ ทุกคนก็หลงเชื่อว่าโอรสทั้งหกมีอำนาจ เมื่อบิดาสั่งให้โอรสทั้งหกติดตามหาอา พวกเขาก็มาโกหกศิลป์ชัยว่าบิดาสั่งให้ศิลป์ชัยไปตามหาอา ถ้าได้อาคืน ความผิดที่แล้วมาพ่อจะยกโทษให้ ศิลป์ชัยและน้องไปถึงด่านงูซวง กุมารทั้งหกไม่กล้าเดินทางต่อไป ให้สังข์ทองกับศิลป์ชัยเดินทางต่อไปรบกับยักษ์ฆ่ายักษ์ตาย เอาอาคืนมาได้ เมื่อถึงแม่น้ำใหญ่ กุมารทั้งหกผลักศิลป์ชัยตกเหว และบอกอาว่าศิลป์ชัยตกน้ำตาย อาไม่เชื่อจึงเอาผ้าสะใบ ปิ่นเกล้าและช้องผมเสี่ยงทายไว้ เมื่อกลับมาถึงเมือง พระยากุศราชได้จัดงานต้อนรับ และทราบความจริงว่ากุมารทั้งหกเป็นคนโกหกมาโดยตลอดจึงถูกลงโทษขังคุกพร้อมมารดาของตน พระยากุศราชพร้อมน้องสาวเชิญเอานางจันทาและนางลุน พร้อมศิลป์ชัย สีโหและสังข์ทองเข้ามาในเมือง อภิเษกศิลป์ชัยให้เป็นเจ้าเมืองเปงจาล ต่อมาศิลป์ชัยได้ปล่อยให้คนทั้งหมดออกจากคุก ปกครองบ้านเมืองเป็นสุขสืบมา ส่วนยักษ์กุมภัณฑ์นั้น พระยาเวสสุวัณได้ชุบชีวิตคืนชีพขึ้นมา คิดถึงนางสุมุณฑาผู้เป็นมเหสี จึงไปสู่ขอนางจากศิลป์ชัย และทั้งสองอยู่เป็นสุขตราบสิ้น


 
ต่อข้างล่าง

0
Mikan_daisuki 10 ก.ย. 58 เวลา 10:20 น. 2

. สำนวนโวหาร

การดำเนินเรื่องเรียงลำดับแบบเล่านิทานตอนใดที่ไม่สนุกก็ดำเนินเรื่องแบบรวดเร็ว ส่วนตอนใดที่โอกาสแสดงโวหารได้ดี กวีมักจะพรรณนาอยู่นานโดยเฉพาะการชมป่าชมดง 

.. การพรรณนา บทพรรณนาฉากเป็นสำนวนเด่นของวรรณกรรมท้องถิ่นที่กวีมักจะแสดงฝีปากไว้อย่างปราณีต ซึ่งสร้างความพึงพอใจให้แก่ผู้อ่าน ผู้สวด และผู้ฟังเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะเรื่องสังข์ศิลป์ชัยกลอนสวดนี้ พบว่าทุกตอนที่ตัวละครเดินทางจะมีการพรรณนาฉากชมดง ชมสัตว์ นั่นคือเมื่อตัวละครเสด็จในป่าย่อมคร่ำครวญถึงเวียงวังที่เคยได้รับความสุขคิดถึงผู้คนที่ตนต้องจากมา

.. การใช้โวหาร

โวหารเกี้ยวพาราสี พบว่าในวรรณกรรมพื้นบ้านมักให้ความสำคัญมาก กวีจะพรรณนาทุกแง่ทุกมุมเพื่อแสดงฝีปากอย่างหนึ่ง บางแห่งยังใช้โวหารสองแง่สองง่ามในเชิงสังวาสอยู่ด้วยเช่นเดียวกับเพลงพื้นบ้าน

.. การใช้สำนวน

ในเรื่องนี้ ได้นำสำนวนภาษิตที่รู้จักกันทั่วไปมาแทรกในการดำเนินเรื่องจำนวนมาก อันเป็นส่วนสำคัญที่สร้างอรรถรสให้แก่เนื้อหาอย่างยิ่งสำนวนภาษิตเหล่านี้ นอกจากจะเป็นการอธิบายสื่อความหมายชัดเจนแล้ว ยังช่วยให้สำนวนโวหารประณีตยิ่งขึ้น

. ทัศนะต่อสังคม

-ให้ทัศนะว่า หญิงหม้ายอยู่ในสังคมไม่มีใครเกรงใจ เหมือนกับต้นไม้ไม่มีหนามบ้านไม่มีรั้ว และยังเป็นที่ติฉินนินทาของชาวบ้านชาวเมือง

-ให้ทัศนะว่า “หญิงเป็นบริวารของชาย” ไม่มีสิทธิเสรีภาพเหมือนปัจจุบัน เมื่อเป็นภรรยาแล้วต้องยอมรับว่าสามีเป็นใหญ่ 

. ความเชื่อและจารีตประเพณี

วรรณกรรมเรื่องนี้ขับกลอนสวดนอกจากจะบันทึกชีวิตสังคมความเป็นอยู่ของชาวบ้านสมัยอดีตแล้วยังได้บันทึกเรื่องราวความเป็นมาของความเชื่อในประเทศไทยนั้นคือการนับถือวิญญาณหรือลางสังหรณ์ต่างๆ ซึ่งกวีได้ใช้พิธีกรรมความเชื่อเหล่านี้มาเป็นอนุภาตในการดำเนินเรื่อง

.. การนับถือวิญญาณ

ตอนท้าวเสนากุฎติดตามนางปทุมวดี และสังข์ศิลป์ชัยไม่พบ จึงทำพิธีเซ่นสรวงวิญญาณเจ้าป่า

.. ความเชื่อโชคลางและลางสังหรณ์

ในการดำเนนเรื่องนี้มีการให้โหรทำนายเหตุการ ทำนายฝัน ทำนายเนื้อคู่ นอกจากนั้นยังพบเรื่องลางสังหรณ์ต่างๆ

ปริทรรศน์บทละครนอกเรื่อง พิกุลทอง

บทละครนอกเรื่องพิกุลทองเป็นเรื่องแพร่หลายมากเรื่องหนึ่ง ชาวไทยภาคกลางจดจำเรื่องนี้ได้ดีและประทับใจนางเอกมาก นอกจากนี้ยังเชื่อกันว่าพิกุลทองเป็นเรื่องที่ต่อมาจากสังข์ศิลป์ชัยอีกด้วย


จบแล้วจ้าาาาา >___<'

0

ความคิดเห็นนี้ถูกลบ

ถูกลบโดยเจ้าของความเห็น

Mikan_daisuki 10 ก.ย. 58 เวลา 10:26 น. 4
พิกุลทอง เรื่องย่อ 
. เนื้อเรื่องย่อ

วันหนึ่งเจ้าหญิงพิกุลทองทูลลาพระบิดาไปเล่นน้ำกับพวกพี่เลี้ยง ขณะกำลังสนุกเพลิดเพลินกันอยู่นั้น เผอิญมีพญาแร้งตัวหนึ่งเจาะกินหมาเน่าซึ่งลอยมาตามกระแสน้ำส่งกลิ่นเหม็นรบกวน ทำให้เจ้าหญิงและพี่เลี้ยงเกิดความไม่พอใจออกปากด่าว่าพญาแร้งไป 

พญาแร้งเห็นว่าเจ้าหญิงเป็นถึงพระธิดาแต่กลับพูดจาหยาบคายด้วยการที่ตนกินซากสัตว์ซึ่งตายเน่าเหม็นนั้นเป็นไปตามวิสัยจึงเกิดความโกรธและอาฆาต ครั้นบินไปจนลับตาผู้คน พญาแร้งได้แปลงร่างเป็นชายหนุ่มรูปงามแล้วไปขออาศัยอยู่กับตายาย เพื่อหาหนทางแก้แค้นเจ้าหญิง

 หนุ่มรูปงามได้พยายามเอาอกเอาใจสองตายายด้วยการเนรมิตเงินทองให้ใช้ทำให้เป็นที่รักใคร่เอ็นดู วันหนึ่งพญาแร้งได้ออกปากให้ไปขอเจ้าหญิงพิกุลทองมาเป็นภรรยาของตน สองตายายพยายามห้ามปรามแต่ก็ไม่เป็นผลจึงจำต้องไปทูลขอพระธิดา ท้าวสัณนุราชก็ทรงกริ้วตรัสว่าเมื่อไม่เจียมตัวมาขอเจ้าหญิงไปให้หลานชายก็จะยกให้ แต่ต้องสร้างสะพานเงินสะพานทองจากบ้านของสองตายายมาถึงพระราชวังให้เสร็จภายในวันรุ่งขึ้น ไม่เช่นนั้นจะมีโทษถึงประหาร

สองตายายตกใจกลับมาถึงกระท่อมต่างคลุมโปงนอนตัวสั่นด้วยวามกลัว แต่พญาแร้งกลับบอกว่าเป็นเรื่องเล็ก ครั้นพอเที่ยงคืนก็กลับสู่ร่างเดิมแล้วบินไปยังเขาเนินทะกาอันเป็นที่อยู่ของจน พร้อมสั่งเหล่าบริวารให้มาช่วย บริวารพญาแร้งแปลงร่างเป็นชายหนุ่มและช่วยกันเนรมิตรพักเดียวสะพานเงินสะพานทองรวมทั้งประสาทราชวังก็สำเร็จ

เจ้าหญิงพิกุลทองจำต้องอภิเษกสมรสกับพญาแร้งตามข้อสัญญา ตกกลางคืนพญาแร้งหมายจะกินเจ้าหญิงให้สมแค้น แต่ไม่อาจเข้าใกล้ได้ด้วยเกิดเร่าร้อนทุกครั้งที่ไปถูดเนื้อต้องตัว ฝ่ายเจ้าหญิงได้กลิ่นเหม็นเน่าจากซากศพที่พญาแร้งกินเป็นอาหารก็บ่นว่าอยู่ตลอดคืนไม่ยอมให้เข้าใกล้ ครั้นรุ่งเช้าพญาแร้งได้ออกอุบายชวนเจ้าหญิงไปเยี่ยมบิดามารดาของตนดดยเรือสำเภา ใช้เวลาเดินทางอยู่สามเดือนจึงไปถึงเขตเขาเนินทะกา พญาแร้งบอกให้เจ้าหญิงกับเหล่าข้าราชบริพารตามเสด็จคอยอยู่ในเรือซึ่งจอดอยู่ที่ หาดปักษี ส่วนตนจะรีบไปจัดเตรียมต้อนรับแล้วจะมาเชิญเสด็จ แต่ความจริงพญาแร้งได้ไปสั่งให้เหล่าบริวารของตนมาช่วยกันจับคนของเจ้าหญิงกินเป็นอาหารโดยให้เว้นเจ้าหญิงไว้ตนจะกินเองดวงชะตาของเจ้าหญิงพิกุลทองยังไม่ถึงฆาตจึงหนีเข้าไปซ่อนในเสากระโดงโดยความช่วยเหลือของแม่ย่านาง พญาแร้งหาเจ้าหญิงไม่พบเข้าใจว่าถูกกินเป็นอาหารไปแล้วจึงได้แต่แสดงความโกรธเกรี้ยวกับเหล่าบริวาร เมื่อเห็นว่าปลอดภัยแล้วเจ้าหญิงพิกุลทองจึงออกจากที่ซ่อนลงสรงน้ำ และได้จารึกเรื่องราวพร้อมนำเส้นผมใส่ผอบทองลอยไปตามน้ำเสี่ยงสัตย์อธิษฐานขอให้มีผู้มาพบและมาช่วยเหลือ ผอบทองลอยไปจนถึงเมือง ชัยมงกุฎ ซึ่งมี พระสังข์ศิลปชัย และ พระนางสุพรรณกัลยา เป็นผู้ปกครอง พระพิชัยมงกุฎ พระราชโอรสลงสรงน้ำเห็นผอบทองลอยมาจึงเสี่ยงสังข์วิเศษประจำตัวออกไป อธิษฐานเสี่ยงบารมีว่าหากเป็นผอบของศัตรูให้ทำลายเสีย แต่ถ้าเป็นของเนื้อคู่ก็ให้สังข์วิเศษช้อนมาให้ สังข์วิเศษช้อนผอบทองมาให้เจ้าชายพิชัยมงกุฎตามคำอธิษฐาน เมื่อเปิดออกดูพบเส้นผมมีกลิ่นหอม ครั้นอ่านเรื่องราวก็มีเสน่หารักใคร่ในเจ้าหญิงพิกุลทองถึงกับนอนซมคล้ายคนไข้หนัก พระบิดามารดาต้องอนุญาตให้นำสำเภาทองออกติดตามหาเจ้าหญิงตามความประสงค์

สำเภาทองแล่นอยู่กลางทะเลเป็นเวลาหลายวัน จนมาถึงเกาะใหญ่กลางทะเลแห่งหนึ่งอันเป็นที่อยู่ของยักขินีมีนามว่า นางกาขาว นางยักษ์เมื่อเห็นชายหนุ่มรูปงามอยู่ในเรือสำเภาก็เกิดความพึงพอใจบันดาลท้องฟ้าเกิดมืดครึ้ม เจ้าชายพิชัยมงกุฎจึงสั่งให้จอดพักสำเภา นางกาขาวได้เนรมิตรบ้านเมืองพร้อมปราสาทราชวังขึ้นมาบนเกาะแห่งนั้น ส่วนตนเองก็แปลงร่างเป็นสาวสวยโสภา พระพิชัยมงกุฎสงสัยว่าอาจจะเป็นเมืองของเนื้อคู่ที่กำลังติดตามหาจึงรีบเสด็จเข้าไปค้นหาในปราสาท พบนางกาขาวเข้าใจผิดคิดว่าเป็นนางพิกุลทองจึงรับนางเป็นชายา ครั้นพอรุ่งเช้าตื่นขึ้นมาได้กลิ่นสาบสางก็เอะใจว่านางคงไม่ใช่มนุษย์น่าจะเป็นยักษ์แปลงมา จึงรีบชวนเหล่าข้าราชบริพารที่ตามเสด็จลงสำเภาทองหนีไป 

 ต่อ..............
0
Mikan_daisuki 10 ก.ย. 58 เวลา 10:27 น. 5

เจ้าหญิงพิกุลทองรออยู่  วัน ครั้นเห็นเรือสำเภาทองของพระพิชัยมงกุฎมาถึงหาดปักษีก็รู้ว่าเป็นผู้ที่ออกติดตามค้นหาและมาช่วยเหลือตามคำอธิษฐานจึงขอฝากตัวกับเจ้าชาย ฝ่ายพญาแร้งเมื่อสอบถามกับเหล่าบริวารได้ความว่าไม่มีผู้ใดจับเจ้าหญิงกินก็ดีใจชวนกันมาที่หาดพอมาถึงพญาแร้งเห็นเจ้าหญิงพิกุลทองอยู่กับเจ้าชายพิชัยมงกุฎก็รีบนำบริวารเข้าโจมตีสำเภาทอง เกิดกสนต่อสู้กันอย่างแข็งขัน พญาแร้งพลาดท่าถูกศรของเจ้าชายถึงแก่ความตาย เหล่าบริวารที่ยังเหลืออยู่ต่างพากันบินหนีไป เจ้าชายพิชัยมงกุฎจึงนำสำเภาทองเดินทางกลับบ้านเมืองและได้อภิเษกสมรสกับเจ้าหญิงพิกุลทองอย่างสมพระเกียรติ 

วันหนึ่งเจ้าชายพิชัยมงกุฎได้พาเจ้าหญิงพิกุลทองพระมเหสีและพระโอรสทั้งสองพระองค์ คือ พระลักษณา วัย  พรรษาและ พระยมยศ วัย  พรรษา ไปพายเรือเก็บบัวในทุ่งให้เป็นที่สำราญพระทัย ฝ่ายนางยักษ์กาขาวเมื่อเจ้าชายพิชัยมงกุฎหนีออกมา นางก็ออกติดตามหาเป็นเวลาหลายปี จนมาพบและสบโอกาสในวันนี้ก็รีบแปลงกายเป็นดอกบัวทองผุดอยู่ใต้น้ำ เจ้าหญิงพิกุลทองเห็นนึกอยากได้ก็เอื้อมมือไปเด็ดเลยถูกนางยักษ์ดึงตัวตกจากเรือแล้วสาปให้เป็นชะนี ส่วนนางยักษ์แปลงร่างเป็นเจ้าหญิงพิกุลทองทำทีเป็นเพิ่งโผล่ขึ้นมาจากน้ำ เจ้าชายรีบส่งมือช่วยฉุดเจ้าหญิงพิกุลทองตัวปลอมขึ้นมาบนเรือ พระลักษณากับพระยมยศเห็นมีชะนีโผล่ขึ้นจากน้ำทีหลังรู้ว่าเป็นพระมารดาต่างส่งเสียงร้องเรียกและช่วยกันอุ้มขึ้นเรือ  เจ้าชายพิชัยมงกุฎทรงพิโรธที่เห็นโอรสเรียกชะนีเป็นพระมารดาจึงพานางยักษ์กาขาวซึ่งแปลงเป็นเจ้าหญิงพิกุลทองกลับเข้าวัง นางชะนีเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้โอรสฟัง พระลักษณาและพระยมยศช่วยกันเก็บดอกพิกุลที่ร่วงออกมาจากปากนางชะนีนำไปแสดงแก่นางข้าหลวงซึ่งออกมาหาซื้อของในตลาด ความทราบถึงพระสังข์ศิลปชัยตรัสให้นำเจ้าหญิงพิกุลทองตัวปลอมมาสอบสวน ขณะให้การไม่เห็นมีดอกพิกุลร่วงออกมาจากปาก ทุกคนจึงรู้ความจริงแต่แกล้งทำเป็นเชื่อคำให้การของนางยักษ์เพื่อไม่ให้เกิดพิรุธ เจ้าชายพิชัยมงกุฎกับพระโอรสออกอุบายเสด็จไปคล้องช้างเผือกในป่า ครั้นพบนางชะนีสอบถามได้ความว่าหากนำเลือดนางยักษ์กาขาวมาราดรดตัวก็จะพ้นคำสาป เจ้าชายตรัสให้เสนาไปตามนางกาขาวมาประพาสป่าด้วย ครั้นพอนางยักษ์เผลอหลับจึงสังหารแล้วนำเลือดมารดให้พระมเหสี ร่างนางชะนีก็กลับเป็นเจ้าหญิงพิกุลทองตามเดิม

ฝ่ายนางยักษ์กาสุรัตน์ เมื่อรู้ว่านางกาขาวพี่สาวของตนถูกพระพิชัยมงกุฎสังหารก็เกิดความอาฆาตคิดหาหนทางแก้แค้นอยู่ตลอดเวลา จนวันหนึ่งเจ้าหญิงพิกุลทองได้ชวนเจ้าชายพิชัยมงกุฎและโอรสทั้งสองไปเยี่ยมพระบิดามารดาที่บ้านเมืองของตนโดยเรือสำเภา ระหว่างทางนางกาสุรัตน์มาดักเล่นงานอาละวาดจนสำเภาแตก  พระสมุทรสงสารเจ้าหญิงพิกุลทองได้เนรมิตรขอนไม้ให้เกาะและบันดาลคลื่นซัดจนลอยไปถึงฝั่ง เจ้าหญิงพิกุลทองจึงถอดแหวนประจำตัวอกมาเสี่ยงทายว่าถ้าเจ้าชายพิชัยมงกุฎและโอรสทั้งสองปลอดภัยขอให้แหวนจงลอยน้ำ หากประสบอันตรายขอให้แหวนจมน้ำ ท้าววิรุณจักรรู้ว่าบริวารของตนแพ้เด็กก็ยิ่งโกรธจัด พระมเหสีเตือนสติว่าคู่ต่อสู้คราวนี้ไม่ใช่มนุษย์ธรรมดาควรเรียกพรรคพวกมาช่วยเหลือ พญายักษ์ขึงให้ทหารนำสาสน์ไปขอความช่วยเหลือจากท้าวหัศจักร และท้าวกำพลนาค จนเกิดการต่อสู้กันอย่างดุเดือด ท้าวกำพลนาคสู้ไม่ได้ก็คืนร่างเป็นพญานาคเจ็ดเศียร เจ้าชายพิชัยมงกุฎก็ขว้างแหวนของอาจารย์ออกไปกลายเป็นพญาครุฑตรงเข้าจิกตีจนท้าวกำพลนาคบาดเจ็บหนีกลับบาดาลไป เมื่อได้ชัยชนะแล้วเจ้าชายพิชัยมงกุฎก็รีบชวนเจ้าหญิงอรุณวดีและโอรสทั้งสองเหาะหนีไป ท้าววิรุณจักรกับท้าวหัศจักรเหาะตามมาเกิดการต่อสู้กันและในที่สุดพญายักษ์ทั้งสองก็ถูกสังหาร เจ้าชายพิชัยมงกุฎจึงได้ครองอาณาจักรของพญายักษ์ ครั้นเมื่อเจ้าชายพิชัยมงกุฎนำสำเภาเดินทางต่อจนถึงเมืองของท้าวสัณนุราชอันเป็นบ้านเกิดของเจ้าหญิงพิกุลทอง เทวดาประจำฉัตรเมืองรู้เหตุการณ์จึงเข้าฝันบอกกับพระลักษณาและพระยมยศ พระโอรสทั้งสองได้นำความไปบอกพระบิดาแต่เจ้าชายพิชัยมงกุฎไม่เชื่อ สองกุมารเลยไปเล่าเรื่องราวให้ท้าวสัณนุราชฟังแล้วรีบไปช่วยพระมารดา ท้าวสัณนุราชเป็นห่วงหลานมีรับสั่งให้เจ้าชายพิชัยมงกุฎออกตามหาพร้อมทั้งให้นำนางยักษ์พิรากุลมาเฆี่ยนสอบสวนจนได้ความจริง ท้าวสัณนุราชจึงรีบยกพลไปล้อมเมืองยักษ์ช่วยเจ้าหญิงพิกุลทองออกมาได้อย่างปลอดภัย

0
Mikan_daisuki 10 ก.ย. 58 เวลา 10:27 น. 6

. สำนวนโวหาร

เป็นกลอนบทละครจึงเป็นเพียงแม่บทของการเเสดงละครส่วนมุกเด่นๆ ของการแสดงนั้นผู้แสดงอาจเพิ่มเติมได้ในขณะแสดง แต่กระนั้นก็ตามบทละครพิกุลทองก็มีความงามทางวรรณศิลป์อยู่มั้ยน้อย

. การดำเนินเรื่อง

ธรรมเนียมของกลอนบทละครอีกประการคือจำเป็นจะต้องให้ตัวละครได้แสดงบทบาททุกตัวในฉษกเดียวกัน ฉะนั้นจำเป็นจะต้องจัดตอนให้ตัวละครได้พูได้สนทนาซึ่งกันและกัน มากกว่าที่จะดำเนินเรื่องตามธรรมเนียมเล่านิทาน

ปริทรรศน์กลอนนิทานเรื่อง สุภมิตเกสินี

การที่จัดวรรณกรรมกลอนนิทานเรื่องนี้ฉบับโคราชเป็นวรรณกรรมพื้นบ้านภาคกลางเพราะชาวโคราชมีวัฒนธรรมไทยภาคกลาง คือใช้ภาษาถิ่นกลาง ที่สำคัญวรรณกรรมเรื่องนี้ใช้ธรรมเนียมการปรพันธ์ตามลัษณะวรรณกรรมท้องถิ่นภาคกลาง

. สำนวนโวหาร

เป็นกลอนประพันธ์โดยกวีโคราชมีลักษณะคำประพันธ์คล้ายกับสุนทรภู่เป็ที่แพร่หลายมากในโคราช

.. พรรณนาโวหาร

กลอนนิทานเรื่องนี้เด่นในการพรรณนามาก กวีได้รำพันการพลัดพรากจากกันระหว่าง ผัว-เมีย พ่อแม่-ลูก ไว้อย่างยอดเยียม

.. ทัศนะต่อสังคม

กลอนเรื่องนี้ชี้ให้เห็นว่าหญิงและชายเป็นสิ่งคู่กัน

. ธรรมเนียมการประพันธ์

กลอนเรื่องนี้ฉบับโคราชนั้นมีความโดดเดนเชิงการใช้โวหารมากสามารถนำคำภาษาถิ่นมาใช้ในกลอนได้ด้วย

.. มีปรารภชาดก

คือกล่าวนำเรื่องสมัยพระพุทธองศ์สถิตอยู่ในเขตวันิหาร

.. มีนิทานซ้อนนิทาน

ซึ่งนิยมใช้ทั่วไปในนิทานชาดก

จบภาคกลางแล้วจ้า

0